1 / 17

เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ

เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ. ซอฟต์แวร์ระบบ. เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ. ความหมายซอฟต์แวร์ ( software).

Download Presentation

เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบ

  2. เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ ความหมายซอฟต์แวร์ (software) ซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ให้ทำงานคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ ซอฟต์แวร์ แบ่งแยกได้เป็นสองประเภท คือซอฟต์แวร์ระบบกับซอฟต์แวร์ประยุกต์

  3. เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ ความหมายซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับระบบ คือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง

  4. เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ หน้าที่ของซอฟต์แวร์ระบบ 1.ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับการกดแป้นต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้า และส่งออกอื่น ๆ เช่น เมาส์ อุปกรณ์สังเคราะห์เสียง 2.ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก 3.ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการสารบบในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล

  5. เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ ชนิดของซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟตแวรระบบแบงออกเป็น 3 ชนิด 1.1 ระบบปฏิบัติการ (Operating System) 1.2 ตัวแปลภาษา ( Language translators) 1.3 โปรแกรมอรรถประโยชน ( Utility program)

  6. เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ ชนิดของซอฟต์แวร์ระบบ (ต่อ) 1. ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดี 1) ระบบปฏิบัติการดอส Disk Operating System : (DOS)2) วินโดวส์ (Windows) 3) แมค (Mac)4) ยูนิกซ์ (UNIX) 5) ลีนุกซ์(LINUX)

  7. เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ 1) ระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการดอส Disk Operating System : (DOS)เป็นระบบปฏิบัติการศำหรับพีซี พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2524 โดย บิล เกตส์(Bill Gates) และ พอลอเลน(Paul Allen) มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้เป็นแบบบรรทัดฐานคำสั่งโดยผู้ใช้ต้องป้อนข้อความคำสั่งที่ละ 1 ข้อความ และต้องจดจำรูปแบบของคำสั่งให้ถูกต้อง จึงสามารถทำงานได้ตามต้องการ

  8. เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ 2) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการของบริษัทไมโครซอฟต์ที่มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก ซึ่งประกอบด้วยไอคอนที่เป็นรูปภาพแทนโปรแกรมสั่ง หรือไฟล์ต่าง ๆ และหน้าต่างแสดงขอบเขตการทำงาน ระบบปฏิบัติการวินโดวส์สามารถทำงานได้ทีละหลายงานพร้อมกัน (multitasking) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์มีการพัฒนาหลายรุ่น เช่น วินโดวส์เอกซ์พี (Windows XP) วินโดวส์วิสต้า(Windows Vista) วินโดวส์เซเวน (Windows 7)

  9. เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ 3) ระบบปฏิบัติการแมค ระบบปฏิบัติการแมค (Mac)เป็นระบบปฏิบัติการของบริษัทแอปเปิ้ล(Apple lnc.) ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานมาจากระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ และเป็นผู้บุกเบิกส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก ระบบปฏิบัติการแมคมีการพัฒนาหลายรุ่น เช่น แมคโอเอสรุ่นที่ 9 (Mac OS 9) แมคโอเอสรุ่นที่ 10 (Mac OS x)

  10. เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ 4) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX)พัฒนาโดยกลุ่มพนักงานห้องปฏิบัติการเบลล์ของ เอทีแอนด์ที (AT&T’s Bell Laboratories) ในปี พ.ศ. 2512 ยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการแรกที่มีความสามารถด้านการประมวลผลแบบหลายงาน (Multitasking) มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (Multiuser) ในช่วงแรกระบบปฏิบัติการยูนิกซ์นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกันหลายเครื่องพร้อมกัน ในภายหลังระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ได้รับการพัฒนาให้สามารถให้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์และในปัจจุบันสามารถใช้กับพีซีได้ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เริ่มต้นจากการมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบบรรทัดฐานคำสั่ง ในปัจจุบันมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิก เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น

  11. เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ 5) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ระบบปฏิบัติการลินุกซ์(Linux)พัฒนาโดยกลุ่มกะนู(GNU’s Not UNIX: GNU) ในปี พ.ศ. 2534 โดย ไลนัส ทอวาล์ด(LinusTorvaids) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานมาจากระบบปฏิบัติการยูนิกซ์และเป็นซอฟต์แวร์แบบรหัสเปิด (open source software) ซึ่งมีการแจกจ่ายรหัสต้นฉบับ (source code) ให้ผู้ใช้ที่มีความสนใจช่วยกันพัฒนาเพื่อให้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลินุกซ์ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ใช้พีซีเนื่องจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อซอฟต์แวร์ จึงได้รับความร่วมมือของนักพัฒนาทั่วโลกในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ระบบปฏิบัติการลินุกซ์สามารถทำงานได้ทั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาไปจนถึงซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการยังมีอีกมาก โดยเฉพาะระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ วินโดว์สเอ็นที

  12. เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาเครื่องเป็นภาษาที่มีความซับซ้อน ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นอีกระดับหนึ่ง โดยการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเป็นรหัสแทนการทำงานและใช้การตั้งชื่อตัวแปรแทนตำแหน่งที่ใช้เก็บจำนวนต่างๆ ภาษาประเภทนี้จัดเป็นภาษาระดับต่ำ ซึ่งก็คือภาษาแอสเซมบลี แต่ภาษาระดับต่ำนี้ยังมีความซับซ้อน เนื่องจากยังมีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมาก ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาภาษาระดับสูง เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรม ซึ่งลักษณะคำสั่งของภาษาระดับสูงจะประกอบด้วยคำต่างๆ ในภาษาอังกฤษ ที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ผู้อ่านสามารถเข้าใจความหมายได้

  13. เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (ต่อ) ภาษาระดับสูงและระดับต่ำเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเข้าใจได้ทันที จึงจำเป็นต้องมีโปรแกรมแปลภาษาให้เป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจได้ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นโปรแกรมแปลภาษาระดับสูง โดยแปลทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น เช่น ตัวแปลภาษาซี ตัวแปลภาษาปาสคาล 2. อินเทอร์พรีเตอร์(interpreter) เป็นโปรแกรมแปลภาษาระดับสูงโดยแปลทีละคำสั่งแล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป เช่น ตัวแปลภาษาโลโก้ 3. แอสเซมเบลอร์(assembler) เป็นโปรแกรมแปลภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง

  14. เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ โปรแกรมอรรถประโยชน์ โปรแกรมอรรถประโยชน์เป็นโปรแกรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน หรือการจัดการคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการไฟล์ การบีบอัดไฟล์ การสำรองไฟล์ การจัดเรียงพื้นที่ดิสก์ การลบไฟล์ที่ไม่จำเป็น การป้องกันไวรัส 1. โปรแกรมจัดการไฟล์ (file manager) ใช้จัดการไฟล์และโฟลเดอร์ต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ค้นหา คัดลอก เคลื่อนย้าย ลบ เปลี่ยนชื่อ ซึ่งการจัดการเหล่านี้สามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ตัวอย่างโปรแกรมจัดการไฟล์ เช่น Windows Explorer

  15. เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ โปรแกรมอรรถประโยชน์ (ต่อ) 2. โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (file compression) ช่วยลดขนาดของไฟล์หรือกลุ่มของไฟล์ เพื่อประหยัดพื้นที่จัดเก็บ และสะดวกในการโอนย้ายไฟล์ ก่อนการใช้งานไฟล์ที่ถูกบีบอัดเข้ามาแล้ว จำเป็นต้องเปลี่ยนคืนสู่สภาพเดิมเหมือนก่อนการบีบอัด จึงสามารถนำไปใช้งานได้ ตัวอย่างโปรแกรมบีบอัดไฟล์ เช่น WinZip, WinRAR 3. โปรแกรมสำรองไฟล์ (backup) ช่วยในการสำเนาไฟล์จากฮาร์ดดิสก์ไปเก็บไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลอื่น ในกรณีที่ฮาร์ดดิสก์หรือข้อมูลเกิดความเสียหาย ผู้ใช้สามารถกู้คืนข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลที่เป็นสำเนานั้นได้ และข้อมูลที่สำรองไว้นั้นควรเก็บรักษาไว้ในที่ที่ปลอดภัย ตัวอย่างโปรแกรมสำรองไฟล์เช่น Backup

  16. เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ โปรแกรมอรรถประโยชน์ (ต่อ) 4. โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่ดิสก์ (disk defragmenter) ช่วยจัดเรียงพื้นที่ว่าง ที่กระจายอยู่ในฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเกิดจากการสร้างและลบไฟล์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพในการเข้าถึงไฟล์ โปรแกรมจัดเรียงพื้นที่ดิสก์จะจัดเรียงส่วนของไฟล์เดียวกันให้อยู่ในพื้นที่ที่ต่อเนื่องกันให้มากที่สุด ตัวอย่างโปรแกรมจัดเรียงพื้นที่ดิสก์ เช่น Disk defragmenter 5. โปรแกรมลบไฟล์ที่ไม่จำเป็น (disk cleanup) เป็นโปรแกรมที่ช่วยลบไฟล์หรือข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกจากฮาร์ดดิสก์ ตัวอย่างโปรแกรม เช่น Disk Cleanup

  17. เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ แบบฝึกหัด เรื่อง ซอฟต์แวร์ระบบ คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามลงในสมุดให้ถูกต้อง 1. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง 2. ซอฟต์แวร์แบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง 3. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือ 4. หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย 5. ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งเป็นกี่ประเภท ได้แก่อะไรบ้าง 6. ระบบปฏิบัติการ (Operating System) คืออะไร 7. ยกตัวอย่างระบบปฏิบัติการมา 5 ระบบ 8. คอมไพเลอร์ (compiler) คืออะไร 9. โปรแกรมอรรถประโยชน์ คืออะไร 10. จงยกตัวอย่างโปรแกรมอรรถประโยชน์มา 5 โปรแกรม

More Related