1 / 19

ลุ่มน้ำน่าน ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน

สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน. ลุ่มน้ำน่าน ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบน้ำท่า-น้ำฝน ในกลุ่มลุ่มน้ำ ทรัพยากรดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน พื้นที่ทำการเกษตร. พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน การประเมินความต้องการน้ำ

nigel-west
Download Presentation

ลุ่มน้ำน่าน ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ลุ่มน้ำ ภูมิอากาศ ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ลุ่มน้ำน่าน • ที่ตั้ง • ลักษณะภูมิประเทศ • พื้นที่ลุ่มน้ำ • ภูมิอากาศ • ปริมาณน้ำท่า-น้ำฝน - ตารางเปรียบเทียบน้ำท่า-น้ำฝน ในกลุ่มลุ่มน้ำ • ทรัพยากรดิน • การใช้ประโยชน์ที่ดิน • พื้นที่ทำการเกษตร. • พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน • การประเมินความต้องการน้ำ • ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านภัยแล้ง • แนวทางแก้ไข ส่วนอำนวยการและติดตามประเมินผล

  2. 9. ลุ่มน้ำน่าน ที่ตั้ง ลุ่มน้ำน่านตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด คือ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และ นครสวรรค์ ลักษณะของลุ่มน้ำจะวางตัวตามแนวทิศเหนือ-ใต้ โดยมีทิศเหนือติดกับลุ่มน้ำโขง ทิศใต้ติดกับลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันออกติดกับลุ่มน้ำโขงและลุ่มน้ำป่าสัก ทิศตะวันตกติดกับลำน้ำน่าน รูปที่ 9-1 แสดงที่ตั้ง ลุ่มน้ำน่าน

  3. ลักษณะภูมิประเทศ แม่น้ำน่าน มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหลวงพระบาง ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตแดนไทย - ลาว ไหลผ่านที่ราบระหว่างหุบเขาในเขตอำเภอเมือง และอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน แล้วไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ พื้นที่ตอนล่างของลุ่มน้ำน่านเป็นที่ราบสองฝั่งแม่น้ำ จากจังหวัดพิษณุโลก แม่น้ำน่านจะไหลคู่กับแม่น้ำยมลงมาบรรจบกันที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ และไหลผ่านบึงบอระเพ็ดทางฝั่งซ้าย ก่อนจะไหลลงแม่น้ำปิงที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของแม่น้ำเจ้าพระยา รูปที่ 9-2 สภาพภูมิประเทศในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน

  4. ตารางที่ 9-1 ขนาดของพื้นที่ลุ่มน้ำย่อย • พื้นที่ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำน่านมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 34,331 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 16 ลุ่มน้ำย่อย ตามตารางที่ 9-1 และรูปที่ 9-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย 9.03 9.02 9.05 9.06 9.04 9.08 9.09 9.10 9.07 9.12 9.11 9.13 9.15 9.14 9.16 9.17 รูปที่ 9-3 แสดงลุ่มน้ำย่อย พื้นที่ลุ่มน้ำน่าน

  5. ภูมิอากาศ ข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญของลุ่มน้ำนี้ได้แสดงไว้แล้วตามตารางที่ 9-2 ซึ่งแต่ละรายการเป็นค่าสูงสุด ค่า ต่ำสุด และค่าเฉลี่ยเป็นรายปี ตารางที่ 9-2 แสดงข้อมูลภูมิอากาศที่สำคัญ

  6. ปริมาณน้ำฝนลุ่มน้ำน่าน มีปริมาณฝนผันแปร ตั้งแต่ 1,000 มิลลิเมตร จนถึง1,800 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณฝน ทั้งปีเฉลี่ยประมาณ 1,272.7 มิลลิเมตร ลักษณะการผันแปรของปริมาณฝนรายเดือนเฉลี่ยได้แสดงไว้ ตามตารางที่ 9-3 และมีลักษณะการกระจายของปริมาณน้ำฝน ตามรูปที่ 9-4 ตารางที่ 9-3 ปริมาณน้ำฝนและน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือน รูปที่ 9-4 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย รูปที่ 9-5 ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย ปริมาณน้ำท่าลุ่มน้ำน่าน มีพื้นที่รับน้ำทั้งหมด 34,331 ตารางกิโลเมตร จะมีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติ เฉลี่ยทั้งหมด 12,014.8 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ตามตารางที่ 9-3 หรือคิดเป็นปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย ต่อหน่วยพื้นที่รับน้ำฝนประมาณ 11.10 ลิตร/วินาที/ตารางกิโลเมตร และ ตามรูปที่ 9-5 แสดงปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือนในแต่ละลุ่มน้ำย่อย

  7. ตารางเปรียบเทียบ ปริมาณน้ำฝน - ปริมาณน้ำท่า

  8. ทรัพยากรดิน พื้นที่ลุ่มน้ำน่านสามารถจำแนกชนิดดินตามความเหมาะสมของการปลูกพืชออกได้เป็น 4 ประเภท ซึ่งมีลักษณะการกระจายของกลุ่มดิน ตามรูปที่ 9-5 และแต่ละกลุ่มดินจะมีจำนวนพื้นที่ ตามตารางที่ 9-4 ตารางที่ 9-4 รูปที่ 9-5 การแบ่งกลุ่มดินจำแนกตามความเหมาะสมใช้ปลูกพืช

  9. การใช้ประโยชน์จากที่ดิน 1) พื้นที่ทำการเกษตร.........................45.14 % พืชไร่.............................. 57.28 % ไม้ผล - ยืนต้น...................... 3.93 % ปลูกข้าว............................. 38.78 % อื่นๆ..................................... 0.01 % รูปที่ 9-6 การทำเกษตร 2) ป่าไม้.........................................49.67 % เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า.............. 2.41 % อุทยานแห่งชาติ....................... 9.15 % พื้นที่ป่าอนุรักษ์...................... 88.44 % รูปที่ 9-7 พื้นที่ป่าไม้และเพื่อการอนุรักษ์ 3) ที่อยู่อาศัย.............................. 1.93 % 4) แหล่งน้ำ.................................... 1.49 % 5) อื่นๆ.......................................... 1.77 % รูปที่ 9-8 การใช้ประโยชน์จากที่ดิน

  10. พื้นที่การเกษตรทั้งหมดมี 17,052.38 ตารางกิโลเมตร แต่มีพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกเพียง 7,117.68 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น ร้อยละ 41.74 พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว 5,666.42 ตารางกิโลเมตร (79.61%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชผัก 0.06 ตารางกิโลเมตร ( - %) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ 1,287.97 ตารางกิโลเมตร (18.10%) พื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้น 163.23 ตารางกิโลเมตร (2.29 %) รูปที่ 9-9 การใช้ประโยชน์ที่ดินหลักด้านการเกษตร พื้นที่ที่มีความเหมาะสมกับการเพาะปลูก ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณตอนล่างสองฝั่งลำน้ำด้านตะวันตกของลุ่มน้ำ ใกล้จุดบรรจบแม่น้ำปิงและยม ซึ่งรวมกันแล้วประมาณร้อยละ 20.27 ของพื้นที่ทั้งลุ่มน้ำ ในการทำการเกษตร พบว่าการใช้พื้นที่ปลูกพืช ส่วนใหญ่จะเป็นการปลูกพืชไร่และไม้ผล-ไม้ยืนต้นบนพื้นที่ที่ไม่มีความเหมาะสม ส่วนข้าวและพืชผัก ได้ปลูกบนพื้นที่ที่มีความเหมาะสมอยู่แล้ว

  11. พื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทานพื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระบบชลประทาน พื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนาระบบชลประทานในพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณตอนล่างสองฝั่งลำน้ำด้านตะวันตกของลุ่มน้ำใกล้จุดบรรจบแม่น้ำปิงและยม โดยมีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 4,472.56 ตารางกิโลเมตร และคิดเป็นร้อยละ 62.84 ของพื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก หรือร้อยละ 26.23 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ตารางที่ 9-5 เปรียบเทียบพื้นที่การเกษตรกับพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับพัฒนาระบบชลประทาน

  12. การประเมินความต้องการน้ำ การประเมินความต้องการน้ำ จากการศึกษาด้านเศรษฐกิจ และสังคม ได้คาดคะเนอัตราการเจริญเติบโต ของประชากรทั้งที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง และนอกเขตเมือง รวมทั้งความต้องการน้ำ สำหรับการขยายตัวของภาคอุสาหกรรม ช่วงปี 2544-2564 สรุปได้ตามรูปที่ 9-1 ชลประทาน ปริมาณน้ำ (ล้าน ลบ.ม.) รักษาระบบนิเวศ อุปโภค - บริโภค อุตสาหกรรม รูปที่ 9-10 สรุปแนวโน้มความต้องการใช้น้ำของลุ่มน้ำน่าน

  13. ปัญหาของลุ่มน้ำ • ด้านอุทกภัย สภาพการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำนี้ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ∶- 1) อุทกภัยที่เกิดในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนและลำน้ำสาขา จะเกิดจากการที่มีฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากจากต้นน้ำลงมามาก จนลำน้ำสายหลักไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน เนื่องจากสภาพพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำ ตอนบนถูกทำลาย รวมทั้งขาดแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนเพื่อช่วยชะลอน้ำหลาก พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ได้แก่ กิ่งอำเภอสองแคว อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอสา อำเภอนาน้อย อำเภอเมือง จังหวัดน่าน อำเภอน้ำปาด อำเภอลับแล และอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) อุทกภัยที่เกิดในพื้นที่ราบลุ่ม เกิดบริเวณที่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม และแม่น้ำสายหลักตื้นเขิน มีความสามารถระบายน้ำไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ได้แก่ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอทับคล้อ อำเภอตะพานหิน อำเภอบางมูลนาก อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร อำเภอชุมแสง และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

  14. ปัญหาภัยแล้งในลุ่มน้ำนี้ เกิดจากภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนาน ทำให้พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานเกิดความแห้งแล้งขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเกษตร รวมทั้งการใช้น้ำในกิจกรรมอื่นๆด้วย ตามข้อมูล กชช.2ค. ปี2542 ในลุ่มน้ำนี้มีหมู่บ้านทั้งหมด 2,996 หมู่บ้านพบว่ามีหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำ 2,001 หมู่บ้าน (ร้อยละ 66.79) โดยแยกเป็นหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำเพื่อทำการเกษตร จำนวน 1,348 หมู่บ้าน (ร้อยละ 49.99) และหมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำทั้งเพื่อการอุปโภค-บริโภคและการเกษตร จำนวน 653 หมู่บ้าน (ร้อยละ21.80) หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่จังหวัดน่านถึง 600 หมู่บ้าน หรือ คิดเป็นร้อยละ 29.99 ของหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งทั้งหมด หมู่บ้านที่มีน้ำอุปโภค-บริโภค แต่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร หมู่บ้านที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร รูปที่ 9-11 แสดงลักษณะการกระจายตัวของหมู่บ้านที่ประสบปัญหาภัยแล้ง

  15. แนวทางการแก้ไข ปัญหาการเกิดอุทกภัย และภัยแล้งในลุ่มน้ำน่าน มีลักษณะคล้ายกับพื้นที่ลุ่มน้ำอื่นๆ คือการผันแปรของปริมาณน้ำฝน ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง ในทางกลับกันเมื่อมีฝนตกหนักก็ทำให้เกิดน้ำไหลหลากท่วมพื้นที่อยู่อาศัย และพื้นที่การเกษตร การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีแนวทางแก้ไขในภาพรวมโดยสรุปดังนี้ 1) การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง และขนาดเล็กในแต่ละลุ่มน้ำสาขาที่มีศักยภาพ เพื่อเก็บกักปริมาณน้ำหลากในฤดูฝน และส่งน้ำให้กับพื้นที่ที่มีความต้องการน้ำในช่วงฤดูแล้งของลุ่มน้ำสาขานั้นๆ 2) เพิ่มประสิทธิภาพ โดนการก่อสร้างระบบส่งน้ำและกระจายน้ำให้ทั่วถึง 3) การขุดลอก ลำน้ำสายหลักเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ 4) ปรับปรุงประสิทธิภาพการระบายน้ำ 5) ควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณเขตตั้งเมือง และพื้นที่โดยรอบมิให้ลุกล้ำแนวคลองและลำน้ำสาธารณะ 6) ก่อสร้างถังเก็บน้ำ สระเก็บน้ำประจำไร่นา ฯลฯ ในพื้นที่อยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำ / นอกเขตชลประทานตามความเหมาะสมของพื้นที่ _________________________

More Related