420 likes | 650 Views
อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือ การลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี ( Convention Against Torture and Other Cruel Inhuman or Degrading Treatment or Punishment ). อาจารย์รณกรณ์ บุญมี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
E N D
อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี(Convention Against Torture and Other Cruel Inhumanor Degrading Treatment or Punishment) อาจารย์รณกรณ์ บุญมี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี • ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 • ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องป้องกันและปราบปรามการทรมาน • การทรมานถือเป็นความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ และถือเป็นความผิดที่สามารถส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนได้ • การกระทำที่เป็นการทรมานเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาของประเทศไทย ซึ่งผู้กระทำจะมีความผิดอาญา ความรับผิดทางแพ่ง และถูกลงโทษทางวินัย
สาระสำคัญของอนุสัญญาฯสาระสำคัญของอนุสัญญาฯ 1. ความหมายของการทรมาน และการปฏิบัติ หรือลงโทษอื่นฯ 2. ความผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้อง 3. ข้อห้ามและพันธกรณีอื่นๆ 4. กรณีศึกษาภายในประเทศและภายนอกประเทศ
1. ความหมายของการ “ทรมาน” ตามอนุสัญญาฯ การกระทำใดก็ตามโดยเจตนาที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างสาหัส ไม่ว่าทางกายหรือทางจิตใจต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มาซึ่งข้อสนเทศหรือคำสารภาพจากบุคคลนั้นหรือจากบุคคลที่สาม การลงโทษบุคคลนั้น สำหรับการกระทำ ซึ่งบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามกระทำหรือถูกสงสัยว่าได้กระทำ หรือเป็นการข่มขู่ให้กลัวหรือเป็นการบังคับขู่เข็ญบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สามหรือเพราะเหตุผลใดใด บนพื้นฐานของการเลือกประติบัติ ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด เมื่อความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานนั้นกระทำโดย หรือด้วยการยุยง หรือโดยความยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจของเจ้าพนักงานของรัฐ หรือของบุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งทางการ ทั้งนี้ไม่รวมถึงความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานที่เกิดจาก หรืออันเป็นผลปกติจาก หรืออันสืบเนื่องมาจากการลงโทษทั้งปวงที่ชอบด้วยกฎหมาย”
องค์ประกอบของการทรมานองค์ประกอบของการทรมาน • การกระทำให้เกิดความเจ็บปวด หรือความทุกข์ทรมานอย่างสาหัส • กระทำโดยเจตนา โดยมีมูลเหตุชักจูงใจอย่างหนึ่งอย่างใด • กระทำโดย หรือภายใต้การยุยง ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจของเจ้าพนักงานของรัฐหรือของบุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งทางการ
2. มีมูลเหตุชักจูงใจอย่างหนึ่งอย่างใด 2.1)เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะให้ได้มาซึ่งข้อสนเทศหรือคำสารภาพจากบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม เช่น การซ้อมเพื่อให้รับสารภาพ ซัดทอด หรือข้อมูลอันอาจจะนำไปใช้ประโยชน์ในการขยายผลการสอบสวน เป็นต้น 2.2)เพื่อความมุ่งประสงค์ที่จะลงโทษบุคคลหรือบุคคลที่สามสำหรับการกระทำหรือการถูกสงสัยว่าได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การลงโทษผู้ต้องขังด้วยการเฆี่ยนตี ขังห้องมืด เนื่องด้วยการทำผิดวินัยของผู้ต้องขัง
2. มีมูลเหตุชักจูงใจอย่างหนึ่งอย่างใด 2.3)เพื่อความมุ่งประสงค์ข่มขู่ให้กลัวหรือเป็นการบังคับขู่เข็ญบุคคลนั้นหรือบุคคลที่สาม 2.4)เนื่องมาจากเหตุผลใด ๆ ก็ตาม หรือบนพื้นฐานของการเลือกประติบัติ เช่นการปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยต่างๆ • นอกจากมูลเหตุชักจูงใจที่กำหนดไว้ทั้ง 4 ประการหากเป็นการกระทำโดยมูลเหตุชักจูงใจอื่นๆในลักษณะเดียวกันก็อาจเป็นการทรมานได้
เงื่อนไขในข้อสองนี้มีเพื่อจำกัดขอบเขตของการทรมานให้อยู่ในกรอบที่กำหนด เพื่อไม่ให้การกระทำของหน่วยงานรัฐที่เป็นการสร้างอันตราย หรือความเจ็บปวดแก่ประชาชนมีผลเป็นการทรมานทั้งหมด ดังนั้นกรณีที่เรือนจำต่างๆ มีสภาพต่ำกว่ามาตรฐานสากลอาจไม่ถึงขั้นเป็นการทรมาน หากรัฐไม่ได้กระทำไปเพื่อต้องการลงโทษผู้ต้องหาให้อยู่ในสภาพดังกล่าวแต่เป็นไปเพราะข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ หรือบุคลากร
องค์ประกอบของการทรมานองค์ประกอบของการทรมาน 3. กระทำโดย หรือภายใต้การยุยง ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจของเจ้าพนักงานของรัฐหรือของบุคคลอื่นซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งทางการ
ตัวอย่างของการทรมาน • การบังคับให้ผู้ต้องขังเปลือยกาย กระทำการ หรือแสดงลักษณะในทางเพศ
ตัวอย่างของการทรมาน • การตัดอวัยวะสำคัญ ถอนฟัน ดึงเล็บ
ตัวอย่างของการทรมาน • การใช้ไฟฟ้า หรือบุหรี่จี้ที่อวัยวะเพศ หรืออวัยวะอื่นๆ
ตัวอย่างของการทรมาน • การจับผู้ต้องขังมัดไว้กับกระดาน คลุมหน้าผู้ต้องขังไว้ด้วยผ้า และเทน้ำลงไปเพื่อให้ผู้ต้องขังสำลัก (Waterboarding)
ความหมายของการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี • การประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CID) เป็นข้อห้ามเช่นเดียวกับการทรมาน • เพียงแต่ระดับของการกระทำมีความรุนแรงน้อยกว่าการทรมาน • อนุสัญญาฯไม่ได้นิยามศัพท์ CID ไว้ และในการตีความตามกฎหมายระหว่างประเทศก็ยังไม่มีคำจำกัดความโดยเฉพาะ • แต่ตามกฎหมายไทยนั้นไม่ได้มีการแยกระหว่างการกระทำทั้งสองประเภท ระวางโทษจึงไม่มีความแตกต่างทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานความผิด
ตัวอย่างการตีความแยกแยะระหว่างการทรมาน กับ CID 1)คณะกรรมการต่อต้านการทรมานเห็นว่าการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยูโกสลาเวียนิ่งเฉย และไม่กระทำการใดที่เหมาะสมในสถานการณ์ที่ชาว Romani ถูกชาวมอนเตรเนโกร ทำร้ายกว่า 200 คน เนื่องจากโกรธแค้นที่ชายชาว Romani คนหนึ่งข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงชาวมอนเตรเนโกร เป็นการกระทำที่เป็นการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
ตัวอย่างการตีความแยกแยะระหว่างการทรมาน กับ CID 2)ผู้พิพากษาระดับสูงประจำศาลอุทธรณ์กลางแห่งสหรัฐอเมริกา ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอัยการสูงสุด ได้ทำบันทึกข้อความในนามของคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งความเห็นไปยังนาย Alberto Gonzales ที่ปรึกษาประธานาธิบดี George W. Bush ว่าการกระทำที่จะถึงขั้นเป็นการทรมานนั้นต้องเป็นการทำอันตรายทางกายภายถึงขั้นที่อาจทำให้ตาย หรือทำให้การทำงานของอวัยวะล้มเหลว หรือกระทำต่อจิตใจที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบประสาทอย่างยาวนาน ซึ่งต่อมารัฐบาลของประธานาธิบดี Barack Obama ได้ยกเลิกความเห็นดังกล่าว
ตัวอย่างการตีความแยกแยะระหว่างการทรมาน กับ CID 3)ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปตัดสินว่าการใช้เทคนิคการสอบสวนห้าประการอันประกอบด้วย • Wall-Standing - การบังคับให้ผู้ต้องหายืนข้างกำแพงแยกมือขึ้นเหนือศีรษะ กางขาออก และยืนด้วยนิ้วเท้าเป็นระยะเวลานาน • Hooding - การให้ผู้ต้องหาแบกกระเป๋าที่มีน้ำหนักมากไว้บนศีรษะตลอดเวลา • Subjection to Noise - การให้ผู้ต้องหาอยู่ในห้องที่มีเสียงดังต่อเนื่องเป็นเวลานาน • Deprivation of Sleep - การบังคับให้อดนอน • Deprivation of Food and Drink - การบังคับให้อดน้ำและอาหาร
ตัวอย่างการตีความแยกแยะระหว่างการทรมาน กับ CID • เป็นเพียงการปฏิบัติที่ไร้มนุษยธรรม แต่ไม่ถึงขั้นเป็นการทรมาน โดยอธิบายว่า “ทรมาน” นั้นต้องเป็นการกระทำที่ไร้มนุษยธรรมอันเป็นการสร้างตราบาปโดยมีการไตร่ตรองไว้ก่อน และก่อให้เกิดความเจ็บปวดที่รุนแรง และโหดร้ายอย่างมาก ดังนั้นแม้เทคนิคการสอบสวนทั้งห้าประการนั้นจะกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งคำรับสารภาพ ชื่อ หรือข้อมูลใดๆ และถึงแม้จะกระทำอย่างเป็นระบบแต่การกระทำดังกล่าวหาได้ก่อให้เกิดความเจ็บปวดที่ถึงระดับความรุนแรง และโหดร้ายที่จะเป็นการทรมานแต่อย่างใด
การยกเว้นความรับผิด 1.ตามอนุสัญญาฯ ข้อ 1. การลงโทษที่ชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการทรมาน 2.ตามอนุสัญญาฯ ข้อ 2.2 ห้ามยกอ้างพฤติการณ์พิเศษ ไม่ว่าจะเป็นสงคราม การขาดเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศมาเป็นเหตุแห่งการทรมาน 3.ตามอนุสัญญาฯ ข้อ 2.3 คำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือทางการไม่สามารถยกขึ้นอ้างได้
2. ความรับผิดทางอาญาตามกฎหมายไทย • ตามอนุสัญญาฯ ข้อ 4. กำหนดให้รัฐภาคีต้องรับประกันว่าการทำทรมานทั้งปวงเป็นความผิดอาญา และกำหนดระวางโทษที่เหมาะสมกับความร้ายแรงของการกระทำเหล่านั้น • ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมาย “เฉพาะ” เอาผิดกับการทรมาน แต่กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกำลังดำเนินการอยู่ • ประเทศศรีลังกากำหนดระวางโทษสำหรับการทำทรมานไว้ที่ จำคุก 7-10 ปีซึ่งคณะกรรมการต่อต้านการทรมานฯ ให้ความเห็นว่าเป็นโทษที่ไม่เหมาะสม ในขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์กำหนดระวางโทษลดหลั่นตามความรุนแรงของการกระทำและผล โดยระวางโทษไว้สูงสุดที่โทษจำคุก 40 ปี
3. ข้อห้าม และพันธกรณีอื่นๆ ที่สำคัญ 1) รัฐต้องไม่ผลักดันบุคคลออกไปยังรัฐอื่นที่อาจทำให้บุคคลนั้นตกอยู่ภายใต้การทรมาน (Non-refoulement) ข้อบทที่ 3 ของอนุสัญญาได้กำหนดให้ประเทศไทย “ต้องไม่ขับไล่ ส่งกลับ (ผลักดันกลับออกไป) หรือส่งบุคคลเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังอีกรัฐหนึ่ง เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลนั้นจะตกอยู่ภายใต้อันตรายที่จะถูกทรมาน”
ดังนั้นตามพันธกรณีในข้อดังกล่าวประเทศไทยจึงพึงต้องตรวจสอบผลของการขับไล่ (expel) ส่งกลับ (return) หรือส่งบุคคลเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังอีกรัฐหนึ่ง (extradite) ว่าจะเป็นผลให้บุคคลที่ถูกกระทำดังกล่าวได้รับการทรมานหรือไม่ • การตรวจสอบก่อนส่งตัวดังกล่าวนั้นอย่างน้อยจะต้องพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมของรัฐ รวมถึงปัจจัยเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐที่จะส่งตัวกลับ ถ้าตรวจสอบแล้วพบว่ามีเหตุอันควรเชื่อเช่นนั้น ประเทศไทยมีหน้าที่ที่จะต้องไม่ส่งตัวบุคคลกลับ หรือผลักดันออกไป
ซึ่งเป็นการเน้นย้ำให้เห็นว่ารัฐภาคีมีหน้าที่ที่จะต้องร่วมป้องกันไม่ให้เกิดการทรมานขึ้น และรัฐภาคีจะต้องไม่มีส่วนร่วม หรือเกี่ยวข้องในการทำทรมานไม่ว่าจะเป็นในฐานะ หรือส่วนใดก็ตาม
แม้ที่ผ่านมาประเทศไทยจะได้รับการจับตามองจากนานาชาติ เรื่องการผลักดันคนกลับออกไปอย่างเช่นในกรณี เดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลไทยผลักดันกลุ่มผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยง ซึ่งลี้ภัยมาจากรัฐกะเหรี่ยง และได้เข้ามาพักอาศัยอยู่ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้หลบหนีภัยจากการสู้รบแม่ลาหลวง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ให้ข้ามแม่น้ำสาละวินกลับไป หรือปัญหาการผลักดันผู้แสวงหาที่พักพิง หรือผู้อพยพชาวโรฮิงยาออกสู่น่านน้ำสากล เมื่อต้นปี พ.ศ. 2552 รวมทั้งปัญหาการผลักดันผู้อพยพชาวม้งลาวกลับลาวเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2552
แต่เนื่องด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง พนักงานอัยการ และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องก็ได้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ Non-refoulement ที่จะไม่ส่งคนหรือผลักดันคนชาติอื่นออกนอกประเทศ หากมีข้อมูลที่เชื่อได้ว่าบุคคลที่จะผลักดันออกไปนั้นอาจได้รับอันตราย หรือถูกทรมาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพนักงานของไทยจะสอบถามถึงความยินยอมของผู้ที่จะถูกส่งออกไป ถ้าผู้นั้นไม่ยินยอมที่จะกลับไปด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย โดยหลักเจ้าพนักงานไทยก็จะไม่ส่งออกไป เพราะตระหนักดีว่าหลักการดังกล่าวเป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยพึงเคารพ นอกจากนี้การส่งกลับคนออกนอกประเทศนั้น นอกจากนี้เจ้าพนักงานไทยจะตรวจสอบถึงช่องทางที่ส่งบุคคลออกไปว่ามีความปลอดภัยหรือไม่ ซึ่งการดำเนินงานของเจ้าพนักงานไทยตามมาตรการดังกล่าวเป็นที่ชื่นชมจากองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ รวมทั้ง UNHCR ด้วย
3. ข้อห้าม และพันธกรณีอื่นๆ ที่สำคัญ (ต่อ) 2) ในเรื่องเขตอำนาจศาลนั้นอนุสัญญาฯกำหนดว่าศาลภายใน ประเทศต้องมีเขตอำนาจดำเนินคดีอาญาทรมานในกรณีต่อไปนี้ 2.1 เมื่อความผิดเหล่านั้นเกิดขึ้นในอาณาเขตใดที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของตน หรือบนเรือหรืออากาศยาน ที่จดทะเบียนในรัฐนั้น 2.2 เมื่อผู้ถูกกล่าวหาเป็นคนชาติของรัฐนั้น 2.3 เมื่อผู้เสียหายเป็นคนชาติของรัฐนั้น หากรัฐนั้นเห็นเป็นการสมควร • ยังมีปัญหาไม่สามารถทำได้ครบถ้วน เพราะกรณีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 8 มีเงื่อนไขกำหนด
3. ข้อห้าม และพันธกรณีอื่นๆ ที่สำคัญ(ต่อ) 3) ต้องจัดการอบรมบุคลากรที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เกี่ยวกับข้อห้ามการทรมาน 4) ทบทวนกฎเกณฑ์ คำสั่ง วิธีการ และแนวทางในการไต่สวน การควบคุมตัว ตลอดจนการจับและการกักขังเพื่อป้องกันการทรมาน 5) ผู้เสียหายต้องได้รับการเยียวยาอย่างเพียงพอและเป็นธรรม 6)หลักฐานที่ได้จากการทรมานไม่สามารถใช้ในการดำเนินคดีได้
กรณีศึกษาภายในประเทศและต่างประเทศกรณีศึกษาภายในประเทศและต่างประเทศ ไม่มีกรณีการถูกทรมานของประเทศไทยที่มีการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐและมีกรณีให้เห็นอย่างชัดเจน แต่มีกรณีที่เกี่ยวข้องใกล้เคียงดังนี้ • กรณีการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม เช่น ใน 3 จังหวัด ภาคใต้ มีการคุมขังชาวมุสลิมกับสุนัขซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามของชาวมุสลิมหรือกักขังในที่คุมขังที่มีสภาพแออัด ตีตรวน • กรณีที่จังหวัดกาฬสินธุ์ชาวบ้านถูกเจ้าหน้าที่อุ้มหายไป เมื่อญาติไปถาม เจ้าหน้าที่กลับบอกว่าปล่อยตัวไปแล้ว ต่อมาพบศพผู้ตาย มีร่องรอยถูกทำร้าย หลังสูญหายไป 2 – 3 วัน
กรณีศึกษาภายในประเทศและต่างประเทศกรณีศึกษาภายในประเทศและต่างประเทศ • มีกรณีร้องเรียนว่ามีการทรมาน เมื่อสำนวนถูกส่งไปที่ DSI แล้วถูกส่งต่อไปที่ ป.ป.ช. แต่ ป.ป.ช.กลับพิจารณาว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอ ผู้ร้องจึงถูกดำเนินคดีกลับฐานแจ้งความเท็จ ซึ่งเป็นปัญหาอีกมุมหนึ่งของผู้เสียหาย • กรณีเกิดในประเทศเยอรมัน ที่เจ้าหน้าที่รัฐได้ทรมานผู้ต้องหาคนหนึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลของตัวประกันเพื่อจะช่วยเหลือตัวประกันวัย 11 ขวบ ให้รอดพ้นจากความตาย เมื่อผู้ต้องหาฟ้องศาลอาญาระหว่างประเทศ ศาลตัดสินว่าการที่ตำรวจไปข่มขู่ว่าจะทรมานผู้ต้องหาอย่างนั้นเป็นการกระทำที่เรียกว่า CID เพราะฉะนั้นประเทศเยอรมันต้องถูกปรับเงิน 3,000 ยูโร