351 likes | 1.54k Views
ศิลปะพื้นบ้านไทย. จัดทำโดย เด็กชายจาตุรงค์ คร้ามแสง ม.1/2 เลขที่ 2 เด็กชายภานุวัฒน์ กิตติธัญพงศ์ ม.1/2 เลขที่ 9 เสนอ อาจารย์ ฐิตาพร ดวง เกต ุ. ‘ ศิลปะพื้นบ้าน ’.
E N D
ศิลปะพื้นบ้านไทย จัดทำโดย เด็กชายจาตุรงค์ คร้ามแสง ม.1/2 เลขที่ 2 เด็กชายภานุวัฒน์ กิตติธัญพงศ์ ม.1/2 เลขที่ 9 เสนอ อาจารย์ ฐิตาพร ดวงเกตุ
‘ศิลปะพื้นบ้าน’ • ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีอารยประเทศหนึ่งในโลก บรรพบุรุษของเราได้สร้างสม วิทยาการ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ภูมิปัญญาด้านต่างๆ นอกจากเป็นมรดกตกทอดไปสู่ลูกหลานด้วยแล้ว ยังเป็นตัวชี้วัดถึงความรู้ ความสามารถ ความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติของเรา ตลอดมา ศิลปะเป็นสิ่งที่ตกทอดจากของบรรพบุรุษสู่รุ่นลูกหลาน เป็นสิ่งที่ดี มีคุณค่าคู่ควรแก่การเรียนรู้ สืบทอด อนุรักษ์ให้คงอยู่ตลอดไป ดังนี้
ลักษณะของศิลปะพื้นบ้านลักษณะของศิลปะพื้นบ้าน • ศิลปะพื้นบ้าน (Folk) หมายถึง ศิลปะที่มีความงามความเรียบง่ายจากฝีมือของชาวบ้านทั่วๆ ไปสร้างสรรค์ผลงานอันมีคุณค่าทางด้านความงาม และประโยชน์ใช้สอยตามสภาพของท้องถิ่น ท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวว่า หมายถึง “ศิลปะชาวบ้าน” เช่น การร้องรำทำเพลง การวาดเขียน และอื่นๆ ซึ่งมีกำเนิดมาจากชีวิตจิตใจของประชาชน ศิลปะชาวบ้านหรือศิลปะพื้นบ้านส่วนใหญ่จะเกิดควบคู่กับการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน ภายใต้อิทธิพลของชีวิตความเป็นอยู่ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ และความจำเป็นของสภาพท้องถิ่น เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน
โดยทั่วไปแล้ว “ศิลปะพื้นบ้าน” จะเรียกรวมกับ “หัตถกรรม” เป็น “ศิลปหัตถกรรม” ซึ่งศิลปหัตถกรรมนั้นเกิดจากฝีมือของคนในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่ง การประดิษฐ์สร้างสรรค์เป็นไปตามเทคนิคและรูปแบบที่ถ่ายทอดกันในครอบครัวโดยตรงจากพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย โดยจุดประสงค์หลักคือทำขึ้นเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน งานศิลปหัตถกรรมได้ถ่ายเทและมีอิทธิพลแก่กันและกัน เช่นเดี่ยวกับคติพื้นบ้านแล้วปรับปรุงให้เข้ากบสภาพของท้องถิ่นจนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง
ศิลปะพื้นบ้าน จะประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ • 1. เป็นผลงานของช่างนิรนาม ทำขึ้นเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวันของประชาชน ความงามที่ปรากฏมิได้เกิดจากความประสงค์ส่วนตัวของช่างเพื่อแสดงออกทางศิลปะ แต่มาจากความพยายามของช่างที่ฝึกฝนและผลิตงานนั้นสืบต่อมาหลายชั่วอายุคน • 2. เป็นผลงานที่มีรูปแบบที่เรียบง่าย มีความงามอันเกิดจากวัสดุจากธรรมชาติ และผ่านการใช้สอยมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน • 3. ผลิตขึ้นเป็นจำนวนมาก ขายกันราคาปกติ ความงดงามเกิดจากการฝึกฝน และการทำซ้ำๆ กัน • 4. มีความเป็นธรรมชาติ ปรากฏอยู่มากกว่าความสละสลวยเนื่องจากศิลปินพื้นบ้านสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อชาวบ้าน ซึ่งมีความงดงามอย่างธรรมชาติ • 5. แสดงลักษณะพิเศษเฉพาะถิ่น หรือเอกลักษณ์ของถิ่นกำเนิด • 6. เป็นผลงานที่ทำขึ้นด้วยมือเป็นส่วนมาก
ประเภทของศิลปะพื้นบ้านประเภทของศิลปะพื้นบ้าน • งานศิลปะพื้นบ้านของไทยเรา มีปรากฏตามท้องถิ่นต่างๆ อยู่มากมายหลายประเภท สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ • 1. เครื่องเคลือบดินเผา (Ceramics) คือ ภาชนะที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ที่ทำจากดินเผา และดินที่เผาแล้วนำไปเผาเคลือบด้วยน้ำยาเคลือบ ซึ่งทำกันอยู่ทั่วไปเกือบทุกภาคของประเทศไทยเรา จะแสดงลักษณะของท้องถิ่นและความนิยมของแต่ละที่ด้วย เช่น โอ่งมังกร ที่จังหวัดราชบุรี เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน ที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น
2. การทอผ้า และการเย็บปักถักร้อย (Textile and Embroidery) • การทอผ้าตามท้องถิ่นต่างๆ เช่นผ้าทอเกาะยอ ของจังหวัดสงขลา ผ้าทอพุมเรียง ของจังหวัดสุราษฏร์ธานี การทอธง หรือตุงของภาคเหนือและภาคอีสาน เป็นต้น
3. การแกะสลัก (Carving) • คือ การแกะสลักเพื่อใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ด้วยวัสดุของท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น การแกะสลักไม้เพื่อทำ เครื่องเรือน ตกแต่งอาคารของภาคเหนือ การแกะสลักหนังตะลุงของภาคใต้ เป็นต้น
4. งานเครื่องโลหะ (Metal works) • คือ งานที่ทำขึ้นด้วยโลหะ เป็นพวกเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การทำเครื่องเงิน เครื่องทอง ที่จังหวัดเชียงใหม่ การทำบาตรพระที่บ้านบาตร กรุงเทพมหานคร การทำมีดอรัญญิก ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น
5. งานเครื่องจักสาน (Basketry mat) • คืองานที่ทำด้วยวิธี จักสาน และถักเป็นภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ ใช้วัสดุจำพวกไม้ไผ่ หวาย กก เชือก ปอ ป่าน ใบลาน เป็นต้น งานจักสานมีทำกันทั่วทุกภาคของ ประเทศไทย เพื่อใช้เป็นเครื่องใช้ในการดำรงชีพของทุกชุมชน
6. การก่อสร้าง (Architectures) • คือ งานสถาปัตยกรรมของพื้นบ้าน ได้แก่ อาคารบ้านเรือนและอาคารทางพุทธศาสนา ซึ่งจะสร้างเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นต่างๆ เช่น เรือนเครื่องสับ เป็นเรือนไทย ภาคกลาง เรือนแบบกาแลของภาคเหนือ เรือนแบบเสาลอยของภาคใต้ เรือนแบบปั้นลมของภาคอีสาน และการก่อสร้างอาคารสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น โบสถ์ วิหาร เป็นต้น
7. การเขียนภาพระบายสีและวาดเส้น (Painting and Drawing) • งานเขียนภาพระบายสี ภาพลายเส้นส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ได้แก่ ภาพพระบฏ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภาพในสมุดข่อย ตลอดจนการเขียนลวดลายลงบนภาชนะ เครื่องใช้ต่างๆ ที่แสดงออกเป็นลักษณะเฉพาะแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาพจิตกรรมฝาผนัง โบสถ์ วิหาร ศาลา การเปรียญของภาคกลาง การตกแต่งเรือกอและของภาคใต้การตกแต่งเกวียนหรือระแทะของภาคเหนือ เป็นต้น
8. งานประติมากรรม (Sculpture) • คือ การปั้นรูปเคารพต่างๆ เช่น การปั้นพระพุทธรูป และการปั้นลวดลายต่างๆ เพื่อประดับอาคารทางพระพุทธศาสนา
9. งานเครื่องกระดาษบางชนิด (Paper mache) • คืองานที่ประกอบขึ้นจากกระดาษที่ได้มาจากวัสดุพื้นบ้าน เช่น การทำกระดาษสาของภาคเหนือ งานกระดาษที่ใช้ประดับตกแต่งในเทศกาลต่างๆ ได้แก่ การตัดกระดาษพันธงรั้ว พวงมาลัย ดอกไม้ต่างๆ ได้แก่ การตัดกระดาษพันธงรั้ว พวงมาลัย ดอกไม้ต่างๆ การทำหัวโขน และหน้ากากต่างๆ เป็นต้น
คุณค่าภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย • ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา • ภูมิปัญญาในศิลปะพื้นบ้าน มีพื้นฐานที่เกิดจากการผลิตที่ทำขึ้นด้วยมือ ซึ่งทำขึ้นเพื่อใช้สอย จึงนับได้ว่ากำเนิดมาพร้อมกับวิวัฒนาการของมนุษย์ได้คิดค้นวิธีการสร้างเครื่องมือ เครื่องใช้ เพื่อช่วยให้เกิดความสะดวกสบายต่อการดำรงชีพมาโดยตลอด เช่น เครื่องมือหิน เครื่องปั้นดินเผาสมัยโบราณที่ขุดพบ จึงนับได้ว่า การกำเนิดศิลปหัตถกรรมมีอยู่ทั่วไป และพัฒนามาตั้งแต่โบราณแล้ว ในสมัยก่อนนั้นลักษณะของสังคมชาวไทยเป็นสังคมแบบชาวนา หรือเรียกกันว่า สังคมเกษตรกรรม อันเป็นสังคมที่ต้องพึ่งตนเอง มีพร้อมทุกด้านในเรื่องของปัจจัยสี่อยู่ในกลุ่มชนนั้นๆ มีการสร้างการผลิตเครื่องใช้และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่ออำนวยความสุข ความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตของตนเอง
สาเหตุการกำเนิดศิลปะพื้นบ้าน มีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ • 1.เกิดจากความจำเป็นในการดำรงชีวิต เพื่อต้องการความสะดวกสบายในการประกอบกิจกรรมต่างๆ เช่น - การทำเครื่องปั้นดินเผา เพื่อใช้เป็นภาชนะหุงต้ม ประกอบอาหาร- การทำเครื่องมือเครื่องใช้ เพื่อการล่าสัตว์ การประกอบอาชีพ • 2.เกิดจากสภาพของภูมิศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่นความแตกต่างกันออกไป เช่น การปลูกสร้างที่อยู่อาศัยบ้านที่อยู่ใกล้แม่น้ำ อยู่ในที่ต่ำก็จะมีใต้ถุนสูง ส่วนบ้านที่อยู่บนเนินเขาใต้ถุนสูงไม่มากนัก หรืออาจเป็นบ้านชั้นเดียว เป็นต้น • 3. เกิดจากสภาพของขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ และศาสนา การสร้างศิลปะพื้นบ้านเกิดขึ้นตามสภาพของขนบธรรมเนียม ประเพณีทางความเชื่อและศาสนาที่คนในชุมชนนั้นนับถือ อาจจะมีความเชื่อและศาสนาที่คนในชุมชนนั้นนับถือ อาจจะมีความเชื่อเรื่องผี ไสยศาสตร์ต่างๆ จะเห็นได้จากการทำธงหรือตุงของภาคเหนือและภาคอีสานซึ่งสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
คุณค่าและการสร้างสรรค์งานศิลปะภูมิปัญญาไทยคุณค่าและการสร้างสรรค์งานศิลปะภูมิปัญญาไทย • ศิลปะพื้นบ้านเป็นงานที่มีคุณค่าต่อคนไทยตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน ซึ่งพอจะสรุปคุณค่าได้ดังต่อไปนี้ • 1.คุณค่าทางการใช้สอย (Functional Value) ศิลปะพื้นบ้านสร้างขึ้นเพื่อใช้สอย มีการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมต่อการใช้สอยมาโดยตลอด มีความผูกพันกับชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นอย่างมาก
2. คุณค่าทางความงาม (Aesthetic Value)ศิลปะพื้นบ้านโดยส่วนรวมจะสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ทางด้านใช้สอยเป็นหลัก ต่อมาเมื่อผู้สร้างมีความชำนาญ มีประสบการณ์มากขึ้น จึงได้เพิ่มคุณค่าในเรื่องของความงามเข้าไปอีก เป็นคุณค่าทางสุนทรียภาพ ในเรื่องของรูปทรง โครงสร้าง ลวดลายและวัสดุเข้าประกอบในความนั้นด้วย 3. คุณค่าทางด้านการแสดงออกของศิลปะ และทางอารมณ์ (Art Expression & Temperamental Expression)เป็นการแสดงออกของผลงานศิลปะพื้นบ้านซึ่งปรากฏออกมาตามลักษณะนามธรรมและรูปทรง โครงสร้าง ลวดลาย วัสดุ 4. คุณค่าอันเกิดจากลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น (Local Characteristics)การสร้างศิลปะพื้นบ้านของแต่ละท้องถิ่นโดยส่วนมากแล้วจะเลือกใช้วิธีการ วัสดุ ให้สะดวกกับการใช้สอย ผสมกับความเชื่อทางด้านต่างๆ ของท้องถิ่นนั้นๆ โดยจะสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของการดำรงชีวิตของท้องถิ่นวัฒนธรรม สภาพทางภูมิศาสตร์ศิลปะพื้นบ้านไม่ควรขาดคุณค่าอันเกิดจากลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น เพราะจะทำให้ขาดความน่าสนใจและหมดคุณค่าในที่สุด