240 likes | 515 Views
เทคนิคการตรวจจับความเร็วของอินดักชั่นมอเตอร์โดยใช้ค่าอิมพีแดนซ์ของโรเตอร์ Speed Sensorless technique of Induction Motor Control Using Rotor Impedance. กฤษ เฉยไสย วิชัย ประเสริฐเจริญสุข อังคณา เจริญมี ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. บทคัดย่อ.
E N D
เทคนิคการตรวจจับความเร็วของอินดักชั่นมอเตอร์โดยใช้ค่าอิมพีแดนซ์ของโรเตอร์Speed Sensorless technique of Induction Motor Control Using Rotor Impedance กฤษ เฉยไสย วิชัย ประเสริฐเจริญสุข อังคณา เจริญมี ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ • ในบทความนี้ได้พัฒนา เทคนิคการตรวจับความเร็วของมอเตอร์เหนี่ยวนำโดยใช้ค่าอิมพีแดนซ์ของโรเตอร์ หลักการในการตรวจจับความเร็วคือ ป้อนแรงดันความถี่สูงให้กับมอเตอร์ แล้ววัดค่ากระแสความถี่สูง มาเพื่อคำนวณหาค่าอิมพีแดนซ์ โดยที่ค่าอิมพีแดนซ์ที่วัดได้จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของโรเตอร์ ซึ่งที่ผิวของโรเตอร์ติดแผ่นอลูมิเนียมบางๆไว้ เพื่อทำให้ค่าอิมพีแดนซ์เปลี่ยนไปตามตำแหน่ง(มุม)ของโรเตอร์ ในขณะที่โรเตอร์หมุนอิมพีแดนซ์เปลี่ยนแปลงตามการหมุนของโรเตอร์ ซึ่งจะมีผลต่อการไหลของกระแสสเตเตอร์ ผลการทดสอบกับมอเตอร์ 2 แรงม้า เมื่อนำค่ากระแสสเตเตอร์ มาผ่านวงจรกรองความถี่ต่ำ ทำให้ทราบความเร็วของโรเตอร์ ตั้งแต่มอเตอร์เริ่มหมุนจนถึงช่วงความเร็วสูงสุดได้ • คำสำคัญ : อินดักชั่นมอเตอร์, ตัวตรวจวัดความเร็ว, วงจรกรองความถี่ต่ำ
1. บทนำ รูปที่ 1 แสดงหลักการควบคุมอินดักชั่นมอเตอร์
2. หลักการ • รูปที่ 2 การนำแผ่นอลูมิเนียมบางติดที่แกนโรเตอร์
รูปที่ 3 (a) การป้อนสนามแม่เหล็กความถี่สูงให้กับอินดักชั่นมอเตอร์ขนาด 2 poles (b) ขณะที่โรเตอร์จะหมุนทำให้สนามแม่เหล็ก( )เปลี่ยนแปลงตามการหมุนของโรเตอร์ (c) รูปคลื่นของกระแสสเตเตอร์ (irms)
รูปที่ 4 การใช้ LCR meter วัดค่า อิมพีแดนซ์ ของมอเตอร์
3.ผลของขนาดของการติดแผ่นอลูมิเนียมที่มีต่อ Impedance ตารางที่ 1 แสดงขนาดของแผ่นอลูมิเนียม
รูปที่ 5 การพันแผ่นอลูมิเนียมติดกับแกนโรเตอร์
รูปที่ 6 ค่าอิมพีแดนซ์ ที่วัดขั้ว U-N เมื่อติดแผ่นอลูมิเนียมใส่แกนโรเตอร์ ตามขนาดทั้ง 6 ค่า
4. การทดลอง 4.1 วงจรที่ใช้ทดลอง รูปที่ 7 วงจรที่ใช้ทดลอง
= 50 Hz Passband gain(Ho) = (1+R4/R3)(1+R4/R3) = 2 รูปที่ 8 วงจร Low pass Filter ที่ใช้ในการทดลอง Corner frequency (fc) =
4.2 ผลการทดลอง 4.2.1 ผลของกระแส เมื่อมุมเปลี่ยนและแรงดันอินพุทเป็นรูปคลื่น sine wave กระแสไหลผ่าน R มีค่า 39.25 mArms รูปที่9 รูปสัญญาณขนาดของกระแสขณะมอเตอร์อยู่ที่มุม 45 องศา
กระแสไหลผ่าน R มีค่า 36.99 mArms รูปที่ 10 รูปสัญญาณขนาดของกระแสขณะมอเตอร์อยู่ที่มุม 135 องศา
กระแสไหลผ่าน R มีค่า 40 mArms กระแสที่ผ่านวงจร LPFมีค่า 59.78 mArms T รูปที่ 11 สัญญาณกระแสขณะที่มอเตอร์หมุนด้วยความเร็วรอบ 625 rpm
กระแสไหลผ่าน R มีค่า 39.88 mArms กระแสที่ผ่านวงจร LPF มีค่า 20.15 mArms T รูปที่ 12สัญญาณกระแสที่ขณะที่มอเตอร์หมุนด้วยความเร็ว1500 rpm
ในรูปที่ 11 กระแสที่ผ่านวงจร LPF มีค่า 59.78 mArms คาบเวลา T = 48 mSec หาความเร็วรอบได้จาก r = 1/(24810-3) = 10.416 รอบต่อวินาที คิดเป็น 625 รอบต่อนาที • รูปที่ 12 กระแสที่ผ่านวงจร LPF มีค่า 20.15 mArms คาบเวลา T = 20 mSec หาความเร็วรอบได้จาก r = 1/(22010-3) = 25 รอบต่อวินาที คิดเป็น 1500 รอบต่อนาที
4.2.2 ผลของกระแส เมื่อมุมเปลี่ยนและแรงดันอินพุทเป็น รูปคลื่น square wave กระแสไหลผ่าน R มีค่า 46.25 mArms รูปที่ 13 รูปสัญญาณขนาดของกระแสขณะมอเตอร์อยู่ที่มุม 45 องศา
กระแสไหลผ่าน R มีค่า 44.27 mArms รูปที่ 14 รูปสัญญาณขนาดของกระแสขณะมอเตอร์อยู่ที่มุม 135 องศา
กระแสไหลผ่าน R มีค่า 46.04 mArms กระแสที่ผ่านวงจร LPF มีค่า 68.64 mArms T รูปที่ 15 กระแสที่วัดได้ขณะที่มอเตอร์หมุนด้วยความเร็วรอบ 600 rpm
กระแสไหลผ่าน R มีค่า 49.24 mArms กระแสที่ผ่านวงจร LPF มีค่า 17.69 mArms T รูปที่ 16 กระแสที่วัดได้ขณะที่มอเตอร์หมุนด้วยความเร็วรอบ 1500 rpm
รูปที่ 15 กระแสที่ผ่านวงจร LPF มีค่า 68.64 mArms คาบเวลา T = 50 mSec หาความเร็วรอบได้จาก r = 1/(25010-3) = 10 รอบต่อวินาที คิดเป็น 600 รอบต่อนาที • รูปที่ 16 กระแสที่ผ่านวงจร LPF มีค่า 17.69 mArms คาบเวลา T = 20 mSec หาความเร็วรอบได้จาก r = 1/(22010-3) = 25 รอบต่อวินาที คิดเป็น 1500 รอบต่อนาที
5. สรุป • เมื่อป้อนแรงดันความถี่สูงให้กับมอเตอร์ที่ติดแผ่นอลูมิเนียม ขนาด 1/3 รอบของแกนโรเตอร์ แล้ววัดค่ากระแสความถี่สูง เพื่อคำนวณหาค่าอิมพีแดนซ์ ในขณะที่โรเตอร์หมุนอิมพีแดนซ์เปลี่ยนแปลงตามการหมุนของโรเตอร์ ซึ่งจะมีผลต่อการไหลของกระแสสเตเตอร์ ผลการทดสอบกับมอเตอร์ 2 แรงม้า เมื่อป้อนความถี่สูงรูป sine wave และ square waveให้กับมอเตอร์ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอิมพีแดนซ์ที่ใกล้เคียงกัน จากนั้นนำสัญญาณที่ออกจากมอเตอร์มาผ่านวงจรกรองความถี่ต่ำ จะทำให้ทราบความเร็วของโรเตอร์ ตั้งแต่มอเตอร์เริ่มหมุนจนถึงช่วงความเร็วสูงสุดได้
เอกสารอ้างอิง • [1] H. Kubota, K. Matsuse, “Speed sensorless field oriented control of induction machines using flux observer” IEEE, 1994. Pages:1611 - 1615 vol.3 • [2] W. Huangang, Z. Xiaoping, X. Wenli, and Y. Geng, “The speed-sensorless control of induction motors at zero frequency” ICEMS, 2001. Pages:1195 - 1198 vol.2 • [3] V.-M. Leppanen, J. Luomi, “Speed sensorless induction machine control for zero speed and frequency,” IEEE, 2002. Pages:400 - 405 vol.1
ขอจบการนำเสนอเพียงเท่านี้ขอบคุณทุกท่านขอจบการนำเสนอเพียงเท่านี้ขอบคุณทุกท่าน