1.28k likes | 1.44k Views
ภาษีอากร. ภาษีอากร. ภาษี หมายถึง เงินที่รัฐเรียกเก็บเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ อากร หมายความว่า เงินค่าธรรมเนียมที่รัฐเรียกเก็บ ค่าภาคหลวง หมายความว่า เงินที่รัฐเรียกเก็บจากผู้รับอนุญาตในการทำกิจการบางประเภท ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ. 1. ภาษี. 1.1 ภาษีสรรพากร (หรือภาษีตาม ป. รัษฎากร)
E N D
ภาษีอากร • ภาษี หมายถึง เงินที่รัฐเรียกเก็บเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ • อากร หมายความว่า เงินค่าธรรมเนียมที่รัฐเรียกเก็บ • ค่าภาคหลวง หมายความว่า เงินที่รัฐเรียกเก็บจากผู้รับอนุญาตในการทำกิจการบางประเภท • ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ
1. ภาษี 1.1 ภาษีสรรพากร (หรือภาษีตาม ป. รัษฎากร) - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - ภาษีเงินได้นิติบุคคล - ภาษีมูลค่าเพิ่ม - ภาษีธุรกิจเฉพาะ 1.2 ภาษีศุลกากร 1.3 ภาษีสรรพสามิต
1.4 ภาษีส่วนท้องถิ่น - ภาษีโรงเรือนและที่ดิน - ภาษีบำรุงท้องที่ - ภาษีป้าย 1.5 ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 1.6 ภาษีรถประจำปี 1.7 ภาษีประจำปี 1.8 ภาษีตาม พ.ร.บ. การพนันฯ
2. อากร -อากรรังนกอีแอ่น - อากรแสตมป์ 3. ค่าภาคหลวง - ค่าภาคหลวง ตาม พ.ร.บ. แร่ - ค่าภาคหลวง ตาม พ.ร.บ. ปิโตรเลียม - ค่าภาคหลวง ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้
4. ค่าธรรมเนียมอื่นๆ - แสตมป์ยาสูบ ตาม ก.ม.ว่าด้วยยาสูบ - ค่าธรรมเนียมประทับตราไพ่ ตาม ก.ม.ว่าด้วยไพ่ - ค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับการนำเข้า ตาม ก.ม.ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน - ค่าธรรมเนียมพิเศษ ตาม ก.ม.ว่าด้วยการส่งออกและนำเข้าสินค้า - ค่าธรรมเนียมการส่งออก ตาม ก.ม.ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์การเกษตร - เงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งออกต้องเสีย ตาม ก.ม.ว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง - ค่าธรรมเนียมหรือเงินอื่นที่มี พ.ร.ฎ. กำหนดให้เป็นภาษีอากรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ
โครงสร้างของภาษีอากร • 1. ผู้เสียภาษี • 2. ฐานภาษี • 3. อัตราภาษี • 4. วิธีเสียภาษี • 5. วิธีหาข้อยุติในปัญหาภาษีอากร • 6.การบังคับให้เป็นไปตามบทบัญญัติของ ก.ม.ภาษีอากร
ฐานภาษี • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ฐานภาษีได้แก่ เงินได้พึงประเมิน • ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ ฐานภาษีได้แก่ สินค้าและบริการ • ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฐานภาษีได้แก่ โรงเรือนและที่ดิน • ภาษีบำรุงท้องที่ ฐานภาษีได้แก่ ราคาประเมินของที่ดิน
อัตราภาษี • คงที่ เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล • ก้าวหน้า เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา • ถอนหลัง เช่น ภาษีบำรุงท้องที่
วิธีการเสียภาษี • โดยวิธีประเมินตนเอง • โดยวิธีประเมินโดยเจ้าพนักงาน • โดยวิธีหัก ณ ที่จ่าย
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา • 1. บุคคลธรรมดา • 2. ผู้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี • 3. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง • 4. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
ฐานภาษีได้แก่ เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ อัตราภาษี 1 - 100,000 ร้อยละ 5 100,001 - 500,000 ‘’ 10 500,001 - 1,000,000 ‘’ 20 1,000,001 - 4,000,000 ‘’ 30 4,000,001 - ขึ้นไป ‘’ 37
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล • 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล • 2. ‘’ จำกัด • 3. บริษัทจำกัด • 4. บริษัทมหาชนจำกัด
ฐานภาษีได้แก่ รายได้ – ค่าใช้จ่ายที่หักได้ตาม ก.ม. = กำไรสุทธิ อัตราภาษีคงที่ร้อยละ 30 เว้นแต่ เป็นวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลาง (SME) ซึ่งมีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5,000,000 บาท จะเสีย 1 - 1,000,000 ร้อยละ 15 1,000,001 - 3,000,000 ‘’ 25 3,000,001 - ขึ้นไป ‘’ 30
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม • คือ ผู้ประกอบการขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ และผู้นำเข้า อัตราภาษีคงที่ มี 2 อัตรา คือ 7 % สำหรับสินค้าและให้บริการทั่วไป 0 % สำหรับสินค้าส่งออก
ภาษีธุรกิจเฉพาะ • ภาษีธุรกิจเฉพาะเก็บจากผู้ประกอบการค้า 8 ประเภท เท่านั้นคือ • 1. กิจการธนาคารพาณิชย์ • 2. กิจการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และเครดิตฟองซิเอร์ • 3. บริษัทประกันชีวิต • 4. โรงรับจำนำ • 5. การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ • 6. การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร • 7. การขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ • 8. กิจการอื่นตามที่ พ.ร.ฎ. กำหนด
ฐานภาษี คือ รายรับก่อนหักรายจ่าย อัตราภาษีมี 3 อัตรา คือ 1. กิจการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ 0.1% (แต่ได้รับยกเว้น) 2. บริษัทประกันชีวิต โรงรับจำนำ 2.5% 3. กิจการที่เหลือ 3.0%
ก.ม. ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต • 1. พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต • 2. พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต • 3. พ.ร.บ. สุรา • 4. พ.ร.บ. ยาสูบ • 5. พ.ร.บ. ไพ่
สินค้าและบริการที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตสินค้าและบริการที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต • 1. น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน • 2. เครื่องดื่ม • 3. เครื่องไฟฟ้า • 4. แก้วและเครื่องแก้ว • 5. รถยนต์ • 6. เรือ • 7. ผลิตภัณฑ์เครื่องหอมและเครื่องสำอาง • 8. สินค้าอื่นๆ เช่น พรม, รถจักรยานยนต์, หินอ่อน, แบตเตอรี่ ฯลฯ • 9. สถานบริการ เช่น สนามแข่งม้า, โรงภาพยนตร์, ไนท์คลับ, คาบาเร่, ดิสโกเธค, สถานอาบอบนวด, สนามกอร์ฟ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value added tax) • ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีตาม ป.รัษฎากร ถือว่าเป็นภาษี ทางอ้อมที่จัดเก็บจากฐานผู้บริโภค คือเป็นภาษีที่ จัดเก็บจากการขายสินค้าและการให้บริการ • ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ขายสินค้าและ ผู้ให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพในราชอาณาจักร รวมถึงผู้นำเข้าสินค้า แต่ผู้ประกอบการสามารถเรียก เก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้
ผู้ประกอบการที่จะเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้ จะต้องเป็นผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนแล้ว ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ หรือที่เรียกว่า ผู้ประกอบการจดทะเบียน แล้ว ก็ยังไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการได้
ภาษีมูลค่าเพิ่มคำนวณจากยอดมูลค่าของสินค้าหรือบริการ ตามอัตราภาษีที่กำหนด ซึ่งปัจจุบันคืออัตรา ร้อยละ 7 ซึ่งในอัตราร้อยละ 7 นี้จะมีภาษีส่วนท้องถิ่นรวมอยู่ด้วยร้อยละ 10 ดังนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 บาท จะมีภาษีส่วนท้องถิ่นรวมอยู่ 70 สตางค์
การคำนวณภาษี ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะนำภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ซึ่งเรียกว่า ภาษีขาย แล้วลบด้วยภาษีที่ตนถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนรายอื่นเรียกเก็บ ซึ่งเรียกว่า ภาษีซื้อ ถ้าภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ก็ต้องชำระภาษีเพิ่ม แต่ ถ้าภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ก็สามารถขอคือภาษีได้ เพราะฉะนั้น การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นการเก็บภาษีจาก มูลค่าของสินค้าที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอน
กิจการขนาดย่อม • ผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน1,800,000บาท/ปี จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ม.81/1) แต่หากผู้ประกอบการดังกล่าวประสงค์จะขอเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนก็สามารถทำได้ (ม. 81/3 (2))
ฎ. 3492/49 เมื่อโจทก์เพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในวันที่ ๑๔ ก.ย. ๔๑ ภาษีซื้อค่ากระแสไฟฟ้าระหว่างเดือน ม.ค. ๔๐ ถึงเดือน ส.ค. ๔๑ จึงไม่ใช่ภาษีซื้อที่โจทก์ซึ่งยังมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนอาจนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตาม ม.๘๒/๓ ประกอบ ม. ๗๗/๑ (๑๘) และ ม. ๘๒/๔ วรรคสี่ แม้ว่าโจทก์จะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากซื้อสินค้าหรือรับบริการมาเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของโจทก์แล้วก็ตาม โจทก์จึงไม่มีสิทธินำมาคำนวณในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
การเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือไม่มีผลแตกต่างกันคือการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือไม่มีผลแตกต่างกันคือ - ผู้ประกอบการจดทะเบียน ต้องทำรายงานภาษีซื้อภาษีขาย (ถ้าไม่เป็น ไม่ต้องทำ) - ผู้ประกอบการจดทะเบียน สามารถเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการได้ (ถ้าไม่เป็น เรียกเก็บไม่ได้) - สามารถนำภาษีซื้อที่ถูกผู้ประกอบการอื่นเรียกเก็บมาหักหรือขอคืนได้ - ราคาสินค้าเมื่อรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วจะสูงขึ้นกว่าตอนไม่จดทะเบียน
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ • 1. ผู้ประกอบการ • 2. ผู้นำเข้า • 3. ผู้ที่ ก.ม. กำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ
ผู้ประกอบการ มีองค์ประกอบคือ • 1. เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล หรือ นิติบุคคล • 2. ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ • 3.ประกอบกิจการในราชอาณาจักร
มาตรา ๗๗ /๑ (๘) • “ขาย” หมายความว่า จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ และยังหมายถึงการที่สินค้าถูกเปลี่ยนมือจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่งด้วย เช่น - การแถมสินค้า - การแจกสินค้า หรือให้สินค้าเป็นรางวัล - การให้ทดลองใช้สินค้า - การนำสินค้าไปใช้
มาตรา ๗๗/๑ (๑๐) • “บริการ” หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่า ซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า และให้หมายความรวมถึง การใช้บริการของตนเอง
ประกอบกิจการขนส่งในประเทศประกอบกิจการขนส่งในประเทศ (ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ม. 81(1) (ณ) ) บริษัท ก. ประกอบกิจการอู่ซ่อมรถยนต์ (เป็นกิจการให้บริการ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม)
บริษัท ก. กรุงเทพฯ ลูกค้า เชียงใหม่ สั่งซื้อสินค้า โรงงาน กรุงเทพฯ
บริษัท ก. (ประเทศไทย) ลูกค้า (Hong Kong) สั่งซื้อสินค้า โรงงาน (MALAYSIA)
- ค่าสร้างเขื่อนในไทย 500 ล้านบาท บริษัท A. (ประเทศไทย) - ค่าสร้างเขื่อนในลาว 1000 ล้านบาท
กรณีการให้บริการในราชอาณาจักร นอกจากจะหมายถึงการให้บริการและมีการใช้บริการในราชอาณาจักรแล้ว ก.ม. ยังกำหนดให้หมายความรวมถึง (1) บริการที่ทำในราชอาณาจักร โดยไม่คำนึงว่าการใช้บริการนั้นจะอยู่ในต่างประเทศ หรือในราชอาณาจักร (ม.77/2วรรคสอง) (2) การให้บริการที่ทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรด้วย (ม.77/2 วรรคสาม)
บริษัท ก. รับจ้างออกแบบโรงงานไฟฟ้า บริษัท A สหภาพพม่า
บริษัท B สวีเดน ว่าจ้างสำรวจราคาสินค้า บริษัท ข
รับสมัครสอบ บริษัท C U.S.A. บริษัท ค.
บริษัท ก. (ประเทศไทย) บริษัท A (Japan) ส่งเครื่องจักรไปซ่อม
บริษัท ข. (ประเทศไทย) บริษัท B (U.S.A.) เช่าเครื่องจักร
ว่าจ้างขายหุ้น บริษัท C ญี่ปุ่น บริษัท ค.
บริษัท ก. (ประเทศไทย) จ้างเป็นนายหน้า บริษัท A (Canada)
บริษัท ข. (ประเทศไทย) จ้างส่งเสริมการขาย บริษัท B. (France) และรับจองห้องพัก
ผู้นำเข้า • มาตรา77/1 (11)“ผู้นำเข้า” หมายความว่า ผู้ประกอบการหรือบุคคลอื่นซึ่งนำเข้า
ผู้ที่ ก.ม.กำหนดให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ม. 82/1 • ในกรณีที่ผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นปกติธุระ โดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักร ม. 82/1 (1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีคือ ตัวแทน • ในกรณีการขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ถ้าภายหลังได้มีการโอนไปให้บุคคลอื่น ม. 82/1 (2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีคือ ผู้รับโอนสินค้าหรือบริการ
3. ในกรณีสินค้านำเข้าที่ได้รับยกเว้นอากร(ซึ่งยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย) ถ้าภายหลังต้องเสียอากรขาเข้า ม. 82/1 (3) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือ ผู้ที่มีความรับผิดตาม กม.ศุลกากรฯ และผู้รับโอนสินค้า 4. ในกรณีที่มีการควบกิจการเข้าด้วยกัน ม. 82/1 (4) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือ ผู้ที่ควบเข้ากัน และ ผู้ประกอบการใหม่ 5. ในกรณีโอนกิจการ ม. 82/1 (5) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือ ผู้โอน และ ผู้รับโอน
กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ม.77/3 • มีอยู่ 2 กิจการใหญ่ ๆ คือ 1. กิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (ม.91/2) เช่น การธนาคาร, ประกันชีวิต, โรงรับจำนำ, การขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นทางค้าหรือหากำไร 2. กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ม.91/3) เช่น กิจการของ ธปท., ธ.ออมสิน, ธ.อาคารสงเคราะห์, บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม นอกจากนี้แล้ว ยังมีกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย ตาม ม. 81, 81/1
กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ม.81,81/1 • 1. การขายสินค้า(ที่ไม่ใช่การส่งออก) และการให้บริการ ตาม ม. 81(1) • 2. การนำเข้าสินค้า ตาม ม. 81(2) • 3. ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และกิจการดังกล่าวมีมูลค่าของฐานภาษีไม่เกินฐานภาษีกิจการขนาดย่อม (ไม่เกิน 1,800,000 บาท/ปี) ตาม ม. 81/1
ฎ. 586/2540 • โจทก์ประกอบกิจการค้าวัสดุก่อสร้าง หากลูกค้าต้องการรับสินค้าจาก โจทก์โดยตรง โจทก์จะคิดเฉพาะราคาสินค้า แต่ถ้าลูกค้าต้องการให้โจทก์ส่ง สินค้าไปให้แก่ลูกค้า โจทก์จะคิดราคาเพิ่มขึ้น การรับขนสินค้าของโจทก์เป็น การให้บริการเป็นครั้งคราว ไม่ใช่การประกอบกิจการขนส่งอย่างถาวร แม้โจทก์ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ก็ถือเป็นการ ทำเพื่อการค้าหรือธุรกิจของโจทก์ จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่ง ในราชอาณาจักร โจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๘๑/๑ (ณ) โจทก์จึงต้องนำค่าขนส่งมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฎ. 2219/2543 การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๘๑ (๑) (ณ) จะต้องเป็นการประกอบกิจการ ขนส่งสินค้าให้แก่บุคคลอื่นเป็นปกติธุระ กล่าวคือ เป็นการให้บริการ แก่บุคคลทั่วไป แม้โจทก์จะมีรถยนต์ของตนเองและได้รับอนุญาต ให้เป็นผู้ขนส่งน้ำมันและประกอบการขนส่งส่วนบุคคลก็ตาม แต่กรณี ของโจทก์เป็นการรับขนส่งสินค้าซึ่งเป็นน้ำมันให้เฉพาะลูกค้าที่ซื้อ น้ำมันของโจทก์เท่านั้น มิใช่รับขนส่งสินค้าให้แก่บุคคลทั่วๆไป รายรับค่าขนส่งจึงไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม