1 / 49

สุนทรียภาพในวรรณคดี

สุนทรียภาพในวรรณคดี. ความ งามในวรรณคดี เกิดจาก 1 . การ ใช้ถ้อยคำให้ไพเราะ เช่น การใช้สัมผัสสระ สัมผัสอักษร สัมผัสวรรณยุกต์ การเล่นคำ การ ซ้ำคำ การซ้อนคำ การใช้คำอัพภาส การ ใช้คำ ศ เข้าลิลิต. สัมผัสสระ. พระโหยหวล ครวญเพลง วังเวง จิต ให้ คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง

Download Presentation

สุนทรียภาพในวรรณคดี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สุนทรียภาพในวรรณคดี ความงามในวรรณคดี เกิดจาก 1. การใช้ถ้อยคำให้ไพเราะ เช่น การใช้สัมผัสสระ สัมผัสอักษร สัมผัสวรรณยุกต์ การเล่นคำ การซ้ำคำ การซ้อนคำ การใช้คำอัพภาส การใช้คำ ศ เข้าลิลิต

  2. สัมผัสสระ พระโหยหวลครวญเพลงวังเวงจิต ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง โอ้จากเรือนเหมือนนกที่จากรัง อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย ถึงยามค่ำย่ำฆ้องจะร้องไห้ ร่ำพิไรรัญจวนหวลละห้อย โอ้ยามดึกดาวเคลื่อนเดือนก็คล้อย น้ำค้างย้อยเย็นฉ่ำที่อัมพร

  3. เขาเขียวโขดคุ่มขึ้น เคียงเคียง ร่มรื่นรุกขรังเรียง เรียบร้อย โหมหัดหิ่งหายเหียง หัดหาด แฮ่วแฮ ย่างใหญ่ยอดยื่นย้อย โยกโย้โยนเยนฯ สัมผัสอักษร

  4. ๏ เสียงซออออ่ออ้อ เอื่อยเพลง จับปี่เตร๋งเต้งเตง เต่งต้อง คลุยตรุ๋ยตรุ่ยตรุ้ยเหนง เหน่งเน่ง รนาดแฮ ฆ้องหน่องหนองน่องหน้อง ผรึ่งพรึ้งพรึ่งตโภนฯ (นิราศสุพรรณ) สัมผัสวรรณยุกต์

  5. การเล่นคำ ( Pun ) คือกลการประพันธ์ที่ใช้คำพ้องเสียง เพื่อให้ตีความได้ต่างความหมายกันไป เช่น เห็นโศกใหญ่ใกล้น้ำระกำแฝง ทั้งรักแซงแซมสวาทประหลาดเหลือ เหมือนโศกพี่ที่ซ้ำระกำเจือ ทั้งรักเรื้อแรมสวาทไม่คลาดคลา

  6. เล่นคำ ๏ เข้าลำคลองหัวรอตอระดะ ดูเกะกะรอร้างทางพม่า เห็นรอหักเหมือนหนึ่งรักพี่รอรา แต่รอท่ารั้งทุกข์มาตามทาง๚๛ ๏ ว่าพลางทางชมคณานกโผนผกจับไม้อึงมี่ เบญจวรรณจับวัลย์ชาลีเหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา นางนวลจับนางนวลนอนเหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา จากพรากจับจากจำนรรจาเหมือนจากนางสการะวาตี แขกเต้าจับเต่าร้างร้องเหมือนร้างห้องมาหยารัศมี นกแก้วจับแก้วพาทีเหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา ๚๛

  7. ซ้ำคำ นทีตีฟองนองระลอก กระฉอกกระฉ่อนชลข้นขุ่น เขาพระเมรุเอนเอียงอ่อนละมุน อนนต์หนุนดินดานสะท้านสะเทือนทวยหาญโห่ร้องก้องกัมปนาท สุธาวาสไหวหวั่นลั่นเลื่อน บดบังสุริยันตะวันเดือนคลาดเคลื่อนจัตุรงค์ตรงมา" ๏ เรื่อยเรื่อยมารอนรอน ทิพากรจะตกต่ำ สนธยาจะใกล้ค่ำ คำนึงหน้าเจ้าตราตรู     เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง นกบินเฉียงไปทั้งหมู่ ตัวเดียวมาพลัดคู่ เหมือนพี่อยู่ผู้เดียวดาย ๚๛ ซ้อนคำ

  8. คำอัพภาส สองฝ่ายยันยืนยุทธ์ อุดอึงโห่เอาฤกษ์ เอิกอึงโห่เอาชัย สาดปืนไฟยะแย้ง แผลงปืนพิษยะยุ่ง พุ่งหอกใหญ่คะคว้าง ขว้างหอกชักคะไขว่ ไล่คะคลุกบุกบัน เงื้อดาบฟันฉะฉาด ง่าง้าวฟาดฉะฉับ

  9. ศ เข้า ลิลิต พลันขยายพยุหบาตรา คลาเข้าโขลนทวาเรศ สงฆ์ สวดชเยศพุทธมนต์ ปรายประชลเฉลิมทัพ ตาม ตำรับราชรณยุทธ์ โบกกบี่ธุชคลาพล ว่าอดิศวรกษัตรา มหาธรรมราชนรินทร์ เจ้าปถพินทร์ผ่านทวีป ดับชนมชีพพิราลัย เอารสไทนฤเบศ นเรศวรเสวยศวรรยา แจ้งกิจจาตระหนัก

  10. ธก็เอื้อนสารเสาวพจน์ แต่เอารสยศเยศ องค์อิศเรศอุปราช ให้ยกยาตราทัพ กับนครเชียงใหม่ เป็นพยุหใหญ่ห้าแสน ไปเหยียบแดน ปราจิน

  11. 2. การใช้ถ้อยคำสื่อความหมาย เช่น การใช้คำสั้นกินใจความมาก การใช้คำไวพจน์ การใช้คำแสดงนาฏการ

  12. คำสั้นกินใจความมาก ปากกัดตีนถีบมือตบ         ไล่ตลบรวดเร็วดังจักรผัน อุสราตายยับทับกัน               ลิงนั้นบั่นบุกรุกมา อันอำนาจใดใดในโลกนี้ ไม่เห็นมีเปรียบปานการศึกษา สร้างคนหาค่ามิได้ในโลกา ขึ้นจากผู้ที่หาค่าไม่มี

  13. พาทีมีสติรั้ง รอคิด รอบคอบชอบแลผิด ก่อนพร้อง คำพูดพ่างลิขิต เขียนร่าง เรียงแฮ ฟังเพราะเสนาะต้อง โสตทั้งห่างภัย คำไวพจน์ – คำที่มีความหมายเหมือนกัน-การหลากคำ พาที-พร้อง-คำพูด ลิขิต-เขียน-ร่าง-เรียง เพราะ-เสนาะ ฟัง-โสต

  14. นาฏการ คือกลการประพันธ์ที่ใช้ถ้อยคำที่แสดงอาการเคลื่อนไหวอย่างเด่นชัด เช่น เรือครุฑยุดนาคหิ้ว ลิ่วลอยมาพาผันผยอง พลพายกรายพายทอง ร้องโห่เห่โอ้เห่มา

  15. นาฏการ ขับปีกซ้ายเข้าดา ขับปีกขวาเข้าแดก แยกกันออกโรมรัน ปักกันออกโรมรณ ทนสู้ศึกบ่มิลด อดสู้ศึกบ่มิลาด อาจต่ออาจเข้ารุก อุกต่ออุกเข้าร่า กล้าต่อกล้าชิงบั่น กลั่นต่อกลั่นชิงรอน ศรต่อศรยิงยืน ปืนต่อปืนยิงยัน กุทัณฑ์ต่างตอบโต้ โล่ต่อโล่ต่อตั้ง ดั้งต่อดั้งต่อติด เขนประชิดเขนสู้ ต่าวคู่คู่ต่าวต่อ หอกหันร่อหอกรับ ง้าวง่าจับง้าวประจัญ ทวนผัดผันทวนทบ

  16. 3. การใช้โวหารสื่ออารมณ์ความรู้สึก เช่น โวหารจินตภาพ โวหารภาพพจน์

  17. โวหารจินตภาพ คือโวหารที่ใช้ถ้อยคำก่อให้ เกิดภาพโดยกล่าวอย่าง ตรงไปตรงมา

  18. 1.บรรยายโวหาร – มีตัวละคร มีการดำเนินเรื่อง มีการ กระทำ บอกเหตุการณ์ เล่าเรื่อง • 2.อธิบายโวหาร – ให้คำจำกัดความ บอกวิธีการทำ • สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเป็นขั้นตอน • 3.เทศนาโวหาร – ให้เหตุผล มุ่งแนะนำอบรมสั่งสอน • 4.อภิปรายโวหาร – ให้เหตุผล โน้มน้าวใจให้คล้อยตาม • 5.พรรณนาโวหาร – ให้รายละเอียด ลักษณะรูปพรรณ สัณฐานหรือพรรณนาอารมณ์ ความรู้สึก

  19. โวหารภาพพจน์ ( Figure of Speech )คือ การเรียบเรียงถ้อยคำด้วยวิธีการต่างๆที่แตกต่างไปจากความหมายธรรมดา เช่นการเปรียบเทียบ การแทน การกล่าวเกินจริง เป็นต้น เพื่อให้เกิดภาพหรือความหมายพิเศษ

  20. 1. อุปมา ( Simile) คือการนำเอาสิ่งที่ต่างกันสองสิ่งมาเปรียบเทียบกันโดยใช้คำเชื่อม เช่น ดุจ ประดุจ ดัง ดั่ง เหมือน เสมือน คล้าย ปูน ปิ้ม ปาน ประหนึ่ง ประเล่ห์ กล ตละ รุหาญ ครุวนา เฉก เช่น ราวกับ เปรียบกับ เปรียบเหมือน เพียง เพี้ยง พ่าง

  21. พระตรีโลกนาถแผ้ว เผด็มาร เฉกพระราชสมภาร พี่น้อง เสด็จไร้พริยะราญ อรินาศ ลงนา เสนอพระยศยินก้อง เกียรติท้าวทุกภาย -รวดเร็วดั่งลมเพชรหึง -เปรียบแรงคชสารปานกลจักร

  22. บุญเจ้าจอมภพพื้น แผ่นสยาม แสยงพระยศยินขาม ขาดแกล้ว พระฤทธิ์ดั่งฤทธิ์ราม รอนราพณ์ แลฤๅ ราญอริราชแผ้ว แผกแพ้ทุกภาย

  23. ไพรินทรนาศเพี้ยง พลมาร พระดั่งองค์อวตาร แต่กี้ แสนเศิกห่อนหาญราญ รอฤทธิ์ พระฤๅ ดาลตระดกเดชลี้ ประลาตเหล้าแหล่งสถาน

  24. -ถึงบางหลวงทรวงร้อนดังศรปัก-ถึงบางหลวงทรวงร้อนดังศรปัก พี่ร้างรักมาด้วยราชการหลวง -ถ้ามิฉะนั้นดวงพักตร์สองกุมารก็ปานประหนึ่งว่ากนกนิกขะเนื้อน้ำนพคุณวิบูลจรูญจรัสปภัสสรรังสีสิ้นราคีมิรู้เศร้า -ราตรีกลีกลพิโรธ หฤโหดกระหึมลม

  25. 2. อุปลักษณ์ ( Metaphor ) คือการนำเอาสิ่งที่ต่างกันสองสิ่ง ที่มีคุณสมบัติบางประการร่วมกัน มาเปรียบเทียบกันโดยไม่ใช้คำเชื่อม หรือใช้ตามหลังคำกริยา “คือ”และ “เป็น”

  26. หัสดินปิ่นธเรศไท้ โททรง คือสมิทธิมาตงค์ หนึ่งอ้าง หนึ่งคือคิริเมขล์มง- คลอาสน์ มารนา เศียรส่ายหงายงาคว้าง ไขว่แคว้งแทงโถม

  27. น้ำเงินคือเงินยวง ขาวพรายช่วงสีสำอางไม่เทียบเปรียบโฉมนาง งามเรืองเรื่อเนื้อสองสี ๏ ตะปูดอกใหญ่ตรึ้ง บาทา อยู่เฮย จึง บ อาจลีลา คล่องได้ เชิญผู้มีเมตตา แก่สัตว์ ปวงแฮ ชักตะปูนี้ให้ ส่งข้าอัญขยม ๚๛

  28. 3. นามนัย ( Metonymy ) คือการนำคำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นำมาแทนสิ่งนั้นทั้งหมด เวที –การแสดงละคร , มงกุฎ - กษัตริย์ ตาชั่ง,บัลลัลงก์ – ตุลาการ, เก้าอี้ - ตำแหน่ง ไวกูณฐ์ - พระนารายณ์ , เศวตฉัตร-ราชบัลลังก์

  29. จึ่งพระปิ่นปักธาษตรี บุรีรัตนหงสา ธก็บัญชาพิภาษ ด้วยมวลมาตยากร ว่านครรามินทร์ ผลัดแผ่นดินเปลี่ยนราช เยียววิวาทชิงฉัตร เพื่อกษัตริย์สองสู้ บร้างรู้เหตุผล ควรยาตรพลไปเยือน เตือนประยุทธ์เอาเปรียบ

  30. 4. สัญลักษณ์ ( Symbol ) คือ การนำวัตถุ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต ซึ่งเป็นตัวแทนหรือสิ่งแทนของอีกสิ่งหนึ่ง สัญลักษณ์ต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในเรื่อง และไม่บอกว่าเปรียบถึงสิ่งใด ผู้อ่านจะเป็นผู้ตีความเอง สัญลักษณ์อาจเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไป หรือเป็นสัญลักษณ์ที่กวีใช้เป็นส่วนตัวก็ได้ เช่น แสงสว่าง – ปัญญา สีขาว - ความบริสุทธิ์ ,ความดี สีดำ – ความชั่ว หงส์ – หญิงสูงศักดิ์

  31. แต่งองค์และทรงล้วน พัสตระดำทุกสิ่งอันอาภรณ์ก็เลือกสรร พะสัมฤทธิ์และพลอยดำ ทรงเครื่องก็ล้วนขาว สวิภูษณาสม สำแดงสุโรดม สุจริต ณ ไตรทวาร

  32. เกิดเป็นหมอกมืดห้อง เวหา หนเฮ ลมชื่อเวรัมภา พัดคลุ้ม หวนหอบหักฉัตรา คชขาด ลงแฮ แลธุลีกลัดกลุ้ม เกลื่อนเพี้ยงจักรผัน

  33. 5. สัทพจน์ ( Onomatopoeia ) คือการใช้ถ้อยคำที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น โครมๆ เปรี้ยงๆ จ็อกๆ โฮกๆ แปร๋นๆ -ย่ามกระสอบกรอบแกรบกระไกรกริก -ก้องกึกพิลึกปีบประเปรี้ยงเสียงสนั่นลั่น

  34. ดูหนูสู่รูงู   งูสุดสู้หนูสู้งู หนูงูสู้ดูอยู่   รูปงูทู่หนูมูทู ดูงูขู่ฝูดฝู้   พรูพรู หนูสู่รูงูงู    สุดสู้ งูสู้หนูหนูสู้    งูอยู่ หนูรู้งูงูรู้     รูปถู้มูทู

  35. 6. บุคคลสมมุติ ( personification ) คือการสมุติสิ่งที่มิใช่มนุษย์ เช่นสิ่งไม่มีชีวิตความคิด นามธรรม หรือสัตว์ ให้มีสติปัญญา อารมณ์ ความรู้สึก กิริยาอาการเยี่ยงมนุษย์ -ดอกหญ้ายิ้มหวานกับลานหญ้า -เมฆาคร่ำลมครวญพระจันทร์ร้อง

  36. เพชรน้ำค้างค้างหล่นบนพรมหญ้าเย็นหยาดฟ้ามาฝันหลงวันใหม่เคล้าเคลียหยอกดอกหญ้าอย่างอาลัยเมื่อแฉกดาวใบไผ่ไหวตะวัน

  37. 7. ปฏิทรรศน์ (Paradox)คือข้อความที่ดูผิวเผินเหมือนขัดแย้งกันหรือเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าพิจารณาให้ดีจะมีความหมายที่ลึกซึ้งและเป็นไปได้ เช่น “ความตาย ตายไปแล้ว” “แสงคือสิ่งที่มืดที่สุดในวิชาฟิสิกส์” “เด็กคือพ่อของผู้ใหญ่”“รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ”“สิ่งที่แน่นอนคือความไม่แน่นอน”

  38. 8. ปฏิพจน์ ( Oxymoron)คือการนำเอาคำที่มีความหมายไม่สอดคล้องกันและดูเหมือนจะขัดแย้งมารวมกันไว้ด้วยกันเพื่อให้เกิดผลเป็นพิเศษ เช่น ความมืดอันสว่างไสว ไฟเย็น นรกยะเยือก ความสุขอันแสนจะเจ็บปวด เศรษฐีผู้ขาดแคลน ยาจกผู้ร่ำรวย ( หรือ ปฏิพากย์ )

  39.  แทบฝั่งธารที่เราเฝ้าฝันถึงเสียงน้ำซึ่งกระซิบสาดปราศจากเสียงจักรวาลวุ่นวายไร้สำเนียงโลกนี้เพียงแผ่นภพสงบเย็น แทบฝั่งธารที่เราเฝ้าฝันถึงเสียงน้ำซึ่งกระซิบสาดปราศจากเสียงจักรวาลวุ่นวายไร้สำเนียงโลกนี้เพียงแผ่นภพสงบเย็น

  40. 9. อติพจน์ ( Hyperbole ) คือการใช้ข้อความที่กล่าวอย่างเกินความจริง มุ่งหมายเพื่อเน้นความ เช่น รักคุณเท่าฟ้า มารอตั้งโกฎิปีแล้ว ขอให้อายุยืนเป็นหมื่นๆปี

  41. ๏ ฉันเอาฟ้าห่มให้ หายหนาว ดึกดื่นกินแสงดาว ต่างข้าว น้ำค้างพร่างกลางหาว หาดื่ม ไหลหลั่งกวีไว้เช้า ชั่วฟ้าดินสมัย๚๛

  42. ๏ เรียมร่ำชลเนตรถ้วม ถึงพรหม พาหมู่สัตว์จ่อมจม ชีพม้วย พระสุเมรุเปื่อยเป็นตม ทบท่าว ลงนา หากอักนิษฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง ๚๛

  43. 10.อวพจน์ ( Meiosis ) คือการพูดเน้นความด้วยการลดความหมายให้ด้อยลงกว่าเดิม มักใช้แนวที่สวนทางกับความหมายที่แท้จริง เช่น ลัดนิ้วมือเดียวก็มาถึง- คอยสักอึดใจเดียว -แค่พริบตาเดียวก็ผ่านไป 20 ปีแล้ว -ขอเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของหัวใจ -นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ I who have nothing.

  44. 11. อุปมานิทัศน์ ( Allegory ) คือเรื่องราวที่แต่งเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง อาจเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศีลธรรม ศาสนา การเมือง สังคม ประวัติศาสตร์ หรือ การเสียดสี ตัวละครของอุปมานิทัศน์อาจเป็นนามธรรม เช่น ความซื่อสัตย์ ความโลภ ความหวัง ที่นำมาสร้างเป็นบุคคล ซึ่งทำให้คล้ายกับนิทานอุทาหรณ์ และนิทานคติธรรม

  45. 12. คำถามเชิงวาทศิลป์ ( Rhetorical Question ) คือการใช้คำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ เพราะรู้คำตอบชัดเจนอยู่แล้ว เช่น “ถ้าไทยฆ่าไทย แล้วจะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง”

  46. คำถามเชิงวรรณศิลป์ ในลักษณ์นั้นว่าปัจจามิตร มาตั้งติดดาหากรุงใหญ่ จงเร่งรีบรี้พลสกลไกร ไปช่วยชิงชัยให้ทันที ถึงไม่เลี้ยงบุษบาเห็นว่าชั่ว แต่เขารู้อยู่ว่าตัวนั้นเป็นพี่ อันองค์ท้าวดาหาธิบดี นั้นมิใช่อาหรือว่าไร มาตรแม้นเสียเมืองดาหา จะพลอยอายขายหน้าหรือหาไม่ ซึ่งเกิดศึกสาเหตุเภทภัย ก็เพราะใครทำความไว้งามพักตร์ ครั้งหนึ่งก็ให้เสียวาจา อายชาวดาหาอาณาจักร ครั้งนี้เร่งคิดดูจงนัก จะซ้ำให้เสียศักดิ์ก็ตามที แม้นมิยกพลไกรไปช่วย ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี อย่าดูทั้งเปลวอัคคี แต่วันนี้ขาดกันจนบรรลัย

  47. 13. ภาวะแย้ง ( Antithesis ) คือกลการประพันธ์ที่ใช้คำหรือข้อความที่มีความหมายที่ตรงกันข้ามหรือแตกต่างกันมาเทียบกันเพื่อให้ความหมายคมชัดยิ่งขึ้น -การแต่งงานเต็มไปด้วยความเจ็บปวด แต่การเป็นโสดก็หาได้มีความสุขไม่

  48. JONGCHAI@HOTMAIL.COM HTTP://SITES.GOOGLE.COM/SITE/JONGCHAISSPACE COURSEWARE.TRIAMUDOM.AC.TH THINK.COM

  49. ๏ ครูขอประสิทธิให้ ทุกคน จงประสบสัมฤทธิผล ทั่วถ้วน จตุรพิธพรดล โสตถิ สวัสดิ์นา คิดสิ่งใดสฤษฏิ์ล้วน สำเร็จได้ดังจินต์๚๛

More Related