1 / 41

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายฝน เสกขุนทด

รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจริยธรรมของนักศึกษา. A Development of Blended Problem-based Learning Model to develop Students’ Academic achievements and Ethics. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายฝน เสกขุนทด.

nikkos
Download Presentation

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายฝน เสกขุนทด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายงานการวิจัยเรื่อง • การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานปัญหาเป็นฐาน • เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจริยธรรมของนักศึกษา A Development of Blended Problem-based Learning Model to develop Students’ Academic achievements and Ethics ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายฝน เสกขุนทด

  2. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา ในสังคมยุคสารสนเทศ เป็นการปฏิรูปสังคมที่มีผลมาจากการรวมเข้าด้วยกันของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology: ICT) ก่อให้เกิดการสร้าง การเผยแพร่ การใช้ความรู้และสารสนเทศ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดย ICT เป็นเครื่องมือที่เชื่อมโยงแนวคิดสมัยใหม่ต่างๆ เข้าด้วยกัน นับตั้งแต่การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เช่น e-Learning, e-Library เป็นต้น

  3. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา ดังนั้นการพัฒนาด้านการศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ผู้ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาทางด้านการศึกษาก็คือ ครู หรือผู้สอน การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ย่อมต้องมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้เรียน และรูปแบบการเรียนโดยการนำคอมพิวเตอร์มาเอื้อประโยชน์ในการเรียนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น

  4. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถก้าวทันโลกแห่งเทคโนโลยีและให้เหมาะสมกับสังคมแห่งความรู้ โดยบทบาทของผู้เรียนต้องเปลี่ยนเป็นผู้คิดเอง กระทำเอง เพื่อสามารถเรียนได้ในกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ ที่แตกต่างไปจากผู้อื่น โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 หมวด 4 มาตรา 22 ได้กำหนดแนวการจัดการศึกษาไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนต้องมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ

  5. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา การสอนแบบใหม่ด้วยคอมพิวเตอร์จะเป็นการเปลี่ยนบทบาทของผู้สอนให้แตกต่างไปจากเดิม โดยเปลี่ยนจากจุดศูนย์กลางการเรียนรู้มาเป็นผู้ช่วยเหลือแนะนำและอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน ผู้สอนจึงต้องมีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี และใช้เทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนรูปแบบการสอนให้สามารถรองรับและตอบสนองความกระตือรือร้นของผู้เรียนได้อย่างเต็มความสามารถ ผู้สอนควรเปลี่ยนบทบาทจากการสอนในห้องเรียนแบบเดิมเป็นบทบาทต่างๆ ดังนี้

  6. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา 1) เป็นผู้จัดการของการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกัน 2) เป็นผู้กำกับการสอน 3) เป็นผู้อำนวยความสะดวก 4) เป็นผู้ออกแบบ 5) เป็นผู้ชี้แนะเพื่อนำไปสู่การสืบถามและผู้ส่งเสริมรูปแบบ การคิดแนวใหม่

  7. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา ดังนั้นผู้สอนจึงต้องแสวงหาวิธีการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายวิธี อาทิ การเรียนรู้แบบผสมผสาน หรือเรียกว่า เบล็นเด็ดเลิร์นนิ่ง (blended learning) ซึ่งหมายถึง กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย

  8. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา แก่นแท้ของการผสมผสานคือ วิธีการเรียนการสอนที่ประกอบด้วย 1) ผู้เรียน (audience) 2) เนื้อหา (content) 3) โครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) 4) เน้นการเรียนรู้แบบกลุ่ม ส่งเสริมกระบวนการ เรียนรู้และผสมผสานเทคโนโลยีสู่การศึกษา

  9. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา การเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning: PBL) ส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้โดยเริ่มจากประสบการณ์การแก้ปัญหาของแต่ละบุคคลด้วยตนเอง สู่ผู้เรียนที่เป็นกลุ่มเล็ก ผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองและกลุ่ม โดยระบุปัญหาและแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าว สมาชิกในกลุ่มจะต้องศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระในขอบเขตปัญหา เพื่อนำข้อค้นพบหรือองค์ความรู้ใหม่นั้นมาเผยแพร่ให้สมาชิกในกลุ่มได้รับทราบ (Savery, 2006)

  10. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา วูดส์ (Woods, 1994) ได้สรุปขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน 4 ขั้นตอนหลักดังนี้ (EILA) 1. สำรวจปัญหา (Explore the problem: E) 2. ระบุประเด็นที่เกี่ยวข้อง (Identify: I) ประกอบไปด้วย 2.1) พยายามแก้ปัญหาด้วยความรู้ในปัจจุบันที่มีอยู่ 2.2) ระบุสิ่งที่ยังไม่รู้ และสิ่งใดที่รู้ 2.3) กำหนดแผนการศึกษาค้นคว้าวิจัย

  11. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา 3. หัวข้อที่จะต้องนำไปหาเนื้อหาหรือคำตอบจะต้องไป ศึกษาค้นคว้า (Learning Issue: L) ประกอบด้วย 3.1) เรียนรู้ด้วยตนเองและเตรียมความพร้อม 3.2) แบ่งปันความรู้ใหม่ให้สมาชิกในกลุ่มได้รับทราบ 4. การประยุกต์ใช้ความรู้ (Apply it: A) ประกอบด้วย 4.1) ประยุกต์หรือนำความรู้สู่การแก้ปัญหา 4.2) สะท้อนกระบวนการแก้ปัญหา

  12. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐานแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) กระตุ้นความรู้เดิม 2) การเสริมสร้างความรู้ใหม่ และ 3) การสร้างความเข้าใจให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น (Schmidt, 1983)

  13. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 เพื่อต้องการปฏิรูปการศึกษาการบริหารและการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพการพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขที่เรียกว่า เก่ง ดี มีสุข (มาตรา 3)

  14. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2552 (ราชกิจจานุเษกษา, 2552) กำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดังนี้ 1. มีคุณธรรม จริยธรรม ถ่อมตนและทำหน้าที่เป็น พลเมืองดี รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม2. มีความรู้พื้นฐานในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดี

  15. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา 3. มีความรู้ทันสมัย ใฝ่รู้ และมีความสามารถพัฒนา ความรู้ เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางานและพัฒนาสังคม 4. คิดเป็น ทำเป็น และเลือกวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างเป็น ระบบและเหมาะสม 5. มีความสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะ การบริหารจัดการและทำงานเป็นหมู่คณะ

  16. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา 6. รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและสามารถติดต่อสื่อสารกับ ผู้อื่นได้เป็นอย่างดี 7. มีความสามารถการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้ดี 8. มีความสามารถวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ ออกแบบ พัฒนา ติดตั้ง และปรับปรุงระบบ คอมพิวเตอร์ให้สามารถ แก้ไขปัญหาขององค์กรหรือบุคคลตามข้อกำหนดได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

  17. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา 9. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบของการประยุกต์ คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม รวมทั้ง ประเด็นทางด้านกฎหมายและจริยธรรม 10. มีความสามารถเป็นที่ปรึกษาในการใช้งานระบบ คอมพิวเตอร์ในองค์กร11. มีความสามารถบริหารระบบสารสนเทศในองค์กร 12. มีความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมขนาดเล็กเพื่อ ใช้งานได้

  18. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา 9. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบของการประยุกต์ คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม รวมทั้ง ประเด็นทางด้านกฎหมายและจริยธรรม 10. มีความสามารถเป็นที่ปรึกษาในการใช้งานระบบ คอมพิวเตอร์ในองค์กร11. มีความสามารถบริหารระบบสารสนเทศในองค์กร 12. มีความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมขนาดเล็กเพื่อ ใช้งานได้

  19. ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา จากแนวคิดดังกล่าวนี้ ผู้วิจัยจึงพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และจริยธรรมของนักศึกษา รวมถึงค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นฐานทางด้านการเรียนรู้และขยายสังคมแห่งการเรียนรู้ให้กว้างไกลยิ่งขึ้น

  20. วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผสมผสานปัญหาเป็นฐาน“PIE-BPBL model” 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษากับเกณฑ์ที่กำหนด 3. เพื่อเปรียบเทียบจริยธรรมของนักศึกษาระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วย “PIE-BPBL model”

  21. วัตถุประสงค์การวิจัย 4. เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของ นักศึกษาที่เรียนด้วย “PIE-BPBL model” 5. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อ การเรียนด้วย “PIE-BPBL model”

  22. สมมติฐานการวิจัย 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียน ด้วย “PIE-BPBL model” สูงกว่าร้อยละ 80 2. จริยธรรมของนักศึกษาหลังเรียนด้วย “PIE-BPBL model” สูงกว่าก่อนเรียน 3. ความคงทนในการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนด้วย“PIE-BPBL model” ลดลงไม่เกิน ร้อยละ 10 เมื่อระยะเวลาผ่านไป 15 วัน

  23. กรอบแนวคิดการวิจัย

  24. ขอบเขตการวิจัย

  25. ขั้นตอนที่ 1: การพัฒนา (ร่าง) “PIE-BPBL model” ขั้นตอนที่ 2: คัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ และประเมินความ สอดคล้องและความเหมาะสมของ (ร่าง) “PIE-BPBL model” ขั้นตอนที่ 3: นำเสนอรูปแบบ “PIE-BPBL” ต่อที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านอิเลิร์นนิ่ง (International e-Learning Conference 2011: ICE2011)

  26. 1. ขั้นเตรียมการ (Preparation stage: P) • 1.1 กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ • 1.2 การคัดเลือกเนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอน • 1.3 กำหนดผู้เรียน • 1.4 ปฐมนิเทศ • 1.5 จัดหาสิ่งสนับสนุน/อำนวยความสะดวกการเรียนรู้

  27. 2. ขั้นพัฒนาการเรียนรู้ (Instructional development stage: I) • 2.1 วิธีการเรียนผ่านอีเลิร์นนิ่ง ใช้หลักแบบ ADDIE model • 1) ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis: A) • 2)ขั้นการออกแบบ (Design: D) • 3) ขั้นการพัฒนา (Development: D) • 4) ขั้นการนำไปใช้ (Implementation: I) • 5) ขั้นการประเมินผล (Evaluation: E) • 2.2 การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (EILA Model)

  28. 3. ขั้นประเมินผล (Evaluation stage: E) 3.1 ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็น • แบบทดสอบปรนัย จำนวน 50 ข้อ • 3.2 ประเมินผลจริยธรรมของนักศึกษา โดยใช้แบบวัดจริยธรรม จำนวน 75 ข้อ

  29. เครื่องมือสำหรับการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งในครั้งนี้ • เป็นระบบอีเลิร์นนิ่งของ มรร. โดยระบบ Moodle เป็น • ระบบการจัดการเรียนรู้สำเร็จรูป เหมาะสำหรับนำมา • เป็นเครื่องมือในการสร้างบทเรียนอีเลิร์นนิ่งที่มีความ • ยืดหยุ่นสูง สามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้ เนื่องจากเป็น • ระบบแบบเปิด

  30. 1. วิธีการเรียนผ่านอีเลิร์นนิ่ง ใช้หลักแบบ ADDIE model • 1.1 ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis: A) • 1.2ขั้นการออกแบบ (Design: D) • 1.3 ขั้นการพัฒนา (Development: D) • 1.4 ขั้นการนำไปใช้ (Implementation: I) • 1.5 ขั้นการประเมินผล (Evaluation: E) • 2. การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (EILA Model)

  31. 1) แบบแผนการทดลอง แบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและหลัง (one-group pretest posttest design) 2) ขั้นตอนการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล

  32. 2) ขั้นตอนการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล 2.1) ทดสอบระดับจริยธรรมของนักศึกษาเพื่อ ตรวจสอบระดับจริยธรรมของนักศึกษาก่อนการทดลอง 2.2) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ผสมผสานปัญหาเป็นฐาน ให้กับนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ภาคเรียนที่ 2/2554 จำนวน 33 คน

  33. 2) ขั้นตอนการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล • 2.3) เมื่อสิ้นสุดการทดลองแล้วทำการทดสอบหลังเรียน โดยทดสอบวัดระดับจริยธรรมของนักศึกษาด้วยแบบวัดชุดเดียวกันกับก่อนเรียน • 2.4) ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทันทีหลัง • การทดลอง ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

  34. 2) ขั้นตอนการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล • 2.5) สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วย “PIE-BPBL model” • 2.6) หลังทดลอง 15 วัน ทดสอบวัดความคงทนในการเรียนรู้หรือสภาวะที่สามารถระลึกถึง หรือความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่ยังคงจดจำหลังจากที่เรียนรู้ด้วย “PIE-BPBL model”

  35. สรุปและอภิปรายผล 5.1) การพัฒนา “PIE-BPBL model” พบว่า ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 9 ท่าน มีความสอดคล้องและ เหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.25)

  36. สรุปและอภิปรายผล 5.2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษากับเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 80) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า นักศึกษาได้คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 42.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่กำหนดไว้

  37. สรุปและอภิปรายผล 5.3) การเปรียบเทียบจริยธรรมของนักศึกษาระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน ด้วย “PIE-BPBL model” พบว่า นักศึกษาได้คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่กำหนดไว้

  38. สรุปและอภิปรายผล 5.4) การศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนด้วย “PIE-BPBL model” พบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนมีความคงทนทางการเรียน สามารถระลึกถึงความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาหรือยังคงจดจำหลังจากที่เรียนไปแล้ว เมื่อระยะเวลาผ่านไปแล้ว 15 วัน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาลดลงเพียง 4.06 ซึ่งลดลงไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือร้อยละ 10

  39. สรุปและอภิปรายผล 5.5 การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่เรียนด้วย “PIE-BPBL model” พบว่า คะแนนเฉลี่ยภาพรวมของความคิดเห็น อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53

  40. ขอขอบคุณทุกท่าน จบการนำเสนอแล้วค่ะ

More Related