370 likes | 567 Views
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐. นำเสนอ. จัดทำโดย. จ่าเอกนิรันดร์ บุตร แสนรหัสนักศึกษา 54100247. อาจารย์ อดิลักษณ์ พุ่มอิ่ม. รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของ. รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของ. วิชาการประยุกต์อินเตอร์เน็ตสำหรับธุรกิจ. วิทยาลัยการบริหารและการจัดการ.
E N D
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
นำเสนอ จัดทำโดย จ่าเอกนิรันดร์ บุตรแสนรหัสนักศึกษา 54100247 อาจารย์ อดิลักษณ์ พุ่มอิ่ม
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของ วิชาการประยุกต์อินเตอร์เน็ตสำหรับธุรกิจ วิทยาลัยการบริหารและการจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ที่มาของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการ ประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์หากมีผู้กระทำด้วยประการใดๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานผิด พลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้หรือใช้วิธีการใดๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบหรือใช้ระบบ คอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จหรือมีลักษณะ อันลามกอนาจารย่อม ก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐรวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าวจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้”
ที่มาของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่ประชุมสภานิติบัญญัติที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติรับหลักการ แห่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้พิจารณาและตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้น คณะหนึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติแห่งชาติและผู้ทรงคุณวุฒิ เกี่ยวกับวิชาการคอมพิวเตอร์และกฎหมายเพื่อพิจารณาคณะกรรมาธิการได้ประชุม พิจารณารวมทั้งสิ้น ๒๗ ครั้ง และได้เสนอต่อสภานิติบัญญัติเพื่อพิจารณาในวาระ ๒ และวาระ ๓ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๐ และได้มีมติให้ผ่านร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เพื่อให้มีผลบังคับใช้เป็น กฎหมายต่อไปซึ่งต่อมาได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘ ตอน ๒๗ก. ลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๘มิถุนายน๒๕๕๐ ดังนั้นจึงมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป อ้างอิง:: http://www.2poto.com/cfwebboard/upload/006330.jpg
โครงสร้าง พ.ร.บ.ฯ คำนิยาม ม.๓ หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ ระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทาง คอมพิวเตอร์ ผู้ให้บริการ ผู้ใช้บริการ พนักงานเจ้าหน้าที่ รัฐมนตรี กระทำต่อคอมพิวเตอร์ ใช้คอมพิวเตอร์กระทำความผิด พนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ให้บริการ ม.๒๖: เก็บข้อมูลจราจร ๙๐ วันไม่เกิน ๑ ปี อำนาจหน้าที่ (ม.๑๘): (๑) มีหนังสือ/เรียกเพื่อให้ถ้อยคำ/เอกสาร (๒) เรียกข้อมูลจราจร(๓)สั่งให้ส่งมอบข้อมูลที่อยู่ในครอบครอง(๔) ทำสำเนาข้อมูล (๕) สั่งให้ส่งมอบข้อมูล/อุปกรณ์ (๖) ตรวจสอบ/เข้าถึง (๗) ถอดรหัสลับ (๘) ยึด/อายัดระบบ ม.๕: การเข้าถึงระบบคอมฯ ม.๖: การล่วงรู้มาตรการการป้องกันการเข้าถึง ม.๗: การเข้าถึงข้อมูลคอมฯ ม.๘: การดักรับข้อมูลคอมฯ ม.๙: การรบกวนข้อมูลคอมฯ ม.๑๐: การรบกวนระบบคอมฯ ม.๑๓: การจำหน่าย/ เผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อใช้กระทำความผิด ม.๑๑: Spam mail ม.๑๔: การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์/เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม ม.๑๕: ความรับผิดของผู้ให้บริการ ม.๑๖: การเผยแพร่ภาพจากการตัดต่อ/ดัดแปลง ม.๒๗: ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่หรือคำสั่งศาลระวางโทษปรับ ข้อจำกัด/การตรวจสอบการใช้อำนาจ(ม.๑๙): ยื่นคำร้องต่อศาลในการใช้อำนาจตาม ม.๑๘ (๔)-(๘) , ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดให้แก่ศาลภายใน ๔๘ ชม., ยึด/อายัดห้ามเกิน ๓๐ วัน ขอขยายได้อีก ๖๐ วัน (ม.๑๘(๘)) ม.๑๒ บทหนัก การ block เว็บไซต์ พนักงานเจ้าหน้าที่โดยความเห็นชอบของรมว.ทก.ยื่นคำร้องต่อศาล (ม.๒๐) มีผลบังคับใช้ภายหลังประกาศใช้ ๓๐ วัน (ม.๒) ความรับผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่: (ม.๒๒ ถึง มาตรา ๒๔) กระทำความผิดนอกราชอาณาจักร ต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร์ (ม.๑๗) พยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ อ้างและรับฟังมิได้ (ม.๒๕) การรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ (ม. ๒๕) การแต่งตั้ง/กำหนดคุณสมบัติพนักงานเจ้าหน้าที่/การประสานงาน (ม.๒๘-๒๙)
เจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อกำหนดเจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อกำหนด • ฐานความผิดและบทลงโทษ • อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ • หน้าที่ของผู้ให้บริการ
•ผู้กระทำความผิดอยู่ที่ไหนก็ได้ในโลก ทำให้ไม่มีข้อจำกัดของระยะทางอีกต่อไป• ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนในการกระทำความผิด ปัจจุบันความผิดสามารถทำได้ง่ายและสามารถทำได้จากมือถือ• ยากต่อการตรวจพบร่องรอยการกระทำผิด เช่น การเข้าไปใช้เครือข่ายสาธารณะในการกระทำผิด• ยากต่อการจับกุมและนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ เช่นกฎหมายที่เป็นความผิดของประเทศหนึ่งอาจจะไม่ใช่กฎหมายที่เป็นความผิดของอีกประเทศ• ความเสียหายกระทบต่อคนจำนวนมากและรวดเร็ว ยิ่งปัจจุบันนี้สามารถทำได้ผ่าน social network และผู้ใช้ก็สามารถสร้างข้อมูลเองได้• หน่วยงานผู้มีหน้าที่ ไม่อาจป้องกันได้• ที่เกิดเหตุมีมากกว่า 2 ท้องที่ขึ้นไปเสมอ คือที่ของผู้กระทำความผิและที่ของผู้ถูกกระทำ สภาพปัญหาของการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
หมวด 1 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมวดนี้มีมาตราที่สำคัญคือ มาตรา ๕ ถึง มาตรา ๑๖ โครงสร้างของกฎหมาย มี ๒ หมวดหลักๆ หมวด ๒ พนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา ๑๘-๓๐
หมวด 1 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมวดนี้มีมาตราที่สำคัญคือ มาตรา 5 ถึง มาตรา 16 1.กระทำต่อคอมพิวเตอร์ 2.ใช้คอมพิวเตอร์กระทำความผิด
หมวด 1. ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กรณีกระทำต่อคอมพิวเตอร์ ม.๕: การเข้าถึงระบบคอมฯ ม.๖: การล่วงรู้มาตรการการป้องกันการเข้าถึง ม.๗: การเข้าถึงข้อมูลคอมฯ ม.๘: การดักรับข้อมูลคอมฯ ม.๙: การรบกวนข้อมูลคอมฯ ม.๑๐: การรบกวนระบบคอมฯ ม.๑๓: การจำหน่าย/ เผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อใช้กระทำความผิด
หมวด 1. ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กรณีใช้คอมพิวเตอร์กระทำความผิด ม.๑๑: Spam mail ม.๑๔: การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์/เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม ม.๑๕: ความรับผิดของผู้ให้บริการ ม.๑๖: การเผยแพร่ภาพจากการตัดต่อ/ดัดแปลง
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กระทำต่อคอมพิวเตอร์ มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่ง ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องให้ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อ้างอิงจาก http://www.opel.in.th/index.php?topic=2692.0
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กระทำต่อคอมพิวเตอร์ มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่น จัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อ้างอิงจาก http://thai-cybercrime.blogspot.com/search/label
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กระทำต่อคอมพิวเตอร์ มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ อ้างอิงจาก http://www.siamintelligence.com/massenger-cyber/
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กระทำต่อคอมพิวเตอร์ มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กระทำต่อคอมพิวเตอร์ มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือ บางส่วนซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อ้างอิงจาก..http://iamblog-cpe.blogspot.com/2012/08/blog-post.html
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กระทำต่อคอมพิวเตอร์ มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กระทำต่อคอมพิวเตอร์ มาตรา ๑๑สแปมเมล์ (Spam Mail) มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือ มาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กรณีใช้คอมพิวเตอร์กระทำความผิด มาตรา ๑๑สแปมเมล์ (Spam Mail) ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท อ้างอิงจาก http://thai-cybercrime.blogspot.com/2009/06/2550.html
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กรณีใช้คอมพิวเตอร์กระทำความผิด มาตรา ๑๔นำเข้า ปลอม/ เท็จ /ภัยมั่นคง /ลามก/ ส่งต่อ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กรณีใช้คอมพิวเตอร์กระทำความผิด มาตรา ๑๕ ความรับผิดของผู้ให้บริการ มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตาม มาตรา ๑๔ อ้างอิงจาก...http://hilight.kapook.com/view/71845
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กรณีใช้คอมพิวเตอร์กระทำความผิด มาตรา ๑๖การเผยแพร่ภาพ ตัดต่อ/ดัดแปลง มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิดความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย อ้างอิงจากhttp://testcreatebg.blogspot.com/
รูปแบบการกระทำความผิด(ต่อ) รูปแบบการกระทำความผิด
บทลงโทษ ฐานความผิด โทษจำคุก โทษปรับ ไม่เกิน ๑๐๐๐๐ ไม่เกิน ๖ เดือน มาตรา ๕ เข้าถึงคอมฯ โดยมิชอบ ไม่เกิน ๑ ปี ไม่เกิน ๒๐๐๐๐๐ มาตรา ๖ ล่วงรู้มาตรการป้องกัน มาตรา ๗ เข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบ ไม่เกิน ๒ ปี ไม่เกิน ๔๐๐๐๐ มาตรา ๘ การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ ไม่เกิน ๓ปี ไม่เกิน ๖๐๐๐ ไม่เกิน ๕ ปี มาตรา ๙ การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ ไม่เกิน ๑๐๐๐๐๐ ไม่เกิน ๕ ปี มาตรา ๑๐ การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ ไม่เกิน ๑๐๐๐๐๐
- ไม่เกิน ๑๐๐๐๐๐ มาตรา ๑๑ สแปมเมล์ (และ) ไม่เกิน ๒๐๐๐๐๐ มาตรา ๑๒(๑) ก่อความเสียหาย ไม่เกิน ๑๐ ปี ๓ - ๑๕ ปี มาตรา ๑๒(๒) กระทบความมั่นคง ๖๐๐๐๐ - ๓๐๐๐๐๐ ๑๐ – ๒๐ ปี มาตรา ๑๒ เป็นเหตุให้เสียชีวิต
ไม่เกิน ๑ ปี ไม่เกิน ๒๐๐๐๐ มาตรา ๑๓ จำหน่าย/เผยแพร่ชุดคำสั่ง มาตรา ๑๔ เผยแพร่เนื้อหาไม่เหมาะสม ไม่เกิน ๕ ปี ไม่เกิน ๑๐๐๐๐ ไม่เกิน ๕ ปี ไม่เกิน 100,000 มาตรา ๑๕ ความรับผิดของผู้ให้บริการ มาตรา ๑๖ การตัดต่อภาพ ไม่เกิน 60,000 ไม่เกิน ๓ ปี อ้างอิงจาก..http://testcreatebg.blogspot.com/
สรุป พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 1. เจ้าของคอมไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป … เจอคุก 6 เดือน 2. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้าน แล้วเที่ยวไปบอกให้คนอื่นรู้ … เจอคุกไม่เกินปี 3. แอบไปล้วงข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกเก็บเอาไว้ในระบบคอมพิวเตอร์… เจอคุกไม่เกิน 2 ปี 4. ข้อมูลที่ถูกส่งหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั๊วส่วนตัว แล้วเราทะลึ่งไปดักจับข้อมูลของเขา …เจอคุกไม่เกิน 3 ปี
สรุป พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 5. ข้อมูลของเขาอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ ถ้าดันมือบอนไปโมดิฟรายมันซะงั้น … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี (อย่าเผลอไปแก้ไข word ที่คนอื่นเขาพิมไว้ในเครื่องของเขาล่ะ) 6. ระบบคอมพิวเตอร์ของชาวบ้านทำงานอยู่ดี ๆ ถ้าดันปล่อย packet หรือ message หรือ virus หรือ trojanหรือ worm หรือ (โอ๊ยเยอะ) เข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเดี้ยง … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี (ปล่อยไวรัสลองวิชาหน่อยเดียวอาจโดนคุกถึง 5 ปีเชียวหรือนี่) 7. ถ้าเขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลจากเราเล้ย เช่นไม่อยากได้อีเมลล์จากเรา แล้วก็ทำตัวเป็นนัก Forward เซ้าซี้ส่งให้เขาซ้ำ ๆ อยู่นั่นแหล่ะ จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ … เจอปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
สรุป พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 8. ถ้าเราทำผิดข้อ 5. กับ ข้อ 6. แล้วมันดันสร้างความพินาศใหญ่โตในระดับรากหญ้า(เช่น เข้าไปโมดิฟรายแก้ไข ทำลาย ก่อนกวน ระบบสาธารณูปโภค หรือระบบจราจร ที่ควบคุมโดยคอม) งานนี้มีซวยแน่ เจอคุกสิบปีขึ้น 9. ถ้าเราสร้างโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้ใคร ๆ ทำเรื่องแย่ ๆ ในข้อข้างบน ๆ ได้ … เจอคุกไม่เกินปีนึงเหมือนกัน (เป็นผู้หนับหนุน ประมาณนั้นงะ) 10. โป๊ก็โดน, โกหกก็โดน,ท้าทายอำนาจรัฐก็โดน … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี 11. ใครเป็นเจ้าของเว็บ แล้วยอมให้เกิดข้อ 10. โดนเหมือนกัน … เจอคุกไม่เกิน 5 ปี (เวบโป๊เตรียมตัวปิด) 12. พวกชอบเอารูปชาวบ้านมาตัดต่อแล้วให้คนอื่นดู เตรียมใจไว้เลยมีโดน … เจอคุกไม่เกิน 3 ปี
สรุป พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 13. เราทำผิดที่เว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอก แต่ถ้าเราเป็นคนไทย หึ ๆ อย่าคิดว่ารอด โดนแหง ๆ (แต่หลักฐานการกระทำผิดมันอยู่เมืองนอก ถ้าจะเอาผมเข้าคุก อาจต้องลำบากหน่อยล่ะงานนี้ อยากรู้เหมือนกันว่า กฎหมายเมืองนอกจะป้องกัน ข้อมูลบน server ที่อยู่เมืองนอกแบบไหนอย่างไร) 14. ฝรั่งทำผิดต่อเรา แล้วมันอยู่เมืองนอกอีกต่างหาก เราเป็นคนไทย ก็เรียกร้องเอาผิดได้เหมือนกัน (อันนี้ฟังดูเหมือนง่าย แล้วกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลล่ะว่าไง ตูจะบินไปลากคอคนต่างชาติมาศาลไทย) อ้างอิงhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=211987
แหล่งอ้างอิง http://www.2poto.com/cfwebboard/upload/006330.jpg http://www.opel.in.th/index.php?topic=2692.0 http://thai-cybercrime.blogspot.com/search/label http://www.siamintelligence.com/massenger-cyber/ http://thai-cybercrime.blogspot.com/2009/06/2550.html http://testcreatebg.blogspot.com/ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=211987