1 / 55

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์. เศรษฐศาสตร์ คือ อะไร. ความต้องการไม่จำกัด. ทรัพยากรมีอยู่จำกัด เมื่อเทียบกับ ความต้องการไม่จำกัด. เกิดความขาดแคลน. การเลือก. ทำการเลือกภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่นั้น. ค่าเสียโอกาส. ความต้องการ > ทรัพยากร. ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost).

olinda
Download Presentation

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 1ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์

  2. เศรษฐศาสตร์คืออะไร • ความต้องการไม่จำกัด • ทรัพยากรมีอยู่จำกัด เมื่อเทียบกับความต้องการไม่จำกัด

  3. เกิดความขาดแคลน การเลือก ทำการเลือกภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่นั้น ค่าเสียโอกาส ความต้องการ > ทรัพยากร

  4. ต้นทุนค่าเสียโอกาส(Opportunity Cost) • คุณค่าหรือมูลค่าของทางเลือกที่ดีที่สุดในบรรดาทางเลือกทั้งหลายที่ต้องสละไปเมื่อมีการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่งในการใช้ทรัพยากร • ค่าเสียโอกาสต่ำ : เลือกใช้ทรัพยากรได้เหมาะสม

  5. เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมในการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดและสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายทาง มาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ อย่างประหยัดที่สุดหรืออย่างมีประสิทธิภาพทางเทคนิคสูงสุด และหาทางจำแนกแจกจ่ายสินค้าและบริการเหล่านั้นไปยังบุคคลในสังคมให้ได้รับความพอใจสูงสุดหรืออย่างมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูงสุด

  6. ความหมายของวิชาเศรษฐศาสตร์: Paul A Samuelson สรุปนิยามว่า เศรษฐศาสตร์คือ การศึกษามนุษย์และสังคมว่าจะตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่ขาดแคลน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เพื่อการผลิตสินค้าต่างๆ และจำแนกแจกจ่ายสินค้าเหล่านั้นไปยังกลุ่มคนต่างๆ เพื่อการบริโภคในปัจจุบันและอนาคต นิยามนี้ประกอบด้วยคำสำคัญ 5 คำ

  7. คำสำคัญในนิยามเศรษฐศาสตร์คำสำคัญในนิยามเศรษฐศาสตร์ ทรัพยากร (resources) ทรัพยากรมนุษย์ (human resource) ทรัพยากรอื่น (non-human resources) ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น และ ทรัพยากรธรรมชาติ การผลิต (production) คือการสร้างอรรถประโยชน์ (utility).. เกี่ยวกับรูปแบบ (form utility) เปลี่ยนรูปแบบเพิ่มความพอใจให้ผู้บริโภค เช่น การแปรรูปสินค้าเกษตร เกี่ยวกับกาลเวลา (time utility) จัดให้มีสินค้าเหมาะสมตามกาลเวลา เช่น อุตสาหกรรมห้องเย็น เกี่ยวกับสถานที่ (place utility) การเคลื่อนย้ายสินค้า เช่น ส่งอาหารทะเลที่มีมากในภาคใต้ไปขายภาคเหนือ การเป็นเจ้าของ (Ownership utility) การมีสื่อกลาง (นายหน้า) ทำให้ผู้ซื้อผู้ขายแลกเปลี่ยนสิ่งของระหว่างกัน เช่น การซื้อขายหลักทรัพย์ (ปัจจัยการผลิตมี 4 ประเภทคือ ที่ดิน แรงงาน ทุน การประกอบการ) ทุน ประกอบด้วย เครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต สิ่งก่อสร้างคงทนถาวร เช่น อาคาร สำนักงาน บ้าน สินค้าคงเหลือ(inventory) (ไม่รวมเงินทุน)

  8. คำสำคัญในนิยามเศรษฐศาสตร์คำสำคัญในนิยามเศรษฐศาสตร์ 3.สินค้า (commodities) คือสิ่งที่ถูกผลิตขึ้นมา (รวมบริการด้วย) ทรัพย์เสรี (free goods) คือสินค้าที่มีอรรถประโยชน์ แต่มีไม่จำกัด เศรษฐทรัพย์ (economics goods) คือสินค้าที่มีจำกัดเมื่อเทียบกับความต้องการใช้ สินค้าเอกชน (private goods) กลไกราคาสามารถกีดกันไม่ให้ผู้อื่นใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้ (ถ้าไม่ยอมจ่ายเงิน ก็ไม่ได้ใช้) สินค้าสาธารณะ (public goods) ไม่สามารถใช้กลไกราคาในการกีดกันผู้อื่น เช่น บริการป้องกันประเทศ ทุกคนได้ประโยชน์ร่วมกัน 4.การกระจาย (distribution) การแบ่งสรรรายได้ให้เจ้าของปัจจัยการผลิต ค่าเช่า (rent) ค่าจ้าง (wage) ดอกเบี้ย (interest) และกำไร (profit) (การแลกเปลี่ยน: exchange หมายถึงการเปลี่ยนความเป็นเจ้าของ เดิมใช้ barter trade แต่ในสมัยใหม่ใช้การแลกเปลี่ยนผ่านสื่อกลาง เช่น เงิน เช็ค เครดิต เป็นต้น)

  9. คำสำคัญในนิยามเศรษฐศาสตร์คำสำคัญในนิยามเศรษฐศาสตร์ 5.การบริโภค (consumption) หมายถึง การใช้เศรษฐทรัพย์ เพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ ความต้องการ (wants) และ ความจำเป็น (needs) ประเภทของความต้องการ 3 ประการ ความต้องการเอกชน (private wants) ความต้องการที่เกิดขึ้นโดยสมัครใจของผู้บริโภค เกิดประโยชน์ต่อตัวผู้บริโภคเอง ความต้องการสาธารณะ (public wants) ประกอบด้วย - ความต้องการสังคม เกิดประโยชน์ต่อสังคม เช่น ป้องกันประเทศ และ- ความต้องการที่เป็นคุณประโยชน์ในสังคม (merit wants) รัฐบังคับ เช่น การศึกษาภาคบังคับ รถทุกคันต้องทำประกันภัย ความต้องการผสม (mixed wants) ความต้องการอาจเกิดโดยสมัครใจหรือถูกบังคับ เกิดประโยชน์ต่อตัวผู้บริโภคและสังคม เช่น การศึกษาอุดมศึกษา การฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาด

  10. ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์ความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์ • เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหา และตัดสินใจปัญหานั้น • เพื่อเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทั้งสาเหตุ และผลกระทบต่อบุคคล และสังคม ตลอดจนรู้แนวทางที่จะนำไปแก้ไขหรือประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีเหตุผลทางเศรษฐกิจ

  11. ความสัมพันธ์ระหว่างเศรฐศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆความสัมพันธ์ระหว่างเศรฐศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ เศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กับรัฐศาสตร์ในแง่ที่ว่า การกำหนดนโยบายต่างๆ ทางเศรษฐกิจก็ยังอยู่ภายใต้อิทธิพลหรืออุดมการทางเมืองของพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากเข้ามาบริหารประเทศ เศรษฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กับกฎหมายในแง่ที่ว่า การอกกกฎหมายบางเรื่อง อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความพยายามที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจบางอย่าง เช่น กฎหมายว่าด้วยการค้ากำไรเกินควรหรือกฎหมายแรงงานขั้นต่ำ

  12. ความสัมพันธ์ระหว่างเศรฐศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆความสัมพันธ์ระหว่างเศรฐศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ • เศราฐศาสตร์มีความสัมพันธ์กับบริหารธุรกิจอย่างมาก เพราะในการตัดสินปัญหาต่างๆในการบริหารธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านการเลือกโครงการการลงทุน การเลือกวิธีการผลิตตลอดจนการกำหนดราคาสินค้าและปริมาณการผลิตเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ นักธุรกิจจำเป็นต้องอาศัยหลักเกณฑ์ทางเศรษฐศาสตร์เข้าช่วยในการตัดสินใจ นอกจากนี้นักธุรกิจยังต้องมีความรอบรู้อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจ ตลอดจนปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นประจำทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพราะปัจจัยเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรง

  13. ความสัมพันธ์ระหว่างเศรฐศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆความสัมพันธ์ระหว่างเศรฐศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ • เศรษฐศาสตร์ยังมีความสัมพันธ์กับจิตวิทยาด้วย เพราะพฤติกรรมของมนุษย์ในการติดสินปัญหาเศรษฐกิจบางเรื่องต้องคำนึงถึงหลักจิตวิทยาด้วย ตัวอย่างเช่น มีผู้ผลิตบางรายนิยมตั้งราคาสินค้าให้ลงท้ายด้วยเลข 9 เพราะต้องการให้ผู้ซื้อรู้สึกว่าสินค้ายังราคาถูกอยู่ เช่น ถ้าตั้งราคารองเท้าคู่ละ 200 บาท คนทั่ว ๆ ไปอาจจะรู้สึกว่าแพง เพราะราคาสูงถึง 200 แต่ถ้าตั้งราคาคู่ละ 199 บาท คนจะรู้สึกว่าราคาถูก เพราะไม่ถึง 200 บาท เป็นต้น

  14. ขอบเขตของวิชาเศรษฐศาสตร์ขอบเขตของวิชาเศรษฐศาสตร์ • วิชาเศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินปัญหาทางเศรษฐกิจของมนุษย์และสังคม ดังนั้น เนื้อหาเศรษฐศาสตร์จึงครอบคลุมถึงพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนั้นๆ

  15. วิธีการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์วิธีการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ • วิธีอนุมาน (Deductive)เป็นการสร้างทฤษฎีโดยเริ่มต้นจากการสร้างสมมุติฐาน (Hypothesis) โดยอาศัยเหตุและผลตามแบบตรรกวิทยา จากนั้นทำการทดสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ถ้าสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ แสดงว่า สมมุติฐานนั้นถูกต้องสามารถสรุปออกมาเป็นทฤษฎี • วิธีอุปมาน (Induction)คือ วิธีการหาเหตุจากผล เป็นการสร้างทฤษฎีโดยการรวบรวมข้อเท็จจริงจากปรากฏการณ์ต่างๆ มาเป็นข้อมูล แล้วตั้งเป็นกฎหรือทฤษฎีเพื่อนำไปใช้ในการอธิบายเหตุการณ์อื่นๆในระดับที่กว้างด้วยการพิสูจน์ข้อมูลโดยใช้หลักทางสถิติ เรียกว่า การสรุปจากความจริงย่อยไปสู่ความจริงหลัก

  16. ข้อสมมติที่สำคัญในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ข้อสมมติที่สำคัญในการศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ 1.มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลในทางเศรษฐศาสตร์ (Economic rationality) คือ การตัดสินปัญหาทางเศรษฐกิจของบุคคลจะเป็นไปในทางที่จะทำให้ตนเองได้รับประโยชน์สูงสุด

  17. 2.ข้อสมมติให้สิ่งอื่นๆคงที่(Other things being constant) คือ การกำหนดให้สิ่งอื่นๆ คงที่หรือไม่มีอิทธิพลใดๆ ทั้งสิ้นนอกจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องที่กำลังศึกษา

  18. ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กับสภาพความเป็นจริงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กับสภาพความเป็นจริง • การนำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาอธิบายพฤติกรรมทางเศรษฐกิจตามความเป็นจริงจึงถูกจำกัดโดยข้อสมมติที่กำหนดขึ้นในแต่ละทฤฎี แต่แม้กระนั้น การสร้างทฤษฎีเศรษฐศาตร์เพื่อย่นย่อพฤติกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจก็เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์ เพราะทฤษฎีเหล่านั้นสามารถใช้อธิบายพฤติกรรมสามารถใช้อธิบายพฤติกรรมทางเศรษฐกิจภายใต้สถานการณ์บางอย่างได้และอาจใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้

  19. เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาคเศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค

  20. เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics)เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของแต่ละบุคคล ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้บริโภค และเจ้าของปัจจัยการผลิต เนื้อหาของวิชาส่วนใหญ่จึงเกี่ยวข้องกับการผลิต การบริโภค การกำหนดราคาสินค้าและปัจจัยการผลิตภายใต้การดำเนินงานของตลาดต่างๆ หรือเรียกทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคว่า "ทฤษฎีราคา (Price Theory)“ • เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมของเศรษฐกิจส่วนรวม เช่น รายได้ประชาชาติ การลงทุน การจ้างงาน การค้าระหว่างประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ หรือเรียกว่า "ทฤษฎีรายได้และการจ้างงาน (Income and Employment Theory)"

  21. เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์และเศรษฐศาสตร์นโยบายเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์และเศรษฐศาสตร์นโยบาย

  22. เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์(Positive Economics) • การศึกษาเพื่อแสวงหาความรู้ความเข้าใจในปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจต่างๆที่เกิดขึ้น โดยเป็นการศึกษาหาเหตุและผลของปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจ • ในภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรืองการเก็บภาษีแบบอัตราก้าวหน้าจะทำให้รัฐได้รับรายได้เพิ่มขึ้น

  23. เศรษฐศาสตร์นโยบาย (Normative Economics) • การศึกษาเพื่อใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์มากำหนดแนวทางที่ถูกว่าควรเป็นเช่นใดควรจะแก้ไขอย่างไร • เพื่อประโยชน์ในการวางแผนหรือกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ • เช่น รัฐควรเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้าเพื่อการกระจายรายได้ที่ดีขึ้น

  24. ประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์ประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์ • ในฐานะผู้บริโภค ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถประมาณการและวางแผนในการบริโภคสินค้าและบริการเพื่อให้ได้รับความพอใจสูงสุดจากงบประมาณที่มีอยู่จำกัด • ในฐานะผู้ผลิต ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์จะช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการค้าและการลงทุน เช่น ควรจะผลิตสินค้าชนิดใดเป็นปริมาณและราคาเท่าใด หรือควรเลือกใช้เทคนิคการผลิตอย่างไร • ในฐานะผู้บริหารประเทศ ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์จะช่วยให้เข้าใจในปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศตลอดจนการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างเหมาะสม

  25. ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต(Resources or Factor of Production) : ทรัพยากรที่นำมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ แบ่งได้เป็น4ประเภทคือ • ที่ดิน(Land) • แรงงานหรือทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์(Labor or Human resourceor Human capital) • ทุนหรือสินค้าทุน(Capital or Capital Goods) • ผู้ประกอบการ(entrepreneur)

  26. ที่ดิน(Land) • รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆเช่นป่าไม้แร่ธาตุสัตว์ป่าสัตว์บกสัตว์น้ำความอุดมสมบูรณ์ของดินปริมาณน้ำฝนฯลฯ • มนุษย์สร้างขึ้นไม่ได้แต่สามารถปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นได้ • ค่าตอบแทน: ค่าเช่า(Rent)

  27. แรงงานหรือทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์(Labor or Human resource or Human capital) • แรงกายแรงใจรวมถึงสติปัญญาความรู้ความสามารถและความคิดที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ • แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ แรงงานมีฝีมือแรงงานกึ่งมีฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ • ค่าตอบแทน : ค่าจ้างหรือเงินเดือน(Wage and Salary)

  28. ทุนหรือสินค้าทุน (Capital or Capital Goods) • สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ร่วมกับปัจจัยการผลิตอื่นๆเพื่อผลิตสินค้าและบริการ • แบ่งเป็น 2 ประเภทคือสิ่งก่อสร้างและเครื่องมือเครื่องจักร • ค่าตอบแทน : ดอกเบี้ย (Interest)

  29. Land Labor Capital Entrepreneur ผู้ประกอบการ(entrepreneur)

  30. ผู้ประกอบการ (entrepreneur) • ทำหน้าที่ในการวางแผนและกำหนดนโยบายในการผลิต • ภาระความเสี่ยงทางด้านการผลิตและการตลาด • ค่าตอบแทน : กำไร (Profit)

  31. กิจกรรมทางเศรษฐกิจ หน่วยเศรษฐกิจ และภาวะเศรษฐกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยยึดหลักความประหยัดเป็นสำคัญ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญๆ ได้แก่ การบริโภค การผลิต และการซื้อขายแลกเปลี่ยน บุคคลที่ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เรียกว่า หน่วยเศรษฐกิจ หน่วยเศรษฐกิจที่สำคัญประกอบด้วย ผู้บริโภค (Consumer)เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับการบริโภคสินค้าและบริการ โดยมีจุดมุ่งหมายคือ แสวงหาความพอใจสูงสุดจากการบริโภคสินค้าและบริการภายใต้งบประมาณที่มีอยู่จำกัด

  32. ผู้ผลิตหรือหน่วยธุรกิจ (Producer or firms)เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการผลิตสินค้าและบริการเพื่อจำหน่ายให้กับผู้บริโภค โดยมีจุดมุ่งหมายคือ แสวงหากำไรสูงสุดจากการผลิตสินค้าและบริการ • เจ้าของปัจจัยการผลิต (Factors of entrepreneur)คือ ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดิน ทุน แรงงาน หรือเป็นผู้ประกอบการ บุคคลคนเดียวอาจเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตได้มากกว่าหนึ่งชนิด เจ้าของปัจจัยการผลิตจะเสนอขายปัจจัยการผลิตชนิดต่างๆ ให้กับผู้ผลิต โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะแสวงหาผลตอบแทนสูงสุดจากปัจจัยการผลิตที่ครอบครอง

  33. ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ Money Sector สินค้าและบริการ ครัวเรือน ผู้ผลิต Real Sector ปัจจัยการผลิต ค่าตอบแทนปัจจัยการผลิต (รายได้) ระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน

  34. ระบบเศรษฐกิจ • หน่วยเศรษฐกิจที่รวมตัวเป็นกลุ่มสถาบันทางเศรษฐกิจ(Economic Institutions)โดยจะมีการแบ่งงานกันทำตามความถนัดของแต่ละหน่วยทุกหน่วยจะต้องประสานงานกันดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายใต้ระเบียบข้อบังคับต่างๆขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมและกฎหมายอันเดียวกัน

  35. ระบบเศรษฐกิจ แบ่งได้3ระบบใหญ่ๆคือ • ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม(Capitalism) • ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง(Central Planning System) • ระบบเศรษฐกิจแบบผสม(Mixed Economy)

  36. I ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) • ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม(Free-Enterprise System)หรือระบบตลาด(Market System) • ลักษณะสำคัญ • กรรมสิทธิในทรัพยากรเป็นของเอกชน • เสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ • มีกำไรเป็นเครื่องจูงใจ • รัฐบาลจะไม่เข้าแทรกแซงโดยไม่จำเป็น • ระบบราคา : แก้ปัญหาพื้นฐาน

  37. การแก้ปัญหาพื้นฐาน • ผลิตอะไร เลือกผลิตสินค้าที่มีความต้องการมาก ราคาสินค้าสูง เปรียบเทียบกับต้นทุนการผลิต มีกำไร ผลิต

  38. การแก้ปัญหาพื้นฐาน (ต่อ) • ผลิตอย่างไร • ผู้ผลิตต้องการกำไรสูงสุด • แต่ไม่สามารถตั้งราคาได้ตามต้องการ • ลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้ได้กำไรเพิ่มขึ้น • มองราคาปัจจัยการผลิต และวิธีการผลิต

  39. ราคาของปัจจัยการผลิต การแก้ปัญหาพื้นฐาน (ต่อ) • ความสามารถในการจ่ายของบุคคล • ผลิตเพื่อใคร รายได้มาก จ่ายได้มาก รายได้น้อย จ่ายได้น้อย การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต

  40. ข้อดี :ระบบทุนนิยม • มีแรงจูงใจในการผลิต • มีการปรับปรุงเทคนิคการผลิตให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนการผลิต • มีการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย

  41. ข้อเสีย :ระบบทุนนิยม • การกระจายผลผลิตหรือกระจายรายได้ไม่เท่าเทียมกัน • อาจเกิดการผูกขาดขึ้นได้ในระบบเศรษฐกิจ

  42. เป้าหมาย :ระบบทุนนิยม • ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ • ความมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ

  43. II ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง(Central Planning System) • ลักษณะสำคัญ : รัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตต่างๆรวมถึงแรงงาน • การแก้ปัญหาพื้นฐาน :รัฐบาลเป็นผู้กำหนดนโยบาย

  44. ข้อดี : ข้อเสีย • ข้อดี • ก่อให้เกิดความเสมอภาค : การบริโภค การมีรายได้ การมีงานทำ • มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ • ข้อเสีย • ขาดเสรีภาพในทางเศรษฐกิจ • ประชาชนขาดแรงจูงใจในการแสวงหารายได้ • ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างช้าๆ

  45. เป้าหมาย : แบบวางแผนจากส่วนกลาง • ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ • ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

  46. วางแผน ทุนนิยม III ระบบเศรษฐกิจแบบผสม(Mixed Economy) • การแก้ปัญหาพื้นฐาน • กลไกราคาและการวางแผนจากส่วนกลาง แบบผสม

  47. บทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจแบบผสมจะมากกว่าระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมบทบาทของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจแบบผสมจะมากกว่าระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม • เป็นผู้ออกกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ • เป็นผู้ควบคุมการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจ ไม่ให้มีการผูกขาด • ให้มีการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียมกัน ชดเชยคนว่างงาน รักษาสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยเหลือผู้สูงอายุ แทรกแซงตลาด • จัดสรรการใช้ทรัพยากรใหม่ให้เหมาะสม เพราะทุนนิยมเกิดความล้มเหลวของระบบตลาด • ทำให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ (stabilization) ทางด้านการจ้างงานและราคาสินค้า

  48. ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ • ผลิตอะไร(What to produce ?) • ผลิตอย่างไร(How to produce ?) • ผลิตเพื่อใคร(For whom to produce ?)

  49. ปัญหาเศรษฐกิจพื้นฐาน What? How? For whom? 2.2 เส้นการผลิตที่เป็นไปได้ (Production possibility curve: PPC) .. แสดงการเลือกและค่าเสียโอกาส มีข้อสมมติ (assumptions) ดังนี้ • ปัจจัยการผลิตคงที่ แต่สามารถโยกย้ายไปทำการผลิตสินค้าอื่นได้ • ระบบเศรษฐกิจทำการผลิตสินค้า 2 ชนิด • ระบบเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่ • เทคนิคการผลิตคงที่ • ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบปิด (closed economy) คือไม่มีการค้าระหว่างประเทศ

  50. จำนวนสินค้า X และ Y ที่ผลิตได้ สินค้า Y A 10 8 6 4 2 0 . S B C ProductionFrontier D . U E สินค้า X 1 2 3 4 เส้น PPC กรณีค่าเสียโอกาสเพิ่มขึ้น

More Related