1 / 19

การเลื่อนระดับควบ คืออะไร ?

การเลื่อนระดับควบ คืออะไร ?. ตำแหน่งในระดับควบ หมายถึง การเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการในระดับควบ ให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น จะต้องดำเนินการคัดเลือกโดยการประเมินบุคคล และการปฏิบัติงานของข้าราชการที่มีคุณสมบัติตามที่ ก.พ. กำหนดและอยู่ในเกณฑ์ที่

Download Presentation

การเลื่อนระดับควบ คืออะไร ?

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเลื่อนระดับควบ คืออะไร? ตำแหน่งในระดับควบ หมายถึง การเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการในระดับควบ ให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น จะต้องดำเนินการคัดเลือกโดยการประเมินบุคคล และการปฏิบัติงานของข้าราชการที่มีคุณสมบัติตามที่ ก.พ. กำหนดและอยู่ในเกณฑ์ที่ จะเลื่อนสามารถเลื่อนระดับให้สูงขึ้นได้อีก 2 ระดับ มีอยู่ 4 สายงาน คือ

  2. 2. สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 2 สามารถกำหนดตำแหน่งเป็นระดับสูงขึ้นอีก 2 ระดับ คือ ถึงระดับ 4 (ควบ 2 - 4) 1. สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 สามารถกำหนดตำแหน่งเป็นระดับสูงขึ้นอีก 2 ระดับ คือ ถึงระดับ 3 (ควบ 1 - 3)

  3. 4. สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 4 สามารถกำหนดตำแหน่งเป็นระดับสูงขึ้นอีก 2 ระดับ คือ ถึงระดับ 6 (ควบ 4 - 6) 3. สายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 สามารถกำหนดตำแหน่งเป็นระดับสูงขึ้นอีก 2 ระดับ คือ ถึงระดับ 5 (ควบ 3 - 5)

  4. คุณสมบัติของข้าราชการที่จะได้รับการเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นในระดับควบต้องมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และกฎ ก.พ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือน สามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. 2544 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2548 และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1012.3 / ว 14 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2547

  5. การเลื่อนตำแหน่งในระดับควบมี 2 กรณี คือ 1. การเลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่งระดับควบต้น จะเลื่อนได้ในตำแหน่งที่ครองอยู่ เช่น เลื่อนเจ้าหน้าที่พัสดุ 1 เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ 2 ในตำแหน่งที่ครองอยู่ ให้เลื่อนโดยวิธีการคัดเลือก 2. การเลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่งระดับควบปลาย จะเลื่อนได้ในตำแหน่งที่ครองอยู่ เช่น เลื่อนเจ้าหน้าที่พัสดุ 2 เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ 3 ในตำแหน่งที่ครองอยู่ ให้เลื่อนโดยวิธีการคัดเลือก

  6. คืออะไร? อะไรคือเงื่อนไข? 1. การเลื่อนข้าราชการระดับ 1 ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ 2 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติดังนี้.- 1.1 เป็นผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 1 หรือ ที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี ให้ลดเป็น 2 ปี สำหรับผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตร ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่าได้ไม่ต่ำกว่านี้ตามที่ ก.พ. กำหนดให้ใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งได้

  7. 1.2 ปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานในตำแหน่งที่จะเลื่อนระดับ หรืองานอื่นที่ เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

  8. 2. การเลื่อนข้าราชการระดับ 2 ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ 3 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 2 ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติดังนี้ 2.1 เป็นผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 2 หรือที่ ก.พ.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี กำหนดระยะเวลา 2 ปี ให้เพิ่มเป็น 3 ปี สำหรับผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรืออนุปริญญาที่เป็นหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญหรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ตามที่ ก.พ. กำหนดให้ใช้เป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งได้

  9. 2.2 ปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานในตำแหน่งที่จะเลื่อนระดับ หรืองานอื่นที่ เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

  10. 3. การเลื่อนข้าราชการระดับ 3 ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ 4 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ ดังนี้.- 3.1 เป็นผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งในระดับ 3 หรือที่ ก.พ.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี 3.2 ปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานในตำแหน่งที่จะเลื่อนระดับ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

  11. คืออะไร? อะไรคือเงื่อนไข? 1. การเลื่อนข้าราชการระดับ 2 ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ 3 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 1 ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ .- 1.1 ได้รับเงินเดือนในปีงบประมาณที่จะเลื่อนระดับไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับ 3 คือ ขั้น 6,530 บาท 1.2 ดำรงตำแหน่งในระดับ 2 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานในตำแหน่งที่จะเลื่อนระดับ หรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

  12. 2. การเลื่อนข้าราชการระดับ 3 ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ 4 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 2 ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติดังนี้ .- 2.1ได้รับเงินเดือนในปีงบประมาณที่จะเลื่อนระดับไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของระดับ 4 คือ ขั้น 8,000 บาท ขึ้นไป 2.2 ดำรงตำแหน่งในระดับ 3 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 2 หรือที่ ก.พ.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานในตำแหน่งที่จะเลื่อนระดับหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

  13. 3. การเลื่อนข้าราชการระดับ 4 ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับ 5 ของสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 3 ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 3.1 ได้รับเงินเดือนในปีงบประมาณที่จะเลื่อนระดับไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของ ระดับ 5 คือ 9,790 บาท 3.2 ดำรงตำแหน่งในระดับ 4 หรือที่ ก.พ.เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 3 หรือที่ ก.พ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี โดยจะต้องปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานในตำแหน่งที่จะเลื่อนระดับหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

  14. ขั้นตอนการเลื่อนข้าราชการระดับควบขั้นตอนการเลื่อนข้าราชการระดับควบ ตรวจสอบคุณสมบัติ แบบประเมินและการปฏิบัติงาน คุณสมบัติไม่ครบ แจ้งสำนัก / กอง จัดทำคำสั่ง

  15. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 1. มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 2. มาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 3. มาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 4. มาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535

  16. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 5. กฎ ก.พ.ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญได้รับเงินเดือน พ.ศ. 2544 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547และ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2548 6. หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ สร 0705 / ว 6 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2521 เรื่อง การกำหนดตำแหน่ง 7. หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ สร 0711 / ว 28 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2521 เรื่อง หลักปฏิบัติบางประการเกี่ยวกับตำแหน่งข้าราชการพลเรือน สามัญในสายงานที่เริ่มต้นจากระดับ 2

  17. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 8. หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4 / ว 5 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2536 เรื่อง กรณีการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งในระดับสูง 9. หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 0708.4 / ว 6 ลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2536 เรื่อง วิธีดำเนินการเกี่ยวกับการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการ พลเรือนสามัญขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงขึ้นบางตำแหน่ง

  18. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 10. ที่ นร 1009.3 / 22 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2545 เรื่อง กรอบ อัตรากำลังโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการกรมชลประทาน 11. ที่ นร 1012.3 / ว 14 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2547 เรื่อง อัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญที่จะเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น

  19. กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง 12. ที่ นร 1008.1 / ว 11 ลงวันที่ 27 กันยายน 2548 เรื่อง การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการปีงบประมาณ 2549 13. คำสั่งกรมชลประทาน ที่ ข 777 / 2548 เรื่อง มอบอำนาจให้ข้าราชการปฏิบัติราชการด้านบริหารงานบุคคลแทนอธิบดี

More Related