E N D
การวิจารณ์ ตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำว่า วิจาน, วิจาระนะ, วิจาน ก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็น ศิลปกรรมหรือ วรรณกรรม เป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่นเขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่นคนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
การวิจารณ์ การพิจารณาเทคนิคหรือกลวิธีที่แสดงออกมานั้น ให้เห็นว่าน่าคิด น่าสนใจ น่าติดตาม มีชั้นเชิงยอกย้อนหรือตรงไปตรงมา องค์ประกอบใดมีคุณค่าน่าชมเชย องค์ประกอบใดน่าท้วงติงหรือบกพร่องอย่างไร การวิจารณ์ สิ่งใดก็ตามจึงต้องใช้ความรู้ มีเหตุมีผล มีหลักเกณฑ์และมีความรอบคอบด้วย ตามปกติแล้ว เมื่อจะวิจารณ์สิ่งใด จะต้องผ่านขั้นตอนและกระบวนการของการวิเคราะห์สาร วินิจสาร และประเมินค่าสาร ให้ชัดเจนเสียก่อนแล้ว จึงวิจารณ์แสดงความเห็นออกมาอย่างมีเหตุมีผลให้น่าคิด น่าฟังและเป็นคำวิจารณ์ที่เชื่อถือได้สารที่ได้รับจากการฟังมีมากมาย แต่ก็ได้รับเป็นประจำในชีวิตประจำวัน
ประเภทของงานวิจารณ์ แบ่งตามการวิจารณ์ 1.จิตวิจารณ์ เป็นการวิจารณ์ตามความรู้สึกนึกคิดของผู้วิจารณ์ 2.อรรถวิจารณ์ เป็นการตีความ • วิจารณ์ตามเนื้อหาสาระและสรุปผล • สรุปงานแล้วเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อย 3.วิพากษ์วิจารณ์ เป็นการวิจารณ์เชิงตัดสิน • อาจใช้แบบอย่างที่ผ่านมาเป็นเครื่องวัด • หรืออาจใช้ความรู้สึกชอบไม่ชอบ
แบ่งตามเรื่องวิจารณ์ 1 การวิจารณ์ทางวิชาการ เป็นการวิจารณ์ผลงานสาขาวิชาต่างๆโดยนำหลักการในศาสตร์นั้นมาเป็นเกณฑ์ 2การวิจารณ์เชิงข่าว เป็นการวิจารณ์ข่าว อาทิ การแข่งขันกีฬา 3การวิจารณ์วรรณกรรม • ระดับง่าย เป็ฯการให้ผู้อ่านได้รู้จักหนังสือหรือข้อเขียน • ระดับลึก เป็นการพินิจพิเคาระห์คุณค่าในแง่ต่างๆ 4การวิจารณ์ทั่วไป • วิจารณ์การแสดง ละคร ดนตรี ภาพยนตร์ • วิจารณ์รายการต่างๆทางสื่อมวลชน • วิจารณ์งานศิลปกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพถ่าย
การวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ 1.การมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่วิจารณ์
2.การเขียนทางลึกและการค้นหาด้วยสมมุติฐาน 3.การใช้เหตุและผลด้วยความเที่ยงธรรม
การเขียนบทความ บทบรรณาธิการ และบทวิจารณ์ที่ไม่สร้างสรรค์ • การทำตัวเป็นผู้พิพากษา • การใช้ถ้อยคำหยาบคายและก้าวร้าว • การตำหนิและคัดค้านโดยไม่มีการเสนอแนะ • การอวดตัวเป็นผู้รู้ • การใช้คำว่า"ต้อง"และ"อย่า"
การมีอคติต่อสถาบันและบุคคล • การเขียนถึงบุคคลที่สามซึ่งอาจจะนำมาซึ่งความเสียหาย • การใช้สำนวนที่ผิดความหมาย • การใช้วรรคตอน คำย่อ นาม และสรรพนามไม่ถูกต้อง • การเขียนโดยผิดหลักภาษา
3.บทวิจารณ์ เป็นงานเขียนที่แสดงความเห็นต่อสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรม เป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีความงามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมได้ดีมากสมควรได้รับรางวัล,ติชม,มักใช้คำเต็ม ว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้า ทำให้คนดูเบื่อ(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาณ2542 1072)
วิจารณ์ที่เน้นการพิจารณาการแสดงเป็นหลัก ตัวอย่างที่ 1 การวิจารณ์การแสดง โดยหมายรวมถึงการสื่อสารตัวบทเป็นหลักการเขียนบทวิจารณ์ประเภทนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้วิจารณ์ จะต้องชมการแสดง โดยอาจจะไม่ต้องเคยอ่าน หรือติดตามไปศึกษาตัวบทภายหลังจากการชมการแสดงก็ได้ การวิจารณ์แนวทางนี้ จะมีลักษณะที่เป็นปัจเจกอยู่พอสมควร คือ วิจารณ์ว่า ตนชอบการแสดงหรือไม่ เพราะเหตุใด ทั้งนี้เพราะ “หลักเกณฑ์พื้นฐานเริ่มที่ความจริงใจต่อความรู้สึกของผู้วิจารณ์เองเป็นประการแรก ไปดูละครมาแล้ว ถ้าชอบก็บอกว่าชอบ ไม่ชอบก็บอกว่าไม่ชอบ ง่าย ๆ สบาย ๆ จากนั้นค่อยหาเหตุผลต่อ ว่าทำไมถึงชอบหรือไม่ชอบ แล้วแสดงเหตุผลหรือเสนอเหตุผลนั้นออกมา”
ตัวอย่างที่ 2 • เรื่อง แฮมเล็ต หรือ ควล้มเหลวของอุดมศึกษาไทย ของ คณะละครสองแปดผู้เขียนคือ ศาสตราจารย์ พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช • การวิจารณ์รายละเอียดเกี่ยวกับตัวบทรวมไว้ด้วย แต่เห็นได้ชัดว่า เน้นการประเมินค่าการแสดงเป็นสำคัญ กล่าวคือ เนื้อหาหลักของบทวิจารณ์ มุ่งวิพากษ์ ส่วนประกอบของการแสดง เป็นประเด็นต่าง ๆ เช่น ฉาก แสง เสียง การแสดงของผู้แสดง และการกำกับการแสดง เป็นต้น
ดังบทวิจารณ์ ที่ผู้เขียนบทวิจารณ์แนะนำตัวเองให้ผู้อ่านรู้จักว่า “ผมเป็นครูภาษาต่างประเทศ สอนวรรณคดีตะวันตกมากว่า 25 ปี สำหรับแฮมเล็ตนั้น ผมก็เคยได้รับมอบหมายให้สอน ผมจึงอดคิดไม่ได้ว่าที่แฮมเล็ต ของ "สองแปด" แสดงออกมาในรูปนี้ เราคงจะไม่ต้องสงสัยกันเลยว่า ครูภาษาต่างประเทศ ครูภาษาตะวันตก ตั้งแต่รุ่นพ่อ รุ่นพี่ รุ่นผม มาจนถึงรุ่นลูกศิษย์ผมประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง” เป็นต้น
วิจารณ์ที่หักหาญน้ำใจผู้แสดง เป็นการไม่พึงกระทำอย่างยิ่ง • โดยเฉพาะบทของนางสีดา ซึ่งรับบทโดย ภัสสริกา แสงประเสริฐ ดาวมหาวิทยาลัยนั้น เป็นตัวละครที่มีจุดบกพร่องในเรื่องของการแสดงออก เป็นอย่างมาก นอกจากความสวยงามแล้ว เธอไม่ได้นำเสนอสิ่งใดต่อผู้ชม เลย ความหลากหลายทางอารมณ์ของเธอหล่นหายไป และเป็นบทที่ผู้กำกับ น่าจะให้รายละเอียดมากกว่านี้ เพราะนี่คือผลงานที่แตกต่างจากมิวสิควิดีโอ ที่มุ่งแต่จะเอาสวยเข้าว่าไว้ก่อน หรือไม่เช่นนั้นก็ควรที่จะปล่อยเธอให้เป็นดาวค้างฟ้าของมหาวิทยาลัยอยู่ต่อไป...
การใช้ถ้อยคำภาษาของการวิจารณ์ มิได้แตกต่างจากการใช้ภาษาถ้อยคำ ในการเขียนบทวิจารณ์วรรณกรรมประเภทอื่น กล่าวคือ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเสนอบทวิจารณ์ นั้น ด้วยถ้อยคำภาษาที่นุ่มนวล ไม่แสดงอารมณ์ที่ก้าวร้าว และใช้ถ้อยคำดูถูกภูมิปัญญาของคณะผู้จัดการแสดงนั้น ๆ ผู้วิจารณ์ต้องรำลึกอยู่เสมอว่า คณะผู้จัดการแสดงซึ่งเป็นผู้สร้างงาน ย่อมเป็น ผู้มีความลึกซึ้งใกล้ชิดกับตัวบทมากกว่าผู้วิจารณ์ นอกเสียจากว่า ผู้วิจารณ์จะเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชำนาญ ในตัวบทนั้น ๆ อย่างแท้จริง จึงจะสามารถแสดงภูมิรู้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านบทวิจารณ์ และคณะผู้จัดแสดง เพื่อการแก้ไขปรับปรุงต่อไป