1 / 9

การคงไว้ ยกเลิก โทษประหารชีวิต

การคงไว้ ยกเลิก โทษประหารชีวิต. ความสำคัญและที่มาของปัญหา.

Download Presentation

การคงไว้ ยกเลิก โทษประหารชีวิต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การคงไว้ ยกเลิก โทษประหารชีวิต

  2. ความสำคัญและที่มาของปัญหาความสำคัญและที่มาของปัญหา รัฐจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการป้องกันสังคมให้สงบสุข โดยมีการตรากฎหมายกำหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดแต่การลงโทษผู้กระทำความผิดนั้นจะลงโทษหนักหรือเบานั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมก่อเหตุและสภาพความผิดที่หนักหรือเบาโดยเชื่อว่าการลงโทษผู้กระทำความผิดนั้นจะก่อให้เกิดผลดีต่อความสงบของสังคมอันจะทำให้อาชญากรรมลดลง การลงโทษผู้กระทำความผิดหรืออาชญากรนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธีซึ่งโทษตามประมวลกฎหมายอาญานั้นมีอยู่ 5 ประเภทคือประหารชีวิตจำคุกกักขังปรับริบทรัพย์สินแต่การลงโทษที่ถือว่าเป็นการกำจัดผู้กระทำความผิดหรืออาชญากรออกไปจากสังคมที่รุนแรงที่สุด คือ “โทษประหารชีวิต” โทษประหารชีวิตเป็นการลงโทษที่มีความรุนแรงที่สุดที่ใช้ต่อผู้การทำความผิดและถือได้ว่าเป็นการลงโทษที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งมีมาแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการลงโทษเพื่อเป็นการแก้แค้นทดแทนความผิดที่ได้กระทำขึ้นรวมทั้งยังเป็นการข่มขู่ยังยั้งและที่สำคัญที่สุดคือการตัดโอกาสการกระทำผิดซ้ำอันเป็นการกำจัดผู้กระทำผิดออกไปจากสังคมอย่างเด็ดขาดด้วยวิธีการฆ่าหรือวิธีกระทำถึงแก่ความตาย

  3. การประหารชีวิตในสมัยโบราณการประหารชีวิตในสมัยโบราณ โทษประหารชีวิต 21 สถาน • สถาน 1 คือ ให้ต่อยกระบานศีศะ (กบาลศีรษะ) เลิกออก (เปิดออก) เสียแล้ว เอาคีมคีบก้อนเหล็กแดงใหญ่ใส่ลงไปในมันสะหมอง (มันสมอง) ศีศะพลุ่งฟู่ขึ้นดั่งม่อ (หม้อ) เคี่ยวน้ำส้มพะอูม • สถาน 2 คือ ให้ตัดแต่หนังจำระ (จาก) เบื้องหน้าถึงไพรปากเบื้องบนทั้งสองข้างเป็นกำหนด ถึงหมวกหู (ใบหู) ทั้งสองข้างเป็นกำหนด ถึงเกลียวคอชายผมเบื้องหลังเป็นกำหนด (หนังบริเวณคอถึงท้ายทอย) แล้วให้มุ่นกระหมวดผมเข้าทั้งสิ้น (ม้วนเข้าหากัน) เอาท่อนไม้สอดเข้าข้างละคน โยกคลอนสั่นเพิกหนังทั้งผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายหยาบขัดกระบานศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์ • สถาน 3 คือ ให้เอาขอเกี่ยวปากให้อ้าไว้ แล้ให้ตามประทีบ (ดวงไฟ) ไว้ในปาก ไนยหนึ่ง (นัยหนึ่ง) เอาปากสิวอันคมนั้นแสะแหวะผ่าปากจนหมวกหู (ใบหู) ทั้งสองข้าง แล้วเอาขอเกี่ยวให้อ้าปากไว้ให้โลหิตไหลออกเต็มปาก • สถาน 4 คือ เอาผ้าชุบน้ำมันพันให้ทั่วร่างกายแล้วเอาเพลิงจุด • สถาน 5 คือ เอาผ้าชุบน้ำมันพันนิ้วทั้งสิบนิ้วแล้วเอาเพลิงจุด

  4. การประหารชีวิตในสมัยโบราณ (ต่อ) การประหารชีวิตด้วยวิธีบั่นคอ • เพชฌฆาต • “ เพชฌฆาต ” นั้นเป็นตำแหน่งที่โปรดเกล้าพระราชทานให้แก่ผู้มีดวงอันเหมาะสมโดยจะมีบรรดาโหราจารย์นำดวงชะตาไปคำนวณอย่างละเอียดเพื่อประกอบในการคัดเลือกและเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญเพลงดาบอย่างดี ทั้งมีความรู้เกี่ยวกับดาบ มีความแม่นยำในการลงดาบ เพื่อขณะทำการประหารจะได้ไม่เป็นการทรมานนักโทษจนเกินไป และผู้เป็นเพชฌฆาตจะต้องมีความรู้ทางด้านคาถาอาคมเป็นพิเศษด้วยเช่น คาถาสวดวิญญาณผีตายโหง อาคมก่อนหยิบดาบเพชฌฆาต รวมทั้งสามารถแก้อาถรรพณ์หากผู้ถูกประหารมีวิชาด้านคงกระพันชาตรี เพชฌฆาตผู้ทำหน้าที่ประหารชีวิตมี 3 คน คือ ดาบที่หนึ่ง และตัวสำรองอีก 2 คน เรียกว่า ดาบสอง และ ดาบสาม ถ้าดาบหนึ่งฟันคอไม่ขาด ดาบสองจะต้องซ้ำ ถ้ายังไม่ขาดดาบสามก็ต้องเชือดให้ขาด ดาบเพชฌฆาต ดาบหนึ่งจะมีความสั้นกว่าดาบสอง ใบดาบจะกว้างกว่าดาบสอง ทั้งด้ามดาบก็สั้นกว่า สันดาปจะหนาประมาณ ๑ ซ.ม. ส่วนด้ามดาบประกอบด้วยเหล็กรัด ใช้เชือกด้ายดิบถักหุ้มด้วยลวดลายรัดกุมเพื่อให้สาก ถนัดในการดาบสอง ใบดาบจะยาวกว่าดาบหนึ่งประมาณ ๘ ซ.ม. ใบดาบเรียวคล้ายดาบที่นักรบไทยโบราณทั่วไปใช้ ปลายดาบเฉียงต่ำรับกับความโค้งของใบดาบด้านล่าง สันดาปบางประมาณ ๐.๗ ซ.ม.

  5. การประหารชีวิตสมัยปัจจุบันการประหารชีวิตสมัยปัจจุบัน การประหารชีวิตด้วยการฉีดยา การประหารซึ่งจะเริ่มเวลาเที่ยงคืนตรง เมื่อใกล้ถึงเวลาประหาร เจ้าหน้าที่จะนำตัวนักโทษประหารจากห้องขังไปที่ห้องประหาร แต่แทนที่จะนำนักโทษประหารไปยืนตรึงกับหลักประหารก็เปลี่ยนเป็นการให้นอนบนเตียงประหาร ตรึง และผูกด้วยสายหนัง ทั้งขา ลำตัว และแขนทั้ง 2 ข้าง ซึ่งอยู่ในท่ากางออกทำให้ไม่สามารถดิ้นได้ ยาที่ใช้ในการประหารชีวิต ยาที่ใช้ฉีดจะมี Sodium Penrotha1 ในสารละลาย 20-25 cc Pancuronium bromide 50 cc และ Pentas-sium chloride 50 cc ยาดังกล่าว นี้เป็นผลมาจากการวิจัยของ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเท็กซัส ว่าจะให้ผลอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ยาที่ใช้ฉีดไม่ใช่ยาพิษ แต่เป็นยาทั่วไป ซึ่งถ้าให้เกินขนาดก็จะมีผลทำให้ตายได้โดยจะต้องมีประมาณที่มากพอสมควรต้องค่อยๆ ปล่อยเข้าไปในเส้นเลือด และใช้ถึง 3 ชนิด ดังนั้นที่กลัวกันว่าจะนำยานี้ใส่เข็มแล้วไปจิ้มคนทั่วไปนั้น จะไม่เป็นอันตรายใดๆ และหากจะทำให้ผู้อื่น ถึงแก่ความตายก็ใช้ยาพิษอื่นๆ จะไม่ยุ่งยากเท่าวิธีดังกล่าวนี้ ขั้นตอน และ ระเบียบปฏิบัติ การฉีดยา เข็มแรกจะปล่อยยา Sodium thiopental เข้าไปให้หลับก่อน จากนั้นจึงปล่อยเข็มที่2 Pancuronium bromide และ เข็มที่3 Potassium chloride ตามลำดับ เพื่อให้หัวใจหยุดสูบฉีดโลหิตภายในไม่ถึงนาที เมื่อนักโทษแสดงอาการแน่นิ่งไป ผู้บัญชาการเรือนจำจะขอให้นายแพทย์ของเรือนจำเข้าตรวจยืนยันการตายของผู้ต้องขังและประกาศเวลาตายต่อหน้าพยานรวมใช้เวลาในการดำเนินการตามขั้นตอนนี้ทั้งสิ้นประมาณ 20-30 นาทีผู้แทนจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร จะพิมพ์ลายนิ้วมืออีกครั้ง และเคลื่อนย้ายศพของนักโทษไปห้องเก็บศพต่อไป

  6. การนำมาใช้ในประเทศไทยการนำมาใช้ในประเทศไทย สำหรับในประเทศไทยหากมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการประหารมาเป็นการฉีดยานั้น ขั้นตอนการประหารจะแตกต่างจากในสหรัฐเพราะการประหารชีวิตของไทยจะกระทำโดยทันทีที่ได้รับคำสั่ง โดยปกติจะเป็นเวลาเย็น นักโทษประหารจะไม่รู้ตัวล่วงหน้า เมื่อเจ้าหน้าที่เดินเข้าไปในแดนประหารและนำตัวผู้ใดออกมา เมื่อนั้นจึงจะรู้ตัว และเมื่อผ่านพิธีการด้านการตรวจสอบบุคคล พิธีกรรมทางศาสนาและอื่นๆแล้ว จะถูกนำตัวเข้าสู่แดนประหารซึ่งในช่วงนี้แทนที่จะเป็นการนำไปผูกกับหลักประหาร ก็เปลี่ยนเป็นการนำไปสู่เตียงประหาร นั่นเอง

  7. ข้อดี - ข้อเสียของการลงโทษประหารชีวิต ในส่วนข้อดีนั้น โทษประหารชีวิตเป็นเพียงวิธีเดียวเท่านั้นที่จะกำจัดอาชญากรผู้เป็นภัยออกจากสังคมเด็ดขาด โดยอาชญากรผู้นั้นจะไม่สามารถหวนกลับไปก่อเหตุร้ายได้อีก ไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูและทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมมีความยำเกรงกลัวต่อโทษประหารชีวิตและไม่กล้าทำความผิดที่มีลักษณะรุนแรงทำลายล้างต่อชีวิตผู้อื่น อันเป็นการป้องกัน

  8. การยกเลิกโทษประหารชีวิตในต่างประเทศการยกเลิกโทษประหารชีวิตในต่างประเทศ ในต่างประเทศที่เห็นด้วยที่ให้มีการยกโทษประหารชีวิตผู้กระทำความผิดแม้จะมีการก่อเหตุร้ายรุนแรงก็ตาม เพราะว่าการลงโทษประหารชีวิตเป็นการลงโทษที่ทารุณโหดร้ายและรุนแรงเกินไป ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้วมี 88 ประเทศ ปัจจุบันมีประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตไปแล้วอยู่ 100 ประเทศ ประเทศล่าสุดที่ยกเลิกคือมาดากัสการ์ เลิกในปี 2012 ซึ่งในปีนั้นเองมีสี่ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิต คือเบนิน มองโกเลีย ลัตเวีย และมาดากัสการ์

  9. ควรยกเลิกโทษประหารชีวิตในสังคมไทยหรือไม่ ? ด้วยเหตุที่ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศหนึ่งที่ยังคงใช้กฎหมายที่มีโทษประหารชีวิตอยู่แต่ทุกครั้งที่มีการประหารชีวิตเกิดขึ้นก็มักจะมีเสียงคัดค้านและเรียกร้องจากฝ่ายที่อ้างถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนได้ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีเสียงเรียกร้องในสังคมจากหลายๆ ฝ่าย ที่ต้องการให้มีการคงไว้ซึ่งโทษประหารชีวิตอยู่คู่สังคมไทย เพราะเป็นมาตรการที่สามารถป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพ สามารถยับยั้งการกระทำความผิดได้และผู้ที่กระทำความผิดจะต้องได้รับผลตอบแทนในสิ่งที่ตนกระทำไป

More Related