280 likes | 604 Views
ศิลปะการพูดเพื่อการสื่อสารโน้มน้าวใจหรือจูงใจ. การพูด คือ การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง และกิริยาอาการ เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนความต้องการของผู้พูดให้ผู้ฟังได้รับรู้ และเกิดการตอบสนอง.
E N D
ศิลปะการพูดเพื่อการสื่อสารโน้มน้าวใจหรือจูงใจศิลปะการพูดเพื่อการสื่อสารโน้มน้าวใจหรือจูงใจ • การพูดคือการใช้ถ้อยคำน้ำเสียงและกิริยาอาการเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดความรู้ประสบการณ์ตลอดจนความต้องการของผู้พูดให้ผู้ฟังได้รับรู้และเกิดการตอบสนอง
การพูดที่ดีคือการใช้ถ้อยคำน้ำเสียงผสมผสานกิริยาอาการเพื่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดความรู้ประสบการณ์และความต้องการที่เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้ฟังเพื่อให้เกิดการรับรู้ และเกิดผลการตอบสนองอย่างได้ผลตามความมุ่งหมายของผู้พูด
ความมุ่งหมายของการพูดความมุ่งหมายของการพูด • ความมุ่งหมายของการพูดคือการแสดงหรือเสนอข้อคิดเห็นต่อผู้ฟังและผู้ฟังสามารถรับรู้เรื่องราวและเข้าใจได้ตรงกับความต้องการของผู้พูดตลอดจนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ • ความมุ่งหมายของการพูดแบ่งเป็น2ประเภทใหญ่ๆ 1.ความมุ่งหมายของการพูดโดยทั่วไป 2. ความมุ่งหมายเฉพาะ
1. ความมุ่งหมายโดยทั่วไปคือการพูดที่พยายามให้ผู้ฟังเกิด ก. ความสนใจ ข. ความเข้าใจ ค. ความประทับใจ
2. ความมุ่งหมายเฉพาะ ก. เพื่อให้ข่าวสารความรู้เป็นการพูดแบบเสนอข้อเท็จจริงโดยไม่มุ่งหมายที่จะเปลี่ยนทัศนคติของผู้ฟังแต่เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ฟัง ข. เพื่อความบันเทิงเป็นการพูดเพื่อให้ผู้ฟังสนุกสนานครึกครื้น ค. เพื่อชักจูงใจคือการพูดที่มุ่งหวังให้ผู้ฟังเปลี่ยนใจ เห็นคล้อยตามผู้พูดโดยใช้การเร้าอารมณ์เป็นที่ตั้ง
การพูดเพื่อชักจูงใจ • การพูดเพื่อชักจูงใจเป็นการพูดเพื่อให้ผู้ฟังได้รู้เพื่อให้ผู้ฟังเชื่อและเพื่อให้ผู้ฟังเห็นด้วยทั้งทางความคิดและการกระทำตามความมุ่งหมายของผู้พูด • เป็นการพูดให้ผู้ฟังมีความเห็นคล้อยตามและปฏิบัติตามเป็นการพูดอย่างมีเหตุผลเพื่อโน้มน้าวจิตใจเกลี้ยกล่อมชักจูงให้ผู้ฟังคล้อยตาม
จุดมุ่งหมายของการพูดจูงใจจุดมุ่งหมายของการพูดจูงใจ • เพื่อชักจูงให้ผู้ฟังเห็นด้วยคล้อยตามในข้อเรียกร้องวิงวอนหรือข้อประท้วงเพื่อให้เปลี่ยนความเชื่อความคิดเพื่อกระตุ้นอารมณ์ให้ทำหรือปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
หลักการพูดจูงใจ *ให้ผู้ฟังสนใจในการพูด * ทำให้ผู้ฟังไว้วางใจและมีศรัทธาในถ้อยคำของผู้พูด * บรรยายถึงเหตุผลข้อเท็จจริงเพื่อเป็นความรู้แก่ ผู้ฟังเกี่ยวกับคุณค่าของปัญหาที่นำมาแสดง * พูดด้วยการวิงวอนคนจูงใจให้ผู้ฟังปฏิบัติตาม กล่าวถึงประโยชน์ที่จะได้รับ
องค์ประกอบของการพูดจูงใจองค์ประกอบของการพูดจูงใจ องค์ประกอบของการพูดที่สมบูรณ์ประกอบด้วย • 1. ผู้พูด • 2. เนื้อเรื่องที่จะพูด • 3. ผู้ฟัง • 4. เครื่องมือสื่อความหมาย • 5. ความมุ่งหมายและผลในการพูดแต่ละครั้ง
ผู้พูด หรือผู้ส่งข่าวสาร (Source/Sender) • สาเหตุของความประหม่า 1. มองเห็นจุดอ่อนของตนเองมากเกินควร 2.เกิดความขัดแย้งภายในตนเอง 3. วาดภาพในใจไว้อย่างผิดๆ
ข้อปฏิบัติเพื่อเอาชนะความประหม่าเวทีให้ได้ผลและสร้างความมั่นใจในตนเองข้อปฏิบัติเพื่อเอาชนะความประหม่าเวทีให้ได้ผลและสร้างความมั่นใจในตนเอง * เตรียมซ้อมเรื่องที่จะพูดมาให้แม่นยำที่สุดเท่าที่จะทำได้ * ให้ความสนใจในเรื่องราวที่จะพูดให้มากพอ * หาข้อมูลเกี่ยวกับคนฟังให้มากพอเพื่อจะได้ดัดแปลงเรื่องที่เราพูดให้เหมาะสมกับคนฟังให้มากที่สุด
* ขณะที่พูดพยายามพูดกับคนฟังให้ทั่วถึงยิ่งจับตาคนฟังให้ทั่วถึงมากเพียงไรความกลัวก็จะหายไป * พยายามทรงตัวให้ดีขณะที่พูดการทรงตัวที่สมดุล จะทำให้ผู้พูดรู้สึกมั่นใจขึ้น * ตั้งใจให้มั่นคงเสมอว่าจะพยายามพูดให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
นักพูดที่ดีจะต้องพยายามเป็นตัวของตัวเองอย่าเลียนเสียงและลีลาของใครพยายามพูดให้เป็นแบบธรรมชาตินักพูดที่ดีจะต้องพยายามเป็นตัวของตัวเองอย่าเลียนเสียงและลีลาของใครพยายามพูดให้เป็นแบบธรรมชาติ • สิ่งที่ควรปฏิบัติ • * พูดให้เสียงดังฟังชัด • * จังหวะการพูดไม่ช้าหรือเร็วเกินไป • * อย่าพูดเอ้อ-อ้า • * อย่าพูดเหมือนอ่านหนังสือหรือท่องจำ • * พูดด้วยความรู้สึกที่จริงใจ
ข้อเตือนที่ควรจดจำ • อย่าพูดจนกว่าท่านจะมีความเข้าใจในเรื่องที่ท่านจะพูด • อย่าพูดจนกว่าท่านจะมีความเชื่อเรื่องที่ท่านพูด • อย่าพูดจนกว่าท่านจะมี ความรู้สึก ตามเรื่องที่ท่านพูด
ปัญหาเฉพาะหน้า ที่อาจเกิดขึ้น • ผู้ฟังแสดงความไม่พอใจหรือไม่เป็นมิตรกับผู้พูด จงยิ้มเพราะการยิ้มแสดงถึงความรักความชอบ ความเป็นมิตร • ผู้ฟังหรือคู่สนทนาโต้เถียงกับท่าน จงหลีกเลี่ยงการโต้เถียงควรรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวใช้ความสุขุมรอบคอบประนีประนอมและเห็นอกเห็นใจ
ผู้ฟังหรือคู่สนทนาตำหนิติเตียนหรือกล่าวโทษท่านผู้ฟังหรือคู่สนทนาตำหนิติเตียนหรือกล่าวโทษท่าน จงพูดปรักปรำลงโทษตัวเองในประการต่างๆซึ่งจะเป็นการลดความขุ่นเคืองของผู้ฟังลงได้ จงใช้วิธีสุภาพอ่อนโยนนุ่มนวลแสดงความเป็นมิตร • เมื่อพูดกับฝูงชนที่กำลังคลั่งแค้นในลักษณะที่บ้าคลั่ง จงหลีกเลี่ยงการให้เหตุผลเมื่อแรกพบ วิธีที่ดีที่สุดคือพยายามพูดให้ฝูงชนรู้สึกว่าเราเห็นใจเขาและเป็นฝ่ายเดียวกับเขาพร้อมกับพยายามพูดชักจูงเพื่อเบนความ สนใจหรือได้คิด ได้ไตร่ตรอง จากนั้นจึงเสนอแนะให้พวกเขาหาทางออกด้วยวิธีอื่นต่อไป
เมื่อพูดกับฝูงชนที่เสนอข้อเรียกร้องเมื่อพูดกับฝูงชนที่เสนอข้อเรียกร้อง ผู้พูดจะต้องตั้งสติให้มั่นอย่าแสดงอาการตกใจหรือรู้สึกหวาดหวั่นมากเกินไป ไม่ควรจะตอบรับหรือตอบปฏิเสธทันทีควรพูดรับแต่เพียงว่า “จะขอรับข้อเสนอทั้งหมดไว้ให้ผู้มีอำนาจพิจารณา”หรือ หากท่านเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดอาจตอบอย่างมีความหวังว่า “ ขอรับข้อเรียกร้องทั้งหมดนี้ไว้พิจารณาและจะให้ความเป็นธรรมแก่ ทุกคน”
เมื่อพูดกับฝูงชนที่บีบคั้นให้ตอบคำถามที่ไม่มีทางเลือกเมื่อพูดกับฝูงชนที่บีบคั้นให้ตอบคำถามที่ไม่มีทางเลือก เช่น“จะจัดการหรือไม่”“จะทำหรือไม่”“จะเพิ่มเติมหรือไม่”หรือ“จะแก้ไขหรือไม่” ควรตอบว่าตนยังไม่ทราบข้อเท็จจริงจะต้องทราบข้อเท็จจริงเสียก่อนจึงจะตอบให้ทราบโดยพยายามใช้คำพูดแสดงความตั้งใจที่จะช่วยเหลือและให้ความร่วมมือเช่นพูดว่าเห็นใจเขาเข้าใจพวกเขาดีจะพยายามหาหนทางแก้ไขโดยเร็วที่สุดจะประชุมกรรมการด่วนจะพิจารณาให้คำตอบโดยเร็วที่สุดเป็นต้น
ข้อควรระวังในการพูดให้เกิดอารมณ์ขันข้อควรระวังในการพูดให้เกิดอารมณ์ขัน “การพูดให้เกิดอารมณ์ขันต้องสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม” * อย่าบอกผู้ฟังด้วยประโยคทำนองนี้ “ต่อไปนี้เป็นเรื่องขำขัน...”“อยากจะเล่าเรื่องตลกให้ฟัง...”“มีเรื่องสนุกๆจะเล่าให้ท่านฟัง...” * อย่าตลกเองหัวเราะเองพยายามอย่าหัวเราะก่อนผู้ฟังเป็น อันขาด * อย่าให้เรื่องตลกกลายเป็นสาระสำคัญของเรื่องให้เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น
* ระวังการล้อเลียนเสียดสีประชดประชันบุคคลหรือสถาบันให้ดีอย่าให้มากจนเกินขอบเขตจะเป็นผลร้าย มากกว่าผลดี * อย่าพูดเรื่องหยาบโลนหรือตลกสองแง่สองง่ามแม้จะเรียก เสียงฮาได้แต่ก็เป็นการลดค่าตัวเองให้ต่ำลง * ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมศาสนาและสิ่งที่คนทั่วไปเคารพสักการะอย่านำมาล้อเลียนพูดเล่นเป็นอันขาด * อารมณ์ขันที่ดีต้องสุภาพนิ่มนวลและแนบเนียนไม่นอกลู่นอกทาง
เอกสารอ้างอิง • พัชนี เชยจรรยา, เมตตา กฤตวิทย์ และถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์.แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์.กรุงเทพฯ:เจริญผล,2534. • ภูสิต เพ็ญสิริ.การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ. (เอกสารประกอบการบรรยาย),2549. • ประเสริฐ บุญเสริม.บทความศิลปะการพูด.(ออนไลน์)