530 likes | 813 Views
การตรวจสอบการดำเนินงาน บรรยายโดย นายไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์. หัวข้อบรรยาย. ความหมายของการตรวจสอบการดำเนินงาน กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน 2.1 การวางแผนการตรวจสอบ 2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ 2.3 การรายงานการตรวจสอบ 2.4 การติดตามผลการตรวจสอบ 3. ตัวอย่างผลการตรวจสอบการดำเนินงาน.
E N D
การตรวจสอบการดำเนินงานการตรวจสอบการดำเนินงาน บรรยายโดย นายไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์
หัวข้อบรรยาย • ความหมายของการตรวจสอบการดำเนินงาน • กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน 2.1 การวางแผนการตรวจสอบ 2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ 2.3 การรายงานการตรวจสอบ 2.4 การติดตามผลการตรวจสอบ 3.ตัวอย่างผลการตรวจสอบการดำเนินงาน
1.ความหมายของการตรวจสอบการดำเนินงาน1.ความหมายของการตรวจสอบการดำเนินงาน หมายถึง การตรวจสอบที่ให้ความสำคัญในเรื่องของการประหยัด การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการใช้ทรัพยากรเพื่อดำเนินการตามภารกิจในความรับผิดชอบของหน่วยรับตรวจ
2.กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน2.กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน 2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 1 การคัดเลือกเรื่อง ขั้นที่ 2การสำรวจเบื้องต้นและ ตัดสินใจตรวจสอบ ขั้นที่ 3การเปิดการตรวจสอบ
2.ขั้นตอนการตรวจสอบการดำเนินงาน2.ขั้นตอนการตรวจสอบการดำเนินงาน 2.1 การวางแผนการตรวจสอบ(ต่อ) ขั้นที่ 4 การประเมินความเสี่ยง ในการตรวจสอบ ขั้นที่ 5การวางแนวการตรวจสอบ
2.กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน2.กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน 2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 6การรวบรวมและวิเคราะห์ ข้อมูลหลักฐาน ขั้นที่ 7การจัดทำกระดาษทำการ ขั้นที่ 8การสรุปผลการตรวจสอบ
2.กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน2.กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน 2.3 การรายงานการตรวจสอบ ขั้นที่ 9การจัดทำร่างรายงานขั้นต้น (First Draft) ขั้นที่ 10การพิจารณาให้ความเห็นต่อ ร่างรายงานขั้นต้น(First Draft) ขั้นที่ 11การจัดทำร่างรายงานฉบับสุดท้าย (Final Draft)
2.กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน2.กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน 2.3 การรายงานการตรวจสอบ(ต่อ) ขั้นที่ 12การส่งร่างรายงานฉบับสุดท้าย ให้ผู้บริหารของหน่วยรับตรวจ ขั้นที่ 13การปิดการตรวจสอบ
2.กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน2.กระบวนการตรวจสอบการดำเนินงาน 2.4 การติดตามผลการตรวจสอบ ขั้นที่ 15การติดตามผลการตรวจสอบ
2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 1 การคัดเลือกเรื่อง การคัดเลือกเรื่องพิจารณาจาก • อยู่ในอำนาจของหน่วยตรวจสอบ • มีความเสี่ยงสูง • มีวงเงินงบประมาณสูง หรือเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน • เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นที่สนใจของรัฐสภา สาธารณชน และสื่อมวลชน มิได้อยู่ระหว่างการตรวจสอบของหน่วยงานอื่น
2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 1 การคัดเลือกเรื่อง การคัดเลือกเรื่องพิจารณาจาก(ต่อ) • ผลการตรวจสอบและข้อเสนอแนะจะเกิดประโยชน์ต่อการใช้ทรัพยากรของประเทศและการบริหารของรัฐ • ผู้ตรวจสอบต้องมีศักยภาพที่เพียงพอในการตรวจสอบ • คุ้มค่าในการตรวจสอบ
2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 2 การสำรวจเบื้องต้นและตัดสินใจตรวจสอบ 2.1 การสำรวจเบื้องต้น (1) การวางแผนการสำรวจเบื้องต้น เพื่อกำหนด • วัตถุประสงค์ของการสำรวจ • ความเสี่ยง/ประเด็นที่คาดว่าจะเป็นข้อตรวจพบสำคัญ(MOPs) • วิธีการสำรวจ และระยะเวลาที่ใช้ในการสำรวจ • งบประมาณ และคน/วันที่ใช้ในการสำรวจ
2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 2 การสำรวจเบื้องต้นและตัดสินใจตรวจสอบ (1) การวางแผนการสำรวจเบื้องต้น(ต่อ) ตัวอย่างMOPs - ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์/เป้าหมาย หรือไม่ - ไม่มีการใช้ประโยชน์ หรือไม่ - ไม่คุ้มค่า/ประหยัด หรือไม่ - มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือไม่ - ล่าช้า หรือไม่
2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 2 การสำรวจเบื้องต้นและตัดสินใจตรวจสอบ (2)ดำเนินการตามแผนสำรวจเบื้องต้น เพื่อตอบคำถามหรือยืนยันข้อสงสัย และพิสูจน์MOPsที่กำหนดไว้ว่า มีประเด็นปัญหาหรือไม่ และมีผลกระทบมากน้อยเพียงใด และกำหนด MOS ในขั้นนี้เป็นการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นจากการสอบถามผู้รับผิดชอบและที่เกี่ยวข้อง และเอกสารหลักฐาน
2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 2 การสำรวจเบื้องต้นและตัดสินใจตรวจสอบ (2)ดำเนินการตามแผนสำรวจเบื้องต้น(ต่อ) ตัวอย่างMOS (มี 3 องค์ประกอบ) - การดำเนินงานโครงการไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ทำให้รายได้ของประชาชนกลุ่มเป้าหมายมิได้เพิ่มขึ้น - แหล่งน้ำที่ก่อสร้างตามโครงการไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ทำให้ผลผลิตข้าวต่อไร่ของเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายมิได้เพิ่มขึ้น
2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 2 การสำรวจเบื้องต้นและตัดสินใจตรวจสอบ (3) สรุปผลการสำรวจเบื้องต้น • มี MOSหรือไม่ อย่างไร • สมควรตรวจสอบต่อ(Go) หรือยุติการตรวจสอบ(No Go)
2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 2 การสำรวจเบื้องต้นและตัดสินใจตรวจสอบ 2.2 การตัดสินใจตรวจสอบ (1) กรณีมี MOS ตัดสินใจตรวจสอบต่อ(Go) (2) กรณีไม่มี MOS ตัดสินใจยุติการตรวจสอบ(NoGo)
2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 3 การเปิดการตรวจสอบ • เพื่อสร้างความเข้าใจและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ ระหว่างผู้ตรวจสอบกับผู้รับตรวจ • แจ้งให้ทราบและเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ และขอบเขต การตรวจสอบ • แนะนำเจ้าหน้าที่ทั้ง 2 ฝ่ายให้รู้จักกัน • สอบถามความเห็นของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของ หน่วยรับตรวจเกี่ยวกับนโยบาย ปัญหา แนวทางแก้ไข
2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 4 การประเมินความเสี่ยงในการตรวจสอบ • การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่จะตรวจสอบ • การประเมินความเสี่ยงในการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วย ความเสี่ยงสืบเนื่องหรือความเสี่ยง จากลักษณะการดำเนินงานของเรื่องที่ตรวจสอบ ความเสี่ยงจากการควบคุม และความเสี่ยงจากการตรวจสอบ
2.1 การวางแผนการตรวจสอบ ขั้นที่ 5 การวางแนวการตรวจสอบ • กำหนดวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบและขอบเขตการตรวจสอบของแต่ละประเด็นการตรวจสอบ(MOS) • ระบุแหล่งข้อมูลให้ละเอียดและชัดเจน • เลือกใช้วิธีและเทคนิคการตรวจที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมของการตรวจสอบ
2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 6 การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลหลักฐาน (1) ความเหมาะสมของข้อมูลหลักฐาน • เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ตรวจสอบ • เกิดขึ้นและส่งผลกระทบในช่วงเวลาที่สอดคล้องกับขอบเขตการตรวจสอบ • มีความชัดเจน • ถูกต้องตรงตาม ความเป็นจริง • จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 6 การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลหลักฐาน (2) ความเพียงพอของข้อมูลหลักฐาน • มีนัยสำคัญ • มีคุณภาพ • มีปริมาณมากพอในการสนับสนุน ข้อตรวจพบ
2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 6 การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลหลักฐาน วิธีการรวบรวมหลักฐานการตรวจสอบ • การศึกษาข้อมูล • การวิเคราะห์ • การสังเกตการณ์ • การใช้แบบสอบถาม • การสัมภาษณ์ • การใช้บริการที่ปรึกษา
2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 7 การจัดทำกระดาษทำการ • ความสมบูรณ์และถูกต้องตรงความเป็นจริง • ความชัดเจนและเข้าใจง่าย • ความเรียบร้อยและอ่านง่าย • ความเพียงพอและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ของกระดาษทำการ
2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 8 การสรุปผลการตรวจสอบ ขั้นที่ 2 การสำรวจเบื้องต้นและตัดสินใจตรวจสอบ ขั้นที่ 8 MOPs MOS ข้อตรวจพบ • Criteria • Condition? • Criteria • Condition • Effect • Criteria • Condition • Effect • Cause • Recommendation
2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 8 การสรุปผลการตรวจสอบ ข้อตรวจพบ ประกอบด้วย เกณฑ์ที่ควรจะเป็น(Criteria) คือ ผลการดำเนินงาน การควบคุม หรือกระบวนการปฏิบัติงานที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นสิ่งที่หน่วยรับตรวจควรทำหรือต้องทำให้ได้ เช่น วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แผนงาน ระเบียบ กฎเกณฑ์ มาตรฐานวิชาชีพ หลักวิชาการ เป็นต้น
2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 8 การสรุปผลการตรวจสอบ ข้อตรวจพบ(ต่อ) ประกอบด้วย • สภาพที่เกิดขึ้นจริง(Condition) คือ ข้อสรุปที่แสดงถึงผลการดำเนินงานที่เบี่ยงเบนไปจากเกณฑ์ที่ควรจะเป็น(Criteria) เช่น • การดำเนินงานไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์/เป้าหมาย • สิ่งก่อสร้างไม่มีการใช้ประโยชน์ • การใช้จ่ายเงินไม่คุ้มค่า/ประหยัด
2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 8 การสรุปผลการตรวจสอบ ข้อตรวจพบ(ต่อ) ประกอบด้วย ผลกระทบ(Effect) คือ ผลที่สืบเนื่องมาจากสภาพปัญหาที่พบ(Condition)ในการดำเนินงานของเรื่องที่ตรวจสอบ เป็นการประเมินผลกระทบ/ความเสียหายที่เกิดขึ้น/มีโอกาสจะเกิดขึ้นจากสภาพปัญหาทั้งในรูปตัวเงินและมิใช่ตัวเงิน
2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 8 การสรุปผลการตรวจสอบ ข้อตรวจพบ(ต่อ) ประกอบด้วย สาเหตุ(Cause) คือ ต้นเหตุที่แท้จริงของสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น(Condition)ในการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจกรณีมีหลายสาเหตุ ควรเลือกสาเหตุสำคัญที่มีผลต่อการแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบ(Effect)โดยระบุรายละเอียดอย่างชัดเจนว่า เกิดขึ้นในขั้นตอนการปฏิบัติงานใด อย่างไร เมื่อไร และจากใคร/หน่วยงานใด
2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 8 การสรุปผลการตรวจสอบ ข้อตรวจพบ(ต่อ) ประกอบด้วย ข้อเสนอแนะ(Recommendation) คือ ข้อแนะนำที่ผู้ตรวจสอบเสนอให้แก่หน่วยรับตรวจและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่พบ(Condition)จากการตรวจสอบซึ่งต้องสัมพันธ์และสอดคล้องกับสาเหตุ(Cause) สามารถปฏิบัติได้ และคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหา
2.2 การปฏิบัติงานตรวจสอบ ขั้นที่ 8 การสรุปผลการตรวจสอบ ข้อตรวจพบ(ต่อ) ตัวอย่างเช่น • Criteriaเป้าหมายเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 1 แสนรายต่อปี • Condition ผลการรับเกษตรกรเฉลี่ยประมาณ 5 หมื่นรายต่อปี • Effect ทำให้รายได้ของเกษตรกรมิได้เพิ่มขึ้นตามวัตถุประสงค์ • Cause หน่วยรับตรวจไม่มีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ • Recommendationควรมีการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการอื่นที่จะดำเนินการในอนาคต
2.3 การรายงานการตรวจสอบ ขั้นที่ 9 การจัดทำร่างรายงานขั้นต้น(First Draft) ควรมีองค์ประกอบและเนื้อหาที่ชัดเจนในเรื่องต่างๆ ดังนี้ • ความเป็นมาของการตรวจสอบ • วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ • ขอบเขตการตรวจสอบ • วิธีการตรวจสอบ • ระยะเวลาการตรวจสอบ • ข้อตรวจพบ • ข้อเสนอแนะ • ความเห็นของหน่วยรับตรวจ
2.3 การรายงานการตรวจสอบ ขั้นที่ 9 การจัดทำร่างรายงานขั้นต้น(First Draft) ลักษณะของรายงานที่ดี ประกอบด้วย • ถูกต้อง(Accuracy) • ชัดเจน(Clarity) • กะทัดรัด(Conciseness) • ทันกาล(Timeliness) • สร้างสรรค์(Constructive Criticism) • จูงใจ(Pursuance)
2.3 การรายงานการตรวจสอบ ขั้นที่ 10 การพิจารณาให้ความเห็นต่อร่างรายงานขั้นต้น(First Draft) ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจะสอบทานร่างรายงานขั้นต้น(First Draft) ในเรื่องความถูกต้องตามหลักวิชาการ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และอื่นๆ ที่ใช้อ้างอิงถึง ความเป็นเหตุเป็นผล และลักษณะของรายงานการตรวจสอบที่ดี
2.3 การรายงานการตรวจสอบ ขั้นที่ 11 การจัดทำร่างรายงานฉบับสุดท้าย(Final Draft) ผู้ตรวจสอบแก้ไขร่างรายงานขั้นต้น(First Draft) ตามความเห็นของผู้บังคับบัญชา โดยจัดทำเป็นร่างรายงานฉบับสุดท้าย(Final Draft) แล้วนำเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาและความเห็นชอบ
2.3 การรายงานการตรวจสอบ ขั้นที่ 12 การส่งร่างรายงานฉบับสุดท้ายให้ผู้บริหารของหน่วยรับตรวจ ร่างรายงานฉบับสุดท้าย(Final Draft) ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามความเห็นของผู้บังคับบัญชาแล้ว จะส่งให้หน่วยรับตรวจเพื่อพิจารณาและแสดงความเห็น
2.3 การรายงานการตรวจสอบ ขั้นที่ 13 การปิดการตรวจสอบ เพื่อชี้แจงประเด็นข้อตรวจพบและข้อเสนอแนะให้มีความชัดเจนขึ้น และรับฟังข้อคิดเห็นของทั้งสองฝ่าย เพื่อหาข้อยุติในการออกรายงานการตรวจสอบ รวมทั้งแจ้งให้ผู้บริหารของหน่วยรับตรวจทราบว่า ความเห็นของหน่วยรับตรวจจะไว้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานการตรวจสอบ
2.3 การรายงานการตรวจสอบ ขั้นที่ 14 การจัดทำรายงานการตรวจสอบ(Final Report) • กรณีที่ไม่มีความเห็นแย้งกับร่างรายงานการตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบจะจัดทำรายงานการตรวจสอบ(Final Report) และนำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นเพื่อให้ความเห็นชอบ • กรณีที่มีความเห็นแย้งกับร่างรายงานการตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบจะต้องสรุปข้อโต้แย้งพร้อมเสนอความเห็นให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นเพื่อพิจารณาและให้ความเห็นชอบ
2.4 การติดตามผลการตรวจสอบ (1) การวางแผนการติดตามผล (2) ติดตามผลการดำเนินการตามรายงานการตรวจสอบ (3) สรุปผลการติดตาม ขั้นที่ 15 การติดตามผลการตรวจสอบ
3.ตัวอย่างผลการตรวจสอบการดำเนินงาน3.ตัวอย่างผลการตรวจสอบการดำเนินงาน 3.1 โครงการก่อสร้างทางเดินยกระดับ (Sky Walk) ของกรุงเทพมหานคร 3.2 โครงการบัตรเครดิตพลังงาน ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 40
3.1 โครงการก่อสร้างทางเดินยกระดับ (Sky Walk) ของกรุงเทพมหานคร ผลการตรวจสอบ (1) กรุงเทพมหานครตัดสินใจดำเนินโครงการโดยขาดข้อมูลสำคัญในการพิจารณา - ไม่มีการศึกษาความเป็นไปได้(Feasibility Study) - การสำรวจความคิดเห็นยังไม่ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 41
3.1 โครงการก่อสร้างทางเดินยกระดับ (Sky Walk) ของกรุงเทพมหานคร ผลการตรวจสอบ(ต่อ) (2) เส้นทางที่ดำเนินการในระยะที่ ๑ ส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับเหตุผลความจำเป็นในการดำเนินโครงการ - นานา-แบริ่ง ไม่มีข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่จะเปลี่ยนจากการใช้รถยนต์ส่วนตัวเป็นรถไฟฟ้า - ม.รามฯ-สนามกีฬาราชมังคลาฯ ไม่มีรถไฟฟ้า - ไม่สามารถเดินบนทางยกระดับได้ตลอดเส้นทาง ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 42
3.1 โครงการก่อสร้างทางเดินยกระดับ (Sky Walk) ของกรุงเทพมหานคร ผลการตรวจสอบ(ต่อ) (3) กรุงเทพมหานครขาดการเตรียมความพร้อมด้านการบริหารจัดการโครงการ - การกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเชื่อมต่อและการคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อ - การกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบบริหารจัดการ - การกำหนดมาตรการหรือวิธีการป้องกันไม่ให้มีการขายของบนทางยกระดับ และมาตรการดูแลและรักษาความปลอดภัย ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 43
3.1 โครงการก่อสร้างทางเดินยกระดับ (Sky Walk) ของกรุงเทพมหานคร ข้อเสนอแนะ 1. การดำเนินโครงการในระยะที่ 1 1.1 ทบทวนการดำเนินโครงการ โดยจัดให้มีการสำรวจข้อมูลความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่จะใช้บริการทางเดินยกระดับ 1.2 จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 1.3 เร่งรัดการจัดเตรียมความพร้อมด้านบริหารจัดการโครงการ ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 44
3.1 โครงการก่อสร้างทางเดินยกระดับ (Sky Walk) ของกรุงเทพมหานคร ข้อเสนอแนะ(ต่อ) 2. การดำเนินโครงการในระยะที่ 2 2.1 จัดให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ของโครงการ 2.2 จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 45
3.2 โครงการบัตรเครดิตพลังงาน ผลการตรวจสอบ (1) การกำหนดกลุ่มเป้าหมายไม่ครบถ้วนตาม วัตถุประสงค์โครงการ ทำให้เกิดการประท้วงปิดถนน สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่สัญจร - ไม่รวมกลุ่มรถโดยสารร่วม ขสมก. รถโดยสาร ขนาดเล็กร่วม ขสมก. และรถสองแถวเล็กร่วม ขสมก. ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 46
3.2 โครงการบัตรเครดิตพลังงาน ผลการตรวจสอบ(ต่อ) (2) ข้อมูลที่ใช้ประกอบการพิจารณากำหนดจำนวนเป้าหมายไม่เพียงพอ ทำให้ผลการจัดทำบัตรเครดิตพลังงานต่ำกว่าเป้าหมายมาก และโครงการมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น - มิได้นำข้อมูลสถิติจำนวนใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะที่มีทั้งหมดและไม่สิ้นอายุของกรมการขนส่งทางบกมาใช้ประกอบการพิจารณา ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 47
3.2 โครงการบัตรเครดิตพลังงาน ผลการตรวจสอบ(ต่อ) (3) การควบคุมการใช้บัตรเครดิตพลังงานยังไม่รัดกุม และเพียงพอที่จะป้องกันหรือลดโอกาสเกิดการทุจริต ทำให้มีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดความเสียหายต่อเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง - การนำรถสาธารณะที่มีบัตรเติมก๊าซ NGV เติมก๊าซโดยไม่มีบัตรเครดิตพลังงาน การนำบัตรเติมก๊าซ NGV ไปใช้กับรถสาธารณะที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ หรือใช้กับรถยนต์ส่วนบุคคล การนำบัตรเครดิตพลังงานไปใช้กับรถโดยสารสาธารณะที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการหรือรถยนต์ที่ไม่มีบัตรเติมก๊าซ NGV ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 48
3.2 โครงการบัตรเครดิตพลังงาน ข้อเสนอแนะ 1. ในอนาคตหากมีการดำเนินโครงการในลักษณะเดียวกันนี้หรือโครงการใดๆ ต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนความเป็นไปได้ของโครงการอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจดำเนินการ ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 49
3.2 โครงการบัตรเครดิตพลังงาน ข้อเสนอแนะ(ต่อ) 2. กำหนดมาตรการการควบคุมการใช้บัตรเครดิตพลังงานเพิ่มขึ้นให้รัดกุมและเพียงพอ เพื่อป้องกันหรือลดโอกาสเกิดการทุจริต มิให้เกิดความเสียหายต่อเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ไพศาล เรืองวิวัฒนโรจน์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 50