120 likes | 360 Views
เครื่องมือคุณภาพ. เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา. PDCA. - เป็นวงจรที่พัฒนาโดย W.Edwards Deming ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบริหารคุณภาพ เป็นเทคนิคที่ช่วยให้เกิด การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือการตั้งเป้าหมายในชีวิต. Plan (วางแผน )
E N D
เครื่องมือคุณภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
PDCA • - เป็นวงจรที่พัฒนาโดย W.Edwards Deming • ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบริหารคุณภาพ • เป็นเทคนิคที่ช่วยให้เกิด • การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง • สามารถนำไปประยุกต์ใช้ • ในชีวิตประจำวัน การทำงาน • หรือการตั้งเป้าหมายในชีวิต
Plan (วางแผน) เริ่มจากกำหนดสิ่งที่ต้องการจะปรับปรุง เมื่อเลือกสิ่งที่จะปรับปรุงได้แล้ว ก็เริ่มวางแผน ขั้นตอนนี้ให้คิด 6 W 2 H ของสิ่งที่ต้องการจะปรับปรุง คือวัตถุประสงค์และเป้าหมายคืออะไร (what) ทำเพื่อใคร (whom) จะปรับปรุงที่ไหน(where) โดยใคร(who) เมื่อไร (when) ทำไมถึงต้องปรับปรุงสิ่งนี้ (why) เรามีวิธีในการปรับปรุงอย่างไร (how) จำนวนกลุ่มผู้รับผลประโยชน์หรืองบประมาณที่ใช้เท่าไร (how many)
Do (ปฏิบัติ) เป็นการทำความเข้าใจกับแผนที่วางไว้ และ ผู้รับผิดชอบลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
Check(การติดตามผล) เป็นการตรวจสอบผลของการปฏิบัติ นำผลมา เปรียบเทียบกับแผนที่ได้วางไว้
Action(ดำเนินการให้เหมาะสม)Action(ดำเนินการให้เหมาะสม) เป็นการนำผลการตรวจสอบมาพิจารณา ถ้าได้ผล ตามแผนที่วางไว้ ก็กำหนดขั้นตอนปฏิบัตินั้นเป็น มาตรฐานการปฏิบัติต่อไป แต่ถ้าไม่ได้ผลตามแผน มีปัญหาระหว่างปฏิบัติ ก็ต้องหาสาเหตุของปัญหานั้น และหาทางแก้ไขปรับปรุง เพื่อไม่ให้การปฏิบัติครั้ง ต่อไปเกิดปัญหานั้นอีก
ตัวอย่าง PDCA Sheet การนำวงจรคุณภาพ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
เป้าหมาย เก็บเงินให้ได้ 60,000 บาท Plan สิ่งที่ต้องทำ เก็บเงินให้ได้เดือนละ 5,000 บาท ระยะเวลา 1 ปี ขั้นตอนในการทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 1.คำนวณรายได้ (เงินเดือน 16,000 บาท) 2.ประมาณการค่าใช้จ่าย 3.(จ่ายประจำ-ค่าเช่าบ้าน 3,000บ.ค่ามือถือ 500บ.เงินเก็บ 5,000 บ. 4.คงเหลือ (16,000-(3,000+500+5,000)) = 7,500 บาท 5.ใช้เงิน 7,500 บาท ใน 30 วัน 6.เฉลี่ยวันละ 250 บาท
ใช้เงินแต่ละวันให้ไม่เกิน 250 บาท จดรายจ่ายใน Personal Improvement อย่าลืมจดปัญหาอุปสรรคประจำวันด้วย Do
แนวทางใหม่ ๆ ไอเดียปิ๊ง ๆ Check - เงินที่จะเก็บเป็นเงินออม ให้ฝากธนาคารที่ไม่มีATM - ตั้งคำถามกับตัวเองก่อนจ่าย 2-3 ครั้งว่า “จำเป็นมั้ย” - ศึกษาวิธีการลดรายจ่ายที่ช่วยให้เราทำได้ตามเป้าหมาย - เดือนที่ทำได้ตามเป้าหมายก็พยายามรักษามาตรฐานนี้ไว้
ปัญหาอุปสรรคที่พบ วิธีการในการแก้ไข - บางวันใช้เงินเกิน เงินที่ใช้เกินเนื่องจากนั่งแท็กซี่บ่อย เพราะตื่นสายกลัวไปไม่ทัน ต้องตื่นให้เช้าขึ้น - พอดีมีงานผ้าป่าจึงทำบุญไปด้วย อาจต้องประหยัด ค่าใช้จ่ายระหว่างวัน มากขึ้น นำผลที่ได้มากำหนดวิธีการใช้เงินให้ละเอียดขึ้น นำกลับไปวางแผนใหม่ (P) อีกครั้ง Action
นักเรียนทุกคนต้องเรียนรู้เครื่องมือคุณภาพ PDCA ที่จะเป็นประโยชน์แก่นักเรียน สามารถนำไปใช้ ในชีวิตประจำวันได้ และกำหนดให้นักเรียนทุกห้องเรียนนำ PDCA ไปใช้ ในการทำโครงการ OCOP ด้วย ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 21stCentury Skills