E N D
โครงการผลิตภัณฑ์ไม้เศรษฐกิจสีเขียวโครงการผลิตภัณฑ์ไม้เศรษฐกิจสีเขียว 1. บทนำ บริษัทไม้อัดไทย จำกัด ก่อตั้งขึ้นมากกว่า 50 ปี ด้วยจุดประสงค์เพื่อให้การใช้ทรัพยากรป่าไม้ของประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดในฐานะอุตสาหกรรมไม้ต่อ เนื่องของรัฐ ซึ่งทำให้เกิดการจ้างงาน เกิดระบบเศรษฐกิจบนฐานลิกโนเซลลูโลสขึ้น และที่สำคัญเป็นการเพิ่มมูลค่าไม้มากกว่าเป็นเพียงสินค้าไม้ซุงส่งออก แต่ปัจจุบันสถานการณ์ได้เปลี่ยนไป ความต้องการใช้ไม้ทวีขึ้นตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจนเป็นปัญหาต่อทรัพยากรป่าไม้ของประเทศไทยและทุกประเทศที่มีป่าไม้ และได้ลุกลามเป็นปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมจากระดับประเทศไปสู่ระดับโลก รัฐบาลได้มีนโยบายปิดป่าตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา และได้ตั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้นในปี 2546 แต่ปัญหาด้านการป่าไม้และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมยังเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อ การบำบัดแก้ไขยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
1 บทนำ(ต่อ) เศรษฐกิจบนฐานลิกโนเซลลูโลส เป็นหนทางหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหาด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพราะการปลูกสร้างสวนป่าตามหลักวิชาการนั้น จะมีการบริหารจัดการในการตัดฟันและปลูกทดแทนอย่างเหมาะสมจึงช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าของประเทศได้ เป็นการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้ส่วนหนึ่ง และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่รองรับเป็นสิ่งสำคัญเพราะทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจทำให้การปลูกสร้างสวนป่ามีความยั่งยืนขึ้น ในฐานะที่บริษัทฯได้สังกัดอยู่ในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้จัดโครงการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจบนฐานไม้ป่าปลูกนี้ขึ้น โดยการขยายพื้นที่สวนป่าและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ใช้ไม้จากป่าปลูกมากขึ้น รวมไปถึงการใช้ไม้ให้คุ้มค่าและเอื้อประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
2. สถานการณ์ 60% ของประชากรไทยอยู่ในภาคเกษตร และส่วนมากมีปัญหาขาดทุนซ้ำซาก พืชเกษตรหลายชนิดมีความเสี่ยงสูงทั้งด้านการผลิตและการตลาด และจากข้อได้เปรียบประเทศไทยมีที่ตั้งภูมิศาสตร์ในเขตร้อนสามารถปลูกไม้เศรษฐกิจได้ดี เพราะต้นไม้โตเร็วกว่าเขตอบอุ่นและเขตหนาว อีกประการหนึ่งความต้องการใช้ไม้ในอุตสาหกรรมยังมีมากและมีเสถียรภาพด้านราคาค่อนข้างดี อ้างอิงได้จากสถิติการนำเข้าและส่งออกแผ่นวัสดุแทนไม้จริง(แผ่นชิ้นไม้อัดและแผ่นใยไม้อัด) พ.ศ.2545-2550 ของกรมป่าไม้ พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นมากเป็นลำดับ และในปี 2550 มีการส่งออก 1,789,229,016 ตัน/ปี และมีการนำเข้าสูงถึง 40,362,533 ตัน/ปี มีมูลค่า 15,765,751 ล้านบาท/ปี และ 757,701 ล้านบาท/ปี ตามลำดับ ดังนั้นการปลูกสร้างสวนป่าจึงสามารถเป็นอาชีพที่ยั่งยืนของภาคประชาชนได้ และยิ่งกว่านั้นยังมีผลพลอยได้ได้พื้นที่ป่ามากขึ้นเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้ ข้อได้เปรียบอีกประการหนึ่งของการปลูกสร้างสวนป่า คือ สามารถนำเป็นวัตถุดิบด้านพลังงานแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่นน้ำมัน ถ่านหิน ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ จึงมีปัญหาราคาที่แพงขึ้นตามกลไกลของอุปสงค์/อุปทานส่งผลกระทบปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน การปรับปรุง การผลิตในส่วนการใช้พลังงานจะเป็นการส่งเสริมการปลูกสร้างสวนป่าได้วิธีหนึ่ง
3. วัตถุประสงค์และพื้นที่เป้าหมาย 3.1 วัตถุประสงค์ 1. ขยายพื้นที่การปลูกสร้างสวนป่าของบริษัทฯ เพื่อเพิ่มความสมดุลของระบบนิเวศ และส่งเสริมให้สวนป่าบริษัทฯ เป็นแหล่งเรียนรู้ ดูงานกระบวนการปลูกสร้างสวนป่าให้กับภาคประชาชน ตลอดจนนิสิต นักศึกษา และนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 2. ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้รองรับระบบเศรษฐกิจบนฐานไม้ป่าปลูกเพื่อการผลิตที่ยั่งยืนและเอื้อต่อสิ่งแวดล้อม 3 ด้าน คือ 1) ใช้ไม้จากป่าปลูกให้มากขึ้นเพื่อสนองต่อการขยายพื้นที่ปลูกสวนป่า 2) ใช้พลังงานทดแทนจากไม้เพื่อลดต้นทุนและลดมลพิษ และ 3) ให้มีการใช้ประโยชน์จากของเสียจากกระบวนการผลิต 3.2 พื้นที่เป้าหมาย 1. พื้นที่ของบริษัทไม้อัดไทย จำกัด 2. พื้นที่ที่กรมป่าไม้ขอคืนจากส่วนราชการและเอกชน นำมาให้บริษัทไม้อัดไทย จำกัด ปลูกสร้างสวนป่า
การสนับสนุนระบบเศรษฐกิจบนฐานของไม้ป่าปลูกการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจบนฐานของไม้ป่าปลูก Conceptual Framework กระบวนการปลูกสร้างสวนป่าของบริษัทฯ- ปลูกสร้างสวนป่าเพื่อเป็นวัตถุดิบ และขยายรับพื้นที่จากกรมป่าไม้มาพัฒนาปลูกสร้างเพิ่มเติม - ส่งเสริมประชาชนปลูกสวนป่าและรับซื้อผลผลิต- เป็นแหล่งเรียนรู้ ดูงานกระบวนการปลูกสร้างสวนป่าให้กับประชาชน นิสิต นักวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ปรับการผลิตรองรับการปลูกสร้างสวนป่าให้ยั่งยืนและเอื้อต่อสิ่งแวดล้อม- พัฒนาใช้ไม้จากป่าปลูกมากขึ้น- พัฒนาการใช้พลังงานทดแทน- พัฒนาการใช้ประโยชน์จากWaste ภาคประชาชนและสิ่งแวดล้อม- ได้พื้นที่สีเขียวพร้อมกับได้ประโยชน์ใช้สอยจากไม้อุตสาหกรรม - มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการปลูกสร้างสวนป่าและมีองค์ความรู้ในการปลูกสร้างสวนป่าที่ดี เป็นการยกระดับความอยู่ดีกินดี พร้อมกับสิ่งแวดล้อมที่ดี
ภาระกิจการปลูกสร้างสวนป่าเพื่อภาระกิจการปลูกสร้างสวนป่าเพื่อ เป็นวัตถุดิบป้อนการผลิต
4. กรอบการดำเนินงาน 4.1 ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. การขยายพื้นที่ปลูกสร้างสวนป่า แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการประสานงาน สำรวจ และคัดเลือกพื้นที่ที่กรมป่าไม้ขอคืน จากส่วนราชการและเอกชนมาดำเนินการปลูกสร้างสวนป่า โดยมีเป้าหมายดำเนินการที่ ประมาณ 300,000 ไร่ 2. การปรับปรุงกระบวนการผลิต 2.1 ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเครื่องปอกไม้ขนาดเล็กมาใช้งาน เพื่อให้การผลิตไม้อัด สามารถใช้ไม้จากสวนป่า และมีไส้เหลือปอกขนาดเล็กลงได้ผลผลิตมากขึ้น 2.2 ปรับปรุงหม้อไอน้ำเชื้อเพลิงให้สามารถใช้เสริมหม้อไอน้ำน้ำมันเตาในการผลิตแผ่นใยไม้อัดแข็ง เพื่อลดต้นทุนการผลิต(ต้นทุนถูกกว่าประมาณ 3-5 เท่า) และเพิ่มการใช้ไม้ 2.3 ดำเนินการนำเศษทิ้งจากการผลิตแผ่นใยไม้อัดแข็งมาทำเป็นปุ๋ยหมักและนำกลับไปบำรุง การปลูกสร้างสวนป่าของบริษัทฯ เพื่อใช้ประโยชน์จากไม้สวนป่าให้คุ้มค่า 3. ติดตามประเมินผล 4.2 งบประมาณและระยะเวลา งบประมาณปกติของบริษัทไม้อัดไทย จำกัด ประจำปี 2552-2557 4.3 หน่วยงานรับผิดชอบ บริษัทไม้อัดไทย จำกัด
รูปแสดงเปรียบเทียบการปอกไม้ของ มอท. กับเครื่องปอกไม้ขนาดเล็กของโรงงานไม้อัดที่นิวซีแลนด์
ตัวอย่างการประเมินค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ ของหม้อไอน้ำเปรียบเทียบ
ภาพแสดงการทำปุ๋ยหมักจากเศษทิ้งในกระบวนการผลิตเพื่อนำไปบำรุงสวนป่า
5. ความสอดคล้องกับแผนและนโยบายระดับประเทศ สอดคล้องกับนโยบายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ในยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และสังคมให้เป็นฐานที่มั่นคงของประเทศ โดยให้ความสำคัญต่อการสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชน และในยุทธศาสตร์การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญต่อการรักษาทรัพยากรและความสมดุลของระบบนิเวศ เพื่อรักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ 6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 6.1 ประโยชน์ต่อภาคประชาชนและสิ่งแวดล้อม 1. สร้างอาชีพปลูกสร้างสวนป่า มีรายได้จากการปลูกและบำรุงป่า พัฒนาสภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น 2. ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการเพิ่มพื้นที่ป่า มีสิ่งแวดล้อมดีขึ้น 6.2 ประโยชน์ต่อบริษัทไม้อัดไทย จำกัด 1. ได้สร้างความสมดุลการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรไม้กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 2. มีโครงสร้างต้นทุนสินค้าต่ำลงสามารถแข่งขันได้
7. การบริหารโครงการ 7.1 โครงสร้างการบริหารโครงการ 1. หัวหน้ากองงานสวนป่ารับผิดชอบการจัดการโครงการและรายงานผลต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. ผู้จัดการฝ่ายอำนวยการรับผิดชอบในการบริหารจัดการกิจกรรมขยายพื้นที่สวนป่า 3. ผู้จัดการฝ่ายการผลิตรับผิดชอบในการบริหารจัดการกิจกรรมปรับปรุงกระบวนการผลิตให้รองรับเศรษฐกิจบนพื้นฐานไม้ป่าปลูก 4. ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน รับผิดชอบในการประเมินผลและติดตามผล 5. ผู้อำนวยการบริษัทไม้อัดไทย จำกัด รับผิดชอบโครงการรวม 7.2 ตัวชี้วัด 1. ขยายพื้นที่ปลูกสร้างสวนป่า 300,000 ไร่ ให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี 2. ศึกษาความเป็นไปได้และนำเครื่องปอกมาใช้งาน ให้แล้วเสร็จในปี 2553 3. ปรับปรุงการใช้หม้อไอน้ำไม้ฟืนและการทำปุ๋ยหมักให้แล้วเสร็จในปี 2552
“ป่า เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ที่ควรใชัให้เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ และ ป่า เป็นทรัพยากรอันมีค่า ควรถูกใช้ให้สมประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืน” บริษัทไม้อัดไทย จำกัด ก่อตั้งด้วยปรัชญานี้ และจะคงรักษาสืบไป THANK YOU THAI PLYWOOD CO.,LTD.