300 likes | 1.28k Views
โรคที่เกิดจากความผิดปกติ ของระบบต่อม ไร้ท่อ. Acromegaly.
E N D
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ
สาเหตุ สภาพโตเกินไม่สมส่วน หรืออะโครเมกาลี(Acromegaly) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นเมื่อต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติ สร้างโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) มากกว่าปกติหลังจากที่แผ่นอิพิไฟเซียสปิดลงแล้ว มีโรคหลายอย่างที่สามารถทำให้ต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติเช่นนี้ได้ ส่วนใหญ่มักเป็นเนื้องอกของเซลล์โซมาโตโทรพในต่อมใต้สมองที่ผลิตโกรท ฮอร์โมนชนิด Pituitary adenoma
อาการ สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ในช่วงผ่านการเป็นวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ไปแล้ว การเจริญเติบโตด้านความสูงจะไม่เพิ่มขึ้น แต่สรีระทางร่างกายจะเปลี่ยนไป เช่น หน้าตาจะเปลี่ยนไป คิ้วจะโหนกขึ้น จมูกจะใหญ่ขึ้น คางจะขยาย ปากใหญ่ขึ้น คางจะยื่น ฟันห่าง มือเท้าจะใหญ่หยาบกร้าน เสียงพูดจะเปลี่ยนไป ลิ้นคับปาก และอายุไม่ยืน ส่วนระบบร่างกายภายใน อาทิ หัวใจและตับ จะโตมากขึ้น ข้อจะเสื่อมเร็ว หลังโก่ง นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะเป็นโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจโต อาจหัวใจวายและเสียชีวิตได้
วิธีการรักษา ปัจจุบัน การรักษาโรคเนื้องอกของต่อมใต้สมองผิดปกติ (Acromegaly) จะนิยมใช้วิธีการรักษาโดยการฉีดยา ซึ่งจะสามารถต้านการสร้างฮอร์โมนที่ผิดปกติได้ และพบว่าเมื่อใช้ยาฉีดฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้เนื้องอกมีขนาดเล็กลงได้แต่ไม่ได้หายขาด ซึ่งการรักษาด้วยยาจะช่วยทำให้เนื้องอกมีขนาดเล็กลงสามารถควบคุมการเจริญเติบโตของเนื้องอกให้ผู้ป่วยรู้สึกบรรเทา และมีชีวิตเหมือนคนปกติได้
สาเหตุ เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก พบในผู้หญิงที่มีประวัติตกเลือดรุนแรง หรือเป็นลมขณะคลอดบุตร ทำให้ต่อมใต้สมองขาดเลือด เซลล์บางส่วนตายไป เกิดจากภาวะต่อมใต้สมองทำงานน้อย (hypopituitarism) พลอยทำให้ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต และรังไข่ ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมนี้ไม่ทำงานไปด้วย ทำให้มีอาการของต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ร่วมกับอาการของโรคแอดดิสัน ขาดประจำเดือน และเป็นหมัน อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เฉื่อยเนือย ทำงานเชื่องช้า คิดช้า ขี้หนาว ซีด หน้าตาดูแก่เกินวัย ผิวหนังหยาบแห้ง วิงเวียน ความดันเลือดต่ำ ขนรักแร้และขนในบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ร่วง ประจำเดือนไม่มา เป็นหมัน บางคนอาจมีอาการเบื่ออาหาร ซูบผอมถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดภาวะต่อมหมวกไตไม่ทำงานเฉียบพลัน เป็นอันตรายได้
การรักษา หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาลอาจต้องตรวจเลือด เอกซเรย์ หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ การรักษาให้ฮอร์โมนไทรอยด์ (เช่น ยาสกัดไทรอยด์ หรือ เอลทร็อกซิน) และ ไฮโดรคอร์ติโซน แบบเดียวกับที่ใช้รักษาต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยและโรคแอดดิสัน โดยต้องกินยาไปจนตลอดชีวิตในรายที่ยังต้องการมีบุตร อาจต้องฉีดฮอร์โมนกระตุ้นให้รังไข่ทำงาน
โรคเอ๋อหรือเครทินิซึม (cretinism)
สาเหตุเกิดจากการขาดธาตุไอโอดีน ซึ่งเป็นธาตุอาหารสำคัญที่มีผลต่อพัฒนาการของสมอง แหล่งที่มีธาตุนี้ได้แก่ อาหารทะเล เกลือสมุทร และอาหารเสริมไอโอดีน ไอโอดีนเป็นองค์ประกอบของฮอร์โมนไทรอกซิน ผลิตจากต่อมไทรอยด์ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อที่มีตำแหน่งอยู่ที่บริเวณคอหอย ฮอร์โมนไทรอกซินมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกายควบคุมการเจริญและพัฒนาการของร่างกายรวมทั้งพัฒนาการของสมอง
อาการ การขาดไทรอยด์ฮอร์โมนในทารกแรกเกิดมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตมาก โดยเฉพาะการเจริญเติบโตของสมอง จะทำให้รูปร่างเตี้ยแคระ แขน ขาสั้นหน้าและมือบวม ผิวหยาบแห้ง ผมบาง ไม่เจริญเติบโต รูปร่างเตี้ยแคระซึ่งแตกต่างจากเด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมนพัฒนาการทางด้านสติปัญญาด้อยมาก ปัญญาอ่อน อาจหูหนวกและเป็นใบ้การรักษา ถ้าสามารถค้นพบปัญหานี้ได้อย่างรวดเร็วและให้ไทรอยด์ ฮอร์โมนทดแทนได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่แรกเกิด จะพัฒนาการสามารถเป็นปกติได้ การขาดฮอร์โมนในช่วงปีแรกจะทำให้สมองถูกทำลายอย่างถาวร
คอพอกเป็นพิษ (Toxic goiter , Hyperparathyroidism) คอพอกเป็นพิษเป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อย พบได้ทุกวัย แต่จะพบบ่อยที่สุดในช่วงอายุระหว่าง 20-40 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ประมาณ 5 เท่าโรคนี้มักมีอาการเรื้อรังนานเป็นปี ๆ บางคนอาจหายได้เอง แต่ก็อาจกำเริบได้อีก ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้ บางรายอาจพบว่ามีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย
สาเหตุ ปกติ ต่อมไทรอยด์จะสร้างฮอร์โมนภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง กล่าวคือ ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย ต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมน ออกมากระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น แต่ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานได้มากเกินไป ต่อมใต้สมองก็จะลดการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง (สู่ระดับปกติ) ในคนที่เป็นโรคคอพอกเป็นพิษ จะพบว่าต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป โดยอยู่นอกเหนือการควบคุมของต่อมใต้สมอง ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมน ไทรอยด์ (ไทร็อกซีน) ออกมาในกระแสเลือดเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายทำงานมากผิดปกติ เกิดอาการไม่สบายต่าง ๆ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ต่อมไทรอยด์เสียสมดุลในการทำงานนั้น ยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาภูมิแพ้ต่อตัวเอง หรือออโตอิมมูน (autoimmune) เช่นเดียวกับโรคเอสแอลอี (111)โรคนี้พบว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางเพศ (ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย) ทางกรรมพันธุ์ (พบมีญาติพี่น้องเป็นร่วมด้วย) และความเครียดทางจิตใจ
อาการผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ มือสั่น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาทำงานละเอียด เช่น เขียนหนังสือ งานฝีมือ) ใจหวิวใจสั่น มักจะมีความรู้สึกขี้ร้อน คือ ชอบอากาศเย็นมากกว่า อากาศร้อน เหงื่อออกง่าย (ฝ่ามือจะมีเหงื่อชุ่มตลอดเวลา) น้ำหนักตัวจะลดลงรวดเร็ว โดยที่ผู้ป่วยกินได้ปกติ หรืออาจกินจุขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพราะร่างกายมีการเผาผลาญอาหารมาก ผู้ป่วยมักมีลักษณะอยู่ไม่สุข ชอบทำโน่นทำนี่ บางทีดูเป็นคนขี้ตื่น หรือท่าทางหลุกหลิก หรือาจมีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย บางคนอาจมีอาการถ่ายเหลวบ่อย คล้ายท้องเดินหรืออาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน บางคนอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง แขนขาไม่มีแรงกลืนลำบาก หรือมีภาวะอัมพาตครั้งคราวจากโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (78) ผู้หญิงบางคนอาจมีประจำเดือนน้อยหรือขาดประจำเดือน
การรักษาทางเลือกการรักษา 1. ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ประเทศสหรัฐอเมริกา Graves' disease และ toxic nodular goiter พบได้ร้อยละ 60 และร้อยละ 15-20 ตามลำดับ. สำหรับประเทศไทย ตัวเลขอุบัติการณ์ของทั้งสองโรคน่าจะต่างไป เนื่องจากยังมีบางพื้นที่ที่ประสบปัญหาขาดธาตุไอโอดีนซึ่งเป็นความเสี่ยงเกิดภาวะ toxic nodular goiter.แนวทางการรักษาภาวะธัยรอยด์เป็นพิษ แต่ละชนิดเป็นดังนี้ ► Toxic nodular : ควรเลือกใช้การกลืนแร่ หรือการผ่าตัดเป็นหลักเนื่องจากไม่สามารถหวังผลหายขาดได้จากการรักษาด้วยยา. ► Subacutethyroiditisควรได้รับการ รักษาตามอาการด้วย aspirin และ beta blockers.
► Graves' disease : สามารถเลือกใช้ ทั้งการรักษาด้วยยา, radioactive iodine หรือการผ่าตัดในประเทศสหรัฐอเมริกาเลือกใช้ Radioactive iodine (กลืนแร่) เป็นหลัก เนื่องจากตามธรรมชาติของโรคจะกลับเป็นซ้ำได้ค่อนข้างมาก ถึงร้อยละ 50-60 (คิด cumulative) หากใช้การรักษาด้วยยาเป็น ทางเลือกแรก. สำหรับในประเทศไทยและบางประเทศ ในยุโรปยังคงใช้การรักษาด้วยยาเป็นทางเลือกแรกยกเว้นในกรณีที่ก้อนโตมากอาจพิจารณาใช้การผ่าตัดรักษา. ผู้ป่วยที่มีปัญหา Graves orbitopathyร่วมด้วย ควรพิจารณาให้การรักษาด้วยยา เพราะการกลืนแร่ อาจทำให้อาการดังกล่าวเลวลงได้ (ร้อยละ 15). ข้อเตือนใจสำคัญประการหนึ่งคือ การกลืนแร่ไม่ปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร. ► สำหรับสาเหตุที่พบไม่บ่อยอื่นๆ ของ ภาวะธัยรอยด์เป็นพิษ เช่น iodine excess, pituitary tumor, molar pregnancy, metastatic thyroid carcinoma, strumaovarii, amiodarone induced thyrotoxicosisจะขอละไว้ไม่กล่าวในที่นี้.
2. ภาวะ subclinical hyperthyroidism เป็นภาวะที่มีส่วนเพิ่มอัตราการเกิด atrial fibrillation อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ. อย่างไรก็ดี มีข้อมูล ไม่เพียงพอว่าภาวะดังกล่าวมีผลทำให้อัตราตายเพิ่มขึ้น ดังนั้นควรพิจารณารักษาก็ต่อเมื่อ ผู้ป่วยอายุมากกว่า 60 ปี, หญิงหมดประจำเดือน ที่ระดับ TSH < 0.1 mU/l, ผู้ป่วยอื่นๆ ที่มีอาการพิษธัยรอยด์, atrial fibrillation หรือ osteopenia.
ไฮโปไทรอยด์ คือภาวะที่ฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายต่ำ ซึ่งอาจจะเกิดจากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไม่พอ ( primary hypothyroidism) หรืออาจเกิดต่อมใต้สมองลดการปล่อยฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ( thyroid-stimulating hormone -TSH) ซึ่งเรียกไฮโปไทรอยด์ชนิดนี้ว่าเป็น secondary hypothyroidism หรืออาจเกิดจากสมองส่วนไฮโปทาลามัสซึ่งมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนกระตุ้นต่อมใต้สมองอีกชั้นหนึ่งหลั่งฮอร์โมนกระตุ้น ( thyrotropin-releasing hormone-TRH) ไม่พอ ซึ่งเรียกไฮโปไทรอยด์ชนิดนี้ว่าเป็น tertiary hypothyroidism ในกรณีที่ต่อมใต้สมองต้องผลิตฮอร์โมนกระตุ้น ( TSH) มากกว่าผิดปกติแต่ยังจะพอทำให้ฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์มีจำนวนปกติอยู่ได้ เรียกภาวะนี้ว่าเป็นโรคไฮโปไทรอยด์ที่ยังไม่มีอาการ ( subclinical hypothyroidism)ในอเมริกาไฮโปไทรอยด์พบ 4.6% ของประชากร เป็นชนิดมีอาการชัด ( overt hypothyroid) 0.3% เป็นชนิดไม่มีอาการ ( subclinical) 4.3%
สาเหตุของไฮโปไทรอยด์ที่ระดับสมอง (secondar hypothyroidism)1. เนื้องอกของต่อมใต้สมอง (pituitary adenoma)2. เนื้องอกที่เนื้อสมองส่วนไฮโปทาลามัส3. เคยฉายรังสีที่สมอง
อาการของคนที่ไม่มีต่อมไทรอยด์ถ้าคนไม่มีต่อมไทรอยด์เลย ( athyreotic human) เลย สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเขาคือ1. อัตราการเผาผลาญอาหารต่ำ น้ำหนักเพิ่ม ไม่อยากอาหาร ขี้หนาว นอนมาก2. ผิวแห้ง ไม่มีเหงื่อ เหลือง เล็บหนาและเปราะ ผมร่วง3. เสียงแหบและช้า ( husky) ท้องผูก4. จิตประสาทช้า สีหน้าทื่อ ( dull) ซึมเศร้า สมาธิสั้น ความจำเสื่อม เป็นบ้า ( myxedema madness)5. ไขมันชนิดไม่ดี ( LDL) ในเลือดสูง 6. หมดแรง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ปวดไปทั่ว ( widespread pain ) มีอาการหยุดหายใจขณะนอนหลับ ( sleep apnea) เชื่อว่าเป็นเพราะกล้ามเนื้อของทางเดินลมหายใจไม่ทำงาน)7. การที่ระดับฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์ ( TRH) เพิ่มขึ้นทำให้ฮอร์โมนกระตุ้นการหลังน้ำนม ( prolactin) เพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลต่อเนื่องไปทำทำให้ฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่ ( gonadotropin) ลดลง ยังผลให้ไม่ตกไข่ ประจำเดือนมาไม่เสมอ หรือมามาก ( hypermenorrhea) เป็นหมัน หมดความรู้สึกทางเพศ นอกจากนี้จะมีอาการซีด เพราะการสร้างเม็ดเลือดแดง ( erythropoiesis)8. ไฮโปไทรอยด์อาจทำให้ภาวะที่เซลดื้อต่ออินสุลิน ( insulin resistance) มากขึ้น ทำให้เบาหวานรุนแรงขึ้น
อาการของผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์อาการไฮโปไทรอยด์ในผู้ป่วยจะเริ่มอย่างช้าๆ ไม่รู้ตัว แล้วเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ได้แก่อ่อนเปลี้ย เฉื่อย ขี้หนาว ท้องผูก ผิวแห้งซีด แก้มยุ้ย ( puffy ) เสียงแหบ โคเลสเตอรอลในเลือดสูง น้ำหนักขึ้นโดยไม่ทราบเหตุ ปวดและตึง ( stiff ) กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อ กล้ามเนื้อไม่มีแรง เมนส์มามาก เล็บและผมเปราะ ซึมเศร้า ขี้ลืม คิดอะไรช้า ถ้าเป็นมากเรียกว่า myxedemaมีอาการความดันเลือดตก หยุดหายใจ ตัวเย็นลง เรียกไม่รู้ตัว โคม่า ตายได้ แม้ว่าอาการมักเป็นในหญิงสูงอายุ แต่ใครก็เป็นได้ รวมทั้งเด็กเล็กและวัยรุ่น ถ้าเป็นเด็กเกิดใหม่จะมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง (jaundice) เพราะตับทำลายน้ำดี ( bilirubin) ไม่ได้ สำลักบ่อย ลิ้นใหญ่คับปาก แก้มยุ้ย กินยาก เลี้ยงไม่โต อาจมีท้องผูก กล้ามเนื้อไม่แข็ง หลับมาก ฟันแท้ขึ้นช้า พัฒนาการช้า เป็นหนุ่มสาวช้า ปัญญาอ่อน
การรักษาไฮโปไทรอยด์รักษาได้ผลดีด้วยการให้ฮอร์โมนทดแทน โดย T4 ทดแทนด้วย levothyroxine -LT4 (Synthroid) ยานี้ไม่ควรกินพร้อมกับวิตามิน ที่มีเหล็กและแคลเซียม ขนาดที่ให้คือกิน 1.6 mcg/kg ต่อวัน ในคนสูงอายุหรือเป็นโรคหัวใจควรเริ่มขนาด ¼ ของปกติแล้วค่อยๆเพิ่มทุก 4-6 สปด. จนได้ขนาด maintenance คือ 50-200 mcg ต่อวัน ในกรณีใช้รักษา myxedema coma ให้ครั้งเดียว 200-250 mcg ฉีดเข้า IVเนื่องจากผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีปัญหาในการเปลี่ยน T4 เป็น T3 วิธีป้องกันปัญหานี้จึงอาจเลี่ยงไปใช้ยา Armour thyroid ซึ่งมีทั้ง T3 และ T4 แทน โดยใช้ขนาด 90 มก. แบ่งให้ครึ่งเม็ดหลังอาหารเช้า อีกครึ่งเม็ดหลังอาหารเย็น เพราะ T3 มี half life สั้น หากให้วันละครั้งจะไม่พอรักษาระดับฮอร์โมนในเลือด อีกวิธีหนึ่งคือให้ triiodothyroxinหรือ T3 (Cytomel) ควบกับ T4 ซึ่งในกรณีนี้ T3 ต้องแบ่งให้วันละ 2 ครั้งเช่นกัน
ที่มา • http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99 • http://lilliantaggart.wordpress.com/category/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99/ • http://www.phimaimedicine.org/2010/10/852-45.html • http://www.clinic.worldmedic.com/disease/endo11.html • http://www.chaiwbi.com/2552student/ms5/d525102/wbi/525109/unit03/unit3_1002.html • http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter4/thyroid_abnormal.htm
ผู้จัดทำ • นางสาว ธนพร จันทร ชั้น ม.5/2 เลขที่ 11 ก • นางสาว องค์อร สันติสงวนศักดิ์ ชั้น ม.5/2 เลขที่ 8 ข • นางสาวอรรัมภา ตั้งหลักมั่นคง ชั้น ม.5/2 เลขที่ 10 ข