220 likes | 356 Views
การเตรียมความพร้อม ของภาคการเกษตรไทยสู่ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของกรมวิชาการเกษตร โดย นายจิรากร โกศัย เสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร. ประเด็นนำเสนอ. พันธ กิจกรมวิชาการเกษตร
E N D
การเตรียมความพร้อม ของภาคการเกษตรไทยสู่ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ของกรมวิชาการเกษตร โดย นายจิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
ประเด็นนำเสนอ • พันธกิจกรมวิชาการเกษตร • การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ในส่วนของกรมวิชาการเกษตร • ด้านวิจัยและพัฒนา • ด้านกฎหมายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ • กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย • การพัฒนาบุคลากร 1 2
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2558 3 ปีจากนี้ไป 10 ประเทศอาเซียนรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ที่เป็นกลุ่มเศรษฐกิจใหญ่ มีประชากร 600 ล้านคนเศษ เมื่อถึงวันนั้นการผลิตสินค้าเกษตร อาหาร ผลิตภัณฑ์ ปัจจัยการผลิตที่นำเข้า – ส่งออก การลงทุน ค่าจ้างแรงงาน อัตราภาษี ของประเทศสมาชิกอาเซียน จะเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด
พันธกิจกรมวิชาการเกษตรพันธกิจกรมวิชาการเกษตร 1 1. สร้างขีดความสามารถและความเข้มแข็ง ในการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีที่เหมาะสมและเครื่องจักรกลการเกษตรในการสนับสนุน ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ 2. สนับสนุนการบริการตรวจสอบรับรองปัจจัยการผลิต ผลผลิต และผลิตภัณฑ์พืช 3. วิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ 4. คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและประโยชน์ด้านการเกษตรของประเทศ
การเตรียมความพร้อมของภาคเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร 2 บทบาทกรมวิชาการเกษตรตามพันธกรณีและส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนและการเตรียมความพร้อม เป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมภาคการเกษตรสู่ประชาคมอาเซียนของ กษ. คณะทำงานด้านพืชของอาเซียน และร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญกำหนดมาตรฐานต่างๆ ที่ถูกต้องตามมาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช เป็นองค์กรมุ่งเน้นวิจัยและพัฒนาพืชเพื่อผลิตพืชที่ให้ผลผลิตมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช การตรวจวิเคราะห์รับรอง ร่วมมือด้านการวิจัยการผลิต การใช้ระบบการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร ประสานกับประเทศสมาชิกอาเซียนจัดทำมาตรฐานสินค้าพืชสวน และจัดตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนกฎหมายในการควบคุมการผลิตพืชที่ กวก. รับผิดชอบ 6 ฉบับ
การเตรียมความพร้อมของภาคเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา (บทบาทที่มีส่วนร่วม) 1. กำหนดมาตรฐานค่าจำกัดสารพิษตกค้างสูงสุด (MRLs) มีการรับรองจากอาเซียนแล้ว 826 ค่า และ pesticides 73 ชนิด เช่น chlorpyrifos ในพริก carbosulfan ในถั่วฝักยาว เป็นต้น 2. จัดทำมาตรฐานผัก ผลไม้ และพืชอาหารของกลุ่มประเทศอาเซียนให้สอดคล้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน (ประกาศแล้ว 24 มาตรฐาน เช่น ลำไย ทุเรียน มะม่วง มังคุด เป็นต้น) 3. เป็นเจ้าภาพในการตั้งสำนักงานประสานงานระหว่างภูมิภาคสำหรับโครงการ ASEAN-GIZ Biocontrol เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตสินค้าพืชคุณภาพโดยการกำจัดศัตรูพืชแบบชีววิธี เพื่อพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืน โดยเน้นการส่งเสริมการใช้ชีวภัณ
การเตรียมความพร้อมของภาคเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา (บทบาทที่มีส่วนร่วม) 4. เข้าร่วมในเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยต่างๆ เช่น ASEAN-AVRDC Vegetable Research Network (AARNET) และโครงการวิจัยอื่นๆ ที่เป็นความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่ภาคีเช่น จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย เยอรมนี เป็นต้น
การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ในส่วนของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 • กรมวิชาการเกษตรได้เตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในประเด็นต่างๆ ดังนี้ • ด้านงานวิจัยและพัฒนา • 1.เน้นด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชที่มีต้นทุนต่ำเพิ่มผลผลิต และมีคุณภาพ รวมทั้งวางแผนการผลิต (zoning) โดยเน้นการผลิตพืชที่มีศักยภาพในการแข่งขันระหว่างอาเซียน โดยวิเคราะห์ผลกระทบรายสินค้าทั้งเชิงบวกและลบของประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน
การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ในส่วนของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 ด้านงานวิจัยและพัฒนา (ต่อ) 2. การวิจัยบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นหลักฐานสนับสนุนการในการกำหนดมาตรฐานต่างๆ เช่น การวิจัยเพื่อกำหนดค่า MRLs ให้สอดคล้องกับแนวทางหรือมาตรฐานสากลรวมทั้งที่อาเซียนกำหนดเป็นข้อตกลง วิจัยหาวิธีวิเคราะห์หรือตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพและยอมรับตามมาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชของผลผลิต ผลิตภัณฑ์พืช และปัจจัยการผลิต ปรับปรุงพันธุ์พืชโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขึ้น(Biotechnology) เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกที่สูงกว่าการนำเข้าโดยคำนึงถึงมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ
การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ในส่วนของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 ด้านงานวิจัยและพัฒนา (ต่อ) 3.วิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรดีที่เหมาะสมและ food safety รวมทั้งพัฒนามาตรฐานสินค้าพืช 4. วิจัยและพัฒนาการผลิตพืชเพื่อรองรับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม 5. วิจัยและพัฒนาเทคนิคการอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมพืชและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ตลอดจนด้านการคุ้มครองพันธุ์พืชภายใต้ พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช และ พ.ร.บ. พันธุ์พืช
การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ในส่วนของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 ด้านงานวิจัยและพัฒนา (ต่อ) 6. การวิจัยเชิงนโยบาย (Policy Research) เพื่อศึกษาแนวทางการวิจัยและพัฒนาให้สอดคล้องต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง และเพื่อสนองต่อความต้องการของภูมิภาคอาเซียน 7. การวิจัยและพัฒนาร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อเสริมศักยภาพด้านการผลิตพืชทั้งในรูปแบบ ทวิภาคี พหุภาคี และร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศโดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลผลิตและความมั่นคงทางด้านอาหารตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 ด้านกฎหมายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ กรมวิชาการเกษตรในฐานะเป็น Competent Authority สำหรับการตรวจรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชสำหรับผลิตภัณฑ์พืช และเป็นหน่วยงานดูแล พ.ร.บ. ที่จะเกี่ยวข้อง 6 ฉบับ - พ.ร.บ. กักกันพืช - พ.ร.บ. วัตถุอันตราย - พ.ร.บ. ปุ๋ย - พ.ร.บ. ควบคุมยาง - พ.ร.บ. พันธุ์พืช - พ.ร.บ. คุมครองพันธุ์พืช
การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 ด้านกฎหมายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ (ต่อ) ประเด็นเตรียมความพร้อม ปรับประสานระบบการกักกันและวิธีการตรวจสอบหรือสุ่มตัวอย่างให้มีมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชสำหรับผลิตภัณฑ์เกษตร อาหาร ที่มีความสำคัญและมีศักยภาพทางการค้า จัดตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุม และการกักกัน ศึกษา วิจัย วิเคราะห์กฎหมาย ที่เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อนำมาวิเคราะห์กับกฎหมายที่ กวก. รับผิดชอบ ทั้งที่เป็นประโยชน์และผลกระทบต่อประเทศไทย
การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เกษตรกร จัดสัมมนาและประชาสัมพันธ์ แจกจ่ายเอกสารเพื่อให้ความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตพืชและการเป็นตลาดเดียวกัน โดยเฉพาะเตรียมความพร้อมในระบบการเกษตรดีที่เหมาะสม(GAP) ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตพืชรายสินค้าเกษตรที่สำคัญเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร และเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดเสรีต่างๆ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของไทย
การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ต่อ) ภาคเอกชน / ผู้ประกอบการ ให้ความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตพืชและการเป็นตลาดเดียวกัน ที่ครบวงจรตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาด เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและรักษาส่วนแบ่งตลาด ให้ความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละประเทศอาเซียนและความเป็นไปได้ในการลงทุนภาคการเกษตรที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยน้อยที่สุด ให้มีผู้แทนภาคเอกชนในคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ เพื่อพัฒนาศักยภาพของภาคเอกชนให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันและเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดตลาดเสรีต่างๆ ของอาเซียน
การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ต่อ) ประชาชน สร้างความตระหนักรู้และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดทำสื่อเผยแพร่ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ เว็บไซด์ รายการโทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น
การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 • ด้านการพัฒนาบุคลากร กรมวิชาการเกษตรเตรียมความพร้อมในเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2556 โดยการกำหนดหลักสูตร ดังนี้ • 1. โครงการอบรมหลักสูตรการสร้างความตระหนักรู้แก่ข้าราชการ กวก. ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน • 2. โครงการอบรมทักษะพื้นฐาน/ทักษะเฉพาะด้านที่จำเป็นสำหรับข้าราชการต่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วย 3 หลักสูตรย่อย • การเจรจาต่อรอง • ภาษาอังกฤษหลักสูตร Intensive English Course เพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน / ภาษาอื่นที่จำเป็น • การประชุมนานาชาติ การบันทึกการประชุม และการเขียนข้อตกลงระหว่างประเทศ • และหลักสูตรอื่นๆ อยู่ในระหว่างพิจารณาเพิ่มเติม
การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 • นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรดำเนินการตามร่างแผนงานแห่งชาติสำหรับการก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ดังนี้ • การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน • 1. การอำนวยความสะดวกด้านศุลกากรด้วยอิเล็คทรอนิคส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน • 2. การจัดตั้งระบบโดยใช้ Good Agriculture Practice (GAP) • 3. ปรับประสานระบบการกักกันและวิธีการตรวจสอบหรือ สุ่มตัวอย่าง ให้มีมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชสำหรับผลิตภัณฑ์เกษตร อาหาร และป่าไม้ ที่มีความสำคัญทางการค้า มีศักยภาพทางการค้า
การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 • การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (ต่อ) • 4. ปรับประสานระดับปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดในอาหารที่ยอมรับให้มีได้ของยาฆ่าแมลงในผลิตภัณฑ์ที่มีการค้าอย่างแพร่หลาย ให้สอดคล้องกับแนวทางหรือมาตรฐานสากล • 5.ปรับประสานกรอบกฎเกณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์เกษตรที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ให้สอดคล้องกับแนวทางหรือมาตรฐานสากล ที่สามารถทำได้ ภายในปี 2015
การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 • การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (ต่อ) • 6. ปรับประสานมาตรฐานด้านความปลอดภัยและคุณภาพสำหรับผลิตภัณฑ์พืชสวนและผลิตภัณฑ์เกษตรที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในอาเซียน ให้สอดคล้องกับแนวทางหรือมาตรฐานสากล ที่สามารถทำได้ ภายในปี 2015 • 7. ส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยและการถ่ายโอนเทคโนโลยีสำหรับผลิตภัณฑ์เกษตร อาหาร และป่าไม้
การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตรไทย ของกรมวิชาการเกษตร (ต่อ) 2 • การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม • 1. เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมและความคุ้มกันจากผลกระทบด้านลบจากการรวมตัวอาเซียนและโลกาภิวัตน์ • 2. ส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร • ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม • ส่งเสริมการจัดการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน