50 likes | 149 Views
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องสารเคมีในชีวิตประจำวันโดยวิธีการสอน แบบวิทยาศาสตร์ห้อง คพ.401 ปีการศึกษา 2-2550. ผลการศึกษา. วัตถุประสงค์การวิจัย. วิธีการ.
E N D
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องสารเคมีในชีวิตประจำวันโดยวิธีการสอน แบบวิทยาศาสตร์ห้อง คพ.401 ปีการศึกษา 2-2550 ผลการศึกษา วัตถุประสงค์การวิจัย วิธีการ พบว่านักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางเรียนมากที่สุดในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 50.00 รองมาอยู่ในระดับน้อยมาก คิดเป็นร้อยละ 29.17 ในระดับดีมาก และระดับปานกลางมีจำนวนเท่ากัน ที่ร้อยละ 8.33 นั่นหมายความว่า การสอนด้วยวิธีการแบบวิทยาศาสตร์ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ระดับปานกลางขึ้นไป ถึงระดับดีมาก ข้อเสนอแนะ ให้ผู้วิจัยทำการประเมินผลการเรียนก่อนสอนเพื่อพัฒนางานวิจัยไปสู่การทดสอบแบบ Pretest post test Design ใช้การสังเกตและการทดลอง กับกลุ่มตัวอย่าง 26 คน วิเคราะห์โดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ผู้วิจัยต้องการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องสารเคมีในชีวิตประจำวันโดยวิธีการสอนแบบวิทยาศาสตร์ห้อง คพ.401 ผู้วิจัย : ปวีณา ปงลังกา ปีการศึกษา :2-2550
ศึกษาผลการปลูกฝังการใฝ่ประหยัดโดยวิธีการทำบัญชีครัวเรือน ของนักศึกษาห้องพบ.101 ภาคเรียนที่ 2-2550 ผลการศึกษา วัตถุประสงค์ วิธีการ ผลจากการดำเนินการพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีการออมเงิน อยู่ในระดับที่น้อยกว่า 100 บาท จำนวนร้อยละ 61.54 รองลงมาคือ ระหว่าง101-500 บาท คิดเป็นร้อยละ 26.92 และมีเพียง ร้อยละ3.85 ที่มีผลการดำเนินการเกินกว่า 1,000 บาท อย่างไรก็ตาม ไม่มีนักเรียนคนใดในห้องที่ไม่ฝากเงินออมนั่นหมายความว่า ส่วนใหญ่ได้รับการปลูกฝังเรื่องการใฝ่ประหยัดอดออม การมีจำนวนเงินฝากที่แตกต่างกันนั้นอาจเป็นเพราะว่า รายได้ครอบครัว ฐานครอบครัวทำให้การฝากเงินออมของนักเรียนมีความแตกต่างกันทั้งนี้อาจใช้มาตรการกระตุ้นการออมด้วยวิธีการอื่น ๆ มากขึ้นกับกลุ่มที่มีการออมน้อย ศึกษาผลการปลูกฝังการใฝ่ประหยัดโดยวิธีการทำบัญชีครัวเรือนของนักศึกษาห้อง พบ. 101 ภาคเรียนที่ 2/2550 ใช้แบบสำรวจจากสมุดบัญชีครัวเรือนในการจดบันทึกรายการรับ-จ่ายและรณรงค์ให้มีการออมเงินของนักศึกษาจำนวน 26 คน สถิติที่ใช้ค่าร้อยละ ผู้วิจัย :อ้อยใจ แดงอินทร์ ปีการศึกษา :2-2550
ศึกษาผลการวิเคราะห์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ในรายวิชากฎหมายแรงงานและการประกันสังคมโดยใช้ Mind Mapping ของนักศึกษาแผนการตลาด ปีการศึกษา 2-2550 วัตถุประสงค์การวิจัย วิธีการ ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาแผนกการตลาดมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการขั้นตอนการทำ Mind Mapping เป็นอย่างดีโดยผู้เรียนส่วนใหญ่มีผลการเรียนรู้ในระดับที่ดีมาก คิดเป็นร้อยละ 86.36 รองลงมาระดับมากคิดเป็นร้อยละ 9.09นั้นแสดงว่าการใช้ Mind Mapping ช่วยให้นักศึกษาแผนการตลาดมีการวิเคราะห์การเรียนรู้ด้วนตนเองในรายวิชากฏหมายแรงงานและการประกันสังคมเรียนรู้ได้ดีขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่านักศึกษาได้รับการชี้แจงให้ทราบถึงเกณฑ์การประเมิน Mind Mapping ที่ชัดเจนก่อนการดำเนินการ ใช้แบบ check sheet ตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด กับกลุ่มนักศึกษา ตล.501และ พต. 501 จำนวน 22 คน สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ผู้วิจัยต้องการศึกษาเพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้ Mind Mapping ในรายวิชากฎหมายแรงงานและการประกันสังคมของนักศึกษาแผนกตลาด ปีการศึกษา 2-2550 ผู้วิจัย : อรัญญา เลิศวิทยาวิวัฒน์ ปีการศึกษา :2-2550
ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมชมรมทำขนมไทยปีการศึกษา 2550 ผลการศึกษา วัตถุประสงค์การวิจัย วิธีการวิจัย พบว่า โดยรวมผู้เข้าชมรมมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมชมรมทำขนมไทย โดยมีค่าเฉลี่ย(X) 4.43 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) 0.61นั่นหมายความว่าโดยรวมผู้เข้าร่วมชมรมมีความพึงพอใจในระดับมากประเด็นที่นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดคือ ความสุข และสนุกกับการเรียน มีค่าเฉลี่ยเป็น 4.52 รองลงมาคือประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนเสริม มีความพึงพอใจในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.48 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าผู้สอนมีทักษะการสอนและอัธยาศัยที่ดีกับผู้เรียนสอดคล้องกับหลักฐานการบันทึกของผู้เรียนที่กล่าวชมเชยว่า “ครูผู้สอนเป็นคนผู้ใจดี” แบบสำรวจสมาชิกชมรมจำนวน 23 คนโดยการใช้ค่าเฉลี่ย (X)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผู้วิจัยต้องการศึกษาศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้ารวมชมรมทำขนมไทยปีการศึกษา 2550 ผู้วิจัย :อรัญญา เลิศวิทยาวิวัฒน์ ปีการศึกษา :2550
การศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภควารสารของโรงเรียนแสงทองวิทยาปีการศึกษา 2550 วัตถุประสงค์การวิจัย วิธีการวิจัย ผลการวิจัย ผู้วิจัยต้องการศึกษา ความพึงพอใจของผู้บริโภควารสารของโรงเรียนแสงทองวิทยา ปีการศึกษา 2550 แบบสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครองและนักเรียน รวมทั้งสิ้น 347 คน สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย (x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) พบว่า โดยรวมผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน (SD.=0.76) ต่อความพึงพอใจของการจัดทำวารสารโรงเรียนในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 4.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า การใช้สีที่เป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนมีความพึงพอใจในระดับสูงสุดที่ค่าเฉลี่ย 4.17 รองลงมาคือการตรวจสอบตัวอักษร และความชัดเจนสวยงามของรูปภาพอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกันที่ 4.14 และ 4.13 ตามลำดับ ส่วนระยะเวลาของการออกวารสารมีความพึงพอใจในระดับปานกลางที่ค่าเฉลี่ย 3.39 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าผู้ปกครอง ครูผู้สอนและนักเรียนมีความสนใจที่จะรับข้อมูลข่าวสารจากโรงเรียนบ่อยขึ้น สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่างที่กล่าวว่า “ระยะเวลาของการออกวารสารควรถี่กว่านี้” เป็นที่น่ายินดี ที่ข้อค้นพบจากการวิจัยทำให้ผู้บริหารโรงเรียนได้อนุมัติเพิ่มความถี่ในการออกวารสารโรงเรียนจากรายภาคเรียนเป็นรายเดือน ในการศึกษา 2551 วิจัยโดย พรศรี เลิศวิทยาวิวัฒน์