E N D
คำนำ • สวนพฤกษศาสตร์ เป็นสถานที่ที่จัดสร้างขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมพรรณไม้นานาชนิด โดยมีจุดประสงค์ ให้เป็นสถานที่ให้การศึกษาและพักผ่อนหย่อนใจควบคู่กันไป การสร้างสวนพฤกษศาสตร์ต้องใช้เวลานาน นับสิบปีขึ้นไปจึงจะมีความสมบูรณ์พอที่จะบริการประชาชนได้เนื่องจากพันธุ์ไม้ทุกชนิดจะต้องได้รับการตรวจสอบให้ถูกต้อง และจะต้องเพาะเลี้ยงให้แข็งแรงก่อนนำลงปลูก ก่อนปลูกจะต้องเตรียมดินและพื้นที่ให้เหมาะสมกับต้นไม้ด้วย การสะสมพรรณไม้เองก็ต้องใช้เวลามาก บางชนิดจะต้องมีการแลกเปลี่ยนกับสวนพฤกษศาสตร์ประเทศอื่น
ประวัติ • สวนพฤกษศาสตร์เริ่มมีการจัดสร้างตั้งแต่ก่อนคริสตศักราชประมาณ 3,500กว่าปีมาแล้ว สวนพฤกษศาสตร์ในสมัยนั้นมักจะเน้นหนักในการสะสมพรรณไม้ที่มีคุณค่าทางยามาปลูกไว้ ในบริเวณที่ว่างรอบๆ โบสถ์ ดังปรากฏ ณ เมือง Karmakประเทศอียิปต์ ต่อจากนั้นมาประมาณพันกว่าปี Aristotle(384 - 322 ก่อนคริสตศักราช) นักปราชญ์และนักธรรมชาติวิทยาชาวกรีกได้ชื่อว่าเป็นผู้จัดสร้างสวนพฤกษศาสตร์แห่งแรกของโลกที่เมืองเอเธนส์ ประเทศกรีกมีจุดประสงค์สำหรับใช้ประโยชน์ทางการศึกษา วิจัย และเป็นสถานที่สอนนักศึกษาเมื่อ Aristotle เสียชีวิตลงในปี323 ก่อนคริสตศักราชTheophrastus(380 - 287 ก่อนคริสตศักราช) รับช่วงเป็นผู้ดูแลต่อไป
โดยใช้สวนพฤกษศาสตร์เป็นสถานศึกษาและเป็นห้องปฏิบัติการทางพฤกษศาสตร์นอกจากสอนพฤกษศาสตร์ภายในสวน Theophrastus ได้ส่งนักศึกษาออกไปสำรวจพรรณไม้นอกสถานที่ที่มีระบบนิเวศต่างๆ กัน เขาสะสมพันธุ์พืชหลากหลาย ชนิดที่ลูกศิษย์ส่งมาให้และได้รับจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์ผู้ครองประเทศกรีกในสมัยนั้นด้วย เขาทำการศึกษาทุกๆ ด้านทางพฤกษศาสตร์ตามตัวอย่างพรรณไม้ที่เก็บสะสมไว้ในสวนจะอำนวยให้ ผล จากการศึกษาทำให้เขาเขียนตำราทางพฤกษศาสตร์ไว้ประมาณ 200 กว่าเล่ม ในจำนวนนี้ มีอยู่ 2 เล่ม ที่มีคุณค่าทางพฤกษศาสตร์มากและใช้เป็นพื้นฐานของการศึกษา
ทางพฤกษศาสตร์ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ HistoriaPlantarumกับ The Causes of Plants ผลงานของ Theophrastus เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง Linnaeus* ให้การยกย่องเขาเป็นบิดาทางพฤกษศาสตร์ (father of botany)เมื่อเขาเสียชีวิตไปแล้วประมาณ 200 ปี • หลังจากจักรวรรดิโรมันและกรีกล่มสลาย ทวีปยุโรปเข้าสู่ยุคมืด การสร้างสวนพฤกษศาสตร์ขาดตอนไป สวนพฤกษศาสตร์ที่มีอยู่เปลี่ยนบทบาทมาทำหน้าที่เก็บสะสมพืชสมุนไพรเสียเป็นส่วนใหญ่จนผ่านยุคมืดเข้าสู่ยุคทองหรือRenaissance สวนพฤกษศาสตร์กลับมามีบทบาททางด้านการศึกษาและวิจัยอีกครั้ง เมื่อปี ค.ศ. 1543Grand Duke de Medici สร้างสวนพฤกษศาสตร์ เปิดสำหรับบริการบุคคลทั่วไปเป็นครั้งแรกที่เมืองPisaประเทศอิตาลี การสร้างสวนพฤกษศาสตร์ได้แพร่หลายไปทั่วทวีป ยุโรปในเวลาต่อมา ทำให้วิชาพฤกษศาสตร์เจริญก้าวหน้าไปอย่างมากมาย
ความสำคัญ • การจัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์ในยุคแรก มุ่งเน้นการรวบรวมพรรณไม้ที่มีคุณค่าทางสมุนไพรมาปลูก มีการจัดหมวดหมู่ให้ถูกต้องที่นำเอาพืชในวงค์ปรงมาไว้ในสถานที่เดียวกัน บางชนิดที่ไม่สามารถนำมาจัดปลูกได้ก็จะจัดเก็บไว้ในรูปพรรณไม้แห้ง โดยจะเก็บตัวอย่างแห้งที่สมบูรณ์ ประกอบด้วยส่วนสำคัญๆ ของพรรณพืช นำมาติดกับกระดาษแข็งใส่ตู้เก็บอย่างเป็นระเบียบจัดเรียงเป็นหมวดหมู่การเก็บตัวอย่างพืชอัดแห้งอย่างเป็นระบบนี้เรียกว่าหอพรรณไม้herbariumซึ่งการจัดตั้งหอพรรณไม้เพื่อให้ผู้ที่จะทำการศึกษาสามารถศึกษารายละเอียดต่างๆ ได้ตลอดปี ดังนั้นหอพรรณไม้จึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งของสวนพฤกษศาสตร์ การศึกษาเปรียบเทียบรูปพรรณสัณฐานของพันธุ์พืช เป็นการศึกษาที่จัดให้มีขึ้นในสวนพฤกษศาสตร์ เพราะจะช่วยในการจัดพันธุ์พืชให้ถูกต้องตามหลักอนุกรมวิธาน และผลจากการศึกษาเปรียบเทียบรูปพรรณสัณฐานของพืชนี้ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสนับสนุนการศึกษาเรื่องไซโตโลจี กายวิภาคศาสตร์ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ชีวเคมีและชีวโมเลกุลของพืช
ในสมัยล่าอาณานิคม ประเทศมหาอำนาจในยุโรปเข้ามายึดครองประเทศในเขตศูนย์สูตรที่ตั้งอยู่ในทวีปอัฟริกา อเมริกาใต้และเอเซียที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและมีวัฒนธรรมอันยาวนาน ประเทศมหาอำนาจจัดตั้งสวนพฤกษศาสตร์ขึ้นในประเทศอาณานิคมของตน เพื่อใช้เป็นสถานที่ทำการศึกษาพันธุ์พืชโดยเฉพาะพันธุ์พืชทางเศรษฐกิจและใช้สวนพฤกษศาสตร์เป็นแหล่งขยายพันธุ์ก่อนที่จะนำไปปลูกยังสวนพฤกษศาสตร์ประเทศอื่น ที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตรอีกด้านหนึ่งของโลก เพื่อขยายแหล่งที่ปลูกให้มากขึ้น ให้ได้ผลผลิตมากพอกับความต้องการของตลาด
หน้าที่ • สวนพฤกษศาสตร์ในอดีตมีขนาดเล็กมักจะมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางด้านพืช มาในปัจจุบันสวนพฤกษศาสตร์รวบรวมพันธุ์ไม้จากต่างถิ่นมาปลูกเพิ่มขึ้นทำให้สวนพฤกษศาสตร์มีขนาดใหญ่ขึ้นกลายเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาธรรมชาติด้านพฤกษศาสตร์บทบาทและหน้าที่ของสวนพฤกษศาสตร์ จึงเพิ่มมากขึ้นได้แก่ • ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป สวนพฤกษศาสตร์สามารถให้บริการแก่ประชาชน ทั้งทางด้านพักผ่อนหย่อนใจ และให้บริการทางด้านการศึกษาควบคู่กันไป จึงมีการจัดภูมิทัศน์ด้วยพรรณไม้ หลากสี แสดงพันธุ์พืชต่างๆ ให้ประชาชนเข้าเดินชม จัดการแสดงถาวรของสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับพืชในตัวอาคารด้วย (botanical museums)เพื่อให้ประชาชนได้เห็นถึงความสวยงามต่างๆ ของพืชและธรรมชาติในทุกฤดูกาลตลอดปี และทำให้เกิดความประทับใจที่ได้มาเยือน โดยมีการสอดแทรกความรู้ให้แก่ผู้เข้าเยี่ยมชม เช่น จัดนิทรรศการในรูปแบบต่างๆ ที่นำเสนอความรู้เกี่ยวกับต้นไม้ สิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากพืช ซากพืชโบราณ (fossils)แผนภูมิที่แสดงถึงความสำคัญของต้นไม้ที่มีต่อระบบนิเวศ และความสัมพันธ์ของพรรณพืชกับคน เพื่อให้มนุษย์ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรด้านพืช เป็นต้น
ส่วนพฤษศาสตร์ในทวีปเอเซียส่วนพฤษศาสตร์ในทวีปเอเซีย • ส่วนพฤษศาสตร์ในทวีปเอเชีย การสร้างสวนพฤกษศาสตร์ในทวีปเอเชียเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับการล่าอาณานิคมและการติดต่อค้าขายกับประเทศทางเขตศูนย์สูตรของประเทศมหาอำนาจยุโรป สวนพฤกษศาสตร์ในสมัยนั้นจึงมีบทบาทในการเก็บสะสมพันธุ์ไม้ในท้องถิ่นนั้นๆ เป็นหลัก เพื่อนำมาศึกษาวิจัย หาคุณค่าทางเศรษฐกิจสำหรับประโยชน์ทางการค้า ในการเก็บรักษาพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์ ใช้วิธีแบ่งหมวดหมู่ตามหลักอนุกรมวิธานของLinnaeusซึ่งจะเกิดความสะดวกและเป็นประโยชน์มาก เมื่อมีจำนวนพืชสะสมมากขึ้น
ในที่นี้จะนำเสนอสวนพฤกษศาสตร์ในทวีปเอเชียเพียง 8 แห่งเป็นสวนพฤกษศาสตร์ของไทย 2 แห่ง ซึ่งจะอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหัวข้อสวนพฤกษศาสตร์ในประเทศไทย อีก 6 แห่งที่เหลือมีความสำคัญในด้านความเก่าแก่ และมีจำนวนพรรณไม้เก็บสะสมไว้มากและจะกล่าวเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยเฉพาะสวนพฤกษศาสตร์อินเดีย โบกอร์ สิงหล และสิงคโปร์ ประเทศที่ตั้งของสวนพฤกษศาสตร์เหล่านี้เคยเป็นอาณานิคมของประเทศในยุโรป • สวนพฤกษศาสตร์อินเดีย ในกัลกัตตา ประเทศอินเดีย จัดสร้างขึ้นภายใต้การดูแลของนักพฤกษศาสตร์จากประเทศอังกฤษ เป็นสวนพฤกษศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในทวีปเอเชีย จัดสร้างขึ้นมาเพื่อ ศึกษาถึงความมั่งคั่งของทรัพยาการพืชในประเทศอินเดียเป็นที่พักฟื้นพืชต่างถิ่นและนำพืชเศรษฐกิจเข้ามาปลูก เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารของประชากรที่ยากจนในท้องถิ่นเนื่องจากชาวอินเดียรู้จักปลูก เครื่องเทศและนำเครื่องเทศต่างๆ มาประกอบอาหารเป็นเวลายาวนานก่อนประวัติศาสตร์ เครื่องเทศเหล่านี้เป็นของใหม่ของชาวตะวันตก จึงมีการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก บริษัทเอกชนBritish East India Company สนับสนุนให้ปลูกเครื่องเทศต่างๆ ภายในสวนให้เพียงพอกับที่ตลาดต้องการเพื่อส่งออกขายไปยังทวีปยุโรป นอกจากนั้นแล้วยังสนับสนุนให้ปลูกไม้สักเพิ่มเติมสำหรับนำไม้มาใช้ซ่อมเรือของบริษัทดังนั้นการศึกษาวิจัยทางพฤกษศาสตร์ภายในสวน เริ่มมาจากการใช้พืชเศรษฐกิจเป็นตัวอย่างศึกษา ปัจจุบันบริเวณที่ขึ้นชื่อภายในสวน ได้แก่ การจัดภูมิทัศน์แบบอังกฤษ สวนเฟื่องฟ้าที่มีดอกสีฉูดฉาดสดใสจนขึ้นชื่อว่าไม่มีดอก เฟื่องฟ้าในสวนพฤกษศาสตร์แห่งใดเสมอเหมือน มีต้นนิโคธร (Ficusbengalensis)ที่ใหญ่มากมีอายุไม่น้อยกว่า 200 ปี กิ่งก้านมี รัศมีถึง 1/4 ไมล์ มีเรือนเพาะชำพืชที่ดีที่สุดในเอเชีย ใช้อนุบาลพืชดั้งเดิมสำหรับนำมาปลูกภายในสวนและจัดจำหน่ายด้วย
การจัดสร้างสวนพฤกษศาสตร์ในประเทศไทย ได้เคยพยายามทำมาแล้วในอดีต แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ เสด็จขึ้นครองราชย์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดสร้างสวนในลักษณะของสวนพฤกษศาสตร์ขึ้นในสวนลุมพินี พร้อมๆ กับการจัดสร้างสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ก็ไม่สำเร็จดังพระราชประสงค์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2478ได้มีการจัดตั้งสมาคมพืชกรรมแห่งประเทศสยามขึ้น และได้พยายามจัดทำสวนลุมพินี ให้เป็นสวนพฤกษศาสตร์อีกครั้งหนึ่งแต่ก็ไม่สำเร็จอีก
ประเทศไทยไม่เคยมีหลักฐานการจัดสร้างสวนพฤกษศาสตร์มาก่อนแต่ก็มีความสนใจในการนำพันธุ์พืชใหม่ๆ เข้ามาในประเทศซึ่งมีมาตลอดเวลาควบคู่กับการค้าขายหรือติดต่อราชการกับต่างประเทศ ตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราช แต่จะนำมาจัดสวนในลักษณะอุทยานดังปรากฏในประวัติศาสตร์และวรรณคดีไทย ในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสนพระทัยเก็บสะสมพันธุ์พืชเมื่อเสด็จประพาสต่างประเทศแต่ละครั้งพระองค์จะทรงนำพันธุ์พืชใหม่ๆ เข้ามาพระองค์มีพระราชดำริให้จัดสร้าง เรือนเพาะชำในพระราชวังสวนดุสิต สำหรับเก็บสะสมพันธุ์พืชต่างๆ ไว้ เมื่อเวลาเสด็จประพาสเยี่ยมราษฎรในหัวเมืองก็จะพระราชทานพันธุ์ให้ไปปลูก และทุกครั้งที่มีการตัดถนนสายใหม่ พระองค์จะทรงให้ปลูกต้นไม้ก่อน โดยนำมาจากเรือนเพาะชำภายในพระราชวังสวนดุสิต ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่และทรงประณีต ในการเลือกพันธุ์ไม้ให้เหมาะกับสภาพถนนแต่ละทำเลไป ถนนอะไรควรปลูกพันธุ์พืชชนิดใด เพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม เกิดความร่มรื่นเป็นระเบียบและสวยงาม และมีพระราชดำริให้ปลูกบัวสายหลากสี ในคูน้ำสำหรับเป็นที่พักผ่อนของประชาราษฎร ดังนั้นถึงแม้ประเทศไทยจะไม่เคยมีการสร้างสวนพฤกษศาสตร์มาก่อน แต่ก็มีการสะสมพันธุ์พืช ขยายพันธุ์พืชและนำมาปลูกไว้ตามถนนต่างๆ
ประเทศไทยไม่เคยมีหลักฐานการจัดสร้างสวนพฤกษศาสตร์มาก่อนแต่ก็มีความสนใจในการนำพันธุ์พืชใหม่ๆ เข้ามาในประเทศซึ่งมีมาตลอดเวลาควบคู่กับการค้าขายหรือติดต่อราชการกับต่างประเทศ ตั้งแต่สมัยพระนารายณ์มหาราช แต่จะนำมาจัดสวนในลักษณะอุทยานดังปรากฏในประวัติศาสตร์และวรรณคดีไทย ในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงสนพระทัยเก็บสะสมพันธุ์พืชเมื่อเสด็จประพาสต่างประเทศแต่ละครั้งพระองค์จะทรงนำพันธุ์พืชใหม่ๆ เข้ามาพระองค์มีพระราชดำริให้จัดสร้าง เรือนเพาะชำในพระราชวังสวนดุสิต สำหรับเก็บสะสมพันธุ์พืชต่างๆ ไว้ เมื่อเวลาเสด็จประพาสเยี่ยมราษฎรในหัวเมืองก็จะพระราชทานพันธุ์ให้ไปปลูก และทุกครั้งที่มีการตัดถนนสายใหม่ พระองค์จะทรงให้ปลูกต้นไม้ก่อน โดยนำมาจากเรือนเพาะชำภายในพระราชวังสวนดุสิต ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่และทรงประณีต ในการเลือกพันธุ์ไม้ให้เหมาะกับสภาพถนนแต่ละทำเลไป ถนนอะไรควรปลูกพันธุ์พืชชนิดใด เพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม เกิดความร่มรื่นเป็นระเบียบและสวยงาม และมีพระราชดำริให้ปลูกบัวสายหลากสี ในคูน้ำสำหรับเป็นที่พักผ่อนของประชาราษฎร ดังนั้นถึงแม้ประเทศไทยจะไม่เคยมีการสร้างสวนพฤกษศาสตร์มาก่อน แต่ก็มีการสะสมพันธุ์พืช ขยายพันธุ์พืชและนำมาปลูกไว้ตามถนนต่างๆ
กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำริจัดสร้างสวนพฤกษศาสตร์ขึ้นเป็นครั้งแรกที่บริเวณพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2484 แต่พื้นที่ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากขาดแหล่งน้ำและดินไม่ดี กรมป่าไม้จึงเลือกใหม่ที่ ป่าพุแค ชายดงพญาเย็น มีเนื้อที่ประมาณ 3,750 ไร่ การพัฒนาสวนพุแคดำเนินไปช้ามาก เพราะรัฐบาลไม่เห็นความสำคัญและได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ • สวนพฤกษศาสตร์ของประเทศไทยในปัจจุบันจำแนกตามหน่วยงานที่สังกัดออกเป็น 3 ประเภท คือ • สวนพฤกษศาสตร์สังกัดกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สวนที่สังกัดกรมป่าไม้มี 2 ลักษณะ ได้แก่ • สวนพฤกษศาสตร์ของกรมป่าไม้มีบทบาทในการรวบรวมพันธุ์พืชทุกชนิดตามหลักอนุกรมวิธานและนิเวศวิทยาเช่นเดียวกับสวนพฤกษศาสตร์ทั่วไป ใช้สำหรับศึกษาทางพฤกษศาสตร์โดยเฉพาะ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจได้ด้วย ในสวนพฤกษศาสตร์จะปลูกพันธุ์พืชทั้งไม้พื้นเมืองและต่างประเทศ โดยแยกเป็นหมวดหมู่ เป็นวงศ์ และสกุล ตามลำดับความสำคัญของชนิดไม้นั้นๆ นอกจากนั้นยังทำการอนุรักษ์และขยายพันธุ์พืชหายากและใกล้จะสูญพันธุ์ของไทย สวนพฤกษศาสตร์ที่สังกัดกรมป่าไม้นี้จัดสร้างไว้ทุกภาคของประเทศไทย ขนาดของพื้นที่ประมาณ 800 - 2500 ไร่ ปัจจุบันมีอยู่ 7 แห่ง และอีก 8 แห่ง เป็นสวนพฤกษศาสตร์รวบรวมพืชจากวรรณคดีไทยและสวนรวบรวมพรรณไม้ป่า
สวนรุกขชาติ เป็นสวนที่มีเนื้อที่น้อยกว่าสวนพฤกษศาสตร์ สร้างขึ้นเพื่อปลูกรวบรวมพันธุ์ไม้ต่างๆ โดยเฉพาะไม้ยืนต้นที่มีค่าหายากในทางเศรษฐกิจและพืชไม้ดอกที่หายากซึ่งมีอยู่ในท้องถิ่น แต่มิได้ปลูกเป็นหมวดหมู่เหมือนสวนพฤกษศาสตร์ หากแต่มีชื่อพันธุ์ไม้ติดไว้ มีการทำถนนทางเดินเพื่อเข้าชม จุดมุ่งหมายเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจโดยเฉพาะ และให้ผู้เข้าพักผ่อนได้รับความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ไปด้วยขนาดของสวนรุกขชาติประมาณ 25 - 100 ไร่ สวนรุกขชาติในปัจจุบันนับได้ 53แห่ง • สวนพฤกษศาสตร์สังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สวนพฤกษศาสตร์ในสวนหลวง ร.9ตั้งอยู่ที่ แขวงหนองบอน เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ พื้นที่นี้ส่วนหนึ่งเป็นของกรุงเทพมหานครที่ซื้อไว้นานแล้ว และบางส่วนได้รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธากรุงเทพมหานครและมูลนิธิสวนหลวง ร.9จัดสร้างขึ้นถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา5 รอบ ในปี พ.ศ. 2530โดยมีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์การสวนพฤกษศาสตร์ • 1. เป็นศูนย์วิชาการและบริการด้านพฤกษศาสตร์ของประเทศ • 2. เป็นสถานที่รวบรวมพรรณไม้ชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จัดปลูกให้สวยงามร่มรื่น เป็นหมวดหมู่อย่างผสมผสานตามอุปนิสัยพรรณไม้และติดป้ายชื่อพรรณไม้ • 3. เป็นศูนย์อนุรักษ์พันธุ์พืชของประเทศไทย โดยเฉพาะไม้ประจำถิ่น กล้วยไม้ ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ ไม้สมุนไพร ไม้หายากและไม้ที่กำลังจะสูญพันธุ์ตลอดจนดำเนินการขยายพันธุ์ให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นเพื่อการศึกษาในอนาคต • 4. เป็นศูนย์รวบรวมตัวอย่างพรรณไม้แห้งเพื่อการตรวจสอบรายชื่อพันธุ์ไม้ที่ถูกต้อง และเป็นฐานข้อมูลด้านพฤกษศาสตร์อีกแห่งหนึ่งของประเทศ • 5. เป็นสถานที่แสดงถึงความงามของพรรณไม้ในธรรมชาติโดยสอดคล้องกับการศึกษา
6. เป็นศูนย์ส่งเสริมให้ความร่วมมือในการศึกษาค้นคว้า วิจัย และฝึกอบรมทางด้านพฤกษศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการผลิตนักพฤกษศาสตร์ให้กับประเทศ โดยจะมีการดำเนินงานร่วมกับทางมหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ทั้งในและนอกประเทศ • 7. เป็นแหล่งรวบรวมเอกสาร และสิ่งพิมพ์เผยแพร่ในเรื่องที่เกี่ยวกับพืช • 8. เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านพฤกษศาสตร์และพันธุกรรมพืชของประเทศโดยเฉพาะชนิดพืชที่มีอยู่ในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ • 9. เป็นแหล่งปลูกฝังโน้มน้าว กล่อมเกลาจิตใจ และให้ความรู้แก่เยาวชน ให้เกิดความหวงแหนและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ อันจะเป็นพื้นฐานวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่ง • 10. เป็นสถานที่ส่งเสริม เผยแพร่ความสวยงาม และคุณค่าของพรรณพฤกษชาติไทยให้เป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วโลก
พวกเราขอจบงานนำเสนอเพียงเท่านี้ครับพวกเราขอจบงานนำเสนอเพียงเท่านี้ครับ • จัดทำโดย • นาย สถาพร ขันทอง ม.6/3 เลยที่1