170 likes | 317 Views
การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (หนี้นอกระบบ) กองบริหารหนี้สินภาคประชาชน ฝ่ายกิจการนโยบายรัฐ. 1. หลักการและเหตุผลของโครงการ.
E N D
การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน(หนี้นอกระบบ)การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน(หนี้นอกระบบ) กองบริหารหนี้สินภาคประชาชนฝ่ายกิจการนโยบายรัฐ 1
หลักการและเหตุผลของโครงการหลักการและเหตุผลของโครงการ รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาโดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการแก้ปัญหาดังกล่าว เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2551 ได้แก่ “3. นโยบายสวัสดิการสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ 3.5.2 ปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน เพื่อนำไปสู่การลดหนี้หรือยืดเวลาชำระหนี้ หรือลดอัตราดอกเบี้ย หรือพักชำระดอกเบี้ย 4. นโยบายเศรษฐกิจ 4.2 นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ 4.2.1.10 แก้ไขปัญหาหนี้สิน ฟื้นฟูอาชีพและความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยเร่งดำเนินการจัดการหนี้สินของเกษตรกรทั้งในและนอกระบบ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และรักษาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร ” 2
หลักการและเหตุผลของโครงการ (ต่อ) รัฐบาลโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกรณ์ จาติกวณิช จึงได้มอบหมายให้ศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (ศอก.นส.) กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานหลักในการอำนวยการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (หนี้นอกระบบ) โดยมอบหมายภารกิจให้ธนาคารของรัฐทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ ธ.ก.ส. ธ.ออมสิน ธอส. ธพว. ธอท.และ ธ.กรุงไทย ดำเนินการให้ความช่วยเหลือประชาชนในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบโดยให้ ธ.ก.ส. และ ธ.ออมสิน เป็นหน่วยงานรับขึ้นทะเบียนหนี้นอกระบบ รวมถึงการปรับทัศนคติในการดำรงชีวิตของผู้ขึ้นทะเบียน 3
วัตถุประสงค์ของโครงการวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนที่มีหนี้นอกระบบเข้าเป็นหนี้ในระบบ เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ของประชาชนให้ลดลง เพื่อช่วยให้ประชาชนมีเงินเหลือจากการลดภาระการจ่ายดอกเบี้ยมาออมเงินและเพื่อใช้จ่ายในส่วนที่จำเป็น เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพของประชาชนให้มีความเข้มแข็งและสามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ประชาชน มีการดำรงชีพและประกอบอาชีพภายใต้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมและกระตุ้นประชาชนให้มีการออมเงินเพื่อรักษาวินัยทางการเงินอันเป็นรากฐานที่สำคัญของครอบครัวและประเทศชาติ 4
ระยะเวลาดำเนินการ เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2552 ถึง 30 กันยายน 2554 รวมระยะเวลา 2 ปี กลุ่มเป้าหมายและคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ • เป็นผู้มีสัญชาติไทย • เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ • เป็นลูกหนี้นอกระบบที่มีต้นเงินคงเป็นหนี้ไม่เกิน 200,000 บาท • เป็นหนี้ที่เกิดก่อนวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 • เป็นหนี้ที่เกิดจากเหตุสุจริตและจำเป็น • มีเอกสารประกอบการเป็นหนี้ 5
การขึ้นทะเบียน (วันที่ 1-30 ธันวาคม 2552) ขึ้นทะเบียนทั่วประเทศ ทุกสาขาอาชีพ 1.ธนาคารออมสิน 2.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 6
ขั้นที่ 9 ติดตามประเมินผล ขั้นตอน แผนการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (หนี้นอกระบบ) ขั้นที่ 8 การฟื้นฟูปรับแนวคิดในการดำเนินชีวิต ขั้นที่ 7 เข้าสู่การเป็นหนี้ในระบบ ขั้นที่ 6 การเจรจาประนอมหนี้ ขั้นที่ 5 ประชุมชี้แจงและตรวจสอบ ขั้นที่ 4 คัดแยกข้อมูลโดย กรมบัญชีกลาง ขั้นที่ 3 การขึ้นทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ ขั้นที่ 2 การประชาสัมพันธ์โครงการ ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อมโครงการ ปี 2554 กรกฎาคม 2553– 30 กันยายน 2554 กุมภาพันธ์ – กันยายน 2553 กุมภาพันธ์ – เมษายน 2553 มกราคม - มีนาคม 2553 มกราคม 2553 ธันวาคม 2552 พฤศจิกายน 2552 ตุลาคม 2552 7
นิยามหนี้นอกระบบ หนี้นอกระบบ หมายถึง หนี้ซึ่งเจ้าหนี้ไม่ใช่สถาบันการเงินหรือสถาบันในระบบชุมชนหรือผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ( อิออน อีซี่บาย แคปปิตอลโอเค จีอี แคปปิตอล เทสโก้ ฯลฯ) เช่น การกู้ยืมเงินระหว่างเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้อง หรือบุคคลทั่วไป หรือ นายทุน หรือเงินด่วนเสาไฟฟ้า 8
นิยามสถาบันการเงิน 1.สถาบันการเงิน สถาบันการเงินของรัฐเช่นธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธ.กรุงไทย) ธนาคารพาณิชย์และนิติบุคคลผู้ประกอบธุรกรรมการเงินอื่น ๆ 9
นิยามสถาบันการเงิน (ต่อ) 2.สถาบันในระบบชุมชนเช่นกองทุนหมู่บ้านกองทุนฟื้นฟูเกษตรกรกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เครดิตยูเนี่ยนสหกรณ์กลุ่มเกษตรกร 3.ผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ธุรกิจบัตรเครดิต ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ 10
กระบวนการแก้ไขหนี้นอกระบบ ประชาสัมพันธ์ คุณสมบัติผู้ขึ้นทะเบียนลักษณะหนี้และวงเงินที่รับพิจารณาระยะเวลา สถานที่ลงทะเบียนหลักฐานประกอบการเป็นหนี้และเอกสารที่เกี่ยวข้องวิธีการให้ความช่วยเหลือ ผู้รับผิดชอบ ศอก.นส. ขึ้นทะเบียนหนี้นอกระบบ และส่งข้อมูลให้ ศอก.นส. ธ.ก.ส. ธ.ออมสิน แบบขึ้นทะเบียนหนี้นอกระบบ (นบ.1)- บัตรประชาชน ที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน - ทะเบียนบ้าน- เอกสารประกอบการเป็นหนี้ รวบรวมคัดแยกข้อมูลส่งให้ธนาคาร 6 แห่ง ศอก.นส. / กรมบัญชีกลาง ธนาคารของรัฐและ คกก.หมู่บ้าน/ชุมชน ประชุมชี้แจงและตรวจสอบ ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือจัดทำ Cashflow ยุติเรื่อง คณะเจรจาหนี้เจ้าหนี้,ลูกหนี้ หลักฐานประกอบการเป็นหนี้และเอกสารที่เกี่ยวข้อง แบบผลการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้นอกระบบ (แบบนบ.2) ถอนความประสงค์ ฯลฯบันทึกแบบ นบ.2 เจรจาประนอมหนี้ 1.กลุ่มที่ไม่มีความสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ศอก.นส. คกก.หนี้สินระดับจังหวัด กลุ่ม จ/น,ล/น ตกลงไม่ได้ ฯลฯ 2.เจรจาสำเร็จ 3.เจรจาไม่สำเร็จ เจรจาสำเร็จ เจรจาไม่สำเร็จ ประสงค์เข้าสถาบันการเงินชุมชน ไม่ประสงค์เข้าธนาคาร(จ/น,ล/น ตกลงกันได้)ฯลฯ ประสงค์ เข้าธนาคาร กรณีกู้ไม่ได้ ธนาคารของรัฐ 11
การเจรจาหนี้ • คณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินระดับจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน คลังจังหวัดเป็นเลขานุการ • คณะเจรจาหนี้ระดับอำเภอมีนายอำเภอเป็นประธาน ผู้แทนธนาคารเป็นเลขานุการ • ธนาคารที่เกี่ยวข้อง - ธ.ก.ส. - ธ.ออมสิน - ธพว. - ธอส. - ธ.อิสลาม - ธ.กรุงไทย 12
การมอบหมายให้ธนาคารผู้รับผิดชอบลูกหนี้นอกระบบการมอบหมายให้ธนาคารผู้รับผิดชอบลูกหนี้นอกระบบ 13
หลักเกณฑ์การให้สินเชื่อตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ (หลักเกณฑ์กลาง) 1. เป็นหนี้นอกระบบที่มีเงินต้นคงค้างไม่เกิน 200,000 บาทต่อราย และเป็นหนี้ที่เกิดก่อนวันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 รวมทั้งเป็นหนี้ที่เกิดจากเหตุสุจริตและจำเป็น 2. ขึ้นทะเบียนตามระยะเวลาที่กำหนด (วันที่ 1-30 ธันวาคม 2552) 3. ต้องผ่านการเจรจาหนี้ของคณะเจรจาหนี้ 4. วงเงินให้กู้ไม่เกิน 200,000 บาท ต่อราย 5. อัตราดอกเบี้ย 5.1 อัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปีใน 3 ปีแรก 5.2 ธนาคารออมสินใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่เกินร้อยละ 0.75 ต่อเดือน ตลอดระยะเวลาการกู้ 8 ปี 6. ระยะเวลาการผ่อนชำระไม่น้อยกว่า 8 ปี เว้นแต่ผู้กู้สมัครใจที่จะทำสัญญากู้น้อยกว่า 8 ปี 14 14
7. ผู้กู้สามารถชำระหนี้ก่อนกำหนดได้โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 8. หลักประกัน - วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 1 คน - วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001-200,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน ทั้งนี้ ผู้ค้ำประกันต้องมีรายได้รวมไม่น้อยกว่า 10% ของวงเงินกู้ กรณีของ ธ.ก.ส. ที่เป็นเกษตรกรค้ำประกัน - วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท ใช้ผู้ค้ำประกัน 2 คน - วงเงินกู้ตั้งแต่ 100,001-200,000 บาท ให้ใช้หนังสือรับรอง รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไม่น้อยกว่า 5 คน 15 15