1 / 61

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. สำนักนายกรัฐมนตรี. นโยบายรัฐบาลด้านการคุ้มครองผู้บริโภค.

Download Presentation

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี

  2. นโยบายรัฐบาลด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ความสำคัญในการคุ้มครองผู้บริโภคในทุกมิติ โดยการรณรงค์สร้างความรู้ ความเข้าใจ จัดตั้งองค์กรอิสระผู้บริโภค บังคับใช้มาตรการทางกฎหมายที่ให้การคุ้มครองดูแลผู้บริโภคโดยเคร่งครัด รวมทั้งการใช้กลไกทางกฎหมายในการป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภคในด้านอื่นๆ เช่น การโฆษณาเกินเวลา การโฆษณาแฝงหรือการใช้สื่อเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นต้น

  3. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 มาตรา 21ในกรณีที่กฎหมายว่าด้วยการใดได้บัญญัติเรื่องใดไว้โดยเฉพาะแล้วให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการนั้น และให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้ไปใช้บังคับได้เท่าที่ไม่ซ้ำหรือขัดกับบทบัญญัติดังกล่าว...

  4. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค

  5. กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมควบคุมโรค กรมอนามัย และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

  6. กระทรวงสาธารณสุข พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533

  7. กระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าภายในกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้ (1) พระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ. 2489 (2) พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคและของอื่นในภาวะคับขัน พ.ศ. 2488 (3) พระราชบัญญัติราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 (4) พระราชบัญญัติชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 (5) พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534(6) พระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2495

  8. สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้ (1) พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 (2) พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 (3) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535

  9. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมปศุสัตว์กรมวิชาการเกษตร ทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้ (1) พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และการจำหน่าย เนื้อสัตว์ พ.ศ. 2535 (2) พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 (3) พระราชบัญญัติควบคุมการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2535 (4) พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535(5) พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518

  10. กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้ พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511

  11. กระทรวงคมนาคม มีกรมการขนส่งทางบก ทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้ (1) พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 (2) พระราชบัญญัติขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ (1) พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 (2) พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534

  12. กระทรวงมหาดไทย กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมที่ดิน ทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้ (1) พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (2) พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543

  13. กระทรวงมหาดไทย (3) พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 (4) พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2478 (5) พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457(6) พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 (7) พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ.๒๔๗๔

  14. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้ พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507

  15. กระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้ (1) พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบัน การเงิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 (2) พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์พ.ศ. 2505 (3) พระราชกำหนดการให้กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527

  16. สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๔๓

  17. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาคระหว่างกระทรวงมหาดไทยและคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

  18. บันทึกข้อตกลงข้อที่ ๑ สนับสนุนให้จังหวัดทุกจังหวัดเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภค โดยการจัดตั้งกลุ่ม ชมรม สมาคม เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคภายในจังหวัดมีความเข้มแข็ง

  19. บันทึกข้อตกลงข้อที่ ๒ สนับสนุนให้คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดทุกจังหวัด จัดให้มีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนจากการละเมิดสิทธิของผู้ประกอบธุรกิจ โดยคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดทุกจังหวัดต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคภายในจังหวัดให้แล้วเสร็จตามบทบาทและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

  20. บันทึกข้อตกลงข้อที่ ๓ สนับสนุนให้ทุกจังหวัดมีการเผยแพร่ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ประชาชนผู้บริโภคได้รู้จักการใช้สิทธิเพื่อการคุ้มครองตนเองจากการถูกเอารัดเอาเปรียบและเป็นแนวร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคภายในจังหวัด

  21. บันทึกข้อตกลงข้อที่ ๔ สนับสนุนให้จังหวัดทุกจังหวัดมีการติดตามสอดส่องและตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าที่ควบคุมฉลาก การโฆษณา การทำสัญญา การทำธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง เพื่อคุ้มครองป้องกันประชาชนผู้บริโภคมิให้ถูกละเมิดสิทธิจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ

  22. บันทึกข้อตกลงข้อที่ ๕ สนับสนุนให้คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดทุกจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานอนุกรรมการ ดำเนินการตามบทบาทและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยให้มีการรายงานผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคภายในจังหวัดทุกจังหวัดต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและกระทรวงมหาดไทย ทุกๆ ๓ เดือน

  23. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2541

  24. การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 สิทธิผู้บริโภค ประการ 5 1.สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพ ที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ 2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ 3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ 4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา 5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

  25. องค์กรหลักของการคุ้มครองผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค คณะกรรมการเฉพาะเรื่อง 3คณะ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา

  26. คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประกอบด้วยคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรรมการ ปลัดกระทรวงคมนาคม กรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่เกิน 8 คนซึ่ง ครม.แต่งตั้ง กรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรรมการและเลขานุการ

  27. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 1. พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค 2. ดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าที่อาจเป็นอันตราย 3. แจ้งหรือโฆษณาข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเสื่อมเสียแก่สิทธิ ของผู้บริโภค ซึ่งจะระบุชื่อสินค้าหรือบริการ หรือชื่อของผู้ประกอบธุรกิจด้วยก็ได้

  28. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 4. สอดส่องเร่งรัดพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนราชการ หรือหน่วยงาน อื่นของรัฐให้ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด 5. พิจารณาดำเนินคดีแทนผู้บริโภค 6. เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบาย และ มาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภค และพิจารณาให้ความเห็น เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคตามที่ คณะรัฐมนตรีหรือ รัฐมนตรีมอบหมาย

  29. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 7. วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ เฉพาะเรื่องและคณะอนุกรรมการ 8. รับรองสมาคม ตามมาตรา 40 9. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการ 10.ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คณะกรรมการเฉพาะเรื่อง และ พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง

  30. องค์คณะของคณะกรรมการเฉพาะเรื่ององค์คณะของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องที่เกี่ยวข้องตามที่คณะกรรมการแต่งตั้งขึ้น ไม่น้อยกว่า 7 คน แต่ไม่เกิน 13 คน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2ปี

  31. คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค คณะอนุกรรมการฝ่ายกฎหมาย ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำจังหวัด (75 จังหวัด) คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก คณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา คณะอนุกรรมการผู้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร คณะอนุกรรมการติดตามสอดส่อง และวินิจฉัยการโฆษณา คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา คณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคประจำจังหวัด คณะอนุกรรมการตรวจสอบแบบสัญญาหรือแบบหลักฐานการรับเงิน คณะอนุกรรมการศึกษาและพิจาณาข้อสัญญาและรายการในหลักฐานการรับเงิน

  32. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานเลขานุการกรม กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักกฎหมายและคดี สำนักแผนและการพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภค

  33. สคบ. อำนาจหน้าที่ ของ รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค ติดตามและสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจที่อาจมี ลักษณะเป็น การละเมิดสิทธิของผู้บริโภค และจัดให้มีการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าหรือบริการใด ๆ ตามที่เห็นสมควร และจำเป็น ส่งเสริม ,สนับสนุนให้มีการศึกษาแก่ผู้บริโภค ,สนับสนุนหรือทำการศึกษา วิจัยปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ดำเนินการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ประสานงานกับส่วนราชการ หน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ส่งเสริม หรือกำหนดมาตรฐานของสินค้าหรือบริการ ปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการเฉพาะเรื่องมอบหมาย

  34. องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาคองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาค คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด ประกอบด้วย ที่ปรึกษาอนุกรรมการฯ 1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประจำจังหวัด 2. ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีในเขตที่รับผิดชอบ

  35. ประธานอนุกรรมการฯ ผู้ว่าราชการจังหวัด รองประธานอนุกรรมการฯ 1. รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง 2. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

  36. อนุกรรมการ ประกอบด้วย 1. ปลัดจังหวัด 2. อัยการจังหวัด 3. ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด 4. พาณิชย์จังหวัด 5. เกษตรและสหกรณ์จังหวัด

  37. อนุกรรมการ ประกอบด้วย 6. สาธารณสุขจังหวัด 7. อุตสาหกรรมจังหวัด 8. ขนส่งจังหวัด 9. เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด 10. ประชาสัมพันธ์จังหวัด

  38. อนุกรรมการ ประกอบด้วย 11. ประธานหอการค้าจังหวัด12. ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด 13. ผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจากภาคประชาชน 3คน (โดยให้เลือกจากกลุ่มเครือข่ายสื่อมวลชน สถาบันการศึกษา กลุ่มสตรี หรือกลุ่มอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัด) หัวหน้าสำนักงานจังหวัด อนุกรรมการและเลขานุการ ข้าราชการในจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง 2 คน อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

  39. อำนาจหน้าที่ 1. รับและพิจารณากลั่นกรองคำร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ผลิตหรือผู้ประกอบธุรกิจ ในเรื่องเกี่ยวกับการถูกเอารัดเอาเปรียบหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้า เครื่องอุปโภค บริโภค หรือบริการที่มีการซื้อขายกันในท้องตลาด เพื่อดำเนินการแก้ไขหรือนำเสนอต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พิจารณาใช้อำนาจดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค

  40. อำนาจหน้าที่ 2. ติดตามและสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค และอาจจัดให้มีการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าหรือบริการใด ๆ ตามที่เห็นสมควรและจำเป็นเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค รวมทั้งให้มีอำนาจในการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อการนี้ ตามที่เห็นสมควร

  41. อำนาจหน้าที่ 3.สั่งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดส่งเอกสารหรือข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องที่มีผู้ร้องทุกข์ หรือเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคมาพิจารณาได้ ในการนี้ จะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงด้วยก็ได้ 4.ประสานงานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจและหน้าที่ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค

  42. อำนาจหน้าที่ 5.สอดส่องการปฏิบัติการตามอำนาจและหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดของพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเร่งรัดพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติการตามอำนาจและหน้าที่ดังกล่าว

  43. อำนาจหน้าที่ 6.การให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน และการสร้างเครือข่ายความเข้มแข็งของประชาชน เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค 7.รายงานผลการปฏิบัติงานในรอบเดือนให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทราบ

  44. การเปรียบเทียบความผิดการเปรียบเทียบความผิด เป็นอำนาจของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และผู้รับมอบอำนาจ ดังนี้ ส่วนกลาง - เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค - พนักงานสอบสวนงาน 4 กองกำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี

  45. คณะอนุกรรมการผู้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครคณะอนุกรรมการผู้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ● ผู้ว่าราชการจังหวัด ประธานอนุกรรมการ ● อัยการจังหวัด อนุกรรมการ ● ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด อนุกรรมการ ● ข้าราชการซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง เลขานุการ มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒

  46. การเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครการเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร กรณีที่ต้องเปรียบเทียบความผิด กรณีฉลากเป็นเท็จ กรณีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก กรณีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา กรณีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา กรณีขัดหนังสือเรียก

  47. คณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์ประจำจังหวัดคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์ประจำจังหวัด อัยการจังหวัดประจำกรม สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัด ประธานอนุกรรมการ หัวหน้าสำนักงานจังหวัด อนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องตามที่ประธานอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์ประจำจังหวัดมีหนังสือเชิญเข้าร่วมประชุมเป็นครั้งๆ ไป ครั้งละไม่เกิน ๒ คน อนุกรรมการ ผู้แทนสำนักงานจังหวัด อนุกรรมการและเลขานุการ ผู้แทนสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัด อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

  48. อำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์ประจำจังหวัดอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์ประจำจังหวัด ดำเนินการเจรจาไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์ให้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับความแพ่งหรือความอาญา เฉพาะความผิดอันยอมความได้ ๑ การเจรจาไกล่เกลี่ยให้กระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าคู่กรณี โดยสอบถามความประสงค์และความยินยอมในการเจรจาไกล่เกลี่ย และชี้แจงถึงสิทธิและหน้าที่ ตลอดจนผลของการตกลงไกล่เกลี่ยทั้งทางเพ่งและทางอาญาให้ชัดเจน ๒

  49. หากคู่กรณีประสงค์และยินยอมให้ไกล่เกลี่ย ให้จัดทำร่างสัญญาประนีประนอมยอมความตามจำนวนคู่กรณี โดยมีสาระสำคัญและข้อความตามที่คู่กรณีตกลงกัน และอ่านให้คู่กรณีฟัง รวมทั้งชี้แจงให้คู่กรณีเข้าใจถึงสัญญาประนีประนอมยอมความและให้คู่กรณีลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าประธานอนุกรรมการฯ หรือผู้ที่ประธานอนุกรรมการฯ มอบหมายและต่อหน้าพยานสองคน ๓

  50. หากคู่กรณีไม่ประสงค์และไม่ยินยอมให้ไกล่เกลี่ย ให้คณะอนุกรรมการฯ รวบรวมและสอบสวนข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง พร้อมนำเสนอคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด พิจารณาให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้อำนาจดำเนินคดีแทนผู้บริโภคที่ร้องเรียน ตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ๔

More Related