1 / 18

สัญญากู้ยืมเงิน (loan of money)

สัญญากู้ยืมเงิน (loan of money). เป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง ที่มีวัตถุแห่งสัญญาเป็น “เงินตรา” คือ สิ่งหรือวัตถุที่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในเงินตราจำนวนหนึ่งที่ได้ตกลงกันให้แก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนเงินตราเท่ากับจำนวนที่ได้ยืมไป. ความหมาย.

Download Presentation

สัญญากู้ยืมเงิน (loan of money)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สัญญากู้ยืมเงิน (loan of money) เป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง ที่มีวัตถุแห่งสัญญาเป็น “เงินตรา” คือ สิ่งหรือวัตถุที่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย • ผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในเงินตราจำนวนหนึ่งที่ได้ตกลงกันให้แก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนเงินตราเท่ากับจำนวนที่ได้ยืมไป • ความหมาย

  2. หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงิน ม. 653: การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

  3. หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงิน • 1. ความสมบูรณ์ของสัญญากู้ยืมเงิน • การส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม

  4. 2. หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน ม. 653 “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องให้บังคับคดีหาได้ไม่” • หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ • หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืม

  5. หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน (ม. 653) • หลักฐานการชำระเงินกู้ (ม. 653 วรรคสอง) • มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืม หรือ • มีการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน หรือ • มีการแทงเพิกถอนลงในเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน

  6. หลักฐานการกู้เงิน • หลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืม • มีข้อความแสดงถึงการกู้ยืมเงิน • มีอยู่ก่อนหรือหลังกู้ยืมก็ได้ แต่ต้องมีอยู่ขณะฟ้องคดี • ต้องระบุจำนวนเงินที่ยืม • หากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ จะฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญากู้ยืมไม่ได้

  7. กรณีที่ไม่ใช่กู้ยืมเงินกรณีที่ไม่ใช่กู้ยืมเงิน • ยืมเงินไปใช้ในราชการ • การเล่นแชร์เปียหวย ฎีกา 692/2486 • ตัวแทนออกเงินทดรองแทนตัวการ • ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คแก่ผู้นำเช็คมาขึ้นเงินเกินกว่าเงินที่มีอยู่ในบัญชีของลูกค้า • สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่ลูกค้าของธนาคารทำกับธนาคาร ฎีกา 1821/2499 • การที่ธนาคารออกบัตรเครดิตให้แก่ลูกค้า ฎีกา 1550/2539, ฎีกา 4757/2539

  8. ข้อสังเกต • หลักฐานการใช้เงิน กฎหมายบังคับในกรณีการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือ • กรณีชำระหนี้อย่างอื่นหรือชำระด้วยทรัพย์อื่น ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 653 วรรคสอง • การชำระดอกเบี้ยไม่ต้องมีหลักฐาน

  9. ข้อสังเกต (ต่อ) • หลักฐานการใช้เงินต้องลงลายมือชื่อผู้ให้กู้ • เวนคืนหลักประกันมิใช่การเวนคืนหลักฐานแห่งการกู้ยืม • ผู้แทงเพิกถอนในเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม

  10. ดอกเบี้ย • 1. ดอกเบี้ยธรรมดา(interest) • 2. ดอกเบี้ยทบต้น(compound interest) • ดอกเบี้ย เป็นการให้ค่าตอบแทนในการใช้เงินตราตาม สัญญากู้ยืมเงินเป็นการเฉพาะ

  11. 1. ดอกเบี้ยธรรมดา(interest) • อัตราดอกเบี้ย • กรณีไม่ได้ตกลงไว้ – ใช้ ม. 7 ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี • การกำหนดจะต้องไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด – ใช้ ม. 654 ไม่เกินร้อยละสิบห้าต่อปี • พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 • พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523

  12. 2. ดอกเบี้ยทบต้น(compound interest) • ดอกเบี้ยทบต้นคือ การคิดดอกเบี้ยเอาจากดอกเบี้ยที่ยังค้าง ชำระอีกด้วย • ม. 655 ห้ามมิให้มีการคิดดอกเบี้ยทบต้น แต่ไม่ได้ห้ามโดยเด็ดขาด โดยสามารถตกลงเรียกดอกเบี้ยทบต้นกันได้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด

  13. ดอกเบี้ย • ถ้าไม่ได้ตกลงเรื่องดอกเบี้ยไว้จะคิดดอกเบี้ยไม่ได้ หากตกลงแต่ไม่ได้กำหนดอัตราต้องถืออัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี • ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ ๑๕ ต่อปี • ผู้กู้ที่ชำระดอกเบี้ยเกินอัตราไปแล้วจะเรียกคืน หรือให้หักใช้เป็นเงินต้นไม่ได้ • สถาบันการเงินเรียกดอกเบี้ยได้ตามกฎหมายพิเศษไม่อยู่ในบังคับมาตรา 654

  14. ผลของการฝ่าฝืนมาตรา 654 • สัญญากู้ไม่ตกเป็นโมฆะโดยเป็นส่วนที่สมบูรณ์ซึ่งแยกออกมาจากส่วน ที่ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 173 ได้ • ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะทั้งหมด ผู้ให้กู้ฟ้องเรียกได้แต่ต้นเงินคืนเท่านั้น (ฎีกาที่ 1452/2511, 1100/2523)

  15. การตกลงรับของแทนเงินกู้การตกลงรับของแทนเงินกู้ • กรณีรับสิ่งของแทนเงินตามมาตรานี้ต้องมีการกู้ยืมเงินกันเสียก่อน (ฎีกาที่ 650/2505 • เฉพาะข้อตกลงที่ฝ่าฝืนมาตรา ๖๕๒ ตกเป็นโมฆะ แต่สัญญากู้ยังคงสมบูรณ์อยู่ ไม่ตกเป็นโมฆะไปด้วย (ฎีกาที่ 766-67/2506, 267/2524)

  16. สัญญากู้ยืมเงินระหว่างประเทศสัญญากู้ยืมเงินระหว่างประเทศ • สัญญากู้ยืมเงินระหว่างประเทศนั้นเกิดจากการตกลงกันของคู่สัญญา โดยที่ไม่ได้อาศัยการส่งมอบเงินที่กู้ยืมเพื่อความบริบูรณ์แห่งสัญญา

  17. สัญญากู้ยืมเงินระหว่างประเทศ (ต่อ) • เพราะฉะนั้น สัญญากู้ยืมเงินระหว่างประเทศมีสถานะเป็นเพียงสัญญาจะให้ยืมเท่านั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญากู้ยืมเงินที่สมบูรณ์เพราะยังไม่มีการส่งมอบเงินที่กู้ในขณะทำสัญญา • สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาคำวินิจฉัยที่ 0601/451 ลงวันที่ 25 พ.ค. 2520 “สัญญากู้ยืมเงินระหว่างประเทศ หากยังไม่มีการส่งมอบเงินกู้ หรือได้ว่ายังไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายไทย จะสมบูรณ์ต่อเมื่อมีการเบิกเงินกู้เป็นคราวๆ”

  18. พระพยอมนำเงินส่วนตัวให้นายเอกกู้ยืมจำนวน 2 ล้านบาท คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 8 ต่อเดือน โดยนายเอกนำเงินดังกล่าวไปใช้ในการซื้อรถยนต์ นายเอกได้ทำหนังสือสัญญาเงินกู้ลงลายพิมพ์นิ้วมือของนายเอกที่มีพยานสองคน คือ นายตรี และนายโท ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือมอบให้แก่พระพะยอม ครั้นเมื่อเงินกู้ถึงกำหนดเวลาชำระตามที่ได้ตกลงกัน พระพยอมได้ทวงถามให้นายเอกชำระเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยทั้งหมด นายเอกปฏิเสธโดยอ้างเหตุผลดังนี้ 1. การกู้ยืมเงินเป็นโมฆะเพราะขัดหลักพุทธศาสนาที่พระภิกษุไม่พึงกระทำจึงขัดต่อกฎหมาย 2. หนังสือสัญญาเงินกู้ไม่มีลายมือชื่อของตน 3. ดอกเบี้ยที่พระพยอมเรียกร้องสูงเกินไป ดังนี้ ข้ออ้างของนายเอกฟังขึ้นหรือไม่

More Related