1.03k likes | 2.93k Views
ลิลิตตะเลงพ่าย. เสนอ ผศ.ดารกา ทองมิตร โดย นางสาว ซาร่าห์ ตุลยกิจจา ม.๕/๑ เลขที่ ๑๖.
E N D
เสนอ ผศ.ดารกา ทองมิตร โดย นางสาว ซาร่าห์ ตุลยกิจจา ม.๕/๑ เลขที่ ๑๖
พระประวัติ : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าวาสุกรีเป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๓ ทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา จนทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ประทับอยู่ ณ วัดพระเชตุพนฯ ทรงเป็นพระราชาคณะ และได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรสในสมัยรัชกาลที่ ๒ พ.ศ. ๒๓๙๔ รัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯให้เลื่อนเป็นกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส และสิ้นพระชนม์ในสมณเพศเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๖ รวมพนระชนมายุได้ ๖๔ พรรษา ต่อมารัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯสถาปนา ขึ้นเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ผู้แต่ง : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส พระนิพนธ์ของพระองค์ท่านมีหลายหลาย เช่น สรรพสิทธิ์คำฉันท์ ลิลิตตะเลงพ่าย กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ เป็นต้น
ลักษณะคำประพันธ์ เรื่องลิลิตตะเลงพ่ายแต่งด้วยลิลิตสุภาพ ซึ่งประกอบด้วยร่ายสุภาพ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ แต่งสลับกันไป จำนวน ๔๓๙ บท โดยได้แบบอย่างการแต่งมาจากลิลิตยวนพ่าย ที่แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ลิลิตเปรียบได้กับงานเขียนมหากาฬ จัดเป็นวรรณคดีประเภทเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์
ลักษณะการแต่งลิลิต ลิลิต คือ คำประพันธ์ชั้นสูง ที่ต้องใช้ถ้อยคำ สำนวนโวหารทั้งของไทย และที่ได้จากต่างประเทศ การแต่งลิลิตจะประกอบด้วยร่าย และโคลง มี ๒ ประเภท ๑.ลิลิตสุภาพ แต่งด้วยร่ายสุภาพ และโคลงสุภาพ ๒.ลิลิตโบราณ แต่งด้วยร่ายดั้น และโครงดั้น
ลักษณะบังคับของร่ายสุภาพ ร่ายสุภาพบทหนึ่งมีตั้งแต่ ๕วรรคขึ้นไป และตอนท้ายต้องจบด้วยโคลงสองสุภาพ ร่ายสุภาพแต่ละวรรคกำหนดให้มี ๕คำ สำหรับสัมผัสบังคับของร่ายสุภาพ กำหนดให้คำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑หรือที่ ๒หรือที่ ๓เพียงดำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไป การส่งสัมผัสเป็นไปเช่นนี้จนกระทั่งจบด้วยโคลงสองสุภาพ ส่วนสัมผัสในซึ่งเป็นสัมผัสที่ไม่บังคับในร่ายสุภาพใช้ไดทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระ แต่นิยมสัมผัสพยัญชนะมากกว่า ตัวอย่างร่ายสุภาพ.............เสร็จเสาวนีย์สั่งสนม เนืองบังคมคำราช พระบาทบทันนิทรา จวนเวลาล่วงสาง พื้นนภางค์เผือดดาว แสงเงินขาวขอบฟ้า แสงทองจ้าจับเมฆ........ฯลฯ..........ขอลาองค์ท่านไท้ ไปเผด็จดัสกรให้ เหือดเสี้ยนศึกสยาม สิ้นนา
ลักษณะบังคับของโคลงสองสุภาพ โคลงสองสุภาพบทหนึ่งมี ๓วรรค ๆ หนึ่งมี ๕คำ ยกเว้นวรรคสุดท้ายมีเพียง ๔คำ ในตอนท้ายมีคำสร้อยได้ ๒คำ สัมผัสของโคลงสองสุภาพมีเพียงแห่งเดียว คือคำสุดท้ายของวรรคแรกส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ตัวอย่างโคลงสองสุภาพ............... พระฟังความลูกท้าว ลาเสด็จศึกด้าว ดั่งเบื้องบรรหาร
ลักษณะบังคับโคลงสามสุภาพ โคลงสามสุภาพบทหนึ่งมี ๔วรรค ๆ ละ ๕คำ ยกเว้นวรรคสุดท้ายซึ่งมี๔คำ และมีคำสร้อยตอนท้ายอีก ๒คำ สัมผัสโคลงสามสุภาพกำหนดให้คำสุดท้ายของวรรคแรกส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๓ของวรรคที่๒และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ตัวอย่างโคลงสามสุภาพ........... ล่วงลุด่านเจดีย์ สามองค์มีแห่งหั้น แดนต่อแดนกันนั้น เพื่อรู้ราวทาง
ลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ โคลงสี่สุภาพบทหนึ่งมี ๔บาท แต่ละบาทประกอบด้วย ๒วรรค คือ วรรคหน้า ๕คำ วรรคหลัง ๒คำ ยกเว้นบาทที่ ๔ที่มีวรรคหลัง ๔คำ นอกจากนี้ในบาทที่ ๑และบาทที่ ๓อาจมีสร้อยคำได้อีกบาทละ๒คำ โคลงสี่สุภาพบังคับคำเอก ๗คำ คำโท ๔คำ โดยถือรูปวรรณยุกต์เป็นเกณฑ์ และคำเอกอาจใช้คำตายแทนได้ สัมผัสโคลงสี่สุภาพได้แก่ คำสุดท้ายของบาทที่๑(ไม่นับคำสร้อย) ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๕ของบาทที่ ๒และบาทที่ ๓คำสุดท้ายของบาทที่ ๒ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๕ของบาทที่ ๔ส่วนสัมผัสในของโคลงสี่สุภาพนิยมสัมผัสอักษร ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพ........ กระเต็นกระตั้วตื่น แตกคน ยูงย่องยอดยูงยล โยกย้าย นกเปล้านกปลีปน ปลอมแปลก กันนา คล่ำคล่ำคลิ้งโคลงคล้าย คู่เคล้าคลอเคลีย
จุดมุ่งหมายในการแต่ง ๑. เพื่องานพระราชพิธีฉลองตึกวัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระเจ้านั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว๒. เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช๓. เพื่อผู้นิพนธ์จะได้อานิสงค์บรรลุนิพพาน
ความหมายของชื่อเรื่องความหมายของชื่อเรื่อง ตะเลง แปลว่า มอญ พ่าย แปลว่า แพ้ รวมความหมายว่า มอญแพ้ แต่ในที่นี้ หมายถึง รวมพม่าด้วย เพราะเมื่อพม่าได้ครอบครองดินแดนและยึดเมืองหลวงของมอญ คือ กรุงหงสาวดี เป็นเมืองหลวงของตน พระเจ้าแผ่นดินจึงเป็นพระเจ้าแผ่นดินมอญด้วย และทหารที่เกณฑ์มารบก็มีทหารมอญปะปนมาด้วยมากมาย เราจึงเรียกพม่าและมอญรวมๆไปว่า " ตะเลง "
ประวัติความเป็นมา ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดีไทยที่แต่งด้วยถ้อยคำไพเราะและสามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างลึกซึ้งอย่างยิ่งทั้งนี้เพราะกวีได้ตอบสนองรสนิยมของคนไทย ที่มีจิตใจละเอียดอ่อน ชอบวรรณศิลป์ ชอบใช้ถ้อยคำที่คล้องจอง คมคาย และชวนคิด ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นหนังสือที่มีศิลปะการใช้ภาษาที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการแต่งเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ผู้ทรงกอบกู้ชาติความดีเด่นของลิลิตตะเลงพ่ายคือ การเล่นคำและการใช้โวหารอุปมาอุปไมย เพื่อให้เกิดภาพพจน์ จินตนาการ และสะเทือนอารมณ์ กวีได้สอดแทรกความรู้ต่างๆมากมาย เช่น การจัดกระบวนทัพของไทยสมัยอยุธยา และยุทธศาสตร์แต่ไม่เคร่งครัดในด้านภูมิศาสตร์ นอกจากนี้กวียังได้นำชื่อนกและชื่อต้นไม้มาใช้ในบทครวญถึงนางตามแบบอย่างลิลิตยวนพ่าย
ประวัติความเป็นมา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส (พ.ศ. ๒๓๓๓ - ๒๓๙๖) ผู้ทรงพระนิพนธ์ลิลิตตะเลงพ่าย มีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าวาสุกรี ทรงเป็นโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๔ และทรงครองเพศสมณะจนสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงเป็นนักปราชญ์ที่แท้จริงแม้จะทรงมีพระภารกิจด้านศาสนาอยู่มาก แต่ก็ทรงศึกษาหนังสือทั้งด้านศาสนา นิติศาสตร์โหราศาสตร์ ประวัติศาสตร์ จึงทรงพระนิพนธ์หนังสือได้มากมาย ทางด้านวรรณคดี ทรงมีฝีมือเป็นเลิศในการแต่ง โคลง ฉันท์ และลิลิต
ประวัติความเป็นมา เนื้อเรื่องของลิลิตตะเลงพ่าย ได้เค้าเรื่องมาจากพงศาวดารสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกล่าวถึงการเสด็จเสวยราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดา และมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จไปตีเขมร เพื่อเป็นการแก้แค้นเขมรที่ยกทัพมาตีชายแดนไทย ต่อจากนั้น เนื้อเรื่องกล่าวถึงพระเจ้าหงสาวดีโปรดให้พระมหาอุปราชากรีฑาทัพมาตีไทย เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงทราบข่าวศึกก็ยกทัพเสด็จออกไปทำศึกนอกพระนครระหว่างที่ทัพพม่าปะทะกับทัพหน้าของไทย ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวร และของสมเด็จพระเอกาทศรถตกมันวิ่งเข้าไปท่ามกลางข้าศึกตามลำพัง สมเด็จพระนเรศวรทรงระงับความตกพระทัย และตรัสท้าพระมหาอุปราชากระทำสงครามยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถทรงได้รับชัยชนะ
ประวัติความเป็นมา เมื่อเลิกทัพกลับพระนคร สมเด็จพระนเรศวรทรงปูนบำเหน็จรางวัลแก่ทหารผู้มีความชอบ และลงโทษประหารทหารที่ติดตามพระองค์ไม่ทัน ทั้งนี้เป็นไปตามกฎมณเฑียรบาล แต่สมเด็จพระวันรัตวัดป่าแก้วได้กราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษ ให้แก่ทหารเหล่านั้น สมเด็จพระนเรศวรทรงยินยอมและ โปรดให้ไปทำสงครามแก้ตัว หลังจากนั้นทรง ดำเนินพระราชกรณียกิจต่อ ด้วยการทำนุบำรุงหัวเมืองเหนือ และรับทูตจากเมืองเชียงใหม่ที่มา ขอเป็นเมืองขึ้น
ประวัติความเป็นมา ตัวอย่าง โวหารแสดงความโกรธจากลิลิต ตะเลงพ่าย ตอนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงปรารภเรื่องที่จะไปปราบเขมร เนื่องจากเขมรมักจะยกทัพมาตีไทยระหว่างที่ไทยมีศึกกับพม่าทรงรู้สึกโกรธและเจ็บช้ำพระทัย ทำให้คิดอะไรก็หมดความรื่นรมย์ จึงต้องยกทัพไปปราบให้หายแค้น ดังนี้ "...คลุ้มกมลแค้นคั่ง ดังหนามเหน็บเจ็บช้ำ ย้ำยอกทรวงดวงแด แลบชื่นอื่นชม..." "...ครานี้กูสองตน ผ่านสกลแผ่นหล้า ควรไปร้ารอนเข็น เห็นมือไทยที่แกล้ว แผ้วภพให้เป็นเผื่อน เกลื่อนภพให้เป็นพง..."
เนื้อเรื่องย่อ (เหตุการณ์ทางกรุงหงสาวดี )ฝ่ายพระมหาอุปราชาได้ทรงหาปรึกษากันว่า พระมหาธรรมราชาทรงสวรรคต แล้วขณะนี้ก็เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะยกทัพไปตีเมือง อยุธยา เพราะ ช่วงเวลานี้อาจเกิดการแย่งชิงราชสมบัติ พระเจ้านันทบุเรงก็ทรงมีพระราชดำริให้พระมหาอุปราชาทรงออกไปรบ แล้วโหนก็ทำนายว่าพระมหาอุปราชาจะถึงฆาต พระมหาอุปราชาจึงหวาดกลัวกับคำทำนาย พระเจ้านันทบุเรง จึงประชดว่า ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรไม่เห็นต้องออกคำสั่งให้ไปออกรบ สมเด็จพระนเรศวรทรงทำด้วยความเต็มใจ สมกับเป็นลูกของนักรบ พระมหาอุปราชาทรงฟังจบ ก็ทรงกลัวพระราชบิดาโกรธ จึงจัดทหาร 4 เหล่าเดินทางเพื่อจะออกรบเพื่อเผด็จศึกเมืองอยุธยา แล้วทรงมีพระราชโองการป่าวประกาศไปทั่วเมืองรอบๆ ให้เตรียมทัพสำหรับออกรบ ต่างก็ตกแต่งช้าง ม้า เตรียมเสบียงให้พร้อม ให้สมกับทัพหลวงและศึกอันยิ่งใหญ่นี้ เมื่อถึงเวลาเช้าตรู่ ก็ทรงเสด็จไปพบพระสนมด้วยสีหน้า เศร้าหมอง เพื่อล่ำลานางอันเป็นที่รัก ด้วยความจำใจที่ต้อง ทำการศึกยิ่งใหญ่ครั้งนี้
เนื้อเรื่องย่อ (เจ้ากรุงหงสาวดีประทานโอวาท ) พระเจ้ากรุงหงสาวดีประทานโอวาทแก่พระมหาอุปราชา โดยกล่าวว่า สงครามไม่มีอะไรมากมาย อย่าทำตามใจตนเอง ให้พินิจพิจารณาศึกสงครามให้อย่างถี่ถ้วน แล้วก็บอกถึง เคล็ดลับในการทำศึกทั้ง 8 ข้อ ที่โบราณสอนไว้ว่า๑. หมั่นเอาใจทหารให้มีกำลังใจอยู่เสมอ๒. อย่าเกียจคร้าน๓. อย่าโง่เขลา๔. ควรรู้กำลังข้าศึก๕. มีความรู้เจนชำนาญ๖. รู้ตำราการตั้งค่าย๗. ให้รู้จักมอบรางวัลให้กับคนเก่ง๘. อย่าเกียจคร้านในการทำศึกแล้วขอให้ลูกจงจำคำที่พ่อสอนไว้ ขอให้พระจงคุ้มครองเจ้าให้ชนะศึกในครั้งนี้
เนื้อเรื่องย่อ ( พระมหาอุปราชารำพันถึงนาง ) พระมหาอุปราชารำพันถึงนางอันเป็นที่รักว่า พระองค์มาคนเดียวรู้สึกเปล่าเปลี่ยวเดียวดาย เศร้าสร้อยมาก ดูดอกไม้เบิกบานใจก็ทำให้คิดถึงนางอันเป็นที่รัก เห็นต้นสลัดไดก็ทำให้พระองค์คิดว่า ทำไมตัวเราจึงต้องทิ้งพระสนมไว้เพื่อมาทำการศึกคิดถึงต้นสละก็คล้ายกับการสละพระสนม เมื่อนึกถึงต้นระกำก็ช้ำใจ พอเห็นดอกสายหยุดกลิ่นของดอกสายหยุดก็หายไปแต่กี่คืนกี่วันไม่สามารถหยุดความคิดถึงนางอันเป็นที่รักได้ ความรักของพระมหาอุปราชาไม่เคยหายยังคงคิดถึงพระสนมอยู่เสมอ
เนื้อเรื่องย่อ (ลางร้ายของพระมหาอุปราชา ) พระองค์ทรงฝืนใจขับช้างมาเรื่อยๆ จนกระทั่งมาถึงอำเภอ พนมทวน ก็เกิดเหตุประหลาดให้ทราบ คือ เกิดหมอกทำให้ท้องฟ้ามืดมิดมีลม เวรัมภา พัดคลุมทำให้ฉัตรบนหลังช้างหักตกลงมา พระมหาอุปราชาจึงตรัสให้ โหรมาทำนายถึงเหตุการณ์เมื่อครู่นี้ โหรไม่กล้าทูลบอกความจริงแก่พระมาหาอุปราชาเพราะเกรงกลัวโทษถ้าหากตนเองพูดไม่ถูกพระทัย จึงทูลให้ทราบแต่เรื่องที่ดีๆ โดยกล่าวว่าเหตุการณ์นี้ถ้าเกิดตอนเช้าไม่ดี แต่ถ้าเกิดตอนเย็นจะเป็นลางดี ขออย่าให้พระองค์ทรงเป็นกังวลไปเลย จะมีผลกระทบต่อการทำศึกเสียเปล่าๆ
เนื้อเรื่องย่อ ( พระมหาอุปราชารำพึงถึงพระบิดา ) เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้พระมหาอุปราชาก็ทรงคิดถึงพระราชบิดา ( พระเจ้านันท-บุเรง ) แล้วคร่ำครวญว่าถ้าหากพระราชบิดาสูญเสียตนเองไปก็เหมือนกับการถูกตัดแขน ตัดขาไป ข้างหนึ่ง จะทำให้พระราชบิดาไม่มีพระองค์คอยช่วยรบกับบุเรงนอง พระองค์ทรงเป็นกังวลว่าตนเองจะทำการศึกครั้งนี้ไม่สำเร็จ พระองค์ก็ทรงมีพระพรรษามากแล้ว สงครามคราวนี้ยิ่งใหญ่มาก ถ้าหากพระองค์ทรงสวรรคต ใครจะมารับร่างของพระองค์ไปให้พระราชบิดา ร่างของพระองค์ก็คงจะถูกทิ้งอยู่ในสนามรบ อยู่บ้านเมืองก็คงไม่มีใครมาเป็นคู่คิด จะทำการอันใดก็คงจะข้องใจไปหมด และพระมหาอุปราชาก็ทรงกลัวว่าจะไม่ได้ตอบแทนพระคุณอันใหญ่หลวงราวกับแผ่นดิน ที่ได้เลี้ยงดูมา
เนื้อเรื่องย่อ ( พระสุบินและพระนิมิตของสมเด็จพระนเรศวร ) เทวดาบันดาลให้สมเด็จพระนเรศวรทรงพระสุบิน ( ฝัน ) เห็นกระแสน้ำไหลลงมาจากทิศตะวันตก ( พม่า ) เมื่อมองไปทางใดก็ทรงเห็นแต่น้ำ เมื่อลุยน้ำก็เจอกับจระเข้ตัวใหญ่แล้วทรงเข้าปะทะต่อสู้กันจนน้ำในแม่น้ำกระจัดกระจาย พระองค์ทรงใช้พระแสงโดดเข้าฟันจระเข้ กระทั่งจระเข้ตาย น้ำจึงเหือดแห้งไป เมื่อพระองค์ตื่นก็ทรงดีใจมากที่สามารถชนะศัตรูได้ จึงเรียกโหรมาทำนาย เมื่อโหรได้ฟังพระนเรศวรจบจึ่งได้กล่าวว่า เป็นความฝันแบบเทพสังหรณ์ คือ เทวดาดลใจให้ฝันเป็นนัยๆ การที่มีแม่น้ำนองมาเต็มป่า เปรียบได้ดั่งกองทัพของพม่า ซึ่งการทำศึกอาจจะต้องทำยุทธหัตถีด้วย แล้วการที่สมเด็จพระนเรศวร ทรงฟันจระเข้ด้วยมีดคอง้าว เปรียบได้ดั่ง ศัตรูต้องสิ้นชีวิตลงด้วยน้ำพระหัตถ์ของพระองค์เอง ( มือของพระองค์เอง ) และพระองค์ก็จะสามารถเอาชนะข้าศึกได้ ดั่งที่ทรงพระสุบิน สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสให้เตรียมยกทัพ ให้พร้อมทั้งกำลังพล และ เสบียงทั้งหลาย ในขณะที่รอการตั้งขบวนยกทัพเพื่อศึกครั้งยิ่งใหญ่นี้ก็ได้เกิดนิมิตหมายอันดีกับสมเด็จพระนเรศวรอีกครั้ง เมื่อพบพระบรมสารีริกธาตุลอยมาวนรอบกองทัพ โดยเป็นลักษณะ วนทางขวาเมื่อวานรอบๆแล้วก็ทรงหายไป
เนื้อเรื่องย่อ (ช้างทรงสมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถฝ่าเข้าไปในกองทัพข้าศึก ) สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสั่งทหารให้เคลื่อนพลตามเกล็ดนาค มีทหารเป็นจำนวนมาก อยู่ล้อมรอบ ส่วน เจ้าพระยาไชยานุภาพช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเจ้าพระยาปราบไตรจักรช้างทรงของพระเอกาทศรถ เมื่อได้ยินเสียงฆ้องกลอง ดัง ก็เกิดความตกใจ วิ่งออกจากกองทัพ เข้าสู่ฝ่ายของศัตรู ทำให้นายทหารทั้งหลายไม่สามารถวิ่งตามทันได้ และทำให้ สมเด็จพระนเรศวรและพระเอกาทศรถ เข้ามาอยู่ในวงล้อมของข้าศึกพม่าทำกลลวงให้พระนเรศวรสับสนหาพระมหาอุปราชาไม่พบ ในที่สุด สมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นช้างเชือกหนึ่งอยู่ใต้ต้นข่อย มีทหารแวดล้อมมากมาย จึงทรงคะเนว่าผู้ที่อยู่บนหลังช้าง คือ พระมหาอุปราชา
เนื้อเรื่องย่อ ( ยุทธหัตถีและชัยชนะของไทย ) สมเด็จพระนเรศวร ทรงเชิญพระมหาอุปราชาออกกระทำยุทธหัตถี โดยใช้วาทศิลป์ที่ไพเราะ ดั่งคำกลอนนี้พระพี่พระผู้ผ่าน ภพอุต-ดมเอย ไป่ชอบเชษฐ์ยืนหยุด ร่มไม้ เชิญราชร่วมคชยุทธ์ เผยอเกียรติ ไว้แฮ สืบกว่าสองเราไสร้ สุดสิ้นฤามีและสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงฟันพระมหาอุปราชาขาดคาคอช้าง ส่วนพระเอกาทศรถทรงชนช้างกับมางจาชโร พระพี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชา และฟันมางจาชโรตายเช่นกัน ศึกครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวรทรงเสียควาญช้าง และพระเอกาทศรถทรงเสียกลางช้าง หลังจากนั้นกองทัพไทยตามมาถึง และเข้าสู้รบกับพม่าจนพม่าแตกพ่ายไป สมเด็จพระนเรศวรโปรดฯให้สร้างสถูปครอบพระศพของระมหาอุปราชา ณ ตำบลตระพังตรุ สุพรรณบุรี แล้วทรงปูนบำเหน็จให้แก่ เจ้ารามราฆพ กลางช้างของพระองค์ ขุนศรีคชคง ควาญช้างของพระเอกาทศรถ ส่วนนายมหานุภาพและหมื่นภักดีศวร ควาญช้างและกลางช้างที่ตายในสนามรบ ทรงพระราชทานบำเหน็จบำนาญทรัพย์สินและสำรดแก่ ภรรยาและบุตรของทั้งสองคน ส่วนแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จไม่ทัน รับสั่งให้ประหารตามกฎพระอัยการศึก
เนื้อเรื่องย่อ ( สมเด็จพระวันรัตสดุดีสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ) สมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้ว ทรงนำคณะสงฆ์ ๒๕รูป เข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศวร เพื่อทูลขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่แม่ทัพนายกอง โดยสมเด็จพระวันรัตกราบทูลเปรียบเทียบว่าการที่พระนเรศวรมหาราชทรงชนะศึกในครั้งนี้ ก็เหมือนกับ การที่พระพุทธเจ้าทรงชนะมารทั้งหลาย จึงทูลขอให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชพระราชทานโทษให้แก่นายทหารที่ตามไปไม่ทัน สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระราชทานอภัยโทษแต่ต้องให้ทำงานแก้ตัว โดยให้ทัพเจ้าพระยาพระคลังไปตีเมืองทวาย และ ทัพเจ้าพระยาจักรีไปตีเมืองมะริดและตะนาวศรี
คุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายคุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย ๑. ความรอบคอบไม่ประมาท ในเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายนี้เราจะเห็นคุณธรรมของพระนเรศวรได้อย่างเด่นชัดและสิ่งที่ทำให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถมากที่สุดคือความรอบคอบ ไม่ประมาท
คุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายคุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย ดั่งโคลงสี่สุภาพตอนหนึ่งกล่าวว่า๖๒(๑๖๔) พระห่วงแต่ศึกเสี้ยน อัสดง เกรงกระลับก่อรงค์ รั่วหล้า คือใครจักคุมคง ควรคู่เข็ญแฮ อาจประกันกรุงถ้า ทัพข้อยคืนถึงหลังจากที่พม่ายกกองทัพเข้ามาพระองค์ก็ทรงสั่งให้พ่ายพลทหารไปทำลายสะพานเพื่อว่าเมื่อฝ่ายไทยชนะศึกสงครามพ่ายพลทหารของฝ่ายพม่าก็จะตกเป็นเชลยของไทยทั้งหมดนั่นแสดงให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีทัศนคติที่กว้างไกลซึ่งมีผลมาจากความรอบคอบไม่ประมาท
คุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายคุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย ๒. การเป็นคนรู้จักการวางแผน จากการที่เราได้รับการศึกษาเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายเราจะเห็นได้ชัดเจนว่าในช่วงตอนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเปลี่ยนแผนการรบเป็นรับศึกพม่าแทนไปตีเขมร พระองค์ได้ทรงจัดการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนอย่างไม่รอช้าทรงแต่งตั้งให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นแม่ทัพหน้าและพระราชฤทธานนท์เป็นปลัดทัพหน้าตามด้วยแผนการอื่นๆอีกมากมายเพื่อทำการรับมือและพร้อมที่จะต่อสู้กับข้าศึกศัตรูทางฝ่ายพม่า
คุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายคุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย ยกตัวอย่างโคลงสี่สุภาพที่แสดงให้เราเห็นถึงการรู้จักการวางแผน ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช๖๓(๑๖๕) พระพึงพิเคราะห์ผู้ ภักดี ท่านนา คือพระยาจักรี กาจแกล้ว พระตรัสแด่มนตรี มอบมิ่ง เมืองเฮย กูไกลกรุงแก้ว เกลือกช้าคลาคืน เมื่อเราเห็นถึงคุณธรรมทางด้านการวางแผนแล้วเราก็ควรเอาเยี่ยงอย่างเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตให้เป็นไปอย่างมีระเบียบมีแบบแผน ซึ่งจากคุณธรรมข้อนี้ก็อาจช่วยเปลี่ยนแปลงให้ท่านผู้อ่านทุกท่านให้กลายเป็นบุคคลที่มีคุณภาพชีวิตทางด้านการวางแผนในการดำเนินชีวิตก็เป็นได้ถ้าเรารู้จักการวางแผนให้กับตัวเราเอง
คุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายคุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย ๓.การเป็นคนรู้จกความกตัญญูกตเวที จากบทการรำพึงของพระมหาอุปราชาถึงพระราชบิดานั้นแสดงให้เราเห็นอย่างเด่นชัดเลยทีเดียวว่าพระมหาอุปราชาทรงมีความห่วงใย อาทรถึงพระราชบิดาในระหว่างที่ทรงออกรบซึ่งแสดงให้เราเห็นถึงความรักของพระองค์ที่มีต่อพระราชบิดา โดยพระองค์ได้ทรงถ่ายทออดความนึกคิด และรำพึงกับตัวเอง
คุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายคุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย ดั่งโคลงสี่สุภาพที่กล่าวไว้ว่า ๕๑(๑๕๒) ณรงค์นเรศด้าว ดัสกร ใครจักอาจออกรอน รบสู้ เสียดายแผ่นดินมอญ มอดม้วยแฮ เหตูบ่มีมือผู้ อื่นต้านทานเข็ญ ซึ่งเมื่อแปลจะมีความหมายว่าเมื่อยามที่สงครามขึ้นใครเล่าจะออกไปรบแทนท่านพ่อจากโคลงนี้ไม่ได้แสดงให้เราเห็นถึงความกตัญญูที่มีต่อพระราชบิดาของพระมหาอุปราชาเพียงอย่างเดียวแต่ยังมีความกตัญญู ความจงรัก ภักดี ต่อชาติบ้านเมืองอีก
คุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายคุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย ๔.การเป็นคนช่างสังเกตและมีไหวพริบ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถทางด้านการมีความสติปัญญาและมีไหวพริบเป็นเลิศดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงมีคุณธรรมทางด้านการเป็นคนช่างสังเกตและมีไหวพริบด้วยเหตุนี้ทำให้พระองค์ทรงสามารถแก้ไขสถานการณ์อันคับขันในช่วงที่ตกอยู่ในวงล้อมของพม่าได้ซึ่งฉากที่แสดงให้เราเห็นว่า พระองค์ทรงมีคุณธรรมทางด้านนี้คือ
คุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายคุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย ๑๓๐(๒๙๖) โดยแขวงขวาทิศท้าว ทฤษฎี แลนาบัด ธ เห็นขุนกรี หนึ่งไสร้เถลิงฉัตรจัตุรพิรีย์ เรียงคั่ง ขูเฮยหนแห่งฉายาไม้ ข่อยชี้เฌอนาม ๑๓๑(๒๙๗) ปิ่นสยามยลแท้ท่าน คะเนนึก อยู่นา ถวิลว่าขุนศึกสำ- นักโน้น ทวยทับเทียบพันลึก แลหลาก หลายแฮ ครบเครื่องอุปโภคโพ้น เพ่งเพี้ยงพิศวง
คุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายคุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้วิธีการสังเกตหาฉัตร5ชั้นของพระมหาอุปราชาทำให้พระองค์ทรงทราบว่าใครเป็นพระมหาอุปราชาทั้งๆที่มีทหารฝ่ายข้าศึกร่ายล้อมพระองค์จนรอบแต่ด้วยความมีไหวพริบพระองค์จึงตรัสท้ารบเสียก่อนเพราะถ้าพระองค์ไม่ทรงตรัสท้ารบเสียก่อนพระองค์อาจทรงถูกฝ่ายข้าศึกรุมโจมตีก็เป็นได้ดังนั้นเมื่อเราเห็นคุณธรรมของพระองค์ด้านนี้แล้วก็ควรยึดถือและนำไปปฏิบัติตามเพราะสิ่งดีๆเหล่านี้อาจก่อให้เกิดผลดีต่อตนเองและต่อประเทศชาติได้
คุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายคุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย ๕.ความซื่อสัตย์ จากเนื้อเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่าบรรดาขุนกรีและทหารมากมายทั้งฝ่ายพม่าและฝ่ายไทยมีความซื่อสัตย์และความจงรักภักดีต่อประเทศชาติของตนมากเพราะจากการที่ศึกษาเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายเรายังไม่เห็นเลยว่าบรรดาทหารฝ่ายใดจะทรยศต่อชาติบ้านเมืองของตนซึ่งก็แสดงให้เราเห็นว่าความซื่อสัตย์ในเราองเล็กๆน้อยๆก็ทำให้เราสามารถซื่อสัตย์ในเรื่องใหญ่ๆได้ซึ่งจากเรื่องนี้ความซื่อสัตย์เล็กๆน้อยๆของบรรดาทหารส่งผลให้ชาติบ้านเมืองเกิดความเป็นปึกแผ่นมั่นคงได้เราก็เช่นเดียวกัน....ถ้าเรารู้จักมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองดั่งเช่นบรรดาขุนกรี ทหารก็อาจนำมาซึ่งความเจริญและความมั่นคงในชีวิตก็เป็นได้ซึ่งสิ่งนี้อาจส่งผลประโยชน์ต่อตนเองต่อครอบครัวและชาติบ้านเมือง
คุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายคุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย ๖.การมีวาทศิลป์ในการพูด จากเรื่องนี้มีบุคคลถึงสองท่านด้วยกันที่แสดงให้เราเห็น ถึงพระปรีชาสามารถทางด้านการมีวาทศิลป์ในการ พูดท่านแรกคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ใน โคลงสี่สุภาพที่ว่า๑๗๗(๓๐๓) พระพี่พระผู้ผ่าน ภพอุต-ดมเอย ไป่ชอบเชษฐ์ยืนหยุด ร่มไม้ เชิญการร่วมคชยุทธ์ เผยอเกียรติ ไว้แฮ สืบว่าสองเราไซร้ สุดสิ้นฤามีเราจะเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงใช้วาจาที่ไพเราะมีความสุภาพน่าฟังต่อ พระมหาอุปราชาซึ่งเป็นพี่เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประทับอยู่ทางฝ่ายพม่า
คุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายคุณธรรมที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย ท่านที่สองคือสมเด็จพระวันรัต เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงมาขอ พระราชทานอภัยโทษจากพระนเรศวรให้กับบรรดาทหารที่ ตามเสด็จพระนเรศวรในการรบไม่ทันซึ่งอยู่ในโคลงสี่สุภาพที่ว่า๑๗๗(๓๕๗) พระตรีโลกนาถแผ้ว เผด็จมาร เฉกพระราชสมภาร พี่น้อง เสด็จไร้พิริยะราญ อรินาศลงนา เสนอพระยศยินก้อง เกียรติก้องทุกภายการมีวาทศิลป์ในการพูดของสมเด็จพระวันรัตครั้งนี้ทำให้บรรดาขุนกรี ทหารได้รับการพ้นโทษดังนั้นจากคุณธรรมข้อนี้ทำให้เราได้ข้อคิดที่ว่าการพูดดีเป็นศรีแก่ตัวเมื่อเราทราบเช่นนี้แล้วเราทุกคนก่อนที่จะพูดอะไรต้องคิดและไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะพูด
ข้อคิด ๑. ลิลิตตะเลงพ่ายสะท้อนให้เห็นความรักชาติ ความเสียสละ ความกล้าหาญ ของบรรพบุรุษ ซึ่งคนไทยควรภาคภูมิใจ๒. แผ่นดินไทยต้องผ่านการทำศึกสงครามอย่างมากมายกว่าที่ จะมารวมกันเป็นปึกแผ่นอย่างปัจจุบันนี้๓. พระราชภารกิจของกษัตริย์ไทยในสมัยก่อน คือการปกครอง บ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขและรบเพื่อปกป้องอธิปไตยของไทย
คุณค่าจากเรื่อง ๑. เป็นวรรณคดีชั้นสูงของชาติซึ่งถือได้ว่าเป็นแบบอย่างที่ดีของ วรรณคดีอื่นๆ๒. ให้คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์หลายประการ เช่น การเล่นคำ การแทรกบทนิราศคร่ำครวญ การใช้โวหารต่างๆการพรรณนาฉาก ที่ทำให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมและเกิดความรู้สึกคล้อยตาม๓. ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และลักษณะผู้ฟังที่ดี๔. ปลุกใจให้คนไทยรักและเทิดทูนแผ่นดินไทยจนพร้อมที่ จะเสียสละเพื่อบ้านเมืองได้
ตัวละครฝ่ายไทย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือพระองค์ดำ พระมหาธรรมราชาเป็นพระบรมชนกนาถ ทรงพระราชสมภพเมื่อปี เถาะ พ.ศ.๒๐๙๘ ณ พระราชวังสนามจันทร์เมืองพิษณุโลก ทรงมีพระพี่นาง ๑ องค์พระนามว่า "พระสุพรรณเทวี" (สุวรรณกัลยานี) และพระอนุชา ๑ องค์ พระนามว่า "พระเอกาทศรถ" (พระองค์ขาว) ทรงเสด็จไปประทับที่กรุงหงสาวดีตั้งแต่พระชนมายุได้ ๙ พรรษา และกลับมาประทับที่ไทยเมื่อพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา ได้ครองเมืองพิษณุโลก และได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา เมื่อ พ.ศ. ๒๑๔๘ มีพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวร หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ กษัตริย์องค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เก่งกล้าสามารถ เป็นผู้ประกาศเอกราชหลังจากที่เสียไปให้กับพม่าถึง ๑๕ ปี รวมทั้งขยายราชอาณาจักรให้กว้างใหญ่ ทำสงครามกับพม่า จนพม่าหวาดกลัวไม่กล้ามารบกับไทยอีกเลยเป็นเวลาร้อยกว่าปี ทรงเสด็จสวรรคตในขณะที่เสด็จไปทำศึกกับกรุงอังวะ แต่เกิดประชวรเป็นระลอกที่พระพักตร์ แล้วกลายเป็นบาดทะพิษ ประชวรได้ ๓ วัน จึงเสด็จสวรรคต วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๑๔๘ พระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา ครองราชย์ได้ ๑๕
ตัวละครฝ่ายไทย สมเด็จพระเอกาทศรถ หรือพระองค์ขาว อนุชาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระราชสมภพที่เมืองพิษณุโลก ในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร ทรงดำรงตำแหน่งอุปราช ครองเมืองพิษณุโลก แต่มีเกียรติยศเสมอพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร ทรงออกศึกทำสงครามร่วมกับสมเด็จพระนเรศวรตลอด และทรงครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระนเรศวร พระนามว่าสมเด็จพระเอกาทศรถ หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๓ มีพระราชโอรสที่ประสูติจากพระอัครมเหสี สององค์คือ เจ้าฟ้าสุทัศน์ และเจ้าฟ้าศรีเสาวภาค และมีพระราชโอรสที่ประสูติจากพระสนม อีกสามองค์คือ พระอินทรราชา พระศรีศิลป์ และพระองค์ทอง สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๓ พระชนม์พรรษาได้ ๕๐ พรรษาเศษ ครองราชย์ได้ห้าปี
ตัวละครฝ่ายไทย พระมหาธรรมราชา สมเด็จพระมหาธรรมราชาหรืออีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๘ พระราชบิดาเป็นเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย พระราชมารดาเป็นพระญาติฝ่ายพระราชชนนี สมเด็จพระไชยราชาธิราช แห่งราชวงศ์สุวรรณภูมิ พระองค์ทรงรับราชการเป็นที่ขุนพิเรนทรเทพ เจ้ากรมตำรวจรักษาพระองค์ หลังจากที่เหตุการณ์วุ่นวายในราชสำนักยุติลง และพระเฑียรราชาได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑ แล้วขุนพิเรนทรเทพ ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา แล้วได้รับโปรดเกล้าให้ไปครองเมืองพิษณุโลก สำเร็จราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีศักดิ์เทียบเท่าพระมหาอุปราช ได้รับพระราชทานพระวิสุทธิกษัตรี พระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เป็นพระอัครมเหสี ต่อมามีพระราชโอรสและพระราชธิดาสามพระองค์คือ พระสุพรรณเทวี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ
ตัวละครฝ่ายไทย สมเด็จพระวันรัต เดิมชื่อพระมหาเถรคันฉ่อง พระชาวมอญ จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าแก้ว หรือวัดใหญ่ชัยมงคลในปัจจุบัน มีบทบาทครั้งสำคัญ คือ ในคราวที่สมเด็จพระนเรศวรประกาศอิสรภาพ ท่านเป็นผู้เกลี้ยกล่อมให้พระยาเกียรติ์ และพระยารามที่พระเจ้าหงสาวดีส่งมาให้ลอบกำจัดพระนเรศวร พระมหาเถรคันฉ่องทราบก่อน จึงนำความกราบทูลพระนเรศวร และเกลี้ยกล่อมให้ พระยาเกียรติ์ และพระยาราม รับสารภาพและเข้าร่วมกับพระนเรศวรวีรกรรมอีกครั้งหนึ่งของท่านคือ การขอพระราชทานอภัยโทษ บรรดาแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จสมเด็จพระนเรศวรไม่ทัน ต้องโทษประหารชีวิต สมเด็จพระวันรัตได้ขอบิณฑบาต พระราชทานอภัยโทษบรรดาแม่ทัพนายกองทั้งหลาย
ตัวละครฝ่ายไทย พระยาศรีไสยณรงค์ แม่ทัพกองหน้าที่สมเด็จพระนเรศวรตั้งขึ้น มีกำลังพล ๕ หมื่น ยกไปตั้งที่หนองสาหร่าย แต่ไม่สามารถต้านทานทัพพม่าที่มีกำลังถึง ๕ แสนได้ สมเด็จพระนเรศวรจึงมีโองการให้ถอยทัพเพื่อจะตีโอบล้อมจนได้รับชัยชนะในที่สุด หลังจากนั้นพระยาศรีไสยณรงค์ได้ตามทัพพระยาจักรียกทัพไปตีเมืองตะนาวศรี และมริด เพื่อเป็นการไถ่โทษ พระราชฤทธานนท์ ปลัดทัพหน้า ที่สมเด็จพระนเรศวรแต่งตั้งให้ไปรบเป็นเพื่อนกับพระยาศรีไสยณรงค์ เจ้าพระยาจักรี รับผิดชอบด้านการพลเรือน และดูแลหัวเมืองทางภาคกลางและภาคเหนือ ถูกอาญาประหารชีวิตในคราวที่สมเด็จพระนเรศวรกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา แต่พระวันรัตมาขอพระราชทานอภัยโทษ สมเด็จพระนเรศวรพระราชทานอภัยโทษ แล้วรับสั่งให้นำทัพ ๕ หมื่นคน ไปตีเมืองตะนาวศรี และมริด เป็นการไถ่โทษ
ตัวละครฝ่ายไทย เจ้าพระยาคลัง รับผิดชอบด้านการต่างประเทศ ถูกอาญาประหารชีวิตเช่นเดียวกับเจ้าพระยาคลัง แต่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ แล้วรับสั่งให้นำทัพ ๕ หมื่นคน ไปตีทวาย เป็นการไถ่โทษ เจ้ารามราฆพ กลางช้างของพระนเรศวร หนึ่งในสี่ทหารที่ตามเสด็จทันในการทำยุทธหัตถี และไม่โดนอาญาประหารชีวิต แถมยังได้รับการปูนบำเหน็จจากสมเด็จพระนเรศวร เพื่อตอบแทนความกล้าหาญ ขุนศรีคชคง ควาญช้างของพระเอกาทศรถ แถมยังได้รับการปูนบำเหน็จจากสมเด็จพระนเรศวร เพื่อตอบแทนความกล้าหาญ หนึ่งในสี่ทหารที่ตามเสด็จทันในการทำยุทธหัตถี นายมหานุภาพ ควาญช้างของสมเด็จพระนเรศวร ถูกทหารพม่ายิงเสียชีวิตในช่วงที่กระทำยุทธหัตถี และได้รับพระราชทานยศและทรัพย์สิ่งของ ผ้าสำรดแก่บุตรภรรยา เป็นการตอบแทนความชอบ
ตัวละครฝ่ายไทย หมื่นภักดีศวร กลางช้างของสมเด็จพระเอกาทศรถ ถูกทหารพม่ายิงปืนถูกอกเสียชีวิตในช่วงที่กระทำยุทธหัตถี พระราชทานยศและทรัพย์สิ่งของ ผ้าสำรดแก่บุตรภรรยา เป็นการตอบแทนความชอบ หมื่นทิพย์เสนา นายทหารที่สมเด็จพระนเรศวรสั่งให้ไปดูทัพหน้าว่าเป็นอย่างไรบ้าง และนำตัวหมื่นคนหนึ่งกลับมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศวร เพื่อเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับทัพหน้า และเป็นผู้ส่งข่าวให้ทัพหน้าถอยทัพหลังจากถูกพม่าตีอย่างหนัก หมื่นราชามาตย์ นายทหารที่เดินทางไปพร้อมกับหมื่นทิพย์เสนาเพื่อแจ้งข่าวให้ทัพหน้าถอยทัพ คาดว่าจะเป็นนายทหารที่หมื่นทิพย์เสนานำมาเข้าเฝ้าสมเด็จพระนเรศวร
ตัวละครฝ่ายไทย หลวงญาณโยคโลกทีป โหรผู้ถวายคำพยากรณ์และหาฤกษ์ยามกับสงเด็จพระนเรศวร ในคราวที่พระองค์กำลังจะตัดสินพระทัยทำสงคราม โดยพยากรณ์ว่า พระองค์จะได้จตุรงคโชค คือ โชคดี ๔ ประการ ได้แก่ มีโชคดี , วัน เดือน ปี ในการทำสงครามดี , กำลังทหารเข้มแข็งดี , อาหารอุดมสมบูรณ์ดี และเชิญเสด็จเคลื่อนทัพในยามเช้า วันอาทิตย์ขึ้น ๑๑ ค่ำ ย่ำรุ่ง ๘ นาฬิกา ๓๐ นาที ในเดือนยี่ นับเป็นฤกษ์สิริมงคล หลวงมหาวิชัย พราหมณ์ผู้ที่ทำพิธีตัดไม้ข่มนาม ก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรจะยกทัพออกรบ และ กระทำยุทธหัตถีจนได้รับชัยชนะ
ตัวละครฝ่ายพม่า พระเจ้าหงสาวดี หรือนันทบุเรง กษัตริย์พม่า เดิมชื่อมังชัยสิงห์ราช โอรสของบุเรงนอง ดำรงตำแหน่งอุปราชในสมัยบุเรงนอง ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากบุเรงบอง พระราชบิดา ทรงหวังที่จะสร้างความยิ่งใหญ่เหมือนกับพระราชบิดา แต่ก็ทำไม่สำเร็จ สุดท้างยถูกลอบวางยาพิษสิ้นพระชนม์ พระมหาอุปราชา โอรสของนันทบุเรง ดำรงดำแหน่งอุปราชาในสมัยของนันทบุเรง เดิมชื่อมังสามเกียด หรือมังกะยอชวา เป็นเพื่อนเล่นกันกับพระนเรศวรในสมัยที่พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงหงสาวดี ทรงทำงานสนองพระราชบิดาหลายครั้ง โดยเฉพาะราชการสงคราม และได้ถวายงานครั้งสุดท้ายในการยกทัพ ๕ แสนมาตีไทย และสิ้นพระชนม์ในการทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระยาจิดตอง แม่กองการทำสะพานเชือกข้ามแม่น้ำกระเพิน
ตัวละครฝ่ายพม่า สมิงอะคร้าน สมิงเป่อ สมิงซายม่วน กองลาดตระเวนที่พระมหาอุปราชาส่งให้มาหาข่าวของกองทัพไทย ก่อนที่จะตัดสินพระทัยยกกองทัพเข้าปะทะกับไทย มางจาชโร พี่เลี้ยงของพระมหาอุปราชา ผู้ที่ชนช้างกับพระเอกาทศรถ และถูกพระเอกาทศรถฟันด้วยพระแสงของ้าวคอขาด เจ้าเมืองมล่วน ควาญช้างของพระมหาอุปราชา ผู้ที่สมเด็จพระนเรศวรรับสั่งให้กลับไปแจ้งข่าวการแพ้สงคราม และการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชาแก่พระเจ้าหงสาวดี
แหล่งที่มา • http://old.storythai.com/user/lilit-talengpai_/2254648/0 • http://krunamtaan.igetweb.com/index.php?mo=3&art=160017