120 likes | 299 Views
สรุปผลการดำเนินงาน Service plan สาขาจิตเวช. วัตถุประสงค์ของสาขาจิตเวช. 1. เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยเข้าถึงบริการสุขภาพจิตและจิตเวชที่มีคุณภาพ 2. พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยจิตเวช ลดการส่งต่อออกนอกเขตสุขภาพ 3. ควบคุมอัตราการฆ่าตัวตายของประชากรไทย ไม่เกิน 6.5 ต่อ ประชากรแสนคน
E N D
สรุปผลการดำเนินงาน Service planสาขาจิตเวช
วัตถุประสงค์ของสาขาจิตเวชวัตถุประสงค์ของสาขาจิตเวช 1. เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยเข้าถึงบริการสุขภาพจิตและจิตเวชที่มีคุณภาพ 2. พัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยจิตเวช ลดการส่งต่อออกนอกเขตสุขภาพ 3.ควบคุมอัตราการฆ่าตัวตายของประชากรไทย ไม่เกิน 6.5 ต่อ ประชากรแสนคน 4. ให้คนไทยมีความสุข(ประเมินโดยดัชนีชี้วัดความสุขคนไทย 15 ข้อ)
เป้าหมายและสิ่งที่ประชาชนจะได้รับเป้าหมายและสิ่งที่ประชาชนจะได้รับ 1. เด็กไทยมีความฉลาดทางสติปัญญาเฉลี่ยเกิน 100จุด 2. ร้อยละ 85 ของเด็กไทยมีพัฒนาการสมวัย 3. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคจิต (psychosis) เข้าถึงบริการสุขภาพจิตและจิตเวช 4. ร้อยละ 31 ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการสุขภาพจิตและจิตเวช 5. มีศูนย์ให้คำปรึกษาคุณภาพ (psychosocial clinic)ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของสถานบริการสาธารณสุข
กิจกรรมที่ได้มีการดำเนินการตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2555 – เมษายน 2556 1. แต่งตั้งคณะกรรมการ Service plan ระดับกระทรวง ทั้ง 10 สาขา 2. ในแต่ละเขตบริการมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ Service plan ทั้ง 10 สาขา ในสาขาจิตเวชทั้ง 12 เขต ให้มีบุคลากรของกรมสุขภาพจิตเข้าไปร่วมในทุกเขตบริการ 3. เขตบริการมีการจัดทำแผน เพื่อการพัฒนาสาขาจิตเวชทั้ง 12 เขตสุขภาพ โดยจัดทำแผนพัฒนาตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพจิตและจิตเวช ที่จัดทำโดยกรมสุขภาพจิต 4. สบรส. ได้จัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาสุขภาพจิตและจิตเวช เผยแพร่ทาง Web site ของสำนักบริการการสาธารณสุข (สบรส.) ชี้แจงผู้ตรวจและผู้บริหารระดับสูง ของกระทรวงสาธารณสุข 5. เขตบริการสุขภาพทั้ง 12 เขต ได้นำเสนอแผนที่จัดทำต่อกระทรวง โดยมีทั้งแผนด้านการพัฒนามาตรฐานบริการ, แผนเรื่องบุคลากร และแผนด้านเครื่องมือ สถานที่
กิจกรรมที่จะดำเนินการ ในช่วงเดือน เมษายน 56 – กันยายน 56 • 1. สบรส. กำลังวางแผนงบประมาณขาขึ้น เพื่อเสนอ ครม. ในภาพรวมทั้ง 10 สาขา ในส่วนของสาขาจิตเวช กรมสุขภาพจิต โดย รองอธิบดี นพ. เกียรติภูมิ วงศ์รจิต มีข้อเสนอ ต่อกระทรวงดังต่อไปนี้ • 1.1 แผนด้านอัตรากำลัง • 1.1.1 จิตแพทย์ ปัจจุบัน ทั้งประเทศมี จำนวน 750 คน วางแผนใน 5 ปี จะมีจิตแพทย์เพิ่ม เป็น 1,600 คน คิดเป็น จิตแพทย์ 1 ต่อ 40,000 ประชากร • 1.1.2 พยาบาลเฉพาะทางสุขภาพจิตและจิตเวช ปัจจุบันมีประมาณ 800 คน วางแผนใน 5 ปี จะมีทั้งหมด 2,000 คน ครบทุก รพช. ในระยะ 10 ปี จะมีพยาบาลเฉพาะทางสุขภาพจิตและจิตเวช ครบทุก รพ.สต. ประมาณ 10,000 คน • 1.1.3 จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น มีอย่างน้อย จังหวัดละ 1 คน • 1.1.4 นักจิตวิทยา ต้องมีในโรงพยาบาล ระดับ M1, S และ A • 1.1.5 นักกิจกรรมบำบัด ต้องมีในโรงพยาบาล ระดับ S และ A และหากเป็นไปได้ ให้เพิ่มในระดับ M1 ด้วย
กิจกรรมที่จะดำเนินการ ในช่วงเดือน เมษายน 56 – กันยายน 56 1.2 ควรมีเครื่อง ECT ในทุกจังหวัด อย่างน้อยจังหวัดละ 1 เครื่อง 1.3 ควรมีเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยา ในโรงพยาบาล M1, S และ A 1.4 ทางกรมฯ ได้มีการจัดทำข้อเสนอแนะ เพื่อการเปิดหอผู้ป่วย ในโรงพยาบาลระดับ A เพื่อให้ใช้เป็นแนวทาง ในการพัฒนาหอผู้ป่วยต่อไป
กิจกรรมที่จะดำเนินการ ในช่วงเดือน เมษายน 56 – กันยายน 56 ในการจัดทำหอผู้ป่วยจิตเวชมีข้อแนะนำในเรื่องเครื่องมืออุปกรณ์ดังต่อไปนี้ • 1.สิ่งที่ต้องมี • 1.1 หอผู้ป่วยที่มีการปรับปรุงงสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยจิตเวชโดยคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งของผู้ป่วยและบุคลากรเป็นสำคัญ • 1.2 ห้องทำกลุ่มจิตบำบัด • 1.3 กล้องวงจรปิด • 1.4 เครื่องทดสอบทางจิตวิทยา • 1.5 หอผู้ป่วยจิตเวชแยก ชาย / หญิง • 2. สิ่งที่ควรมี • 2.1 เครื่องช๊อตไฟฟ้า(ECT) • 2.2 เครื่องครุภัณฑ์การแพทย์ เช่น BP, Oxygen Sat, EKG • 2.3 ห้องผู้ป่วยแยกจิตเวชฉุกเฉิน โรคติดเชื้อ
กิจกรรมที่จะดำเนินการ ในช่วงเดือน เมษายน 56 – กันยายน 56 • 2. ทางกระทรวงได้มีการเตรียมการเพื่อติดตามและประเมินผล การดำเนินงาน Service plan สาขาจิตเวช โดยมีแนวทางการประเมินดังนี้ (1.) การติดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของกระทรวงฯ/กรมฯ • การติดตามตัวชี้วัดยุทธศาสตร์กระทรวงฯ • 1. เด็กไทยมีความฉลาดทางสติปัญญาเฉลี่ยเกิน 100จุด • 2. ร้อยละ 85 ของเด็กไทยมีพัฒนาการสมวัย • 3. ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคจิต (psychosis) เข้าถึงบริการสุขภาพจิตและจิตเวช • 4. ร้อยละ 31 ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการสุขภาพจิตและจิตเวช • 5. มีศูนย์ให้คำปรึกษาคุณภาพ (psychosocial clinic) ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของสถานบริการสาธารณสุข
กิจกรรมที่จะดำเนินการ ในช่วงเดือน เมษายน 56 – กันยายน 56 (2.) การพัฒนาบริการสุขภาพจิตและจิตเวชในระบบสาธารณสุข ได้แก่ การสนับสนุนให้มีการเปิดหอผู้ป่วยจิตเวช ใน รพศ.และรพท. (3.) การพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยจิตเวชให้มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะ แนวทางการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคจิต,โรคที่เกิดจากแอลกอฮอล์ ,โรคซึมเศร้า, ปัญหาฆ่าตัวตายให้มีแนวทางเดียวกัน (4.)แผนอัตรากำลังด้านสุขภาพจิตและจิตเวชของสถานบริการแต่ละระดับ (5.) แผนพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางจิตเวชของสถานบริการทุกระดับ ทุกจังหวัดให้มีสมรรถนะและทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช (6.) แผนพัฒนาระบบยาของสถานบริการทุกระดับ ให้เป็นไปตามมาตรฐานมีเภสัชกรรับผิดชอบงานจิตเวชในระดับ รพศ, รพท, รพช ขนาดใหญ่, มีบัญชียาจิตเวชที่จำเป็นและเหมาะสมกับศักยภาพของสถานบริการแต่ละระดับ (7.) แผนสนับสนุนทรัพยากรด้านครุภัณฑ์การแพทย์ เครื่องมือที่จำเป็นของสถานบริการแต่ละระดับ เช่น เครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยา
กิจกรรมที่จะดำเนินการ ในช่วงเดือน เมษายน 56 – กันยายน 56 ระดับจังหวัด (รพศ.รพท.) (1.) มีระบบการค้นหา คัดกรอง และนำเข้าสู่ระบบการดูแลรักษา (Early Detection) โดยเน้นที่เครือข่ายชุมชนให้สามารถจัดการเบื้องต้นได้ (2.) มีแนวทางการช่วยเหลือ และการบำบัดรักษา ให้สถานบริการทุกระดับเพื่อเป็นคู่มือแนวทางในการปฏิบัติงาน (Guideline) (3.)มีการทำงานร่วมกันในลักษณะสหวิชาชีพที่เชื่อมประสานถึงกันได้ (4.) การพัฒนาสมรรถนะและทักษะ โดยเฉพาะการคัดกรอง การดูแลช่วยเหลือเบื้องต้น การส่งต่อและการดูแลอย่างต่อเนื่องให้แก่บุคลากร (5.) การพัฒนาเครือข่ายโดยใช้กลไกความร่วมมือและช่วยเหลือกันแบบพบส. ตามหลักการ“พี่-น้องช่วยกัน” โดยโรงพยาบาลแม่ข่ายมีแผนการตรวจเยี่ยมพี่สอนน้อง ประกอบด้วย 1) แผนความร่วมมือและช่วยเหลือทางด้านบริหาร 2) แผนด้านบริการ 3) แผนด้านวิชาการ (6.) มี case manager สำหรับผู้ป่วยโรคจิตที่ยุ่งยากซับซ้อน
กิจกรรมที่จะดำเนินการ ในช่วงเดือน เมษายน 56 – กันยายน 56 • ระดับรพช./รพสต.ติดตาม 1.การพัฒนาระบบการคัดกรอง การรักษา การฟื้นฟูและการติดตามผู้ป่วย ในสถานพยาบาลลูกข่ายโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล 2.การพัฒนาระบบการบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ในสถานบริการเครือข่าย ให้มีประสิทธิภาพและพร้อมใช้ 3. การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยจากสถานบริการลูกข่ายไปยังโรงพยาบาลแม่ข่าย 4. การพัฒนาบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล 5. จัดทำระบบการลงทะเบียน (Registration system) เชื่อมระหว่าง อปท.และรพ.สต. และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง