270 likes | 582 Views
บทที่ ๑ กำเนิดและวิวัฒนาการของศาสนาโบราณ ขอบข่ายเนื้อหาประจำบท ความหมายของศาสนา มูลเหตุให้เกิดศาสนา ศาสนาและวิธีการศึกษา การแบ่งยุค – สมัยโบราณ
E N D
ศาสนาโบราณ (Dead Religions)
บทที่ ๑ กำเนิดและวิวัฒนาการของศาสนาโบราณ • ขอบข่ายเนื้อหาประจำบท • ความหมายของศาสนา • มูลเหตุให้เกิดศาสนา • ศาสนาและวิธีการศึกษา • การแบ่งยุค – สมัยโบราณ
มนุษย์ที่ปราศจากศาสนา ก็เหมือนศพ......ที่ปราศจากดวงวิญญาณและจิตใจ
ความหมายของศาสนา ความหมายของศาสนาในทัศนะพุทธทาสภิกขุ “ศาสนา คือ ระบบแห่งการสังเกตและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความผูกพันกันระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับมนุษย์ การสังเกตนั้นคือปัญญา การปฏิบัตินั้นคือการกระทำหรือกรรม”
ความหมายของศาสนาในทัศนะ ศาสตราจารย์เดือน คำดี คำว่า "ศาสนา" เป็นภาษาสันสฤต ตรงกับภาษอังกฤษว่า "Religion" ที่มาจากคำละตินว่า "Religio" แปลว่า "สัมพันธ์" หรือ "ผูกพัน" หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ตรงกับภาษาบาลี "สาสน" แปลว่า คำสั่งสอน "คำสั่ง" หมายถึง ข้อห้ามทำความชั่ว ที่เรียกว่าศีลหรือวินัย และเป็น "คำสอน" หมายถึงคำแนะนำให้ทำความดีที่เรียกธรรมะ รวมเรียกว่าศีลธรรม
ศาสนาที่ตายแล้ว • ศาสนาที่ตายไปแล้ว หมายถึงศาสนาที่ไม่มีผู้นับถือ คงเหลืออยู่แต่ซากสิ่งก่อสร้าง หรือจิตรกรรม ปฏิมากรรมพอให้สืบค้นได้ แต่ไม่จำเป็นต้องหมายความว่า เป็นศาสนาเก่าแก่กว่าศาสนาที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันเสมอไป
บ่อเกิดศาสนา • ๑) เกิดจากความกลัว ต่อธรรมชาติ ( Fear of Nature)
บ่อเกิดศาสนา ๒) เกิดจากความไม่รู้ (Lack of Knowledge) ได้ แก่ ความไม่รู้ต่อสิ่ง ที่อยู่รอบตัวของเรา ความไม่รู้ (อวิชชา) นี้ย่อมสร้างโนภาพให้กับมนุษย์จนเกิดเป็นศาสนาได้
บ่อเกิดศาสนา ๓) เกิดจากความต้องการผสมสนองตอบแทน (Need of Recompens)ได้แก่ การที่มนุษย์มีศาสนาหรือศรัทธาต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็เพื่อต้องการให้ได้สิ่งตอบแทน เช่น นับถือผี ต้องการให้ผีช่วย เพื่อความปลอดภัยบ้าง หรือเชื่อพระเจ้า ก็ต้องการให้ชีวิตดีขึ้น
ลำดับขั้นตอนการเกิดศาสนาลำดับขั้นตอนการเกิดศาสนา การปฏิบัติทั้งส่วนตัวและส่วนรวม คนสัมผัสกับโลกภายนอก การยอมรับและความเชื่อ อารมณ์ ความคิดกลุ่มหนึ่ง การคิด สถาบันศาสนา เหตุผล
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง 1. การเกิดความคิดใหม่ๆ ของมนุษย์ 2. การนำความคิดใหม่ๆ มาปรับปรุง เพิ่มเติม และ ผสมผสาน เข้ากับความคิดเดิม 3. อิทธิพลของความรู้ใหม่ๆ ที่สามารถลบล้างความเชื่อแบบเดิมๆได้
ศาสนาและวิธีการศึกษา “บรรดาความเจริญสมัยใหม่ทุกอย่าง ย่อมอาศัยสิ่งที่เกิดขึ้นในสมัยเก่าเป็นรากฐาน เช่นเดียวกับการศึกษาสังคมมนุษย์ในสมัยใหม่ ต้องอาศัยความเป็นไปของมนุษย์โบราณเป็นมูลเค้า”
การศึกษาศาสนาหรือศรัทธาของมนุษย์ในสมัยโบราณ มีทางศึกษาได้หลายทาง อาทิศึกษาจากอักขระจารึก ภาพจำหลัก เครื่องมือเครื่องใช้ และอาวุธที่ขุดพบ บางทีได้จากหลุมฝังศพ หรือศึกษาจากเทพนิยายที่คนเหล่านั้นเล่าสืบต่อกันมา เทพนิยายเป็นเรื่องช่วยให้เห็นศรัทธาหรือศาสนาของมนุษย์ได้อีกส่วนหนึ่ง
เครื่องหมาย (Totem) ของชาวป่าสมัยโบราณ
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีได้แบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ เป็น 2 สมัย 1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่คนศึกษาเรื่องราวต่างๆ จากเครื่องมือเครื่องใช้ ยังไม่มีการใช้ตัวอักษรในการสื่อสาร 2. สมัยประวัติศาสตร์ เป็นสมัยที่มนุษย์มีการใช้ตัวอักษรในการสื่อสาร
สมัยก่อนประวัติศาสตร์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ 1. ตัวอย่างหลักฐานยุคหินเก่า ซึ่งแบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนต้น ตอนกลางและตอนปลาย เช่น เครื่องมือหินกะเทาะแบบอาชลีน (Acheulean) 2. ยุคหินใหม่ ( Neolithic หรือ The New Stone Age) เริ่มต้นในช่วง 6,000 ปีก่อนคริสต์กาล แบ่งตามลักษณะเครื่องมือหิน ได้แก่ หินขัด คือ การทำเครื่องมือหินขัดจนบางเรียบ มีด้าม ทำให้คม ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย 3. ยุคโลหะ เป็นยุคที่นำโลหะมาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ระยะแรกใช้ทองแดงและดีบุก
ตัวอย่างความเชื่อที่สำคัญ คือ การนำก้อนหินขนาดกลางหรือขนาดใหญ่มาเรียงต่อกัน เรียกว่า เมกาลิธิค ( Megalithic ) เช่น สโตนเฮนจ์ (The Stonehenge) ในอังกฤษ
สมัยประวัติศาสตร์ 1. สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่มนุษย์สร้างเมืองบนลุ่มแม่น้ำไทกรีสยูเฟตีส และประดิษฐ์ตัวอักษรใช้2. สมัยกลาง เกิดขึ้นตั้งแต่อาณาจักรโรมันล่มสลาย ทำให้ดินแดนในยุโรปแบ่งแยกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย คนหันไปสนใจศาสนาคริสต์ ทำให้ศาสนามีอิทธิพลต่อคนยุโรปสมัยนั้นอย่างมาก3. สมัยใหม่ เป็นสมัยที่มีการสำรวจทางทะเล มีความเจริญทางด้านวิทยาการและเทคโนโลยีมีการแข่งขันทางการค้า 4. สมัยปัจจุบัน เป็นช่วงตั้งแต่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดสงครามเย็น และมีการล่มสลายของสหภาพโซเวียตมาจนถึงปัจจุบัน
คนเผ่า Cro-Magnonอายุตกประมาณ 25,000ปี
เป็นที่แน่นอนว่ามนุษย์ไม่ว่าสมัยหิน ไม่ว่าหินหยาบหรือหินขัดก็เริ่มมีศรัทธาหรือศาสนาของตนขึ้นมาจากความหวาดกลัวภัย-ธรรมชาติรอบข้างต่างๆ เป็นปฐมทั้งสิ้น