340 likes | 458 Views
แนวทางในการปรับโครงสร้าง กิจการก๊าซธรรมชาติของประเทศ ในระยะยาว. 9 กุมภาพันธ์ 2542. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (EXECUTIVE SUMMARY). ความเป็นมา.
E N D
แนวทางในการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติของประเทศในระยะยาวแนวทางในการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติของประเทศในระยะยาว 9 กุมภาพันธ์ 2542
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร(EXECUTIVE SUMMARY)
ความเป็นมา • คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2539 เห็นชอบแนวทางในการกำกับดูแลการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติ อัตราค่าผ่านท่อ ตลอดจนเห็นชอบนโยบายการส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนในกิจการก๊าซฯ • อก. สพช. และ ปตท. ได้ดำเนินการศึกษาถึงแนวทางการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะยาว และได้มีข้อสรุปร่วมกันถึงรายละเอียดของแต่ละกิจกรรม
ปตท. ปตท. ก๊าซธรรมชาติ หน่วยงานสนับสนุน โรงแยกก๊าซฯ • ปฏิบัติการ • ตลาด • จัดหา • ตลาด 100% ท่อส่งก๊าซฯ • ปฏิบัติการ • บำรุงรักษา จัดหาและ จำหน่าย สาระสำคัญแนวทางการดำเนินการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะยาว ข้อเสนอแนวทางการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติ • การให้บริการขนส่งก๊าซฯทางท่อแก่บุคคลที่สาม หรือ TPA โดยกำหนดแนวทางการดำเนินการดังนี้ • TPA จะใช้กับระบบท่อเก่าของ ปตท. ที่มีขีดความสามารถเหลือ และท่อก๊าซฯเส้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นของ ปตท. หรือรายอื่น รวมทั้งท่อที่ผู้ผลิตวางตามสิทธิในสัมปทานปิโตรเลียม มาเชื่อมต่อกับระบบท่อหลักของประเทศด้วย และให้คิดอัตราค่าบริการที่สะท้อนต้นทุนอย่างโปร่งใสและผลตอบแทนที่เป็นธรรม • ให้ ปตท. และ อก. (กทธ.) ยกร่างการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข คุณภาพบริการ (TPA Code) และนำเสนอ สพช. เพื่อพิจารณาและขออนุมัติจาก กพช. ต่อไป • การแยกกิจการขนส่งก๊าซฯทางท่อ ออกจากกิจการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ • ให้ ปตท. แยกกิจการขนส่งก๊าซฯทางท่อ ออกจากกิจการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯตามกฎหมาย (Legal Separation) โดยจัดตั้งบริษัท ปตท.ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จำกัด เป็นบริษัทลูก ที่ ปตท. /บริษัท ปตท. จำกัด/(มหาชน) ถือหุ้นทั้งหมดและให้บริษัท ปตท.ท่อส่งก๊าซฯทำหน้าที่บริหาร (Operate) ระบบขนส่งก๊าซฯทางท่อของ ปตท. และของรายอื่นที่มาเชื่อมต่อกับเครือข่ายท่อของ ปตท.
สาระสำคัญแนวทางการดำเนินการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะยาว (ต่อ) ข้อเสนอแนวทางการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติ (ต่อ) • การลงทุนและดำเนินการระบบท่อก๊าซธรรมชาติ • ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติหลัก (Transmission Pipeline) ให้มีการดำเนินการดังนี้ • ให้บริษัท ปตท.ท่อส่งก๊าซฯ เป็นผู้บริหารระบบท่อส่งก๊าซฯ ที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับระบบท่อหลักของ ปตท. • ให้ ปตท. เป็นเจ้าของและลงทุนตามแผนแม่บทระบบท่อฯ ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2541 - 2549 ส่วนท่อใหม่ที่ไม่อยู่ในแผนดังกล่าว ให้เปิดแข่งขัน ได้แก่ ท่อจากอ่าวไทยไปราชบุรี ท่อ Natuna และท่อใหม่อื่นๆ ภายใต้หลักเกณฑ์ตามความเหมาะสมของแต่ละโครงการ (BOO, BOT, BOM, BTO หรือ Leasing)โดย ปตท. /บริษัท ปตท. จำกัด/(มหาชน) มีสิทธิเข้าร่วมประมูล • ให้ สพช. และ อก. ร่วมกำหนดหลักเกณฑ์การประมูล การคัดเลือก และเงื่อนไขสำคัญในสัญญา รวมทั้งเงื่อนไขทางด้านเทคนิคและคุณภาพบริการ • ระบบท่อจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ (Distribution Pipeline) • เปิดให้เอกชนมีส่วนร่วม โดย สพช. และ ปตท. จะร่วมกำหนดเขตสัมปทานระบบท่อจำหน่ายก๊าซฯ และเปิดให้มีการประมูลแข่งขัน โดยให้ ปตท. หรือ บริษัท ปตท. จำกัด/(มหาชน) เข้าร่วมประมูลได้ และจะต้องมีการกำกับราคาค่าผ่านท่อก๊าซฯ ด้วย
สาระสำคัญแนวทางการดำเนินการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะยาว (ต่อ) • การกำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติ ควรแบ่งเป็น 2 ระยะดังนี้ • ระยะสั้น ให้ ปตท. หรือบริษัท ปตท. จำกัด/(มหาชน) และ อก. ทำหน้าที่กำกับดูแลร่วมกับ สพช. เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระขึ้นมา • ระยะยาว ให้องค์กรกำกับดูแลอิสระ เป็นผู้ออกใบอนุญาตต่างๆ ในกิจการระบบท่อส่งก๊าซฯ ท่อจำหน่ายก๊าซฯ การจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ รวมทั้งกำกับดูแลอัตราค่าบริการผ่านท่อก๊าซฯ การลงทุน คุณภาพบริการ และความปลอดภัย ข้อเสนอแนวทางการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติ (ต่อ)
ปตท. • จัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ • ท่อส่งก๊าซฯ • แยกก๊าซฯ โครงสร้างของกิจการก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน สูง ต่ำ ลักษณะโครงสร้าง บทบาทภาคเอกชน • การสำรวจและผลิต :มีการแข่งขันโดยผู้ผลิตหลายราย แต่ผู้ผลิตที่มีบทบาทหลักมีเพียง 3 ราย นอกจากนี้ ผู้ผลิตดังกล่าวยังร่วมกันทำธุรกิจบางโครงการด้วยกัน (Joint Partnership) • การจัดหาและจำหน่าย (Supply & Marketing):ดำเนินการโดย ปตท. โดยที่ สพช/กพช เป็นผู้กำกับดูแลอัตราค่าตอบแทนในการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ • การลงทุนระบบท่อส่งก๊าซฯหลัก (Transmission Pipeline Ownership):ดำเนินการโดย ปตท. • การดำเนินการระบบท่อส่งก๊าซฯหลัก (Transmission Pipeline Operation) :ดำเนินการโดย ปตท. โดยที่ สพช/กพช เป็นผู้กำกับดูแลอัตราค่าผ่านท่อก๊าซฯ • การลงทุนและดำเนินการวางระบบ ท่อจำหน่ายก๊าซฯ (Distribution Pipeline Ownership and Operation) : ระบบท่อจำหน่ายยังมีจำกัด ขณะนี้ มีบริษัทร่วมทุนระหว่าง ปตท. กับ Tractabel และ British Gas ให้บริการตามโครงการวงแหวนรอบกรุงเทพฯ • ผู้ใช้ก๊าซฯ : - ผู้ใช้รายใหญ่คือ กฟผ. (80%) เนื่องจากระบบท่อยังมีจำกัด - มีการใช้พลังงานอื่นทดแทน อื่นๆ ปตท.สผ. ยูโนแคล โทเทล บ. ปตท.จำหน่ายก๊าซ กฟผ. ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนIPP / SPP ผู้ใช้ก๊าซฯ ภาคอุตสาหกรรม
ข้อเสนอโครงสร้างของกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะยาว ข้อเสนอโครงสร้างของกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะยาว สูง ต่ำ ลักษณะโครงสร้าง บทบาทภาคเอกชน • การสำรวจและผลิต :มีการแข่งขันโดยผู้ผลิตหลายราย • การจัดหาและจำหน่าย (Supply & Marketing):- กำกับดูแลอัตราค่าตอบแทนในการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ สำหรับสัญญา ที่ได้มีการลงนามแล้วก่อนการปรับโครงสร้าง- อัตราค่าตอบแทนของสัญญาใหม่ ให้เป็นไปตามกลไกตลาดที่เปิดให้มี การแข่งขันเสรี • การลงทุนระบบท่อส่งก๊าซฯหลัก (Transmission Pipeline Ownership):เปิดให้มีการประมูลสัมปทานก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซฯเพิ่มเติมจากที่ ปตท. จะดำเนินการตามแผนแม่บท • การดำเนินการระบบท่อส่งก๊าซฯหลัก(Transmission Pipeline Operation)- ปตท. เป็นผู้บริหารระบบท่อส่งก๊าซฯหลักที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับ ระบบท่อหลักของ ปตท. เพียงรายเดียว - กำกับดูแลอัตราค่าผ่านท่อโดยองค์กรกำกับดูแลอิสระ- เปิดให้บริการขนส่งก๊าซฯทางท่อแก่บุคคลที่สาม (TPA) สำหรับท่อใหม่ ส่วนท่อเดิมของ ปตท. ให้ ปตท. ดำเนินการโดยไม่ต้องใช้กติกา TPAยกเว้นกรณีมีความสามารถในการขนส่งเหลือ • การลงทุนและดำเนินการวางระบบ ท่อจำหน่ายก๊าซฯ (Distribution Pipeline Ownership and Operation) : - ยังคงมีบริษัท ปตท.จำหน่ายก๊าซฯ สำหรับโครงการวงแหวนรอบกรุงเทพฯ- เปิดให้มีการประมูลสัมปทานการก่อสร้างและดำเนินการระบบท่อจำหน่ายฯ • ผู้ใช้ก๊าซฯ :เพิ่มจำนวนผู้ใช้ก๊าซฯ และส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงอื่น และพลังงาน รูปแบบใหม่ๆ ปตท.สผ. ยูโนแคล โทเทล อื่นๆ บ. จัดหาและ จำหน่ายก๊าซฯ 1 บ. จัดหาและ จำหน่ายก๊าซฯ 2 ปตท. (ทำหน้าที่จัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ) ถือหุ้น 100% บริษัท ปตท.ท่อส่งก๊าซฯ บริษัท ท่อส่งก๊าซฯ อื่นๆ บ. ท่อจำหน่าย ก๊าซฯ 2 บ. ท่อจำหน่าย ก๊าซฯ 1 บ. ปตท.ท่อจำหน่ายก๊าซฯ กฟผ. ผู้ใช้ก๊าซฯ ภาคอุตสาหกรรม ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนIPP / SPP
รายละเอียดแนวทางการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะยาวรายละเอียดแนวทางการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะยาว
หัวข้อ • ความเป็นมา • วัตถุประสงค์ของการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติ และการแปรรูป ปตท. • โครงสร้างของกิจการก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน • ข้อเสนอโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะยาว • การดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติ ในระยะยาว • การปรับปรุงโครงสร้างหน่วยธุรกิจ ปตท.ก๊าซธรรมชาติ • การแปรรูป ปตท. • การจัดโครงสร้างองค์กรของ ปตท. เพื่อการแปรรูปแบบรวมกิจการ • การดำเนินการในระยะต่อไป • ข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ประเด็นเพื่อพิจารณา 11
ความเป็นมา • คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2539 เห็นชอบแนวทางในการกำกับดูแลการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติ อัตราค่าผ่านท่อ ตลอดจนเห็นชอบนโยบายการส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนในกิจการก๊าซฯ • คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2541 เห็นชอบแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ มุ่งให้กิจการก๊าซฯในอนาคตมีการแข่งขันอย่างเสรี โดยการแยกกิจกรรมระบบท่อส่ง ท่อจำหน่าย และการจัดจำหน่ายก๊าซฯ ออกจากกัน และการให้บุคคลที่สามสามารถใช้ระบบท่อก๊าซฯได้ ทั้งนี้ กำหนดให้มีการแข่งขันเสรี ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นไป
วัตถุประสงค์การปรับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติ และการแปรรูป ปตท. • เพื่อส่งเสริมให้มีการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพ และการลดต้นทุนการผลิต • เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรด้านพลังงาน และขยายกิจการก๊าซฯของประเทศ • เพื่อให้ผู้ใช้ก๊าซฯ ได้รับก๊าซฯอย่างเพียงพอ มีคุณภาพและบริการที่ดี ในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม • เพื่อลดภาระการลงทุนของภาครัฐในกิจการด้านพลังงาน • เพื่อให้ภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการพัฒนากิจการด้านพลังงาน และส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน • เพื่อก่อให้เกิดมูลค่าสูงสุดในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ปตท. • จัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ • ท่อส่งก๊าซฯ • แยกก๊าซฯ โครงสร้างของกิจการก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน สูง ต่ำ ลักษณะโครงสร้าง บทบาทภาคเอกชน • การสำรวจและผลิต :มีการแข่งขันโดยผู้ผลิตหลายราย แต่ผู้ผลิตที่มีบทบาทหลักมีเพียง 3 ราย นอกจากนี้ ผู้ผลิตดังกล่าวยังร่วมกันทำธุรกิจบางโครงการด้วยกัน (Joint Partnership) • การจัดหาและจำหน่าย (Supply & Marketing):ดำเนินการโดย ปตท. โดยที่ สพช/กพช เป็นผู้กำกับดูแลอัตราค่าตอบแทนในการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ • การลงทุนระบบท่อส่งก๊าซฯหลัก (Transmission Pipeline Ownership):ดำเนินการโดย ปตท. • การดำเนินการระบบท่อส่งก๊าซฯหลัก (Transmission Pipeline Operation) :ดำเนินการโดย ปตท. โดยที่ สพช/กพช เป็นผู้กำกับดูแลอัตราค่าผ่านท่อก๊าซฯ • การลงทุนและดำเนินการวางระบบ ท่อจำหน่ายก๊าซฯ (Distribution Pipeline Ownership and Operation) : ระบบท่อจำหน่ายยังมีจำกัด ขณะนี้ มีบริษัทร่วมทุนระหว่าง ปตท. กับ Tractabel และ British Gas ให้บริการตามโครงการวงแหวนรอบกรุงเทพฯ • ผู้ใช้ก๊าซฯ : - ผู้ใช้รายใหญ่คือ กฟผ. (80%) เนื่องจากระบบท่อยังมีจำกัด - มีการใช้พลังงานอื่นทดแทน อื่นๆ ปตท.สผ. ยูโนแคล โทเทล บ. ปตท.จำหน่ายก๊าซ กฟผ. ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนIPP / SPP ผู้ใช้ก๊าซฯ ภาคอุตสาหกรรม
ข้อเสนอโครงสร้างของกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะยาว ข้อเสนอโครงสร้างของกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะยาว สูง ต่ำ ลักษณะโครงสร้าง บทบาทภาคเอกชน • การสำรวจและผลิต :มีการแข่งขันโดยผู้ผลิตหลายราย • การจัดหาและจำหน่าย (Supply & Marketing):- กำกับดูแลอัตราค่าตอบแทนในการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ สำหรับสัญญา ที่ได้มีการลงนามแล้วก่อนการปรับโครงสร้าง- อัตราค่าตอบแทนของสัญญาใหม่ ให้เป็นไปตามกลไกตลาดที่เปิดให้มี การแข่งขันเสรี • การลงทุนระบบท่อส่งก๊าซฯหลัก (Transmission Pipeline Ownership):เปิดให้มีการประมูลสัมปทานก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซฯเพิ่มเติมจากที่ ปตท. จะดำเนินการตามแผนแม่บท • การดำเนินการระบบท่อส่งก๊าซฯหลัก(Transmission Pipeline Operation)- ปตท. เป็นผู้บริหารระบบท่อส่งก๊าซฯหลักที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับ ระบบท่อหลักของ ปตท. เพียงรายเดียว - กำกับดูแลอัตราค่าผ่านท่อโดยองค์กรกำกับดูแลอิสระ- เปิดให้บริการขนส่งก๊าซฯทางท่อแก่บุคคลที่สาม (TPA) สำหรับท่อใหม่ ส่วนท่อเดิมของ ปตท. ให้ ปตท. ดำเนินการโดยไม่ต้องใช้กติกา TPAยกเว้นกรณีมีความสามารถในการขนส่งเหลือ • การลงทุนและดำเนินการวางระบบ ท่อจำหน่ายก๊าซฯ (Distribution Pipeline Ownership and Operation) : - ยังคงมีบริษัท ปตท.จำหน่ายก๊าซฯ สำหรับโครงการวงแหวนรอบกรุงเทพฯ- เปิดให้มีการประมูลสัมปทานการก่อสร้างและดำเนินการระบบท่อจำหน่ายฯ • ผู้ใช้ก๊าซฯ :เพิ่มจำนวนผู้ใช้ก๊าซฯ และส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงอื่น และพลังงาน รูปแบบใหม่ๆ ปตท.สผ. ยูโนแคล โทเทล อื่นๆ บ. จัดหาและ จำหน่ายก๊าซฯ 1 บ. จัดหาและ จำหน่ายก๊าซฯ 2 ปตท. (ทำหน้าที่จัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ) ถือหุ้น 100% บริษัท ปตท.ท่อส่งก๊าซฯ บริษัท ท่อส่งก๊าซฯ อื่นๆ บ. ท่อจำหน่าย ก๊าซฯ 2 บ. ท่อจำหน่าย ก๊าซฯ 1 บ. ปตท.ท่อจำหน่ายก๊าซฯ กฟผ. ผู้ใช้ก๊าซฯ ภาคอุตสาหกรรม ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนIPP / SPP
การดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามโครงสร้างกิจการก๊าซฯในระยะยาว การดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามโครงสร้างกิจการก๊าซฯในระยะยาว 5.1 การจัดโครงสร้างกิจการท่อส่งก๊าซฯ และกิจการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ (Separation of transmission and supply & marketing businesses) 5.2 การให้บริการขนส่งก๊าซฯทางท่อแก่บุคคลที่สาม (Third Party Access) 5.3 การกำหนดคำจำกัดความของแหล่งก๊าซฯปัจจุบัน และแหล่งก๊าซฯใหม่ (Existing gas supply and new gas supply) 5.4 การกำหนดคำจำกัดความของความต้องการใช้ก๊าซฯปัจจุบัน และความ ต้องการก๊าซฯใหม่ (Existing gas demand and new gas demand) 5.5 การกำหนดขอบเขตการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในระบบท่อส่งก๊าซฯ หรือการเพิ่มการแข่งขันในระบบท่อส่งก๊าซฯ (Pipeline Competition) 5.6 การกำกับดูแลกิจการก๊าซฯ
5.1 การจัดโครงสร้างกิจการท่อส่งก๊าซฯ และกิจการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ • ปตท. อก. และ สพช. มีความเห็นร่วมกันในการปรับโครงสร้างกิจการ ปตท.ก๊าซธรรมชาติ ดังนี้ • แยกกิจการขนส่งก๊าซฯทางท่อ ออกจากกิจการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ ในลักษณะของการแบ่งแยกตามกฎหมาย (Legal Separation) โดยการจัดตั้งบริษัท ปตท.ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จำกัด ขึ้นเป็นบริษัทลูกที่ ปตท. หรือ บริษัท ปตท. จำกัด/(มหาชน) จะเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด • บริษัท ปตท.ท่อส่งก๊าซฯที่จัดตั้งขึ้นใหม่ จะทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการบริหาร (Operate) ระบบขนส่งก๊าซฯทางท่อของ ปตท. และท่อของผู้ลงทุนรายอื่นที่จะมาเชื่อมต่อกับเครือข่ายท่อของ ปตท. • ให้ ปตท. หรือบริษัท ปตท. จำกัด/(มหาชน) มีการจัดทำสัญญาในการดำเนินธุรกิจในลักษณะของสัญญามาตรฐานสากล ซึ่งโปร่งใสและเป็นธรรมแก่ผู้ใช้บริการท่อส่งก๊าซฯรายอื่น
หน่วยงานสนับสนุน หน่วยงานสนับสนุน จัดหาและ จำหน่าย โรงแยกก๊าซฯ จัดหาและ จำหน่าย โรงแยกก๊าซฯ 5.1 การจัดโครงสร้างกิจการท่อส่งก๊าซฯ และกิจการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ (ต่อ) โครงสร้างกิจการก๊าซฯ ปตท. ในปัจจุบัน การจัดตั้งบริษัท ปตท. ท่อส่งก๊าซฯ ปตท. ปตท. ปตท. ก๊าซธรรมชาติ ปตท. ก๊าซธรรมชาติ • ปฏิบัติการ • ตลาด • จัดหา • ตลาด • ปฏิบัติการ • ตลาด • จัดหา • ท่อส่งก๊าซฯ • ตลาด 100% ท่อส่งก๊าซฯ • ปฏิบัติการ • บำรุงรักษา งานหลัก บริษัท หน่วยธุรกิจ
5.2 การให้บริการขนส่งก๊าซฯทางท่อแก่บุคคลที่สาม • ปตท. อก. และ สพช. ยอมรับในหลักการของการให้บริการขนส่งก๊าซฯทางท่อแก่บุคคลที่สาม หรือ TPA โดยกำหนดแนวทางการดำเนินการดังนี้ • ปตท. ยังคงสิทธิการใช้ระบบท่อที่มีอยู่เดิมที่ปัจจุบันมีการใช้งานเต็มประสิทธิภาพแล้ว ทั้งนี้ TPA จะใช้กับระบบท่อทั้งระบบที่มีขีดความสามารถเหลือ และท่อก๊าซฯเส้นใหม่ • TPA จะใช้กับระบบท่อส่งก๊าซฯใหม่ ไม่ว่าจะเป็นของ ปตท. หรือรายอื่น โดยมี ปตท. เป็นผู้ดำเนินการบริหารระบบท่อที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับระบบท่อหลักของ ปตท. • อัตราค่าบริการให้พิจารณาหลักการที่สะท้อนต้นทุนอย่างโปร่งใสและผลตอบแทนที่เป็นธรรม • การให้บริการของระบบท่อที่เปิดให้มี TPA ให้ยึดหลักการเสมอภาค โดยมีเกณฑ์การพิจารณาที่ชัดเจนและตรวจสอบได้ และหากผู้ผลิตวางท่อก๊าซฯตามสิทธิในสัมปทานปิโตรเลียม มาเชื่อมต่อกับระบบท่อหลักของประเทศ ก็ต้องอยู่ภายใต้กติกานี้เช่นกัน • ให้ ปตท. และ อก. (กทธ.) เป็นผู้ยกร่างการกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข คุณภาพบริการ (TPA Code) และนำเสนอ สพช. เพื่อพิจารณาและขออนุมัติจาก กพช. ต่อไป
5.3 การกำหนดคำจัดความของแหล่งก๊าซฯปัจจุบันและแหล่งก๊าซฯใหม่ • ปตท. และ สพช. ได้มีข้อสรุปดังนี้ • แหล่งก๊าซฯปัจจุบัน ให้หมายถึง แหล่งสัมปทานภายในประเทศที่ได้ทำสัญญาซื้อขายกับ ปตท. แล้วทั้งหมด โดยให้รวมถึงแหล่งก๊าซฯที่อยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำสัญญา คือ แหล่งบงกช 4 JDA และยานาดา/เยตากุน ส่วนขยาย • แหล่งสัมปทานนอกเหนือจากนั้น ให้ถือเป็นแหล่งก๊าซฯใหม่ ที่เปิดให้ซื้อขายได้โดยตรงระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ก๊าซฯ • ผู้ผลิตของแหล่งก๊าซฯปัจจุบัน จะสามารถขายก๊าซฯส่วนเพิ่มให้ผู้ใช้ก๊าซฯนอกเหนือจาก ปตท. ได้ต่อเมื่อทำการเจรจากับ ปตท. เพื่อกำหนดปริมาณซื้อขายใหม่ และรับประกันการจัดส่งให้ ปตท. ตามปริมาณ ราคา และระยะเวลาที่ตกลงใหม่
5.4 การกำหนดคำจำกัดความของความต้องการใช้ก๊าซฯปัจจุบัน และความต้องการใช้ก๊าซฯใหม่ • คำจำกัดความของตลาดก๊าซฯปัจจุบัน ให้หมายถึง • สัญญาซื้อขายก๊าซฯระหว่าง ปตท. กับผู้ใช้ก๊าซฯ ที่ได้ทำสัญญากับ ปตท. แล้ว รวมทั้งสัญญาซื้อขายก๊าซฯระหว่าง ปตท. กับ กฟผ. สำหรับโรงไฟฟ้าราชบุรี น้ำพอง หนองจอก สุราษฎร์ธานี ด้วย • สัญญาซื้อขายก๊าซฯ ระหว่าง ปตท. กับ IPP รอบแรก ที่ได้ลงนามสัญญา และอยู่ระหว่างการรอลงนาม จนกว่าจะหมดอายุสัญญา • สัญญาซื้อขายก๊าซฯระหว่าง ปตท. กับ SPP รอบปัจจุบัน ที่ได้ลงนามสัญญา และอยู่ระหว่างรอลงนาม จนกว่าจะหมดอายุสัญญา • สัญญาซื้อขายก๊าซฯ ระหว่าง ปตท. กับผู้ใช้ก๊าซฯ อุตสาหกรรมที่ได้ลงนามสัญญา และอยู่ระหว่างรอลงนาม จนกว่าจะหมดอายุสัญญา • สัญญาอื่นๆ นอกเหนือจากข้างต้น ให้ถือเป็นตลาดก๊าซฯใหม่ ที่ต้องเปิดให้ผู้ใช้ก๊าซฯ สามารถเลือกซื้อจากแหล่งอื่นได้
5.5 การกำหนดขอบเขตการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการลงทุนและดำเนินการระบบท่อก๊าซฯ • ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติหลัก (Transmission Pipeline) • ให้ บริษัท ปตท.ท่อส่งก๊าซฯ เป็นผู้ดำเนินการบริหารระบบท่อส่งก๊าซฯ ที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับระบบท่อหลักของ ปตท. • ให้ ปตท. เป็นเจ้าของและดำเนินการบริหารท่อส่งก๊าซฯ ตามแผนแม่บทระบบท่อฯ ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2541-2549 • ท่อใหม่ที่ไม่อยู่ในแผนแม่บทระบบท่อก๊าซฯ ฉบับที่ 2 ที่เปิดให้แข่งขัน ได้แก่ ท่อจากอ่าวไทยไปราชบุรี (ท่อเส้นที่3) ท่อ Natuna และท่อใหม่อื่นๆ • ท่อที่ ปตท. อาจจะร่วมทุนกับบริษัทเปโตรนาส และบริษัทเอกชนอื่นๆ ได้แก่ ท่อ JDA- สงขลา, ท่อ JDA-มาเลเซีย • หลักการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในระบบท่อส่งก๊าซฯหลัก จะใช้การเปิดประมูลแข่งขันภายใต้หลักเกณฑ์ตามความเหมาะสมของแต่ละโครงการ เช่น BOO, BOT, BOM, BTO หรือ Leasing เป็นต้น โดย ปตท. หรือบริษัท ปตท. จำกัด/(มหาชน) มีสิทธิเข้าร่วมประมูลแข่งขันด้วย • สพช. และ อก. จะร่วมกำหนดหลักเกณฑ์การประมูลแข่งขัน การคัดเลือก และเงื่อนไขสำคัญในสัญญา รวมทั้งเงื่อนไขทางด้านเทคนิคและคุณภาพบริการ
5.5 การกำหนดขอบเขตการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการลงทุนและดำเนินการระบบท่อก๊าซฯ (ต่อ) • ระบบท่อจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ (Distribution Pipeline) • สพช. และ ปตท. จะร่วมกันกำหนดเขตสัมปทานระบบท่อจำหน่ายก๊าซฯ และเปิดให้มีการประมูลแข่งขัน โดยให้ ปตท. หรือ บริษัท ปตท. จำกัด/(มหาชน) เข้าร่วมประมูลได้ • จะต้องมีการกำกับราคาค่าผ่านท่อก๊าซฯ ด้วย
5.6 การกำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติ • การกำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติ ควรแบ่งเป็น 2 ระยะดังนี้ • ในระยะสั้น ให้ ปตท. หรือบริษัท ปตท. จำกัด/(มหาชน) และ อก. ทำหน้าที่กำกับดูแลร่วมกับ สพช. เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระขึ้นมา • ในระยะยาว ให้องค์กรกำกับดูแลอิสระ เป็นผู้ดำเนินการออกใบอนุญาตต่างๆ ในกิจการระบบท่อส่งก๊าซฯ ท่อจำหน่ายก๊าซฯ การจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ รวมทั้งกำกับดูแลอัตราค่าบริการผ่านท่อก๊าซฯ การลงทุน คุณภาพบริการ และความปลอดภัย
5.6 การกำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติ (ต่อ) โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการก๊าซฯในระยะสั้น อก.(กระทรวงเจ้าสังกัด) กพช./สพช. กำหนดแนวทางการกำกับดูแลและทบทวนประเมินผล ปตท.รัฐวิสาหกิจ/บริษัท ปตท.จำกัด/มหาชน(ซึ่งจะทำหน้าที่จัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ) ใบอนุญาตประกอบการระบบท่อจำหน่ายก๊าซฯ ใบอนุญาตประกอบการระบบท่อส่งก๊าซฯ ใบอนุญาตประกอบการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ ปตท. -ท่อส่งก๊าซฯ ปตท. -ท่อจำหน่ายก๊าซฯ บ.ท่อส่งก๊าซฯอื่นๆ บ.ท่อจำหน่ายก๊าซฯอื่นๆ บ.จัดหาและจำหน่ายก๊าซฯอื่นๆ
5.6 การกำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติ (ต่อ) โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะยาว องค์กรกำกับดูแลกิจการพลังงานอิสระ ใบอนุญาตประกอบการระบบท่อจำหน่ายก๊าซฯ ใบอนุญาตประกอบการระบบท่อส่งก๊าซฯ ใบอนุญาตประกอบการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ ปตท. -ท่อส่งก๊าซฯ บริษัท ปตท. จำกัด/(มหาชน)(จัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ) ปตท. -ท่อจำหน่ายก๊าซฯ บ.ท่อส่งก๊าซฯอื่นๆ บ.ท่อจำหน่ายก๊าซฯอื่นๆ บ.จัดหาและจำหน่ายก๊าซฯอื่นๆ
หน่วยงานสนับสนุน จัดหาและ จำหน่าย โรงแยกก๊าซฯ การปรับปรุงโครงสร้างหน่วยธุรกิจ ปตท.ก๊าซธรรมชาติ • เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปรับโครงสร้างกิจการก๊าซฯในระยะยาว จึงควรปรับปรุงโครงสร้างหน่วยธุรกิจ ปตท.ก๊าซธรรมชาติ ดังนี้ • ปตท.ก๊าซฯ ยังคงเป็นหน่วยธุรกิจใน ปตท. หรือ บริษัท ปตท. จำกัด/(มหาชน) ทำหน้าที่ดำเนินธุรกิจการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ และธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ • จัดตั้งบริษัท ปตท.ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จำกัด โดยให้ ปตท. หรือ บริษัท ปตท. จำกัด/(มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด เพื่อให้ทำหน้าที่บริหารระบบท่อส่งก๊าซฯของ ปตท. และท่ออื่นที่มาเชื่อมต่อกับเครือข่ายระบบท่อส่งก๊าซฯของ ปตท. ปตท. ปตท. ก๊าซธรรมชาติ • ปฏิบัติการ • ตลาด • จัดหา • ตลาด 100% ท่อส่งก๊าซฯ • ปฏิบัติการ • บำรุงรักษา งานหลัก บริษัท หน่วยธุรกิจ
ปตท.รัฐวิสาหกิจ บริษัท ปตท. จำกัด ก๊าซ อินเตอร์ฯ ก๊าซ อินเตอร์ฯ น้ำมัน น้ำมัน บริษัทในเครือ บริษัทในเครือ การแปรรูป ปตท. • ปตท. เห็นชอบตามข้อเสนอของที่ปรึกษาการเงินทั้ง 9 ราย ที่จะดำเนินการแปรรูปแบบรวมกิจการ โดยใช้แนวทางตามร่าง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ และหากภาวะตลาดมีความเหมาะสม ก็จะได้ดำเนินการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป นำบริษัท ปตท. จำกัด แปรรูปในตลาดหลักทรัพย์ แปรสภาพภายใต้ ร่าง พรบ.ทุนฯ
บริษัท ปตท. จำกัด บริษัท ปตท. จำกัด ก๊าซ อินเตอร์ฯ บ.อินเตอร์ฯ บ.น้ำมัน บ.ก๊าซ น้ำมัน บริษัทในเครือ บริษัทในเครือ การจัดโครงสร้างองค์กรของ ปตท. เพื่อการแปรรูปแบบรวมกิจการ • การจัดโครงสร้างองค์กรเพื่อการแปรรูปแบบรวมกิจการ สามารถดำเนินการได้ 2 แนวทาง คือ แนวทางที่ 2 PURE HOLDING COMPANY แนวทางที่ 1 OPERATING HOLDING COMPANY ปตท.รัฐวิสาหกิจ ปตท.รัฐวิสาหกิจ
การจัดโครงสร้างองค์กรของ ปตท. เพื่อการแปรรูปแบบรวมกิจการ (ต่อ) • ประสิทธิภาพในการหมุนเวียนกระแสเงินสด โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย และข้อจำกัดภายใต้สัญญาเงินกู้ • ประโยชน์ในทางภาษี โดยสามารถนำผลประกอบการของกิจการที่ขาดทุน มาหักจากกำไรที่ใช้คิดภาษีของอีกกิจการหนึ่งได้ในปีภาษีเดียวกัน • เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของร่าง พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ โดย ปตท. จะสามารถดำเนินการแปรรูปแบบรวมกิจการได้โดยไม่ต้องเจรจากับคู่สัญญาใดๆ เพื่อขอความเห็นชอบ • ประโยชน์อื่นๆ เช่น สามารถใช้ประโยชน์จากการรวมศูนย์การบริหารงานสนับสนุน อาทิเช่น งานบริหารการเงิน และงานทรัพยากรบุคคล ให้เป็นไปอย่างคล่องตัวสูงสุด • ข้อได้เปรียบของการจัดโครงสร้างแบบ Operating Holding
การจัดโครงสร้างองค์กรของ ปตท. เพื่อการแปรรูปแบบรวมกิจการ (ต่อ) • คณะกรรมการ ปตท. เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2541 มีมติเห็นชอบรูปแบบการแปรรูปแบบรวมกิจการ และรูปแบบโครงสร้างแบบ Operating Holding Company โดยจะปรับปรุงให้สอดคล้องกับการเปิดเสรีธุรกิจก๊าซฯ ที่ต้องแยกกิจการท่อส่งก๊าซฯ ออกจากกิจการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ ดังภาพ บริษัท ปตท. จำกัด ก๊าซ อินเตอร์ฯ น้ำมัน บริษัทในเครือ บริษัท ปตท.ท่อส่งก๊าซฯ
การดำเนินการในระยะต่อไป การดำเนินการในระยะต่อไป • การเปิดเสรีอุตสาหกรรมก๊าซฯ • จัดตั้งบริษัท ปตท.ท่อส่งก๊าซฯ โดยมี ปตท./บริษัท ปตท.จำกัด/(มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด • กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ รองรับ Third Party Access ภายในเดือนมิถุนายน 2542 • กำหนดเงื่อนไขการออกใบอนุญาตต่างๆ ภายในเดือนพฤษภาคม 2542 • ทบทวนอัตราค่าผ่านท่อก๊าซฯ และโครงสร้างราคาก๊าซฯ ภายในเดือนมิถุนายน 2542 • พิจารณาอนุมัติแผนการลงทุนระบบท่อ ภายในเดือนมิถุนายน 2542 • การแปรสภาพ ปตท. เป็นบริษัท จำกัด/(มหาชน) • เตรียมการเปลี่ยนสถานะ ปตท. ภายใต้ร่าง พ.ร.บ.ทุนฯ เช่น กำหนดทุนจดทะเบียน หนังสือบริคณฑ์สนธิ ร่างระเบียบข้อบังคับ จัดเตรียมงบการเงินตามข้อกำหนด กลต. และเตรียมการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่ เป็นต้น • เสนอแผนการแปรรูป ปตท. ต่อ กพช./สพช. และคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ เพื่อนำเสนอ ครม. เพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป • เสนอรายละเอียดการแปลงสภาพ ปตท. ต่อคณะกรรมการกำกับนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ และคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท เพื่อให้ความเห็นชอบ ตามร่าง พรบ.ทุนฯ • จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
การดำเนินการในระยะต่อไป (ต่อ) • การขายหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด/(มหาชน) ในตลาดหลักทรัพย์ • ปรับปรุงโครงสร้างการลงทุนของโรงกลั่นและบริษัทในเครือของธุรกิจปิโตรเคมี • ทำ Due Diligence • ขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ กับทาง กลต. • เตรียมการนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ • จัดเตรียมหนังสือชี้ชวน • เตรียมการเสนอขายหลักทรัพย์ • ทำ Roadshow /เสนอขายหลักทรัพย์ฯ • จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์
ข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ • ขอความเห็นชอบโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติในระยะยาว ตามรายละเอียดข้อ 4 • ขอความเห็นชอบในการดำเนินการ ดังนี้ • ให้ ปตท. แยกกิจการท่อส่งก๊าซฯ ออกจากกิจการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ ดังรายละเอียดข้อ5.1 • ให้ ปตท. เปิดให้บริการขนส่งก๊าซฯทางท่อแก่บุคคลที่สาม (TPA) โดยให้ อก.(กทธ.) และ ปตท. ร่วมยกร่างหลักเกณฑ์ TPA Code พร้อมระบุรายชื่อท่อก๊าซฯที่พร้อมจะให้บริการ และเสนอราคาค่าบริการ ตามรายละเอียดข้อ 5.2 ภายในเดือนมิถุนายน 2542 • ให้ ปตท. จัดทำรายละเอียดแหล่งก๊าซฯปัจจุบัน ตามหลักการข้อ 5.3 ให้แล้วเสร็จ ภายในเดือนมกราคม 2542 และรวบรวมรายชื่อผู้ผลิตที่จะขอแก้ไขสัญญาใหม่ ภายในเดือนเมษายน 2542 • ให้ ปตท. จัดทำรายละเอียดตลาดก๊าซฯปัจจุบัน ตามหลักการข้อ 5.4 และเร่งจัดทำสัญญาซื้อขายก๊าซฯ ระหว่าง ปตท. กับ กฟผ. ภายในปี 2542 • ให้ สพช. และ อก. ร่วมกำหนดหลักเกณฑ์การประมูลแข่งขันเงื่อนไขสัมปทาน สำหรับการให้บริการท่อจำหน่ายก๊าซฯ ตามหลักการข้อ 5.5 ภายในเดือนมิถุนายน 2542 • ให้ สพช./กพช. อก. และ ปตท. ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการก๊าซฯ ตามข้อ 5.6 และให้นำเสนอรายละเอียดการกำกับดูแลกิจการก๊าซฯ ก่อนการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ ภายใน 6 เดือน • ให้ ปตท. อก. และ สพช./กพช. ทำหน้าที่ประมาณการอุปสงค์อุปทานของก๊าซธรรมชาติ
11 ประเด็นเพื่อพิจารณา • เห็นควรให้ความเห็นชอบข้อเสนอของ สพช. ในข้อ 10 และมอบหมายให้ ปตท. อก. และ สพช. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป • รับทราบแนวทางการแปรสภาพ ปตท. เป็น บริษัท จำกัด (Corporatization) และการแปรรูป ปตท. (Privatization) ตามรายละเอียดข้อ 7, 8 และ 9