220 likes | 339 Views
โครงการการจัดการของเสียในฟาร์มปศุสัตว์ในภาคพื้น เอเชียตะวันออก ( Livestock Waste Management in East Asia ). นายอารักษ์ ชัยกุล ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาสิ่งแวดล้อมด้านการปศุสัตว์ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์. ความเป็นมาโครงการการจัดการของเสียในฟาร์มปศุสัตว์ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออก.
E N D
โครงการการจัดการของเสียในฟาร์มปศุสัตว์ในภาคพื้นโครงการการจัดการของเสียในฟาร์มปศุสัตว์ในภาคพื้น เอเชียตะวันออก (Livestock Waste Management in East Asia) นายอารักษ์ ชัยกุล ผู้อำนวยการส่วนพัฒนาสิ่งแวดล้อมด้านการปศุสัตว์ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์
ความเป็นมาโครงการการจัดการของเสียในฟาร์มปศุสัตว์ความเป็นมาโครงการการจัดการของเสียในฟาร์มปศุสัตว์ ในภาคพื้นเอเชียตะวันออก เป็นความร่วมมือของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกโดยให้เงินช่วยเหลือแก่ประเทศ ไทย จีน และเวียดนาม ในการจัดการของเสียจากฟาร์มสุกร แต่ละประเทศได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) จำนวน ๒ ล้านเหรียญสหรัฐ ระยะเวลาดำเนินการโครงการ ๕ ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๔
วัตถุประสงค์ของโครงการการจัดการของเสียในฟาร์มปศุสัตว์ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกวัตถุประสงค์ของโครงการการจัดการของเสียในฟาร์มปศุสัตว์ในภาคพื้นเอเชียตะวันออก เพื่อลดมลภาวะอันเนื่องมาจากของเสียจากการผลิตปศุสัตว์ต่อแหล่งน้ำธรรมชาติ น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน สุขอนามัยของประชาชน ตลอดจนเพื่อการจัดการของเสียที่เหมาะสมและได้มาซึ่งประโยชน์ต่อจากของเสียด้านการปศุสัตว์ ได้แก่ ปุ๋ยจากมูลสัตว์ พลังงานจากก๊าซชีวภาพ การใช้ประโยชน์จากน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วสำหรับพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ
ตัวชี้วัดของโครงการ • เป้าหมายจำนวนสุกรในโครงการ ปี 2549 จำนวน 35,000ตัว ปี 2550จำนวน 77,000 ตัว ปี 2551 จำนวน 119,00 ตัว ปี 2552 จำนวน 161,000 ตัว ปี 2553 จำนวน 203,000 ตัว • มลพิษจากแหล่งการผลิตปศุสัตว์ในพื้นที่โครงการลดลงและผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด • มีแผนการส่งเสริมและพัฒนาด้านการจัดการของเสียการปศุสัตว์พร้อมการปฏิบัติตามแผน • มีมาตรการจัดการของเสียด้านด้านการปศุสัตว์และสามารถบังคับใช้ใน ปี 2553
ตัวชี้วัดของโครงการ • มีแผนภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมด้านการปศุสัตว์ • มีแผนการจัดการสารอาหาร • สามารถลดความเสี่ยงด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนจากเชื้อโรค ยาปฏิชีวนะ สารตกค้างจากฟาร์มปศุสัตว์ โดยฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดความเสี่ยงดังกล่าวในปี 2549 ลดลงร้อยละ 10 ปี 2550 ลดลงร้อยละ 20 ปี 2551 ลดลงร้อยละ 30 ปี 2552 ลดลงร้อยละ 40 และปี 2553 ลดลงร้อยละ 50 • เกิดความตื่นตัว มีจิตสำนึกด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออก
องค์ประกอบของโครงการ องค์ประกอบที่1 การสาธิตเทคโนโลยีด้านการจัดการน้ำเสียในฟาร์มปศุสัตว์ สาธิตระบบการจัดการของเสียในฟาร์มให้แก่เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ ระบบบำบัดน้ำเสีย การเพิ่มมูลค่าของเสียโดยการนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆอย่างเหมาะสม เป็นต้น
องค์ประกอบของโครงการ (ต่อ) องค์ประกอบที่ 2 การพัฒนาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์การขยายผล - เพื่อพัฒนานโยบายและการทดสอบ และ การยกระดับความรู้ - พัฒนาระเบียบปฏิบัติการผลิตปศุสัตว์บนพื้นฐานของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และนำมาใช้ระดับฟาร์ม - พัฒนาและดำเนินการมาตรการทางนโยบายที่มุ่งเน้นสภาพทางภูมิศาสตร์ ของการผลิตปศุสัตว์ที่หนาแน่นในอนาคต - ทบทวนระเบียบเดิมและปรับปรุงใหม่
องค์ประกอบของโครงการ - ดำเนินการพัฒนาและด้านการประยุกติการนำของเสียมาใช้ประโยชน์และ มาตรฐานน้ำทิ้ง - จูงใจและโน้มนำเกษตรกรให้ปรับปรุงการผลิตตามนโยบายและระเบียบที่ดี ซึ่งผ่านการทดสอบแล้ว - การจูงใจและโน้มนำเกษตรกรให้ปรับปรุงจะดำเนินการโดยกระบวนการพัฒนาและทดสอบของยุทธศาสตร์การขยายผล และมาตรการอื่นๆซึ่งจะมีหลายแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในแต่ละประเทศ - สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ เพื่อยกระดับการพัฒนา การทดสอบและการดำเนินการของยุทธศาสตร์การขยายผลที่เน้นด้านมาตรการทางนโยบาย ประเด็นด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวพันกับการจัดการมูลสัตว์ที่ไม่เพียงพอ
องค์ประกอบของโครงการ (ต่อ) องค์ประกอบที่ 3 การจัดการและการติดตามผล 1. การจัดการโครงการและ 2. การติดตาม ประเมินผล - จัดตั้ง คณะทำงานโครงการ คณะกรรมการกำกับ ดูแลโครงการระดับชาติเพื่อบริหารจัดการโครงการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ - ดำเนินการติดตามประเมินผลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและความเสี่ยงด้านสุขภาพและด้านอื่นๆ อันเนื่องมาจากโครงการ โดยเน้นมาตรการลดการติดต่อจากเชื้อโรค ยาปฏิชีวนะและเชื้อ้ที่ดื้อยาและติดต่อมนุษย์ได้ องค์ประกอบที่ 4 ส่วนสนับสนุนระดับภูมิภาค องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
โครงสร้างการจัดการโครงการโครงสร้างการจัดการโครงการ • คณะทำงานระดับภูมิภาค(Regional Committee Group, RCG) ทำงานประสานกับ FAO เพื่อประสานงานระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออก • คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการ (National Steering Committee, NSC) ซึ่งจัดตั้งโดยกรมปศุสัตว์ ประกอบด้วยคณะกรรมการจากหน่วยงานต่างๆ 4 กระทรวง 9 กรม เพื่อกำกับโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายและข้อตกลงโครงการ • คณะทำงานโครงการ(Project Management Office, PMO) คือคณะทำงานจัดตั้งโดยกรมปศุสัตว์ เพื่อดำเนินงานประจำวันให้บรรลุวัตถุประสงค์โครงการ • สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด (Provincial Livestock Office, PLO)
ความคืบหน้า • โครงการผ่านการประเมินจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (กุมภาพันธ์ 2548) • ประชุมเจรจาเพื่อจัดทำบันทึกข้อตกลงการรับความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ระหว่างธนาคารโลก ประเทศที่เข้าร่วมโครงการฯ และ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (มกราคม 2549) • วันที่ 15 พฤษภาคม 2549 ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคารโลก
ความคืบหน้า (ต่อ) • เริ่มต้นสำรวจและเตรียมการออกแบบระบบการจัดการของเสียในฟาร์มสาธิตที่ได้คัดเลือกไว้แล้วในจังหวัดชลบุรี ๑ แห่ง และจังหวัดราชบุรี ๑ แห่ง เพื่อนำร่องเป็นฟาร์มสาธิตด้านเทคโนโลยี • จัดทำแผนการอบรม • ยกร่างระเบียบการปฏิบัติที่ดีด้านสิ่งแวดล้อมฟาร์มสุกร • สำรวจข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ก่อนและหลังการสร้างระบบบำบัดน้ำเสียฟาร์มสุกรสาธิต • จัดทำแผนการประยุกต์ใช้สารอาหารที่เหลือในน้ำเสียโดยนำไปเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลีนา
ฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการ
ฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการ จังหวัดชลบุรี สะอาดฟาร์ม เป็นฟาร์มสุกรขาดกลาง (มีจำนวนสุกร 2,000 ตัว) มีเนื้อที่ฟาร์ม 8 ไร่
ฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการ จังหวัดราชบุรี KOS ฟาร์ม เป็นฟาร์มสุกรขนาดใหญ่ (มีจำนวนสุกร 11,220 ตัว) มีเนื้อที่ ประมาณ 100 ไร่
ประโยชน์ที่คาดว่าประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าประเทศไทยจะได้รับ • ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากมลพิษจากการปศุสัตว์ โดยเฉพาะสุกรซึ่งเป็นแหล่งมลพิษที่สำคัญ ในแต่ละปีรัฐต้องทุ่มงบประมาณนับเหมื่นล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบบำบัดน้ำเสียจากต่างประเทศ รวมถึงการสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศในภูมิภาคเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาในระดับภูมิภาคต่อไป • เพิ่มขีดความสามารถในการแข็งขันทางการค้า เนื่องจากข้อกีดกันด้านสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งของ Non Tariff Barrier ในเวทีโลก ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ เป็นมูลค่า1,400 ล้านบาท
ประโยชน์ที่คาดว่าประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าประเทศไทยจะได้รับ (ต่อ) • ของเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ทำให้ลดการนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศ ซึ่งมีมูลค่าปีหนึ่งเกือบสองหมื่อนล้านบาท (18,2229.96 ล้านบาท ในปี 2543) เป็นการลดการขาดดุลการค้า และส่งเสริมทางด้านเกษตรอินทรีย์อีทางหนึ่งด้วย
ประโยชน์ที่คาดว่าประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าประเทศไทยจะได้รับ (ต่อ) • โครงการมีการส่งเสริมการนำก๊าซชีวภาพไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการปันกระแสไฟฟ้า หรือการนำไปใช้ในการหุงต้ม ซึ่งสอกคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการใช้พลังงานทางเลือก สามารถลดการนำเข้าน้ำมันปิโตเลียมจากต่างประเทศ ซึ่งก๊าซชีวภาพผลิตได้ 1 ลบ.ม. นั้นมีพลังงานเทียบเท่าหรือทดแทนก๊าซหุงต้ม 0.46 กก. (คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.2 กิโลวัตต์/ชม. (คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3.6 ล้านบาท) • น้ำที่ผ่านการบำบัดจากระบบยังสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยน้ำสำหรับการเกษตร
งบประมาณโครงการ (ระยะดำเนินการ 5 ปี)