630 likes | 771 Views
วาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในภาคราชการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศ.ดร. ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี.
E N D
วาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในภาคราชการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ศ.ดร. ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
“ข้าราชการผู้ปฏิบัติบริหารงานของแผ่นดิน จะต้องตั้งใจปฏิบัติหน้าที่โดยเต็มกำลังความสามารถด้วยอุดมคติ ด้วยความเข้มแข็งเสียสละและระมัดระวังให้การทุกอย่างในหน้าที่เป็นไปอย่างถูกต้อง และเที่ยงตรงเป็นกลาง ด้วยความระลึกรู้ตัวอยู่เสมอว่า การปฏิบัติตัว ปฏิบัติงานของตนมีผลเกี่ยวเนื่องถึงประโยชน์ส่วนรวมของบ้านเมืองและของประชาชนทุกคน” พระบรมราโชวาทพระราชทาน เนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน ปีพุทธศักราช 2543 วันที่ 30 มีนาคม พุทธศักราช 2543
หลัก 4 ป. ในการบริหารประเทศของ ฯพณฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 1. “เป็นธรรม”หมายถึง การมีการปฏิบัติอย่างมีความระมัดระวัง ให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างถูกต้อง และ เที่ยงตรงเป็นกลาง การปฏิบัติราชการที่มุ่งเน้นถึงความต้องการและความพึงพอใจของประชาชนตลอดรวมไปถึงการรับฟังและการจัดการกับเรื่องราวร้องทุกข์ โดยอำนวยความสะดวกให้เกิดความเสมอภาคต่อประชาชนทุกกลุ่ม
ความหมายของ หลัก 4 ป. ของนายกรัฐมนตรี 2. “โปร่งใส”หมายถึง การดำเนินงานและการตัดสินใจที่เปิดเผย เพื่อสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของบุคคลในชาติ ทั้งนี้รวมถึง ส่วนราชการเปิดเผยข้อมูลทุกขั้นตอนในการปฏิบัติภารกิจ เพื่อให้ประชาชนรู้และเข้าใจวิธีการดำเนินงานและขั้นตอนการดำเนินงานว่าเป็นอย่างไร และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทในการในการปรึกษาหารือร่วมกันในการวางแนวทางในการแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ
ความหมายของ หลัก 4 ป. ของนายกรัฐมนตรี 3. “ประสิทธิภาพ”กล่าวคือ มีการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องในกระบวนงานเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณเพิ่มขึ้น
ความหมายของ หลัก 4 ป. ของนายกรัฐมนตรี 4. “ประหยัด”หมายถึง การปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า กล่าวคือ การตระหนักไว้อยู่เสมอว่า สิ่งที่ปฏิบัติและการดำเนินการเป็นเงินภาษีอากรของประชาชน เราอยู่ได้เพราะได้รับความไว้วางใจ และประชาชนเชื่อว่าระบบราชการจะสนองตอบต่อประโยชน์ส่วนรวม ทั้งนี้อาจกระทำได้โดยการพจารณาในเชิงเปรียบเที่ยบระหว่างปัจจัยนำเข้า กับ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น โดยมีการทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้และความคุ้มค่าของแผนงานหรือโครงการต่าง ๆ
สัจธรรม • ความจริง ความรู้และศีลธรรม ยิ่งใช้ ยิ่งเพิ่ม • เงิน ทรัพยากร และอำนาจ ยิ่งใช้ ยิ่งหมด • ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม งอกงามเพิ่มพูนจากความสัมพันธ์ตามแนวขวาง • ความชั่วร้าย อำนาจดิบ ความป่าเถื่อนเพิ่มพูนจากความสัมพันธ์ตามแนวดิ่ง
จริยธรรมของผู้นำผู้กำหนดนโยบายจริยธรรมของผู้นำผู้กำหนดนโยบาย • ดี สุจริต ซื่อสัตย์ เที่ยงธรรม • มีคุณธรรม • มีความสามารถ • มีความเป็นกลางทางการเมือง • มีทศพิธราชธรรม • มีประชาธรรม
จริยธรรมของผู้นำทางการเมืองจริยธรรมของผู้นำทางการเมือง • ไม่คอรัปชั่น • ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน • ไม่ใช้อำนาจไปในทางที่ไม่ถูกต้องดีงาม • ไม่หลีกเลี่ยงการเสียภาษี • มีสำนึกรับผิดรับชอบตอการตัดสินใจ • เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้
จริยธรรมของผู้นำ: สำนักคิดนิติศาสตร์ • โปร่งใส • ไม่ละเลยต่อการทำหน้าที่ • ไม่เลือกปฏิบัติ • สุจริต • เป็นกลาง • ไม่ละเมิดสิทธิของประชาชน
จริยธรรมของผู้นำ: สำนักคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ • มุ่งสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง • มีจิตคิดเยี่ยงผู้ประกอบการ • มุ่งเน้นที่ลูกค้า • จัดการบริการที่รวมศูนย์ • มุ่งเน้นผลงาน • ไม่ทำเองหากไม่จำเป็น • มีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
จริยธรรมของผู้นำ: สำนักการจัดการความรู้ • ส่งเสริมวัฒนธรรมกล้าคิด กล้าเสี่ยง กล้าริเริ่ม • ส่งเสริมวัฒนธรรมการเล่าสู่และแบ่งปัน (Story Telling) • ทำงานเป็นทีม • เป็นมิตรกับความรู้ (Knowledge-friend Culture) • สร้างคนเก่งเป็นแหล่งความรู้ (Knowledge Worker) • สร้างชุมชนของการปฏิบัติ (Community of Practice)
จริยธรรมของผู้นำ: สำนักชุมชนเข้มแข็ง • มีศาสนาธรรม • พึ่งตนเอง เชิดชูภูมิปัญญาชาวบ้าน • วิสาหกิจชุมชน หนุนนำความสามัคคี • ความเป็นไทย • ความรับผิดชอบต่อสังคม
จริยธรรมของผู้นำ:แนวคิดI AM READY • ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี (Integrity) • ขยันตั้งใจทำงาน (Activeness) • มีศีลธรรม คุณธรรม (Morality) • ปรับตัวทันโลกตรงกับสังคม (Relevancy) • มีประสิทธิภาพ (Efficiency) • รับผิดรับชอบต่องานต่อสังคม (Accountability) • มีจิตประชาธิปไตย โปร่งใส มีส่วนร่วม (Democracy) • มุ่งเน้นผลงาน (Yield)
ทางสายกลาง พอประมาณ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีเหตุผล นำสู่ ชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม สมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน คุณลักษณะทั่วไปของผู้นำ: ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เงื่อนไขความรู้(รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) เงื่อนไขคุณธรรม(ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน แบ่งปัน)
Financial Perspective Long-term Shareholder Value Productivity Revenue Growth High Performance Organization เก่ง ดี Customer Perspective Highly Ethical Organization Partnership Price Quality Time Function Brand ภายนอก Integrity/Social Responsibility มีความรับผิดชอบต่อประชาชน/สังคม มีสุจริตธรรม + กล้ายืนหยัดต่อสู้กับสิ่งผิด Internal Process Perspective Learning and Growth Perspective มีความเป็นธรรม ไม่ลำเอียง (ผู้บริหาร) ค่าชีวัดตามบัตรคะแนนสมดุล (BSC) ยึดมั่นในจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ Manage Operations Manage Customers Manage Innovation Manage Regulatory & Social Process Compliance ปราศจากการทุจริตและประพฤติมิชอบ ปลอดจากการกระทำผิดวินัยและการละเมิดกฎหมาย ค่าชี้วัดด้านจริยธรรมและธรรมาภิบาล (Ethics Measurement) ภายใน Information Capital Social Capital Human Capital + +
Tools • Exemplary leadership • Ethics Training • Codes and Oaths • Ethics Audits • Human Resources Management
Walk-the-Talk • Effective ethical managers must demonstrate through their behavior that they believe what they say. • Hillsborough County, Florida • Mayor Steve Brown, Peachtree City
Ethics Training • Ethics training was a cottage industry in the United States a short while ago. No longer–it is now a big time enterprise in both the private and public sectors. • the compliance model vs the integrity model
City/County Experiences • Should formal or informal ethics management strategies be adopted? • How much ethics training is taking place among cities in this population category?
Ethics Training in the States • Ethics training in the states lags behind federal and local government ethics training initiatives.
Codes and Oaths • Public officials, elected and appointed, typically express a very positive attitude toward codes of ethics. The conventional wisdom is that codes have a positive influence in governance, especially in deterring unethical acts by ethically motivated public servants.
Ethics Audits • Although not widely employed in the public sector in the United States, an ethics audit can prove to be a very useful tool for public managers.
Ethics Audits--illustrations U.S. Office of Government Ethics Audit United Nations Ethics Audit
Human Resources Management • Hiring • Annual Evaluations • Promotions • Ethics Counselors
Conclusion • Public administrators must use all tools available to them to put into place a comprehensive and integrated ethics management program. • No single tool is more effective than another.
Financial Perspective Long-term Shareholder Value Productivity Revenue Growth High Performance Organization เก่ง ดี Customer Perspective Highly Ethical Organization Partnership Price Quality Time Function Brand ภายนอก Integrity/Social Responsibility มีความรับผิดชอบต่อประชาชน/สังคม มีสุจริตธรรม + กล้ายืนหยัดต่อสู้กับสิ่งผิด Internal Process Perspective Learning and Growth Perspective มีความเป็นธรรม ไม่ลำเอียง (ผู้บริหาร) ค่าชีวัดตามบัตรคะแนนสมดุล (BSC) ยึดมั่นในจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ Manage Operations Manage Customers Manage Innovation Manage Regulatory & Social Process Compliance ปราศจากการทุจริตและประพฤติมิชอบ ปลอดจากการกระทำผิดวินัยและการละเมิดกฎหมาย ค่าชี้วัดด้านจริยธรรมและธรรมาภิบาล (Ethics Measurement) ภายใน Information Capital Social Capital Human Capital + + การริเริ่มที่ส่งผลสำเร็จเร็ว นอกจากสามารถดำเนินการโดยต่อยอดจากสิ่งที่หน่วยงานได้ดำเนินการอยู่แล้ว ยังช่วยพัฒนาบุคลากรและองค์กรไปสู่ความเก่งและความดี ขับเคลื่อนด้วยแผนงาน-โครงการตามคำของบประมาณ ขับเคลื่อนด้วยโครงการริเริ่มที่ส่งผลสำเร็จเร็ว (Quick Win Initiative) ด้านจริยธรรมและธรรมาภิบาล
คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในภาคราชการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำรงชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี ซึ่งเป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางในการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในแนวทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา เป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลามุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤตแลเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา โดยการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน โดยเงื่อนไขคุณธรรมที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย
คุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในภาคราชการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง • มีความตระหนักในคุณธรรม • มีความซื่อสัตย์สุจริต • มีความอดทน • มีความเพียร • ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต • ไม่โลภและไม่ตระหนี่
การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับการพัฒนาระบบราชการเพื่อมุ่งเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในภาคราชการนั้น มีเป้าหมายเพื่อมุ่งหวังให้ภาคราชการทำงานด้วยความตระหนักในหลักคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต ทำงานด้วยความโปร่งใส ประหยัด เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีจิตสำนึกเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน รัฐบาลนำแนวคิดและเป้าหมายมากำหนดเป็นวาระแห่งชาติด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ในภาคราชการ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ จะใช้กลไกของรัฐที่มีอยู่ผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งระบบและส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน
วาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและ ธรรมาภิบาลในภาคราชการ รัฐบาลได้ประกาศเจตนารมย์อย่างจริงจังดังคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2549 ในการแก้ไขปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง รวมถึงปัญหาความเสื่อมศรัทธาในการบริหารราชการแผ่นดิน ทำให้มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะฟื้นฟูระบบคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและการขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดินตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
วาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและ ธรรมาภิบาลในภาคราชการ วาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในภาคราชการเป็นไปเพื่อทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจและไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลและหน่วยงานภาคราชการ รวมถึงตัวข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในทุกระดับ โดยเฉพาะการใช้อำนาจรัฐและการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน ทั้งนี้ การบริหารราชการแผ่นดินจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประเทศและประชาชนเป็นสำคัญ
วาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมฯ ครอบคลุมยุทธศาสตร์และมาตรการต่าง ๆ อย่างสมดุล ทั้งใน 2 แนวคิดแนวทาง 1. การผลักดันให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและประมวลจริยธรรม/จรรยาบรรณอย่างจริงจัง (Compliance-based approach) และ 2. การเสริมสร้าง กระตุ้น ยกระดับ ให้หน่วยงานภาคราชการและตัวข้าราชการเกิด “ความเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” โดยเฉพาะการเตรียมตัวและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สามารถไตร่ตรองใช้เหตุผลอย่างรอบครอบ มีการปฏิบัติราชการได้อย่างเหมาะสม กล้าเผชิญกับสิ่งที่ได้ตัดสินใจและกระทำไป ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ดูแลป้องกันรักษาปกป้องไม่ให้การปฏิบัติราชการหรือการปฏิบัติตนเกิดความเสียหายหรือเกิดความเสี่ยงต่อความไม่ดีงามใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น (Integrity-based approach)
มีเป้าประสงค์สำคัญ สองประการ ได้แก่ 1. ลดการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการเพื่อสร้างความโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริต ลดความสูญเสียและขจัดรูรั่วไหล ในการปฏิบัติราชการ 2. สร้างจิตสำนึกในการประพฤติมิชอบ ให้ยึดมั่นในหบักคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ความสุจริต ซื่อตรงเที่ยงธรรม เป็นกลาง ไม่เลือกปฏิบัติรวมถึงการปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ประหยัด เกิดความคุ้มค่า มีคุณภาพมาตรฐาน ถูกต้อง และตอบสนองความต้องการของประชาชน
ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ดังกล่าว จำเป็นที่จะต้องอาศัยปัจจัยองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ซึ่งจะต้องมีมาตรการผลักดันให้เกิดขึ้นพร้อมกันไปอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่ในระดับตัวบุคคลขึ้นไปยังระดับองค์การ ในการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในภาคราชการดังกล่าวนี้ จำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญในปัจจัยองค์ประกอบแห่งความสำเร็จอย่างน้อย 3 ด้าน (ดังที่แสดงไว้ตัวแบบข้างล่าง) กล่าวคือ 1.การสร้างผู้นำและองค์การต้นแบบที่ดีเพื่อเป็นแบบอย่างของการเรียนรู้และขยายผล 2.การจัดวางและการพัฒนาระบบย่อยต่าง ๆ ให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงสอดคล้อง เช่น การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ค่านิยมและวัฒนธรรม การฝึกอบรมและพัฒนาข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในรูปแบต่าง ๆ การจัดให้มีการให้คำปรึกษาแนะนำ
และการจัดการความรู้ที่เกี่ยวข้อง การปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคลและการผลักดันให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม/จรรยาบรรณ การวางระบบการบริหาร จริยธรรม การวัดผลและการตรวจสอบ เป็นต้น 3.การวางระบบสนับสนุนและโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล เช่น การออกกฎหมายและจัดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบอย่างจริงจัง การสื่อสารทำความเข้าใจเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเปิดให้ประชาชนเข้ามามีสาวนร่วมและการติดตามสถานการณ์ของบรรดาองค์กร/กลุ่มพลังต่างๆ ในสังคม รวมถึงการศึกษาวิจัยเชิงลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาขั้นต่อไป เป็นต้น ด้วยเหตุผลดังกล่าว วาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในภาคราชการ จึงประกอบขึ้นด้วยยุทธศาสตร์รวมทั้งสิ้น 5 ประการ ซึ่งในแต่ละยุทธศาสตร์จะมีกลยุทธ์หลักต่าง ๆ เพื่อใช้ในการถ่ายทอดเป็นแผนงาน/ โครงการ สำหรับนำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุผลต่อไป
ผู้นำ / องค์การต้นแบบ วัดผล และ ตรวจ สอบ ปรับกระบวนทัศน์ ค่านิยมพัฒนา ข้าราชการ กฎหมาย หน่วยงาน หลัก การมีส่วน ร่วมของ ประชาชน การสื่อสาร เพื่อการ เปลี่ยนแปลง การ ศึกษา วิจัย ตัวแบบการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในภาคราชการ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างผู้นำและองค์การต้นแบบ องค์การที่มีศักดิ์ศรีและสุจริตธรรม (integrity) หมายถึง สถานที่ที่มีบุคคลมาอยู่รวมกัน มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันด้วยความเอื้ออาทร มีความเคารพในความเป็นปัจเจกชนของสมาชิกทุกคน เอาใจใส่ดูแลซึ่งกันและกันใช้ความสามารถในการปฏิบัติงานด้วยความภาคภูมิใจรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานด้วยความภาคถูมิใจรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานและการตัดสินใจของตนเองรวมทั้งให้ความสนใจต่อสิ่งที่ประชาชนให้ความสนใจต้องการ และคาดหวังจากองค์กรและบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน จากคำจำกัดความดังกล่าว การที่ภาคราชการจะพัฒนาไปสู่องค์การแห่งศักดิ์ศรีและจริยธรรมได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้บริหารและข้าราชการทุกระดับเพื่อเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางร่วมกัน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างผู้นำและองค์การต้นแบบ ภาวะผู้นำนับเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในลำดับต้น ๆ ของการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในองค์การ เพราะผู้นำมีอิทธิพลอย่างสูงต่อองค์การ การที่ผู้นำปฏิบัติตนอย่างมีจริยธรรมจะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้นำในที่นี้หมายถึงผู้บริหารในทุกระดับขององค์การ เมื่อผู้นำมีค่านิยม ความเชื่อ ที่ตนเองยึดมั่นอย่างไร ก็มักแสดงพฤติกรรมที่ตรงกับสิ่งที่ตนเชื่อถือออกมา ไม่ว่าพฤติกรรมนั้นจะดีหรือไม่ ย่อมมีอิทธิพลต่อผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างมาก และส่งผลต่อการที่พวกเขายึดถือปฏิบัติตาม ฉะนั้น เมื่อผู้นำในองค์การได้แนะนำผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติตนอย่างๆร จำเป็นอย่างยิ่งที่ตนเองจะทำในสิ่งที่ตนได้พูดอย่างเคร่งครัด ดังนั้น ภาคราชการจำเป็นต้องสร้างผู้นำและองค์กรต้นแบบ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี ให้ข้าราชการเรียนรู้และปฏิบัติตาม
กลยุทธ์หลัก 1.การพัฒนาผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และคุณธรรมในภาครัฐ เพื่อเป็นการสร้างแบบอย่างที่ดี (Role Model) ของผู้นำที่มีคุณลักษณะตรงตามเงื่อนไขคุณธรรมแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งหมายถึงปฏิบัติราชการโดยตระหนักในหลักคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเพื่อการทำงานที่มุ่งให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน
2. การพัฒนาองค์การแห่งศักดิ์ศรีและสุจริตธรรม องค์การที่มีศักดิ์ศรีและสุจริตธรรม (integrity)หมายถึงสถานที่ที่มีบุคคลอยู๋รวมกันมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันด้วยความเอื้ออาทรมีความเคราพในการเป็นปัจจเจกชนของสมาชิกทุกคนเอาใจใส่ดูแลซึ่งกันและกัน ใช้ความสามารถในการปฏิบัติงานด้วยความภาคภูมิใจ รับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานและการตัดสินใจของตนเองรวมทั้งให้ความสนใจต่อสิ่งที่ประชาชนให้ความสนใจ ต้องการ และคาดหวังจากองค์กรและบุคคลากรผ็ปฏิบัติงาน จากคำจำกัดความดังกล่าว การที่ภาคราชการจะพัฒนาไปสู่องค์การแห่งศักดิ์ศรีและจริยธรรมได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้บริหารและข้าราชการทุกระดับ เพื่อเดินทางๆไปสู่จุดหมายปลายทางร่วมกัน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การปรับเปลี่ยนค่านิยม กระบวนทัศน์ และการพัฒนาจริยธรรมข้าราชการ การพัฒนาจริยธรรมให้กับข้าราชการเป็นการมุ่งพัฒนาทักษะ ความสาสมาถของข้าราชการให้เกิดความเข้าใจ หยั่งรู้ ตระหนักถึงวิธีการปฏิบัติเพื่อสร้างและนำพาตนเองสู่การเป็นผู้มีจริยธรรม และมีความสามรถในการพิจารณาถึงเหตุและผลเพื่อแสดงเห็นถึงพฤติกรรมที่แสดงถึงการมีจริยธรรม เช่น ความซื่อสัตย์ การปฏิบัติต่อผู้อื่น เป็นต้น การปรับเปลี่ยนค่านิยมและกระบวนทัศน์ I AM READY ดังนั้น ภาคราชการจึงต้องมุ่งพัฒนาข้าราชการในทุกระดับอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อให้ข้าราชการเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม
กลยุทธหลัก 1. การน้อมนำแนวทางการประพฤติปฏิบัติตนเป็นข้าราชการที่ดีตามรอยพระยุคลบาทสู่การปฏิบัติเป็นการพัฒนาข้าราชการให้มีจริยธรรม โดยการเรียนรู้จากพระราชกรณียกิจ พระราชจิยวัตร และพระบรมราโชวาทที่พระราชทานให้แก่ข้าราชการทุกคน 2. การพัฒนาด้านคุณธรรมและคุณธรรมของข้าราชการ เป็นการมุ่งพัฒนาข้าราชการทุกระดับโดยส่งเสริมการฝึกอบรมด้านจริยธรรมอย่างเข้มข้นผลักดันให้ทุกส่วนราชการเร่งส่งเสริมข้าราชการในสังกัดให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการมีจริยธรรม 3. การจัดทำและผลักดันให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม จรรยาบรรณของข้าราชการ เป็นการผลักดันให้ส่วนราชการจัดทำและ/หรือทบทวนประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ ซึ่งกำหนดพฤติกรรม
ที่มีจริยธรรมที่ข้าราชการพึงปฏิบัติ รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขและบทลงโทษเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อจริยธรรม เพื่อสื่อสารและจูงใจให้ข้าราชการทุกคนประพฤติตนเองให้สอดคล้องกับจริยธรรมขององค์การ 4.การตรวจสอบจริยธรรม การตรวจสอบจริยธรรมเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการติดตามการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในภาคราชการ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบการตรวจราชการและการเสริมสร้างความเข้มแข็งและประสิทธิภาพของระบบการตรวจสอบภาคประชาชน โดยการสร้างกลไกและการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบจริยธรรมของภาคราชการ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารทรัพยากรบุคคลที่มุ่งเน้นจริยธรรม การบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นเครื่องมือหนึ่งที่วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเสริมสร้างจริยธรรมในองค์การ โดยการเชื่อมโยงเรื่องจริยธรรมไว้ในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งประกอบด้วยการคัดเลือกประเมินผลการปฏิบัติงาน กลยุทธ์หลัก 1. การทดสอบข้าราชการเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม เป็นการพัฒนาเครื่องมือเพื่อเป็นการทดสอบคุณธรรม จริยธรรม ของข้าราชการซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวางแผนพัฒนาข้าราชการด้านจริยธรรม คุณธรรม 2. การจัดทำสมุดพกข้าราชการและบันทึกผลงานและคุณงามความดี เป็นการจัดทำแฟ้มผลงานข้าราชการเพื่อบันทึกพฤติกรรมที่ดีและมีปัญหาของข้าราชการแต่ละคนซึ่งแฟ้มผลงานดังกล่าวจะเป็นการประเมินพฤติกรรม
ในลักษณะการสะสมผลงานและความดีที่เป็นธรรมและเป็นจริงซึ่งจะมีผลต่อการสร้างกำลังใจสำหรับข้าราชการที่ประพฤติดีประพฤติชอบ เป็นการสร้างระบบคานอำนาจ และเกิดความโปร่งใส 3.การพัฒนาระบบประเมินผลจริยธรรมตนเองของข้าราชการ เป็นการส่งเสริมให้ข้าราชการตระหนักถึงคุณธรรมจริยธรรมที่ตนเองได้ประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎระเบียบและจริยธรรมที่สามารถหยั่งรู้ความถูกต้องได้ด้วยตนเอง สามารถประเมินตนเองทั้งในด้านที่เป็นพฤติกรรมเชิงบวกและเชิงลบ รวมทั้งแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขตนเอง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การวางระบบสนับสนุนและปัจจัยพื้นฐานด้ายจริยธรรมและธรรมาภิบาล การวางระบบการสนับสนุนและโครงสร้างปัจจัยพื้นฐานทางด้านจริยธรรม เพื่อเอื้อต่อการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล ทั้งในด้านของการควบคุม การชี้นำและส่งเสริมให้เกิดขึ้นในภาคราชการอย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์หลัก 1.การสร้างระบบสนับสนุนเพื่อยกระดับประเทศสู่มาตรฐานด้านจริยธรรม เป็นการสนับสนุนและผลักดันให้มีการลงสัตยาบันตามอนุสัญญาของค์องค์การสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านคอร์รัปชั่นรวมทั้งการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและอนุวัติตามอนุสัญญาเพื่อสร้างกระแสความตื่นตัวของทุกภาคส่วนในสังคม
2.การพัฒนากฎหมายเพื่อการส่งเสริมจริยธรรม2.การพัฒนากฎหมายเพื่อการส่งเสริมจริยธรรม เป็นการยกร่างกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในวงราชการ เพื่อเป็นบรรทัดฐานและการควบคุมข้าราชการให้มีจริยธรรม 3.การจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและป้องกันและปราบปรามการทุจริตในวงราชการ เป็นการเร่งรัดและผลักดันให้มีการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาระบบคุณธรรม จริยธรรม และป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบในฝ่ายบริหาร โดยรับผิดชอบกรณีกระทำความผิดประพฤติมิชอบของข้าราชการตั้งแต่ระดับ 8 ลงมา
4.การพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาแนะนำด้านจริยธรรม4.การพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาแนะนำด้านจริยธรรม เป็นการพัฒนาเพื่อวางระบบการให้คำปรึกษาแนะนำด้านคุณธรรม จริยธรรม แก่ข้าราชการ ทั้งระบบตั้งแต่ การพัฒนาที่ปรึกษาแนะนำด้านจริยธรรม (Ethics Counselor) การวางระบบข้อมูลและการจัดการความรู้ด้านจริยธรรม รวมทั้งเปิดให้บริการสายด่วนจริยธรรม (Ethics Hotline) เพื่อให้คำปรึกษารับความคิดเห็นและตอบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม 5.การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงด้านจริยธรรม เป็นการประชาสัมพันธ์ รณรงค์ และเผยแพร่ให้ข้าราชการตระหนักและรับรู้ถึงการปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อนำไปสู่ข้าราชการที่มีจริยธรรมสูง