260 likes | 981 Views
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสาร. วิชา 1500117 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ตอนเรียน SL อังคาร 11 : 30 – 14 : 30. ผู้สอน อาจารย์ ดร.ภิรดี วัชรสินธุ์. วิชา 1500117 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ตอนเรียน SL อังคาร 11.30 – 14.30. เนื้อหา ความ หมายของการสื่อสาร องค์ประกอบของการสื่อสาร
E N D
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสาร วิชา 1500117ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารตอนเรียน SLอังคาร 11:30 – 14:30 ผู้สอน อาจารย์ ดร.ภิรดี วัชรสินธุ์
วิชา 1500117ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารตอนเรียน SLอังคาร 11.30 – 14.30 เนื้อหา ความหมายของการสื่อสาร องค์ประกอบของการสื่อสาร วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร ประเภทของการสื่อสาร อุปสรรคของการสื่อสาร
วิชา 1500117ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารตอนเรียน SLอังคาร 11.30 – 14.30 เนื้อหา ความหมายและความสำคัญของการฟัง กระบวนการฟัง ขั้นตอนการฟัง การฟังสารประเภทต่างๆ(การฟังบรรยาย ฟังอภิปราย ฟังคำสั่ง ฟังเพลง ฟังข่าว)
ความหมายของการสื่อสาร การสื่อสาร (communications) มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า communisหมายถึง ความเหมือนกันหรือร่วมกัน
ความหมายของการสื่อสาร การสื่อสาร (communication) หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่างๆ ได้แก่ การพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่างๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม (สุปรีดี สุวรรณบูรณ์, 2555)
บริบทในการสื่อสาร ที่มา: http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter1-1.html
ความสำคัญของการสื่อสารความสำคัญของการสื่อสาร • ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน ถ่ายทอด ถ่ายโอนข้อมูล ความรู้สึกนึกคิดระหว่างบุคคลในการปฏิบัติงาน การทำธุรกิจ และการดำรงชีวิตประจำวัน • ก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี • เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ
องค์ประกอบของการสื่อสารองค์ประกอบของการสื่อสาร 1. ผู้ส่งสาร (sender) แหล่งกำเนิดสาร ผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด 2. สาร (message) ข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ หรือเรื่องราวที่มีความหมาย แสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใดๆ ที่ทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้ เช่น ข้อความที่พูด ข้อความที่เขียน บทเพลงที่ร้อง รูปที่วาด เรื่องราวที่อ่าน ท่าทาง
องค์ประกอบของการสื่อสารองค์ประกอบของการสื่อสาร 3. สื่อหรือช่องทาง (media or channel) สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร 4. ผู้รับสาร (receiver)บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสารจากผู้ส่งสาร และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (reaction) ต่อผู้ส่งสาร หรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่นๆ ตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร
หลักของการสื่อสาร • การสื่อสารจะมีประสิทธิผล เมื่อผู้ส่งสาร ส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง ที่เหมาะสม ถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน • คำนึงถึงการใช้ทักษะทางภาษา เพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการสื่อความหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร
หลักของการสื่อสาร • คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา ถือเป็นการประเมินผลการสื่อสาร ที่จะทำให้คู่สื่อสารรับรู้ผลของการสื่อสารว่าประสบผลดีตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ • ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสารหรือสิ่งที่อยู่แวดล้อมที่มีส่วนในการกำหนดรู้ความหมายหรือความเข้าใจในการสื่อสาร รวมทั้งกรอบแห่งการอ้างอิง (frame of reference)ของแต่ละคน
วัตถุประสงค์ของการสื่อสารวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร • เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform) • เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education) • เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain) • เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade) • เพื่อเรียนรู้ (learn) • เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide)
ประเภทของการสื่อสาร จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร • การสื่อสารภายในตัวบุคคล (intrapersonal communication) • การสื่อสารระหว่างบุคคล (interpersonal communication) • การสื่อสารมวลชน (mass communication)
ประเภทของการสื่อสาร จำแนกตามการเห็นหน้ากัน • การสื่อสารแบบเผชิญหน้า (face to face communication) • การสื่อสารแบบไม่เผชิญหน้า (interposed communication)
ประเภทของการสื่อสาร จำแนกตามลักษณะการโต้ตอบ • การสื่อสารทางเดียว (one-way communication) • การสื่อสารสองทาง (two-way communication) จำแนกตามการใช้ภาษา • การสื่อสารเชิงวัจนภาษา (verbal communication) • การสื่อสารเชิงอวัจนภาษา (nonverbal communication) ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก http://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter1-5.html
อุปสรรคของการสื่อสาร • อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร • อุปสรรคที่เกิดจากสาร • อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อหรือช่องทาง • อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร