730 likes | 1.01k Views
ระบบสวัสดิการ การรักษาพยาบาลพนักงานส่วนท้องถิ่น ทิศทาง และโอกาส การเข้าถึงที่เท่าเทียม และเป็นธรรม. รังสรรค์ ศรีภิรมย์ สปสช. เขต 8 อุดรธานี 18 กุมภาพันธ์ 2557. ความเป็นมา. ตามนโยบายข้อ 1.14 ของรัฐบาล ที่ประกาศเรื่องระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย :.
E N D
ระบบสวัสดิการ การรักษาพยาบาลพนักงานส่วนท้องถิ่น ทิศทาง และโอกาส การเข้าถึงที่เท่าเทียม และเป็นธรรม • รังสรรค์ ศรีภิรมย์ • สปสช. เขต 8 อุดรธานี • 18 กุมภาพันธ์ 2557
ความเป็นมา ตามนโยบายข้อ 1.14 ของรัฐบาล ที่ประกาศเรื่องระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย : • บูรณาการสิทธิของผู้ป่วยที่พึงได้รับจากระบบประกันสุขภาพต่างๆ ลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพประสิทธิภาพและบูรณาการแผนงานของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน ผ่านกลไกของหน่วยงานกลางซึ่งทำหน้าที่จัดการธุรกรรมการเบิกจ่ายและระบบข้อมูลบริการสาธารณสุข (National Clearing House)
กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลในปัจจุบันกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลในปัจจุบัน ประกันสุขภาพถ้วนหน้า สวัสดิการข้าราชการพลเรือน ประกันสังคม สวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น อื่น ๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ ครูเอกชน
ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลพนักงานส่วนท้องถิ่นระบบเก่าระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลพนักงานส่วนท้องถิ่นระบบเก่า ผู้ป่วยใน รพ.ตั้งเบิก ตั้งงบประมาณค่ารักษา แต่ละแห่ง หน่วยบริการ ผู้ป่วยนอกจ่ายเงิน แล้วนำใบเสร็จไปเบิกคืน ผู้มีสิทธิ อปท.
ปัญหา • ผู้มีสิทธิ เป็นภาระในการสำรองเงินจ่าย โดยเฉพาะโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง • ต้นสังกัด การตั้งงบประมาณไม่เพียงพอ สำหรับให้ผู้มีสิทธิเบิกคืน • หน่วยบริการสำหรับกรณีผู้ป่วยในใช้ใบรับรองสิทธิ ต้นสังกัดไม่มีงบประมาณเพียงพอ ทำให้หน่วยบริการเบิกคืนไม่ได้ ส่งผลต่อสภาพคล่องของหน่วยบริการ
ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลพนักงานส่วนท้องถิ่นระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลพนักงานส่วนท้องถิ่น จ่ายชดเชย ตั้งงบประมาณค่ารักษาทั่วประเทศ (4,061.95 ล้านบาท) หน่วยบริการ ไม่ต้องสำรองจ่าย เรียกเก็บ Clearing ผู้มีสิทธิ อปท.
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินสวัสดิการรักษาพยาบาลพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541 • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึง • องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) • เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล • องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
นิยามที่เกี่ยวข้อง • ผู้มีสิทธิ หมายถึง • ข้าราชการ • ข้าราชการการเมือง (นายกเทศมนตรี นายก อบจ. และ นายก อบต.) • พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนท้องถิ่น ลูกจ้างประจำ • ข้าราชการครูที่รับถ่ายโอน ครูผู้แลเด็กหรือครูผู้ช่วยเฉพาะกรณีที่เป็นลูกจ้างประจำที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง • ยกเว้นกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
นิยามที่เกี่ยวข้อง • ผู้มีสิทธิร่วม หมายถึง • บิดา มารดา • คู่สมรส • บุตร • บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย • ลำดับที่ 1 – 3 ของผู้มีสิทธิ ยกเว้นหากบุตรในลำดับที่ 3 เป็นแฝด ให้มีสิทธิได้ครบทุกคนในการคลอดครั้งนั้น • ยังไม่บรรลุนิติภาวะ • กรณีบุตรเกิน 3 คน บุตรลำดับที่ 1-3 เสียชีวิตก่อนบรรลุนิติภาวะให้เลื่อนบุตรลำดับถัดไปขึ้นมา
นิยามที่เกี่ยวข้อง • ผู้หมดสิทธิ หมายถึง ข้าราชการ, ข้าราชการการเมือง พนักงานเทศบาลพนักงานส่วนท้องถิ่น และลูกจ้างประจำ ที่ออกจากราชการ ถูกพักราชการ หรือย้ายหน่วยงานทุกกรณี ซึ่งรวมถึงการเสียชีวิต การหย่าร้าง หรือการบรรลุนิติภาวะ ผู้มีสิทธิร่วมของบุคคลดังกล่าวด้วย • หน่วยเบิก หมายถึง องค์การบริการส่วนจังหวัด เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล ยกเว้นกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา • นายทะเบียน หมายถึง บุคลากรที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ได้รับการพิจารณาจากต้นสังกัดให้ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียน และได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
นิยามที่เกี่ยวข้อง • ค่ารักษาพยาบาล หมายถึง • ค่ายา ค่าเลือดและส่วนประกอบของเลือด หรือสารทดแทน ค่าน้ำยาหรืออาหาร • ค่าอวัยวะเทียม อุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรครวมทั้งค่าซ่อมแซม • ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจวิเคราะห์โรค ไม่รวมค่าพยาบาลพิเศษ ค่าธรรมเนียมพิเศษ หรือค่าตอบแทนพิเศษ • ค่าห้อง ค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล • ค่าตรวจสุขภาพประจำปี
ประเด็นที่ควรรู้เกี่ยวกับสิทธิประเด็นที่ควรรู้เกี่ยวกับสิทธิ • การลงทะเบียนสิทธิ • การใช้สิทธิเมื่อเข้ารับบริการ • การหมดสิทธิ
นายทะเบียน • นายทะเบียนบุคลากร มีหน้าที่ปรับปรุง เพิ่มเติม ทะเบียนข้อมูลผู้มีสิทธิในสังกัด • ผู้รับรองการมีสิทธิ มีหน้าที่ตรวจสอบ และรับรองข้อมูลผู้มีสิทธิในสังกัด • นายทะเบียนการเงิน มีหน้าที่แจ้งคำร้องขอเบิกค่ารักษา ในกรณีที่ผู้มีสิทธิสำรองจ่าย
ขั้นตอนการลงทะเบียนผู้มีสิทธิขั้นตอนการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ นำหลักฐานยื่นต่อนายทะเบียนหน่วยเบิก ตรวจสอบความถูกต้อง สมบูรณ์ของหลักฐาน เมื่อบันทึกผ่านเรียบร้อย เว็บลงทะเบียนอปท. ระบบประมวลผล 11.00 และ 15.00 ของทุกวัน หน่วยบริการจะเห็นข้อมูล ปรากฎบนเว็บไซต์สปสช.
รายงานผลการลงทะเบียนสิทธิ อปท.แยกรายเขตณ 17 กุมภาพันธ์ 2557
รายงานผลการลงทะเบียนสิทธิ อปท.แยกรายจังหวัดสปสช. เขต 7 ขอนแก่น ณ 17 กุมภาพันธ์ 2557
รายงานผลการลงทะเบียนสิทธิ อปท.แยกรายจังหวัดสปสช. เขต 8 อุดรธานี ณ 17 กุมภาพันธ์ 2557
ผู้มีสิทธิทั้งหมดมีเท่าไรผู้มีสิทธิทั้งหมดมีเท่าไร ได้รับการลงทะเบียนหมดแล้วหรือยัง
เข้าใช้งานโดยไปที่ www.nhso.go.th เลือกบริการออนไลน์
โปรแกรมจะอยู่ที่ หมวดงานทะเบียน เลือก หัวข้องานลงทะเบียนของอปท.
หน้าจอการเข้าใช้งานของนายทะเบียนหน้าจอการเข้าใช้งานของนายทะเบียน
การบันทึกข้อมูลผู้มีสิทธิรายใหม่การบันทึกข้อมูลผู้มีสิทธิรายใหม่ • พนักงานบรรจุใหม่ • รับโอนจากข้าราชการ • รับย้ายจาก อปท. แห่งอื่น • นายกได้รับเลือกตั้งใหม่ • ยังไม่บันทึกข้อมูล
การบันทึกข้อมูลผู้มีสิทธิ และผู้ใช้สิทธิร่วม
การแก้ไขข้อมูลผู้มีสิทธิการแก้ไขข้อมูลผู้มีสิทธิ • แก้ไขข้อมูลทั่วไป • ประเภทบุคลากร • วันเริ่มปฏิบัติหน้าที่ • ศาสนา • เพิ่มข้อมูลผู้มีสิทธิร่วม
การแก้ไขข้อมูลผู้มีสิทธิเพิ่มผู้มีสิทธิร่วมการแก้ไขข้อมูลผู้มีสิทธิเพิ่มผู้มีสิทธิร่วม 1 2 3 ถ้ามองไม่เห็นปุ่มแก้ไขให้กดแป้น Ctrl และเครื่องหมาย ลบ พร้อมกัน
การแก้ไขข้อมูลผู้มีสิทธิเพิ่มผู้มีสิทธิร่วมการแก้ไขข้อมูลผู้มีสิทธิเพิ่มผู้มีสิทธิร่วม
การหมดสิทธิ ผู้มีสิทธิร่วม ผู้มีสิทธิ • ย้ายหน่วยงาน • ออกจากราชการ • หมดวาระทุกกรณี (นายก) • เกษียณอายุ (รับบำเหน็จ) • เสียชีวิตทุกกรณี • พักราชการ • อื่น ๆ • เสียชีวิตทุกกรณี • บรรลุนิติภาวะ • สมรส(อายุไม่เกิน 20 ปี) • อายุ 20 ปีบริบูรณ์ • การหย่าจากผู้มีสิทธิ • อื่น ๆ
การหมดสิทธิรักษาพยาบาลการหมดสิทธิรักษาพยาบาล • นายทะเบียนของหน่วยเบิกจะต้องทำการปรับปรุงข้อมูลของผู้หมดสิทธิของหน่วยงาน ข้อมูลที่แจ้งจะได้รับการประมวลผลภายในวันนั้นเช่นเดียวกับข้อมูลผู้มีสิทธิรายใหม่ • สำหรับการหมดสิทธิกรณีบุตรบรรลุนิติภาวะ สปสช.จะทำการตรวจสอบและปรับปรุงให้หมดสิทธิโดยอัตโนมัติทุกเดือน หากข้อมูลนั้นยังไม่ได้รับการปรับปรุง • ในกรณีที่เจ้าของสิทธิหมดสิทธิการรักษาพยาบาลจากระบบแล้ว สปสช.จะทำการตรวจสอบและปรับปรุงให้ผู้มีสิทธิร่วมหมดสิทธิไปพร้อมกันโดยอัตโนมัติ
ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลผู้หมดสิทธิขั้นตอนการบันทึกข้อมูลผู้หมดสิทธิ 2 1 4 3
ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลผู้หมดสิทธิขั้นตอนการบันทึกข้อมูลผู้หมดสิทธิ 1 2 3 4
ข้อควรระวัง • เมื่อแจ้งหมดสิทธิแล้วจะไม่สามารถใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงได้ทันที • กรณีแจ้งหมดสิทธิ กรณีย้ายหน่วยงาน จะไม่สามารถใช้สิทธิได้จนกว่า หน่วยงานใหม่จะบันทึกข้อมูล และผ่านการประมวลผลตามรอบ
การใช้สิทธิเมื่อเข้ารับการรักษาการใช้สิทธิเมื่อเข้ารับการรักษา
ขั้นตอนการรับบริการสิทธิ อปท. ของโรงพยาบาล ไม่พบข้อมูล พบข้อมูลลงทะเบียน ลงทะเบียนจ่ายตรง รออนุมัติ ทุกวันที่ 4,19 ตรวจสอบสิทธิ ตรวจสอบการลงทะเบียนจ่ายตรงของหน่วยบริการ ไม่พบข้อมูลจ่ายตรง และเจ็บป่วยฉุกเฉิน ไม่พบข้อมูล พบข้อมูลอนุมัติ ประเภทผู้ป่วย ผู้ป่วยใน ขอเลขอนุมัติ ผู้ป่วยนอก สำรองเงิน รับบริการ
กรณีที่ไม่พบข้อมูลลงทะเบียนกรณีที่ไม่พบข้อมูลลงทะเบียน กรณีที่ไม่พบข้อมูลลงทะเบียน เมื่อเข้ารับบริการ แล้วมีการสำรองจ่าย นายทะเบียนต้องบันทึกข้อมูลลงทะเบียนสิทธิ ก่อนการบันทึกคำร้องขอเบิกเงินที่รองจ่าย
การลงทะเบียนจ่ายตรง (สแกนลายนิ้วมือ) • ต้องการใช้บริการที่โรงพยาบาลไหนให้ไปสแกนไว้ก่อน • สามารถไปลงทะเบียนจ่ายตรงได้หลายโรงพยาบาล • เดิม เมื่อลงทะเบียนจ่ายตรงแล้วสามารถใช้สิทธิได้ทันที • ใหม่ เมื่อลงทะเบียนจ่ายตรง จะอนุมัติทุกวันที่ 4,19 เริ่ม 4 ม.ค. 57 ดังนี้ • ลงทะเบียนไว้ตั้งแต่วันที่ 19 ถึงวันที่ 3 ของเดือนถัดไป จะใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 4 เป็นต้นไป • ลงทะเบียนไว้ตั้งแต่วันที่ 4 ถึงวันที่ 18 จะใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 19 เป็นต้นไป
หลักฐานในการขอสิทธิเบิกจ่ายตรงหลักฐานในการขอสิทธิเบิกจ่ายตรง 2.1 กรณีผู้ใหญ่และเด็กอายุ >7 ปี สามารถเข้ารับการรักษาในรพ.ของรัฐโดยไม่ต้องสำรองจ่าย หากมีข้อมูลในฐานทะเบียนสิทธิอปท.แล้วเท่านั้น โดยครั้งแรกที่มารับ บริการ ให้นำบัตรปชช.มาสมัครเพื่อลงทะเบียนเบิกจ่ายตรง และทำการสแกนลายพิมพ์นิ้วมือ เมื่อผ่านการ อนุมัติ ก็สามารถใช้สิทธิจ่ายตรงในวันนั้น 2.2 กรณีของเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ให้ใช้สูติบัตรหรือบัตรสุขภาพเด็กที่รพ.ออกให้ เพื่อทำ เรื่องขอลงทะเบียนเบิกจ่ายตรง และทำการสแกนลายพิมพ์ นิ้วมือ เมื่อผ่านการอนุมัติ ก็สามารถใช้สิทธิจ่ายตรงใน วันนั้นเช่นเดียวกับ 2.1 ในกรณีที่ไม่สามารถสแกนลายพิมพ์นิ้วมือ ให้หน่วยบริการระบุเหตุผลประกอบการขอสิทธิเบิกจ่ายตรงเพื่อประกอบการพิจารณา
กรณีสำรองเงินสดจ่ายก่อนและนำใบเสร็จมาเบิกเงินคืนกรณีสำรองเงินสดจ่ายก่อนและนำใบเสร็จมาเบิกเงินคืน • ให้ผู้มีสิทธินำเสร็จรับเงินที่ได้รับจากรพ.มาส่งให้นายทะเบียนหน่วยเบิก • นายทะเบียนการเงินจะต้องทำการบันทึกข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเข้าสู่เว็บไซต์ สปสช.พร้อมสแกนใบเสร็จรับเงินเข้าสู่ระบบเพื่อรอการตรวจสอบ • แบบเบิกเงินสวัสดิการรักษาพยาบาลฯ (แบบ รบ.3)(เก็บไว้ไม่ต้องสแกน) • ใบเสร็จ พร้อมผู้มีสิทธิลงนามรับรอง “ข้าพเจ้ารับรองว่าได้สำรองจ่ายเงินเพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลไปจริงทุกประการ” • สปสช.จะทำการประมวลผลจ่ายเงินคืนเดือนละครั้ง (ทุกวันที่ 15 ) • เมื่อได้รับเงินโอน นายทะเบียนการเงินจะต้องจัดระบบการจ่ายเงินคืนผู้มีสิทธิต่อไป
โปรแกรมสำหรับขอเบิกค่ารักษา(สำหรับหน่วยงาน อปท.) 2 1 3 4 5 6 7 8 9 10
โปรแกรมสำหรับขอเบิกค่ารักษาโปรแกรมสำหรับขอเบิกค่ารักษา 3 1 2
การค้นหาข้อมูลรายการขอเบิกการค้นหาข้อมูลรายการขอเบิก ห้ามใส่อะไรเลย(โปรแกรมไม่สมบูรณ์) เลือกสถานะ สถานะข้อมูล อนุมัติผ่าน =ข้อมูลที่ตรวจสอบแล้วพบว่าตรงกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไข สามารถจ่ายชดเชยได้ ไม่อนุมัติ =ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ เช่น หน่วยบริการในใบเสร็จ ไม่ตรงกับข้อมูลที่บันทึกเข้าในระบบ
เพื่อดูรายละเอียด เช่น สาเหตุไม่อนุมัติ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูล
ข้อควรทราบ • สำหรับผู้ป่วยนอก ให้บันทึกข้อมูล ผู้ใช้สิทธิ 1 คนต่อ 1 วัน • ขอให้ตรวจสอบความถูกต้องทุกครั้งหลังจากบันทึกข้อมูลไปแล้ว เนื่องจาก เมื่อสถานะอนุมัติแล้ว จะไม่สามารถแก้ไข ลบข้อมูลได้
การเปิดบัญชีใหม่เพื่อรองรับการโอนเงินคืนผู้มีสิทธิกรณีใบเสร็จการเปิดบัญชีใหม่เพื่อรองรับการโอนเงินคืนผู้มีสิทธิกรณีใบเสร็จ • บัญชีเดิมของอบต.ที่สปสช.เคยโอนเงินกองทุน PP ให้อบต.นั้น จะใช้ชื่อเป็น “กองทุนประกันสุขภาพตำบล” ไม่สามารถรับโอนเงินจากกองทุนนี้ได้ • ใช้บัญชีเงินบำรุงของ อปท. ที่มีอยู่ กำหนดให้เป็น ธกส. หรือ กรุงไทย เพื่อยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอน • ชื่อบัญชีให้มีชื่อหน่วยงานตรงกัน • ให้หน่วยงานทุกแห่งส่งรายชื่อบัญชีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขต เรียน ผู้อำนวยการ สปสช. เขต 8 อุดรธานี หรือ สปสช. เขต 7 ขอนแก่น เรื่อง ส่งรายละเอียดบัญชีเพื่อรับโอนเงินสวัสดิการรักษาพยาบาลพนักงานส่วนท้องถิ่น สิ่งที่ส่งมาด้วย สำเนาหน้าบัญชีพร้อมรับรองสำเนา
การขอ Username สำหรับโปรแกรมลงทะเบียนสิทธิพนักงานส่วนท้องถิ่น (เฉพาะพื้นที่ สปสช.เขต 8 อุดรธานี)
วัตถุประสงค์ • เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานลงทะเบียน และเจ้าหน้าที่การเงิน สามารถดำเนินการบันทึกข้อมูลได้ทันเวลา เป็นปัจจุบัน • แก้ปัญหากรณีลืมรหัสผ่าน สำหรับเข้าใช้งาน • เป็นช่องทางในการติดต่อสอบถาม แก้ไขปัญหา เกี่ยวกับรหัสผู้ใช้งาน
ขั้นตอน • เข้าไปที่เว็บ http://udonthani.nhso.go.th • คลิกเมนู • อ่านคำแนะนำให้ครบถ้วน • ทำตามขั้นตอนโดยเคร่งครัด โดยเฉพาะการแนบไฟล์