750 likes | 1.18k Views
การกำหนดตัวแปร กรอบแนวคิดในการวจัย การกำหนดข้อตกลงเบื้องต้น การเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่าง. อ. ดาว เวียงคำ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา วันที่ 17 กพ.2550. ตัวแปร.
E N D
การกำหนดตัวแปรกรอบแนวคิดในการวจัยการกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นการเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่างการกำหนดตัวแปรกรอบแนวคิดในการวจัยการกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นการเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่าง อ. ดาว เวียงคำ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา วันที่ 17 กพ.2550
ตัวแปร • สิ่งที่เปลี่ยนค่าไปได้หลายค่าทั้งที่เป็นคุณลักษณะ คุณสมบัติของสิ่งที่สนใจจะนำมาศึกษาและสามารถวัดได้ • ลักษณะของสิ่งหรือประชากรที่ศึกษาที่ผู้วิจัยสนใจ สามารถวัดได้ นับได้ และลักษณะนั้นไม่คงที่สามารถแปรเปลี่ยนได้หลายค่า
ตัวแปร (Variable) • คุณลักษณะที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา • สามารถสังเกตและวัดได้ • สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และหัวเรื่องที่วิจัย
ชนิดของตัวแปร • แบ่งตามการวัด • ตัวแปรต่อเนื่อง • ตัวแปรไม่ต่อเนื่อง • แบ่งตามลักษณะ • ตัวแปรต้น • ตัวแปรตาม • ตัวแปรแทรกซ้อน
ตัวแปรต้นมีลักษณะ • เป็นตัวแปรต้นเหตุ • เป็นตัวแปรที่ต้องเกิดขึ้นก่อน • เป็นตัวแปรที่จัดกระทำขึ้น • มีลักษณะเป็นตัวทำนาย • เป็นตัวกระตุ้น • มีความคงที่
ตัวแปรตามมีลักษณะ • เป็นตัวแปรที่เป็นผลเกิดขึ้น • เกิดขึ้นภายหลัง • เกิดขึ้นเองโดยที่ไม่สามารถจัดกระทำขึ้นได้ในการทดลอง • เป็นตัวถูกทำนาย • เป็นตัวตอบสนอง • มีการเปลี่ยนแปลง
ตัวแปรแทรกซ้อนหรือตัวแปรภายนอกตัวแปรแทรกซ้อนหรือตัวแปรภายนอก • ตัวแปรอื่นนอกเหนือจากตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้นที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามซึ่งเป็นสิ่งนอกเหนือจากสิ่งที่ต้องการศึกษา
การวัดตัวแปร • การวัดเป็นการกำหนดค่าให้กับตัวแปรที่ต้องการวัด • ระดับของการวัด • การวัดระดับนามบัญญัติ (norminal scale) • การวัดระดับแบจัดอันดับ (Ordinal scale) • การวัดระดับอัตรภาคหรือระดับช่วง (interval scale) • การวัดระดับอัตราส่วน (ratio scale)
การนิยามคำ • การให้ความหมายของคำ วลี หรือแนวคิดที่มีความหมายเฉพาะเจาะจง มีขอบเขต และอาจจะไม่เหมือนความหมายโดยทั่วไป • ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายของคำที่ใช้
กรอบแนวคิดในการวิจัย • อธิบายความสำคัญของกรอบแนวคิดต่อการวิจัยได้ • วิเคราะห์ถึงลักษณะการเขียนกรอบแนวคิดในแบบต่างๆ วัตถุประสงค์ของการเรียนเพื่อให้นักศึกษาสามารถ
กรอบการวิจัย • การกำหนดกรอบการวิจัยคือการประมวลความคิดรวบยอดว่างานวิจัยที่ทำอยู่ประกอบด้วยตัวแปรอะไรบ้างและมีความสัมพันธ์กันอย่างไร อะไรเป็นตัวแปรต้น ตัวแปรตาม
กรอบการวิจัย • กรอบเป็นโครงสร้างที่มีเหตุมีผลและเป็นนามธรรมของความหมายที่จะช่วยพัฒนางานวิจัย ทำให้นักวิจัยเชื่อมโยงผลการวิจัยสู่การสร้างความรู้ได้ • กรอบการวิจัยอาจมาจากองค์ความรู้ซึ่งเป็นทฤษฎีหรือมโนทัศน์ เรียกว่า กรอบทฤษฎี (theoretical framework) • กรอบการวิจัยมาจากผลการวิจัยหลายเรื่องหรือประสบการณ์ที่มีข้อมูลสนับสนุน เรียกว่ากรอบแนวคิด (conceptual framework)
ความสำคัญของกรอบแนวคิดความสำคัญของกรอบแนวคิด • สร้างความชัดเจนในแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา • เสนอถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา • ให้แนวทางในการแปลผลการวิจัย
การเขียนกรอบแนวคิด • การพรรณนา บรรยายถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร • แสดงด้วยสัญลักษณ์ สมการหรือแบบจำลอง • แผนภาพ • แบบผสมผสาน
การแสดงด้วยแผนภาพ การศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับการดูสุขภาพตนเองของเด็กนักเรียน ความสามารถในการดูแลตนเอง การดูแลตนเองทั่วไป การดูแลในระยะพํฒนาการ การดูแลตนเองตามเบี่ยงเบน ภาวะสุขภาพ องค์ประกอบด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล โครงสร้างครอบครัว ได้แก่การอยู่ร่วมกันของบิดามารดา จำนวนสมาชิกในครอบครัว สภาพแวดล้อมในโรงเรียน
ข้อตกลงเบื้องต้น • ส่วนใหญ่นักวิจัยทั้งหลายชอบมองข้าม • เป็นการยอมรับว่าจริงบนพื้นฐานของเหตุและผลที่ไม่ได้พิสูจน์
ข้อจำกัด/การลดข้อจำกัด ข้อจำกัด/การลดข้อจำกัด • พูดถึงสิ่งที่นักวิจัยไม่ได้ทำ • ข้อจำกัดและขอบเขตของปัญหา • เมื่อแปลผลที่ค้นพบให้คำนึงถึงข้อจำกัดต่างๆด้วย
การเลือกประชากรและ กลุ่มตัวอย่าง
จุดประสงค์การเรียนรู้จุดประสงค์การเรียนรู้ • อธิบายความหมายของประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้ • กำหนดขนาดของตัวอย่างได้ • เลือกตัวอย่างได้
ความหมาย ประชากร(Population): ทุกหน่วยของสิ่งที่จะศึกษา • ศึกษาน้ำหนักทารกแรกคลอดก่อนกำหนด จากมารดาวัยรุ่น • ศึกษาการปนเปื้อนของเชื้อวัณโรคในเสมหะของสัตว์ ที่เป็นโรคเอดส์
ประชากร คือ ทารกแรกคลอดก่อนกำหนดจากมารดาวัยรุ่นทุกคน ประชากร คือ เสมหะของสัตว์ที่เป็นโรคเอดส์ทุกตัว สรุปประชากร คือ ทุกหน่วยที่ต้องการศึกษาทั้งคน สัตว์ สิ่งของ สารที่สร้างหรือขับออกจากร่างกาย เช่น เสมหะ เลือด อุจจาระ เป็นต้น
ประชากรเป้าหมาย(Target population): กลุ่มประชากรที่ผู้วิจัยต้องการสรุปไปถึงหรือประชากรที่ผู้วิจัยกำหนดขอบเขตชัดเจน • น้ำหนักทารกแรกคลอดก่อนกำหนดจากมารดาวัยรุ่น คลอดที่โรงพยาบาลราชวิถี เป็นต้น
ประชากรตัวอย่าง(population sample or accessible population): กลุ่มประชากรที่ผู้วิจัยกำหนดจะศึกษา เป็นแหล่งที่จะเลือกตัวอย่างออกมาจึงมีการกำหนดขอบเขตให้เฉพาะเจาะจงชัดเจนยิ่งขึ้น • มารดาวัยรุ่นที่คลอดในโรงพยาบาลราชวิถีระหว่างเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2544 เป็นต้น การกำหนดประชากรตัวอย่างนี้ต้องมีคุณสมบัติเหมือนประชากรเป้าหมาย เพื่อป้องกันการเกิดอคติในการเลือกตัวอย่าง
ตัวอย่าง (Sample):หน่วยที่ถูกเลือกออกจาก ประชากรตัวอย่าง เพื่อเป็นตัวแทนของประชากร ข้อมูล ที่ได้จากตัวอย่าง สามารถสรุปไปถึงกลุ่มประชากร เป้าหมายได้ • ประชากรต่อเด็กแรกคลอดก่อนกำหนดจากมารดา วัยรุ่นที่คลอดในโรงพยาบาลราชวิถีจำนวน 1,000 คน ตัวอย่าง คือ บางส่วนของ 1,000 คน ที่เลือกมาศึกษา
สิ่งที่ควรพิจารณา • งบประมาณสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการวิจัย • ระยะเวลาในการศึกษาวิจัย ระยะเวลาสั้นหรือยาว • ความเชื่อมั่น ระดับความเชื่อมั่น 95 % ความเชื่อมั่น 99 %,
สิ่งที่ควรพิจารณา • ความคลาดเคลื่อน หมายถึง ความแตกต่างระหว่างค่าสถิติ (statistics) กับค่าพารามิเตอร์ (parameters) ยอมให้มีค่าคลาดเคลื่อน (error) ± 1, ± 2 หรือมากกว่า • ขนาดของประชากร และความหลากหลายของประชากร ถ้ามีความหลากหลายมากก็ควรสุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ขึ้น
ถ้าตัวอย่างมีขนาดใหญ่ขึ้นถ้าตัวอย่างมีขนาดใหญ่ขึ้น • ความคลาดเคลื่อนน้อยลง • ความเชื่อมั่นสูงขึ้น • ความคลาดเคลื่อนในการสุ่มตัวอย่างจะน้อยลง • อย่างไรก็ตามถ้ายิ่งเพิ่มขนาดตัวอย่างใหญ่ขึ้นๆ ถึงจุดหนึ่ง อาจจะมีผลในทางกลับลงมาก็ได้ รวมทั้งการสุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่มักจะมีปัญหาอันเนื่องมาจากกระบวนการบริหาร
วิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างวิธีการกำหนดขนาดตัวอย่าง ตารางสำเร็จรูป • เครซีและมอร์แกน (Krejeic of Morgan, 1970) เป็นตารางสำเร็จรูปที่แสดงจำนวนประชากรและกลุ่มตัวอย่างไว้ให้ผู้วิจัยสามารถเลือกได้ทันที ขนาดความคลาดเคลื่อน ไม่เกินร้อยละ 5 • ขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของ Yamane
การกำหนดขนาดของตัวอย่างตามแนวคิดของ Yamane ใช้กับข้อมูล Interval scale, Ratio scale • ตารางของ Yamaneจะมีอยู่ 2 ตาราง คือ ตารางกำหนดระดับความเชื่อมั่นที่ 95 % และ 99 % • การใช้ตารางทั้ง 2 นี้ ควรพิจารณาปัจจัยเหล่านี้คือ ก. พิจารณาว่าจะให้ความเชื่อมั่นเป็น 95 % หรือ 99 % ข. ต้องสามารถประมาณขนาดของประชากร (N) ได้ ค. กำหนดความคลาดเคลื่อนที่ผู้วิจัยยอมรับได้
ใช้สูตรของ Yamane (1973:725) e = ความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่าง (0.05 หรือ 0.01) N = ขนาดของประชากร n = ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง การคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
ตัวอย่าง การวางแผนสำรวจภาวะสุขภาพตามสุขบัญญัติกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่เขต เทศบาลเมืองราชบุรี โดยการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่มีสัดส่วนประชากรไม่เกิน 0.35 ในระดับความเชื่อมั่น 95 % ซึ่งมีค่าผลคูณค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น และความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (d) = 0.05 Z = 1.96, p = .35, q = .65, d = .05 การคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (Daniel, 1995)
ข้อเสนอแนะ: ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง • ถ้าขนาดกลุ่มประชากรมีเป็น “จำนวนร้อย” ควรใช้กลุ่มตัวอย่าง อย่างน้อยร้อยละ 25 • ถ้าประชากรเป็น “จำนวนพัน” ใช้กลุ่มตัวอย่าง อย่างน้อยร้อยละ 10 • ถ้าประชากรเป็น “จำนวนหมื่น” ใช้กลุ่มตัวอย่าง อย่างน้อยร้อยละ 1
แบ่งเป็น 2 วิธี • เลือกโดยอาศัยความน่าจะเป็นเป็นการเลือกที่ทราบโอกาสว่าแต่ละหน่วยของประชากรจะถูกเลือกเป็นตัวอย่างมีเท่าใด แบ่งเป็น 2 กรณี 1. กรณีประชากรมีลักษณะคล้ายคลึงกัน (Homogeneous) 2. กรณีประชากรมีลักษณะต่าง ๆ กัน (Heterogeneous) • เลือกโดยไม่คำนึงถึงโอกาสที่ถูกเลือก, ไม่อาศัยความน่าจะเป็น
เลือกโดยอาศัยความน่าจะเป็นเลือกโดยอาศัยความน่าจะเป็น 1. ประชากรมีลักษณะคล้ายคลึงกัน Ωการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย(Simple random sampling)เป็นการเลือกที่ทุกๆ หน่วยของประชากรมีโอกาสถูกเลือกเท่าๆ กัน แบ่งเป็น การจับฉลาก และการใช้ ตารางเลขสุ่ม
การจับฉลาก • เขียนกรอบบัญชีรายชื่อ: รวบรวมทุกหน่วยของประชากรมาอยู่ในรายการและให้หมายเลขกำกับ • ทำฉลากหมายเลขเท่าประชากรเป้าหมายที่อยู่ในกรอบบัญชีรายชื่อ • นำฉลากมาเคล้าปนกันให้ทั่ว • จับฉลากขึ้นมาครั้งละ 1 ใบ ให้ครบจำนวนตัวอย่างที่ต้องการ - แบบไม่มีการแทนที่ - แบบมีการแทนที่: ไม่นิยมวิธีการแทนที่ยกเว้นผู้วิจัยออกแบบการวิจัยไว้เช่นนั้น
การใช้ตารางเลขสุ่ม • เป็นตารางที่ประกอบด้วยตัวเลขที่ถูกจัดเรียงลำดับด้วยการสุ่มไว้แล้วมีจำนวนเลขคู่และเลขคี่เท่า ๆ กัน ปกติจะมีจำนวนเลข 0 ถึง 9 เท่า ๆ กัน มีทั้งหมดเลขละ 1,000 ตัว แบ่งเป็น 100 สดมภ์ (Column) และ 100 แถว (Row) เลขแต่ละกลุ่มจะมีตัวเลข 5 ตัว หรือ 5 หลัก เพื่อสะดวกแก่การใช้ • กำหนดกรอบตัวอย่าง กรณีการวิจัยที่ไม่สามารถกำหนดหรือสร้างกรอบตัวอย่างได้ต้องใช้การสุ่มวิธีอื่น • กำหนดขนาดตัวอย่างที่ต้องการสุ่ม (n)
กำหนดจำนวนหลักตัวเลขที่จะสุ่ม • กำหนดทิศทางการอ่านให้แน่ว่าจะอ่านจากขวาไปซ้าย บนมาล่าง • หาเลขเริ่มต้นโดยการสุ่ม: ใช้ดินสอจิ้มตัวเลขในตาราง ได้ตัวใดตัวนั้นคือเลขเริ่มต้น • อ่านเลขตามจำนวนหลักที่ต้องการ อ่านตามทิศทางที่กำหนด ถ้าอ่านแบบเลขซ้ำกันให้ข้ามไป หรือเลขสุ่มนั้นมีค่าเกินกว่าจำนวนหลักของประชากรให้อ่านข้ามไป หรือตัดทิ้ง • เรียกเลขสุ่มจนครบตามจำนวนตัวอย่างจึงหยุด แต่ถ้าอ่านครบตารางแล้วยังไม่พอให้เริ่มต้นสุ่มตัวแรกใหม่
Ωแบบมีระบบ(Systemic random sampling) • สุ่มหน่วยเริ่มต้น • คำนวณระยะห่างของหน่วยต่อไปโดยใช้สูตร I = N/n I = ระยะห่าง N = จำนวนประชากร n = จำนวนตัวอย่างที่ต้องการ
นับระยะห่างเท่าๆ กัน • กำหนดหมายเลขตัวอย่าง: เลขเริ่มต้น, เลขเริ่มต้น + I, เลขเริ่มต้น + 2I, เลขเริ่มต้น +3I, ...เลขเริ่มต้น + (n-1)I มีประชากร (N) 600 จำนวน ต้องการตัวอย่าง (n) 80 จำนวน คำนวณระยะห่าง = 600/80 = 7.5 ประมาณ 8 สุ่มเลขเริ่มต้น-จับฉลากก็ได้ใน 600 จำนวน สมมุติได้เลข 5 ดังนั้น ตัวอย่างหมายเลขแรกคือ 5 ตัวอย่างตัวต่อๆ ไป คือ 5 + 8 , 5 + 2 (8) , 5 + 3 (8) …… 5 + (80 -1) (8)
2. ประชากรมีลักษณะต่างๆ กัน Ωแบบแบ่งพวก/แบ่งชั้น (Stratified random sampling)เหมาะสำหรับประชากรที่มีหลายลักษณะรวมกัน • คำนวณ/เปิดตารางหาจำนวนตัวอย่างที่ต้องการ • คำนวณตัวอย่างแต่ละกลุ่ม
2. ประชากรมีลักษณะต่างๆ กัน • ทำให้ภายในกลุ่มมีความคล้ายกันมากที่สุด แต่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มมาก ๆ โดยการแบ่งหน่วยในประชากรออกเป็นพวกหรือกลุ่ม • สุ่มตัวอย่างออกมาจากแต่ละกลุ่มโดยวิธีการสุ่มแบบง่ายหรือสุ่มแบบมีระบบให้ได้จำนวนตัวอย่างตามสัดส่วนของประชากร • ทำกรอบบัญชีรายชื่อทั้งหมดทุกลุ่ม แล้วสุ่มตัวอย่างจากแต่ละกลุ่มออกมาตามจำนวนตัวอย่างที่คำนวณได้