160 likes | 464 Views
บทที่ 7 แนะนำ ISO 17799:2005. Outline. การบริหารความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ คืออะไร ISO 17799-2005 PDCA (Plan-Do-Check-Act). 7.1 การบริหารความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ คืออะไร.
E N D
บทที่ 7 แนะนำ ISO 17799:2005 PanidaPanichkul
Outline • การบริหารความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ คืออะไร • ISO 17799-2005 • PDCA (Plan-Do-Check-Act) Panida Panichkul
7.1 การบริหารความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ คืออะไร • การบริหารความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ (Information Security Management: ISM) คือ กระบวนการกำหนดมาตรการป้องกันและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ และทรัพย์สินทางด้านไอทีขององค์กร [wikipedia.org: Available: June 2011] • องค์กรจำเป็นต้องมีระบบการจัดการความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ โดยองค์กรสามารถนำมาตรฐานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้เพื่อให้องค์กรนำมาใช้เป็นกรอบการดำเนินงาน • มาตรฐานที่จำเป็นสำหรับการบริหารความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ มีหลายมาตรฐาน แต่ที่นิยมใช้ ได้แก่ ISO/IEC 17799 และ ISO27001 • *บางครั้งเรียก ISM ว่า “การจัดการความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ” Panida Panichkul 3
7.2 ISO/IEC17799-2005 • ISO/IEC17799 เป็นมาตรฐานการจัดการความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ ที่กำหนดขึ้นโดย British Standard Institute ของประเทศอังกฤษ แต่เดิมใช้ชื่อมาตรฐานว่า “BS7799” จากนั้นในปี ค.ศ. 2000 ได้ถูกนำไปดัดแปลงโดยองค์กรมาตรฐานสากล (International Organization for Standard: ISO) และคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์ (International Electrotechnical Commission: IEC)” จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ISO/IEC17799 Panida Panichkul 4
มาตรฐาน ISO/IEC17799 ได้ให้แนวทางในการจัดการความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศอย่างเป็นระบบ แก่ผู้ที่รับผิดชอบด้านความมั่นคงปลอดภัยภายในองค์กร และเนื่องจากมาตรฐานชนิดนี้เป็นมาตรฐานสากล จึงสามารถใช้ติดต่อหรือประสานงานระหว่างองค์กรที่ใช้มาตรฐานเดียวกันได้ อีกทั้งยังเป็นมาตรฐานที่สามารถใช้ร่วมกับมาตรฐาน ISO901 และ ISO14001 ที่องค์กรมีอยู่แล้วได้ • ISO/IEC17799 ดัดแปลงจาก BS7799 2 ฉบับ โดย BS7799 (ISO/IEC17799) ฉบับที่ 1 มีเนื้อหาครอบคลุมทุกด้านของงานการจัดการความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ ประกอบไปด้วยหัวข้อการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยทั้งหมด 127 จัดเป็น 10 หมวดหลัก ดังนี้ Panida Panichkul 5
ISO/IEC17799 • Security Policyนโยบายความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ • Security Infrastructure หรือ Organization of Information Security โครงสร้างทางด้านความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศสำหรับองค์กร • Asset Classification and Control การจำแนกทรัพย์สินและการควบคุม • Personnel Securityความมั่นคงปลอดภัยของบุคคล ได้แก่ความมั่นคงปลอดภัยของบุคลากรในองค์กร • Physical and Environmental Security ความมั่นคงปลอดภัยทางด้านสภาพแวดล้อมและกายภาพ • Communications and Operations Managementการจัดการการติดต่อสื่อสารและการดำเนินงาน • System Access Controlการควบคุมการเข้าถึงระบบ Panida Panichkul 6
System Development and Maintenance การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบ • Business Continuity Planning การวางแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องในสถานการณ์คับขัน • Compliance การยอมรับและปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย Panida Panichkul 7
ส่วน ฉบับที่ 2 ได้ให้คำแนะนำที่เน้นวิธีการดำเนินงานตามฉบับที่ 1 และอธิบายถึงวิธีการจัดทำ “ระบบการจัดการความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ (Information Security Management System: ISMS)” ไว้ด้วย โดยมีกระบวนการจัดทำเป็นวงจร เรียกว่า “วงจร PDCA (Plan-Do-Check-Action)” ดังรูป Panida Panichkul 9
Plan คือ ขั้นตอนของการวางแผนจัดตั้ง (Establish) ระบบ ISMS ประกอบไปด้วยกิจกรรมย่อย ดังนี้ • กำหนดขอบเขตของระบบ ISMS • กำหนดนโยบายของระบบ ISMS • กำหนดแนวทางการประเมินความเสี่ยง • ระบุความเสี่ยง • ประเมินความเสี่ยง • ระบุและประเมินวิธีการลดความเสี่ยง • เลือกวัตถุประสงค์และการควบคุม • จัดเตรียมเอกสารมาตรการการใช้งาน (Statement Of Applicability: SOA) Panida Panichkul 11
Doคือ ขั้นตอนของการลงมือทำ คือพัฒนาระบบให้เกิดขึ้นและนำไปใช้งาน (Implement and Operate ISMS) ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย ดังนี้ • จัดทำแผนการลดความเสี่ยง • นำแผนการลดความเสี่ยงไปปฏิบัติ • ใช้วิธีการควบคุมแบบต่างๆ • จัดการฝึกอบรม ให้ความรู้ และสร้างความตระหนัก • จัดการการดำเนินงาน • จัดการทรัพยากร • ดำเนินการในขั้นตอนการตรวจจับและตอบสนองต่อเหตุการณ์ไม่คาดคิดทางด้านความมั่นคงปลอดภัย Panida Panichkul 12
Checkคือ ขั้นตอนของการติดตามและทบทวน (Monitor and Review) การดำเนินงานระบบ ISMS ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย ดังนี้ • เข้าสู่กระบวนการติดตามการทำงานของระบบ ISMS • ประเมินประสิทธิผลของระบบ ISMS • ตรวจสอบระดับความเสี่ยง • จัดทำการตรวจสอบภายในของระบบ ISMS • ประเมินการบริหารจัดการระบบ ISMS • บันทึกกิจกรรมและเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบ ISMS Panida Panichkul 13
Actคือ ขั้นตอนของการบำรุงรักษาและปรับปรุง (Maintain and Improve) ระบบ ISMS ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย ดังนี้ • ปรับปรุงระบบในส่วนที่มีข้อบกพร่อง • ดำเนินการแก้ไขและป้องกัน • นำบทเรียนหรือกรณีศึกษาที่ประสบผลสำเร็จจากที่อื่นมาปรับใช้ • รายงานผลการใช้งานระบบแก่ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง • สร้างความมั่นใจว่าการปรับปรุงตรงตามวัตถุประสงค์ Panida Panichkul 14
สำหรับมาตรฐาน ISO/IEC17799 ฉบับประเทศไทยนั้น จัดทำโดยคณะอนุกรรมการความมั่นคงในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ชื่อมาตรฐานดังกล่าวว่า “มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” โดยได้มีการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยเรื่อยมา จากเวอร์ชันแรก จนปัจจุบันเป็นเวอร์ชันที่ 2.5 ประจำปี พ.ศ. 2550 และมีการเผยแพร่เพื่อใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ภายในเอกสารประกอบไปด้วยรายละเอียดที่เป็นแนวทางในการดำเนินงานการจัดการความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศไว้อย่างละเอียด Panida Panichkul 15
Reference • พนิดา พานิชกุล, ความมั่นคงปลอดภัยของสารสนเทศ (Information Security), สำนักพิมพ์ เคทีพี, 2553. Panida Panichkul