770 likes | 1.32k Views
การออกแบบ ระบบการเรียนการสอน. โดย อาจารย์สุวิ สาข์ เหล่าเกิด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะ ศิลป ศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. การออกแบบระบบการเรียนการสอน Instructional System Design.
E N D
การออกแบบระบบการเรียนการสอนการออกแบบระบบการเรียนการสอน โดย อาจารย์สุวิสาข์ เหล่าเกิด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
การออกแบบระบบการเรียนการสอนInstructional System Design เป็นการนำเอาวิธีระบบมาประยุกต์ใช้กำหนดรูปแบบ ของการวางแผนจัดการเรียนการสอน กล่าวคือ ในการวางแผนจัดการเรียนการสอนแต่ละครั้ง จะมีการพิจารณาที่ปัจจัย (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Output) และผลกระทบ (Impact)
ขั้นการวิเคราะห์ • 1 1. วิเคราะห์หลักสูตร โดยปกติ หลักสูตรจะมีจุดประสงค์ปลายทางของหลักสูตรแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 เรียกว่า ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2. วิเคราะห์ผู้เรียน เป็นการศึกษากลุ่มเป้าหมายที่จะใช้บทเรียนว่ามีคุณลักษณะอย่างไร เช่น ความสามารถทางการเรียนรู้ พื้นฐานความรู้ของผู้เรียน ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ความชอบเกี่ยวกับรูปแบบการเรียน ความกระตือรือร้นในการเรียน
3. วิเคราะห์เนื้อหา เมื่อทำการวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เราจะได้สาระการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กัน ในขั้นต่อไปผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จะต้องทำการวิเคราะห์เนื้อหาย่อย ๆ จัดทำเป็นผังมโนทัศน์ของผลการเรียนรู้ที่คาดหวังต่อไป
4. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการเรียน เช่น การเรียนทางไกลที่ผู้เรียนต้องเรียนจากบทเรียนแทนการเรียนการสอนในชั้นเรียน ซึ่งจะต้องออกแบบให้สมบูรณ์ที่สุด หากเป็นบทเรียนเสริมการเรียนในชั้นเรียนก็อาจไม่ต้องสมบูรณ์เท่า สภาพแวดล้อมอีกด้านหนึ่ง คือ ความพร้อม ความสมบูรณ์ และเพียงพอของฮาร์ดแวร์ ระบบเครือข่าย รวมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆที่เกี่ยวข้อง ผู้ออกแบบระบบต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ด้วย
5. วิเคราะห์ภาระงานหรือวิเคราะห์ภารกิจ ถือเป็นส่วนสำคัญมากในการออกแบบระบบการเรียนการสอน การกำหนดเนื้อหาและการแตกเนื้อหาที่ซับซ้อนออกเป็นเนื้อหาย่อย ๆ ที่เหมาะสม เพื่อจัดลำดับและเส้นทางการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการวิเคราะห์ทักษะที่ต้องการสอนอย่างครบถ้วน การวิเคราะห์ผู้เรียน วิเคราะห์สภาพแวดล้อม จะช่วยให้ผู้ออกแบบกำหนดลำดับกิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสม
ขั้นการออกแบบบทเรียน • 2 1. การกำหนดเป้าหมายของการเรียน จากการวิเคราะห์หลักสูตรหน่วยการเรียนรู้ จะสามารถเขียนเป็นจุดประสงค์ปลายทาง จะเป็นตัวกำหนดว่า เมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านบทเรียนนี้ไปแล้ว จะมีความรู้ความสามารถอย่างไรบ้าง ดังนั้น การประเมินผลผู้เรียนจะใช้จุดประสงค์เหล่านี้เป็นรายการในการประเมิน
2. การกำหนดเนื้อหา ขั้นตอนนี้เป็นการตัดสินใจเลือกเนื้อหาให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการสอนที่กำหนดไว้ ทำการวิเคราะห์เนื้อหา แยกย่อยเนื้อหาให้เป็นเนื้อหาย่อย ๆ จัดลำดับเนื้อหาตามลักษณะโครงสร้างของเนื้อหา พร้อมที่จะวิเคราะห์ภาระงานหรือกิจกรรมของผู้เรียนในขั้นตอนต่อไป
3. การกำหนดภารกิจ เป็นการกำหนดลำดับขั้นตอนของกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยอาศัยลำดับขั้นตามโครงสร้างของเนื้อหาเป็นหลัก วิธีการวิเคราะห์เพื่อกำหนดภารกิจอาจใช้วิธีการเขียน Conceptual Mapping ของหน่วยย่อยให้ชัดเจน
4. การกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เป็นการกำหนดพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดขึ้น เมื่อผู้เรียนเรียนจบบทเรียนโดยอาจเป็นจุดประสงค์ทางด้านความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการ หรือทางด้านเจตคติ โดยความสามารถที่เกิดขึ้นท้ายสุดเป็นผลรวมของความสามารถในขั้นต้น และความสามารถนั้นคือพฤติกรรมที่เราต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
4. การกำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
5. การออกแบบการประเมินผล แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ แบบทดสอบประจำหน่วย ได้แก่ ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบทดสอบประจำตอน ได้แก่แบบทดสอบที่วัดผลในเนื้อหาย่อยๆ ที่กำหนดไว้นั้นเอง
6. การสร้างแผนภูมิการเรียนรู้ เขียนแผนภูมิการเรียนรู้ของเนื้อหาต่าง ๆ ในรูปแบบของ Flow Chart
1. การเขียนสคริป • ขั้นการพัฒนาบทเรียน • 3 เป็นการจัดทำรายละเอียดการนำเสนอตามแบบที่กำหนดไว้ ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบการสอนจะต้องเขียนรายละเอียดของเนื้อหาเป็นกรอบ ตามแบบของการเขียน เพื่อกำหนดว่าจะใช้ข้อความ ภาพ เรื่อง สี ขนาด แบบตัวอักษร และการกำหนดปฏิสัมพันธ์อย่างไรบ้าง
2. การออกแบบบทดำเนินเรื่อง Storyboard 1. เป็นการออกแบบจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของเนื้อหาบทเรียน 2. แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมต่อระหว่างเนื้อหาแต่ละเฟรมและแสดงความสัมพันธ์ของการเชื่อมโยงบทเรียน
2. การออกแบบบทดำเนินเรื่อง Storyboard 3. แสดงปฏิสัมพันธ์ของเฟรมต่าง ๆ ของบทเรียน 4. แสดงรูปแบบการดำเนินบทเรียนว่าเป็นแบบเชิงเส้น หรือแบบสาขา 5. แสดงการดำเนินบทเรียนและวิธีการนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรม
3. การประเมินบทเรียน ควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาตรวจสอบ อย่างน้อย 3-5 คน
1. การเลือกโปรแกรมประยุกต์สำหรับผลิตบทเรียน • ขั้นการจัดทำบทเรียน ขั้นตอนการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่เหมาะสม เช่น ต้องการนำเสนอภาพ เสียง ตัวอักษร การทดสอบ การคิดคำนวณคะแนน ในรูปแบบใดบ้าง • 4
2. การจัดเตรียมทรัพยากร ได้แก่ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง หน้าจอ กระดาษ ฯลฯ
3. การจัดทำบทเรียน เมื่อออกแบบและการจัดเตรียมทรัพยากรพร้อมแล้ว ก็เป็นขั้นตอนนักพัฒนาโปรแกรม จะลงมือผลิตบทเรียนตามลักษณะโปรแกรมที่เลือกใช่ด้วยความประณีต ด้วยทักษะที่ดี
4. การจัดทำคู่มือการใช้ ควรประกอบด้วยบทนำ อุปกรณ์ที่ใช้งาน โปรแกรมพื้นฐานที่ต้องการ ข้อควรระวังของการใช้ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิต วันเดือนปี ที่ผลิต
ขั้นการประเมินบทเรียนขั้นการประเมินบทเรียน • 5