270 likes | 541 Views
การดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรม ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ. โดย นายเฉลิมศักดิ์ จันทรทิม เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน.
E N D
การดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรม ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดย นายเฉลิมศักดิ์ จันทรทิม เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน ในการดำเนินการด้านจริยธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 244 (2) บัญญัติให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ ในการดำเนินการด้านจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา 279 วรรค 3 และมาตรา 280
มาตรา 279 มาตรฐานทางจริยธรรมของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท ให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมที่กำหนดขึ้น มาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง จะต้องมีกลไกและระบบในการดำเนินงาน เพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ
มาตรา 279 วรรค 3 การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินรายงานต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือสภาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี และหากเป็นการกระทำผิดร้ายแรงให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพิจารณาดำเนินการ โดยให้ถือเป็นเหตุที่จะถูกถอดถอนจากตำแหน่งตามมาตรา 270
มาตรา 280 เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามหมวดนี้ ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่เสนอแนะ หรือให้คำแนะนำในการจัดทำหรือปรับปรุงประมวลจริยธรรมตามมาตรา 279 วรรคหนึ่ง และส่งเสริมให้ผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีจิตสำนึกในด้านจริยธรรม รวมทั้งมีหน้าที่รายงานการกระทำที่มีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมเพื่อให้ผู้ที่รับผิดชอบในการบังคับการให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมตามมาตรา 279 วรรคสาม ในกรณีที่การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม มีลักษณะร้ายแรงหรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการดำเนินการของผู้รับผิดชอบจะไม่เป็นไปด้วยความเป็นธรรม ผู้ตรวจการแผ่นดินจะไต่สวนและเปิดเผยผลการไต่สวนต่อสาธารณะก็ได้
ผู้มีหน้าที่ต้องจัดทำประมวลจริยธรรมผู้มีหน้าที่ต้องจัดทำประมวลจริยธรรม 1. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 1.1 ระดับชาติ ได้แก่ ส.ส. / ส.ว. / ข้าราชการการเมือง 1.2 ระดับท้องถิ่น ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิก สภาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล 2. ข้าราชการแต่ละประเภท (แยกตามกฎหมายเกี่ยวกับข้าราชการแต่ละประเภท / หรือตามคณะกรรมการบริหารงานบุคคลแต่ละประเภท) 3. เจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท 3.1 รัฐวิสาหกิจ 3.2 องค์การมหาชน 3.3 องค์กรอิสระ / องค์กรตาม รธน. 3.4 เจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายอื่นๆ รัฐธรรมนูญมาตรา 304 บัญญัติให้ดำเนินการจัดทำประมวลจริยธรรมให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ (วันที่ 24 สิงหาคม 2550)
ภารกิจด้านจริยธรรมของผู้ตรวจการแผ่นดินภารกิจด้านจริยธรรมของผู้ตรวจการแผ่นดิน 1. เสนอแนะหรือให้คำแนะนำในการจัดทำหรือปรับปรุงประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ กำหนดมาตรฐานจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก 9 ประการ ซึ่งทุกองค์กรและหน่วยงานของรัฐจะต้องกำหนดไว้ในประมวลจริยธรรมของแต่ละองค์กรและหน่วยงาน ให้คำปรึกษาและข้อแนะนำในการจัดทำประมวลจริยธรรมเพื่อให้เป็นไปในแนวทางและมาตรฐานเดียวกัน เป็นศูนย์กลางข้อมูลประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐทั่วประเทศ โดยจัดทำระบบการจัดเก็บประมวลจริยธรรมของหน่วยงานต่างๆ เพื่อสะดวกแก่การสืบค้นข้อมูล
ค่านิยมหลัก (Core Value) ของมาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ • การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม • การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ • การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน • การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย • การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ • การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง • การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ • การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข • การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร
ภารกิจด้านจริยธรรมของผู้ตรวจการแผ่นดินภารกิจด้านจริยธรรมของผู้ตรวจการแผ่นดิน รายงานการกระทำที่มีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม เพื่อให้ผู้รับผิดชอบในการบังคับการให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรม ดำเนินการบังคับการให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรม ในกรณีที่การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม มีลักษณะร้ายแรง หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการดำเนินการของผู้รับผิดชอบจะไม่เป็นธรรม ผู้ตรวจการแผ่นดินจะไต่สวนและเปิดเผยผลการไต่สวนต่อสาธารณะก็ได้ 2.
5 6 1 2 3 4 การรายงานการกระทำที่มีการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม เห็นว่าไม่ ฝ่าฝืน ยุติ ส่งผู้รับผิดชอบในการบังคับการเพื่อดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรม ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีการร้องเรียน ตรวจสอบรายงาน เห็นว่าฝ่าฝืน กรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม และหากเป็นการกระทำผิดร้ายแรง ให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาดำเนินการ โดยให้ถือเป็นเหตุที่จะถูกถอดถอน รายงานผล การสอบสวน ส่งเรื่อง • การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมมีลักษณะร้ายแรง • มีเหตุอันควรเชื่อว่าการดำเนินการจะไม่เป็นธรรม ให้ผู้รับผิดชอบในการบังคับการ ให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรม ของหน่วยงานดำเนินการสอบสวน อาจไต่สวนและเปิดเผยผลการไต่สวนต่อสาธารณะ
ภารกิจด้านจริยธรรมของผู้ตรวจการแผ่นดินภารกิจด้านจริยธรรมของผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งเสริมให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐมีจิตสำนึกในด้านจริยธรรม 3. สร้างเครือข่าย จัดกิจกรรม จัดสัมมนา และฝึกอบรมร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ
แนวทางการสร้างเครือข่ายและประสานงานแนวทางการสร้างเครือข่ายและประสานงาน กับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกด้านจริยธรรม
กลุ่มต่างๆทางด้านจริยธรรมกลุ่มต่างๆทางด้านจริยธรรม สถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันชุมชน/สังคม สถาบันการเมืองการปกครอง เครือข่ายจริยธรรม อื่นๆ
บิดามารดาเป็นตัวอย่างที่ดีทางด้านคุณธรรมจริยธรรมแก่ลูก บิดามารดาเป็นตัวอย่างที่ดีทางด้านคุณธรรมจริยธรรมแก่ลูก • บิดามารดาประกอบสัมมาอาชีพ • ลูกมีความเคารพรักและเชื่อฟังบิดามารดา • ลูกหลานขยัน สนใจศึกษาเล่าเรียน และช่วยเหลืองานในบ้าน • ใช้หลักศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจเพื่อทำความดี • ปลูกฝังความเชื่อของเด็กในเรื่องความรู้คู่คุณธรรม หรือหากเป็นคนดีก็จะเรียนดีเอง • ญาติพี่น้องอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข อบอุ่น ผู้ใหญ่เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกหลาน • มีกิจกรรมด้านส่งเสริมจิตสำนึกด้านจริยธรรมร่วมกันตามสมควร • สิ่งแวดล้อมภายในบ้านต้องเอื้อต่อการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมแก่เด็ก • ให้ความสำคัญในการสั่งสอนหรือให้คำแนะนำด้วยเหตุด้วยผล มากกว่าการลงโทษรุนแรง • ฯลฯ สถาบันครอบครัว พ่อแม่ บุตรหลาน ญาติพี่น้อง กิจกรรม การอบรมสั่งสอน สิ่งแวดล้อม / เครือข่าย
รัฐมีนโยบายด้านคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาทุกระดับ • ครูอาจารย์ทุกคน ไม่ว่าจะสอนวิชาใด ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีทางด้านจริยธรรม • ครูอาจารย์ทุกคน ไม่ว่าจะสอนวิชาใด จะต้องสอดแทรกจริยธรรมในเนื้อหาวิชา ที่ตนรับผิดชอบด้วย • หลักสูตรการศึกษาทุกระดับ มีการสอดแทรกเรื่องจริยธรรม ทั้งที่เป็นวิชาหลัก และสอดแทรกไว้ในวิชาอื่นๆ • นอกจากคะแนนสอบแล้ว ใช้คุณสมบัติทางคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ในการพิจารณาคัดเลือกเข้าเรียนในสถานศึกษาในทุกระดับ • ผู้บริหารสถานศึกษา ให้ความสำคัญในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ทั้ง ครูอาจารย์ทุกคน บุคลากรในสถานศึกษา และนักเรียน • ผู้บริหารสถานศึกษา กำหนดนโยบายหลักเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมใน สถานศึกษา ตลอดจนทำตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรม • ในการส่งเสริมหรือมอบรางวัลให้แก่สถานศึกษา หรือให้แก่นักเรียน ให้พิจารณาถึง ผลงานทางด้านคุณธรรม จริยธรรม ของสถานศึกษาหรือนักเรียนโดยภาพรวมด้วย • สถานศึกษาต้องมีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม • ส่งเสริมให้สถานศึกษามีกิจกรรมเสริมหลักสูตรเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม โดยมุ่งเน้นความมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ครูอาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน • จัดประกวดโรงเรียนต้นแบบด้านจริยธรรม • ฯลฯ สถาบันการศึกษา สถาบัน ผู้บริหาร ครูอาจารย์ นักเรียน หลักสูตร / กิจกรรม เครือข่าย
องค์กรปกครองส่วนท้องที่ มีนโยบายด้านการบริหารงานและให้บริการ ประชาชนโดยมุ่งเน้นแนวทางคุณธรรมจริยธรรม • ผู้บริหารชุมชนทุกระดับ เป็นตัวอย่างที่ดีในด้านคุณธรรมจริยธรรม • สมาชิกในชุมชนและสังคมต้องช่วยกันสอดส่องดูแล กวดขัน และเฝ้าระวังเรื่อง การฝ่าฝืนคุณธรรมจริยธรรม • ชุมชนจัดกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมร่วมกันตามระยะอันสมควร โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในชุมชน • การชมเชย หรือมอบรางวัลแก่ชุมชน หรือสมาชิกในชุมชนที่มีความ โดดเด่นหรือสมควรได้รับการยกย่องทางด้านจริยธรรม • ฯลฯ สถาบันชุมชน / สังคม สถาบันในชุมชน ผู้บริหาร อปท. สมาชิกในชุมชน กิจกรรม การเฝ้าระวัง การยกย่องชมเชย
ร่วมกันสถาบันทางสังคมที่เกี่ยวข้อง ผลักดันให้คุณธรรมจริยธรรม เป็นวาระแห่งชาติ / แผนจริยธรรมระดับชาติ • ผู้นำทางศาสนา และบุคลากรทางศาสนา จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่ประชาชน • ผู้นำทางศาสนา และบุคลากรทางศาสนาทุกระดับ จะต้องเป็นหลักสำคัญในการ ปลูกฝังจิตสำนึกด้านจริยธรรมให้กับผู้คนในชุมชน • สร้างความผูกพันระหว่างสถาบันต่างๆ ในสังคมและสถาบันทางศาสนา โดยกิจกรรมต่างๆ ตามสมควร • กวดขัน สอดส่อง ดูแล มิให้บุคลากรทางศาสนา กระทำการฝ่าฝืนด้านคุณธรรม จริยธรรม • ปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมทางศาสนาที่เป็นการปลูกฝังคุณธรรมสจริยธรรม ให้เหมาะสม ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เข้าถึง และเข้าใจได้ง่าย • พัฒนาบุคลากรทางศาสนาในด้านเทคนิคการถ่ายทอดและปลูกฝัง คุณธรรมจริยธรรมให้เหมาะสมแก่ยุคสมัยและเนื้อหา • ฯลฯ สถาบันทางศาสนา ผู้นำทางศาสนา บุคลากร การเผยแพร่ การเฝ้าระวัง การพัฒนา กิจกรรม
สถาบันทางการเมือง ต้องมีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องคุณธรรม จริยธรรมของชาติ • ร่วมผลักดันคุณธรรมจริยธรรม เป็นวาระแห่งชาติ / แผนจริยธรรมของชาติ • ผู้นำทางการเมืองทุกระดับ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี ในด้านคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ประชาชนทั่วไป • ผู้นำทางการเมืองทุกระดับ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องกวดขันให้บริวาร และผู้ใกล้ชิด มีคุณธรรมจริยธรรม และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนทั่วไป • ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมอย่างเคร่งครัด • ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องปฏิบัติหน้าที่โดยเห็นแก่ประโยชน์ของชาติ มากกว่าประโยชน์ส่วนตน • สถาบันทางการเมือง ต้องกวดขัน และเฝ้าระวัง มิให้สมาชิกกระทำการ ฝ่าฝืนคุณธรรม จริยธรรม มีระบบการตรวจสอบและลงโทษอย่างเคร่งครัด • ฯลฯ สถาบันการเมืองการปกครอง นโยบาย นักการเมือง ผู้ใกล้ชิด กิจกรรม การเป็นตัวอย่างที่ดี / การเฝ้าระวัง เครือข่าย
เสริมสร้างเครือข่ายด้านจริยธรรมในทุกภาคส่วนและทุกระดับ เสริมสร้างเครือข่ายด้านจริยธรรมในทุกภาคส่วนและทุกระดับ • เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายในการดำเนินการด้านจริยธรรม ในความรับผิดชอบ • สร้างสรรค์กิจกรรมปลูกฝังจิตสำนึกด้านจริยธรรม ให้สมาชิกของเครือข่าย และประชาชนทั่วไป • เสริมสร้างความร่วมมือทั้งในเครือข่ายและนอกเครือข่าย เพื่อดำเนินการด้านปลูกฝังจิตสำนึกด้านจริยธรรม • ผู้นำเครือข่ายต้องประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีด้านจริยธรรมให้กับสมาชิกใน เครือข่ายและประชาชนทั่วไป • พิจารณาจัดกิจกรรมปลูกฝังจิตสำนึกด้านจริยธรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วม ของสถาบันต่างๆในสังคม และเครือข่ายอื่นๆ • ฯลฯ เครือข่ายด้านจริยธรรม สร้างเครือข่าย การพัฒนา ความร่วมมือ การเป็นตัวอย่างที่ดี กิจกรรม การมีส่วนร่วม / เครือข่าย
องค์ประกอบหลักของประมวลจริยธรรมองค์ประกอบหลักของประมวลจริยธรรม • มาตรฐานทางจริยธรรม • กลไกและระบบบังคับการ • 3. ขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรง
มาตรฐานทางจริยธรรม มาตรฐานทางจริยธรรม อันเป็นค่านิยมหลัก (Core Value) 9 ประการ มาตรฐานทางจริยธรรม ขององค์กร จรรยาวิชาชีพ (ถ้ามี)
กลไกและระบบบังคับการ กลไก ระบบบังคับการ
ขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรง การลงโทษ ความร้ายแรง แนวทางการพิจารณาความร้ายแรง
การประพฤติปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมจะถือเป็นการฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงหรือไม่ ให้พิจารณาจาก พฤติกรรมของการฝ่าฝืน ความจงใจหรือเจตนา มูลเหตุจูงใจ ความสำคัญและระดับตำแหน่งตลอดจนหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ฝ่าฝืน สภาพแวดล้อมแห่งกรณี อายุ ประวัติและความประพฤติในอดีต ผลร้ายอันเกิดจากการฝ่าฝืน เหตุอื่นอันควรนำมาประกอบการพิจารณา
ขอขอบคุณ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ อาคารบี ชั้น 5 เลขที่ 120 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 www.ombudsman.go.th