150 likes | 449 Views
ภูมิปัญญาท้องถิ่น. เสนอ อาจารย์ฐิ ตาพร ดวงเกตุ จัดทำโดย ด.ญ.ดวงมณี สุรวรรณ ชัย เลขที่33 ด.ญ. พัณณิ ตา กว้างนอก เลขที่39 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1. วัดพิกุลทอง.
E N D
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เสนอ อาจารย์ฐิตาพร ดวงเกตุ จัดทำโดย ด.ญ.ดวงมณี สุรวรรณชัย เลขที่33 ด.ญ.พัณณิตา กว้างนอก เลขที่39 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1
วัดพิกุลทอง วัดพิกุลทองอยู่ในเขตตำบลวิหารขาว ห่างจากตัวเมืองประมาณ 16 กิโลเมตร อยู่ห่างจากวัดพระนอนจักรสีห์ วรวิหารไปประมาณ 9 กิโลเมตร เดิมชื่อว่า “วัดใหม่พิกุลทอง” แต่มักเรียกขานกันว่า “วัดใหม่” เพราะสร้างขึ้นใหม่ในเขตบริเวณนี้ สร้างเมื่อ พ.ศ.2434 โดยขุนสิทธิ์ , นายกลับ สถิตย์บุตร และนายช่วง เป็นหัวหน้า
วัดโพธิ์เก้าต้น ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 ตำบลบางระจัน ตรงข้ามกับอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน ห่างจากตัวเมืองประมาณ 15 กิโลเมตร เส้นทางหลวงหมายเลข 3032 เป็นสถานที่ที่วีรชนชาวบ้านบางระจันได้เคยใช้เป็นที่มั่นในการต่อต้านพม่าที่ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ. 2308 ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า “วัดไม้แดง” เพราะภายในบริเวณ มีต้นไม้แดง ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งอยู่หลายต้น และชาวบ้านถือกันว่าเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีใครกล้าตัดหรือทำลาย ในบริเวณ วัดมี “วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ” เป็นวิหารทรงจตุรมุข พระอาจารย์ท่านเป็นผู้นำสำคัญผู้หนึ่งของชาวบ้านบางระจัน และใกล้ ๆ กันมีสระน้ำพระอาจารย์ธรรมโชติ มีปลาอยู่ชุกชุมเพราะชาวบ้านถือว่าเป็นปลาศักดิ์สิทธิ์จึงไม่จับไปรับประทาน และยังมีศาลรวมวิญญาณวีรชนค่ายบางระจันตั้งอยู่ใกล้ริมรั้ว ส่วนหน้าวัดได้มีการจำลองค่ายบางระจันตามประวัติศาสตร์ไว้ด้วย กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดโพธิ์เก้าต้นเป็นโบราณสถาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498
วัดพระปรางค์ (ชัณสูตร) ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านโคกหม้อ ตำบลเชิงกลัด ภายในบริเวณวัดมีพระปรางค์ศิลปะแบบอยุธยาตอนต้น พุทธศตวรรษที่ 21 สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช องค์ปรางค์สูงประมาณ 15 เมตร ก่อด้วยอิฐแบบปรางค์ไทยสูงชะลูดคล้ายฝักข้าวโพด ฐานเตี้ย ภายในกลวง มีคูหาสี่เหลี่ยมจตุรัสบนผนังคูหา และปัจจุบันร่องรอยภาพจิตรกรรมฝาผนังได้ลบเลือนไปแล้ว ด้านหลังมีวิหารเก่าแก่แบบอยุธยา หน้าบันเป็นลายแกะสลักไม้รูปตัวสิงห์และคันทวยต่าง ๆ มีภูเขาและรอยพระพุทธบาทจำลองบนยอดเขา นอกจากนั้นยังปรากฏร่องรอยของเตาเผาแม่น ้ำน้อยประมาณ 3-4 เตา วัดพระปรางค์ถูกขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478
วัดหน้าพระธาตุ อยู่ในเขตบ้านพระนอนจักรสีห์ ตำบลจักรสีห์ ห่างจากวัดพระนอนจักรสีห์ไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร เดิมชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า วัดหัวเมือง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดหน้าพระธาตุ สันนิษฐานว่าสถานที่บริเวณนี้จะเป็นที่ตั้งของเมืองสิงห ์บุรีเก่า สิ่งที่สำคัญของวัดนี้ คือ องค์พระปรางค์สูงประมาณ 8 วา ทำเป็นรูปครุฑ อสูรถือกระบองประดับอยู่เหนือชั้นเชิงบาตร ภายหลังมีการเสริมแต่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะอยุธยาตอนต้น โดยการก่ออิฐเพิ่มเติมเป็นซุ้มจรนัมทั้งสี่ด้าน ตั้งแต่ฐานศิลาแลงขึ้นไปก่อด้วยอิฐย่อมุมทรงปรางค์ กลีบขนุนปรางค์ก่อด้วยอิฐ ทิศตะวันออกขององค์ปรางค์มีพระวิหารหลวง ทิศตะวันตกเป็นพระอุโบสถ และมีเจดีย์กลมเรียงรายหลายองค์ เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 24 78
วัดอัมพวัน ตั้งอยู่ที่ตำบลพรหมบุรี ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 36 กิโลเมตรที่ 130 เป็นวัดที่มีชื่อเสียงในด้านการปฏิบัติธรรมทางวิปัสสนากรรมฐาน มีพระราชสุทธิญาณมงคล (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม) เป็นเจ้าอาวาส&nbs p; การเดินทาง รถประจำทาง จากกรุงเทพฯ นั่งรถสายกรุงเทพฯ-สิงห์บุรี หรือกรุงเทพฯ-อำเภอวัดสิงห์ มาลงที่ปากทางเข้าหน้าวัดอัมพวันแล้วต่อรถจักรยานยนต์รับจ้างเข้ามายังวัด หรือหากมาจากอำเภอเมืองสิงห์บุรี สามารถขึ้นรถสองแถวสายสิงห์บุรี-วัดตราชู ที่ บขส. ในตัวเมือง มาลงที่หน้าวัด
วัดสว่างอารมณ์ ตั้งอยู่ที่บ้านบางมอญ ตำบลต้นโพธิ์ ในเขตเทศบาลอำเภอเมืองสิงห์บุรี ห่างจากศาลากลางจังหวัดหลังเก่าไปทางลำน้ำเจ้าพระยาประมาณ 2 กิโลเมตร วัดนี้เป็นศูนย์รวมของศิลปะหลายด้าน ได้แก่ การศึกษา การก่อสร้างโบสถ์ วิหารศาลา และโดยเฉพาะการปั้นพระพุทธรูปเหมือ น ที่สืบทอดวิชาปั้นพระพุทธรูปมาจากตระกูลบ้านช่างหล่อธนบุรี ภายในวัดยังมี พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ เป็นแหล่งเก็บรวบรวมตัวหนังใหญ่ที่สมบูรณ์และสามารถเล่นได้กว่า 300 ตัว ซึ่งพระครูสิหมุณี อดีตเจ้าอาวาส ได้รวบรวมตัวหนังใหญ่จากฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอ นปลายเอาไว้ และส่วนหนึ่งได้รับมอบหมายจากครูเปีย หัวหน้าคณะหนังเร่ ผู้ที่มีความสามารถในการเชิด-พาทย์หนังใหญ่ และได้ถ่ายทอดการแสดงหนังใหญ่สืบต่อกันมา
วัดประโชติการาม ตั้งอยู่ที่ตำบลบางกระบือ เป็นวัดเก่าแก่ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ พุทธลักษณะงดงาม ศิลปะแบบสุโขทัยขนาดใหญ่ 2 องค์ คือ หลวงพ่อทรัพย์และหลวงพ่อสิน ซึ่งมีพุทธลักษณะที่งดงาม เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป
วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหารวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ในตำบลจักรสีห์ สันนิษฐานว่าวัดนี้ส ร้างสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ภายในวิหารเป็นทีประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ขนาดใหญ่ มีพุทธลักษณะแบบสุโขทัยที่มีความงดงามมาก มีความยาว 47 เมตร 42 เซนติเมตร (1 เส้น 3 วา 2 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว) ลักษณะพระพักตร์ หันไปทางทิศเหนือ พระเศียรหันไปทางทิศตะวันอ อก นอกจากนี้ยังมี พระกาฬ เป็นพระพุทธรูปศิลาลงรักปิดทอง และพระแก้ว พระหล่อนั่งขัด สมาธิเพชรอันศักดิ์สิทธิ์และมีพระพุทธลักษณะงดงาม ทั้งพระกาฬและพระแก้วสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้เป็นพระประทานในการถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการ ด้านหน้า วิหารมีต้นสาละลังกาใหญ่ต้นไม้สำคัญในพระพุทธศาสนาผลิดอกบานสะพรั่งหลายต้น