300 likes | 648 Views
สหสัมพันธ์ระหว่างกล่องเสียงกับกายภาพของ เสียง ใน การอ่านวรรณคดีร้อยกรองของไทย Laryngeal and Acoustic Correlates in Thai Poetic Reading. รศ.ดร. อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ fhumalt@ku.ac.th.
E N D
สหสัมพันธ์ระหว่างกล่องเสียงกับกายภาพของเสียงในการอ่านวรรณคดีร้อยกรองของไทยLaryngeal and Acoustic Correlatesin Thai Poetic Reading รศ.ดร.อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ fhumalt@ku.ac.th
ในการอ่านวรรณคดีร้อยกรองของไทยโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย • เราสามารถอ่าน:-แบบธรรมดา -ทำนองเสนาะแบบธรรมดา -ทำนองเสนาะแบบเน้นอารมณ์ อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
ในการอ่านทำนองเสนาะแบบเน้นอารมณ์ ผู้อ่านสอดแทรกอารมณ์ ความรู้สึกในบทร้อยกรอง โดยการใช้เสียงสูงต่ำ อ่านเร็วช้า หรือดังเบา แตกต่างไปตามเนื้อหาและจังหวะของบทร้อยกรอง อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
เช่นเดียวกันกับการร้องเพลงไทย ผู้อ่านทำนองเสนาะ “ใช้ลูกคอ” ซึ่งยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าในทางสรีระของการออกเสียงหรือเปล่งเสียงมีลักษณะอย่างไร อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาลักษณะทางสรีระ การทำงานของกล่องเสียง ในการอ่านวรรณคดีร้อยกรองทั้งสามแบบ และเปรียบเทียบกับกายภาพของเสียงที่วัดได้ด้วยเครื่องวิเคราะห์เสียง เพื่อหาข้อสรุปอธิบาย “การใช้ลูกคอ” อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
ผู้วิจัยศึกษาลักษณะทางสรีระของการออกเสียงและเปล่งเสียงโดยการบันทึกวีดิทัศน์ การทำงานของกล่องเสียงผ่านกล้องวีดิทัศน์ส่องกล่องเสียง (videolaryngoscope) ขณะที่ผู้อ่านสาธิตการอ่านร้อยกรอง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย โดยการอ่านแบบธรรมดา อ่านทำนองเสนาะแบบธรรมดา และอ่านทำนองเสนาะแบบเน้นอารมณ์ อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
กล้องวีดิทัศน์ส่องกล่องเสียงเป็นเครื่องมือแพทย์ที่มีท่อใยแก้วติดกล้องขนาดเล็ก ใช้สอดผ่านลงไปในช่องจมูกของผู้อ่าน เพื่อดูการเคลื่อนไหวของกล่องเสียง อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
กล้องวีดิทัศน์ส่องกล่องเสียง (Laryngoscope) อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
ในการศึกษากายภาพของเสียง ผู้วิจัยบันทึกเทปการอ่านร้อยกรองประเภทต่าง ๆ โดยการอ่านแบบธรรมดา อ่านทำนองเสนาะแบบธรรมดา และแบบเน้นอารมณ์ แล้วนำเทปไปวิเคราะห์เสียงโดยเครื่องวิเคราะห์เสียง Kay Elemetrics CSL4300 อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
คุณลักษณะทางกายภาพของเสียงที่ศึกษา ได้แก่ • ลักษณะและความดังของคลื่นเสียง • ความถี่มูลฐานซึ่งบอกระดับเสียงสูงต่ำ • ความถี่ฟอร์แมนท์ ซึ่งบอกคุณภาพของเสียงสระและพยัญชนะ อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
ผลการศึกษาที่สำคัญ • ด้านสรีระของกล่องเสียง-กล่องเสียงในขณะออกเสียงพยางค์เน้นในการอ่านทำนองเสนาะทั้งสองแบบ มีลักษณะถูกยกขึ้น (raised larynx) และกล้ามเนื้อ aryepiglottic folds ซึ่งยึดอยู่ที่โคนลิ้นปิดกล่องเสียงรูดเข้าหากันปิดแน่นในแนวนอน อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
ผลการศึกษาที่สำคัญ • ด้านสรีระของกล่องเสียง-ลิ้นปิดกล่องเสียง (epiglottis)เคลื่อนลงปิดกล่องเสียงในการออกเสียงพยางค์เน้นของการอ่านทำนองเสนาะทั้งสองแบบ แต่ลิ้นปิดกล่องเสียงเปิดปกติในการอ่านแบบธรรมดา อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
ผลการศึกษาที่สำคัญ • ด้านกายภาพของเสียง-ระดับเสียงในการอ่านทำนองเสนาะทั้งสองแบบ สูงหรือต่ำกว่าการอ่านแบบธรรมดา ขึ้นอยู่กับลักษณะและเนื้อหาของบทร้อยกรองและอารมณ์ที่สอดแทรก อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
ผลการศึกษาที่สำคัญ • ด้านกายภาพของเสียง-ในการอ่านทำนองเสนาะทั้งสองแบบ คลื่นเสียงมีลักษณะพิเศษในพยางค์เน้นแตกต่างจากรูปลักษณ์คลื่นเสียงของพยางค์เน้นในการอ่านแบบธรรมดาหรือในการพูดปกติ อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
ภาพที่ 1 คลื่นเสียงและความดังของคำว่า “สรวงสวรรค์” ในการอ่านร้อยกรองแบบธรรมดา อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
ภาพที่ 2 คลื่นเสียงและความดังของคำว่า “สรวงสวรรค์” ในการอ่านทำนองเสนาะแบบธรรมดา อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
ภาพที่ 3 คลื่นเสียงและความดังของคำว่า “สรวงสวรรค์” ในการอ่านทำนองเสนาะแบบเน้นอารมณ์ อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
วีดิทัศน์แสดงการเคลื่อนไหวของกล่องเสียงVideolaryngoscopyวีดิทัศน์แสดงการเคลื่อนไหวของกล่องเสียงVideolaryngoscopy อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
ภาพที่ 4 ลักษณะกล่องเสียงในการอ่านร้อยกรองแบบธรรมดา อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
ภาพที่ 5 ลักษณะกล่องเสียงในพยางค์เน้นของการอ่านทำนองเสนาะทั้งสองแบบแสดงการรูดปิดแน่นเข้าหากันในแนวนอนของ aryepiglottic folds อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
ภาพที่ 6 ลิ้นปิดกล่องเสียงเคลื่อนลงปิดกล่องเสียงในพยางค์เน้นของ การอ่านทำนองเสนาะทั้งสองแบบ อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
อภิปราย • ความดังของเสียงในพยางค์เน้นที่มีลักษณะพิเศษคือค่อย ๆ ดังขึ้น (crescendo) ในการอ่านทำนองเสนาะทั้งสองแบบคงจะเกิดจากการควบคุมกระแสลมจากปอด (ลมหายใจออก) ทำให้ความดันใต้กล่องเสียงค่อย ๆ สูงขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เกิดเป็นเสียงที่ดังขึ้นเรื่อย ๆ อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
อภิปราย • ลักษณะการทำงานของกล่องเสียงในพยางค์เน้นของการอ่านทำนองเสนาะทั้งสองแบบ คล้ายกับลักษณะของกล่องเสียงในการออกเสียงพยัญชนะที่ผนังคอ (pharyngeal consonant)หรือพยัญชนะที่ลิ้นปิดกล่องเสียง (epiglottal consonant) อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
อภิปราย • เสียงพยัญชนะที่ผนังคอนี้ พบในภาษาแถบตะวันออกกลาง เช่น ภาษาอารบิค ฮีบรู และภาษาต่าง ๆ ในตระกูลทิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) และการออกเสียงในลักษณะนี้ พบในการร้องเพลงพื้นเมือง ใน หลายประเทศ อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
อภิปราย • ลักษณะสำคัญทางสรีระของการออกเสียงที่กล่าวมานี้คือ มีการยกระดับกล่องเสียง(raised larynx)ให้สูงขึ้นในช่องคอ ควบคู่ไปกับการเคลื่อนโคนลิ้นไปที่ผนังคอด้านหลัง (retracted tongue root) และการเคลื่อนลดลงมาปิดกล่องเสียงของลิ้นปิดกล่องเสียง อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
อภิปราย • การยกระดับกล่องเสียงให้สูงขึ้นและการเคลื่อนลงปิดกล่องเสียงของลิ้นปิดกล่องเสียงเป็นผลจากการรูดปิดแน่นเข้าหากันของ aryepiglottic folds ตามแนวนอนของกล่องเสียง (medial compression) อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
สรุปผลจากการศึกษาการอ่านวรรณคดีร้อยกรองของไทยพบว่า ในการอ่านแบบธรรมดา ลักษณะการออกเสียงและกายภาพของเสียงไม่แตกต่างจากการพูดปกติ แต่ในการอ่านทำนองเสนาะทั้งสองแบบ มีการควบคุมเสียงโดยการควบคุมกระแสลมจากปอด และควบคุม aryepiglottic folds ทำให้เสียงมีลักษณะบีบดังขึ้น และกล่องเสียงเคลื่อนสูงขึ้นในช่องคอ อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
สรุป • และลิ้นปิดกล่องเสียงเคลื่อนลงปิดกล่องเสียงพร้อม ๆ กันกับการเคลื่อนโคนลิ้นไปด้านหลังคอ ซึ่งเกิดเป็นระยะ ๆ ตามจังหวะและเนื้อหาของบทร้อยกรอง อันเป็นลักษณะเด่นของ “การใช้ลูกคอ” ตามที่นิยมเรียกกัน อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล 2546
สหสัมพันธ์ระหว่างกล่องเสียงกับกายภาพของเสียงในการอ่านวรรณคดีร้อยกรองของไทยLaryngeal and Acoustic Correlates in Thai Poetic Reading รศ.ดร.อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ fhumalt@ku.ac.th
สหสัมพันธ์ระหว่างกล่องเสียงกับกายภาพของเสียงในการอ่านวรรณคดีร้อยกรองของไทยLaryngeal and Acoustic Correlates in Thai Poetic Reading รศ.ดร.อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ fhumalt@ku.ac.th