1 / 26

บทที่ 3

บทที่ 3. การกำหนดรายได้ประชาชาติในระบบเศรษฐกิจ. ทฤษฎีการกำหนดรายได้ประชาชาติ. อธิบาย ความสัมพันธ์ระหว่างระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพและความต้องการใช้จ่ายมวลรวม (Desired Aggregate Expenditure: DAE).

paul-moon
Download Presentation

บทที่ 3

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 3 การกำหนดรายได้ประชาชาติในระบบเศรษฐกิจ

  2. ทฤษฎีการกำหนดรายได้ประชาชาติทฤษฎีการกำหนดรายได้ประชาชาติ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพและความต้องการใช้จ่ายมวลรวม (Desired Aggregate Expenditure: DAE) ความต้องการใช้จ่ายมวลรวม(DAE) คือ ความต้องการจะใช้จ่ายของภาคเศรษฐกิจต่างๆ เช่น ครัวเรือน ธุรกิจ รัฐบาล ต่างประเทศ จ่ายซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายซึ่งผลิตขึ้นได้ในประเทศในระยะเวลาหนึ่ง

  3. องค์ประกอบของความต้องการใช้จ่ายมวลรวมองค์ประกอบของความต้องการใช้จ่ายมวลรวม • ความต้องการใช้จ่ายเพื่อบริโภคของครัวเรือน (Desired Consumption Expenditure: C) • ความต้องการใช้จ่ายเพื่อลงทุนของหน่วยธุรกิจ (Desired Investment: I) • ความต้องการใช้จ่ายของภาครัฐบาล (Desired Government Expenditure: G) • ความต้องการส่งออกสุทธิ • (Desired Net Export: X-M)

  4. ทฤษฎีการบริโภคของเคนส์ทฤษฎีการบริโภคของเคนส์ • Keynes ระบุว่า รายได้ที่ใช้จ่ายได้เป็นตัวกำหนดที่สำคัญที่สุดในรายจ่ายเพื่อการบริโภคและการออม ดังนั้น รายได้ที่ใช้จ่ายได้จึงเป็นตัวกำหนดโดยตรง (Direct determinants) ของการบริโภคและการออม ส่วนปัจจัยอื่นๆถือว่าเป็นตัวกำหนดโดยอ้อม (Indirect determinants) • สมมติว่าปัจจัยอื่นๆที่เป็นตัวกำหนดโดยอ้อมคงที่ ฟังก์ชันการบริโภคและฟังก์ชันการออมจะเป็นดังนี้

  5. Consumption: C C Ca 0 Disposable Income: Yd ทฤษฎีการบริโภคของเคนส์ เส้นการบริโภคเป็นเส้นตรง และมีความชันเป็นบวก เมื่อมีรายได้ที่ใช้จ่ายได้เพิ่มสูงขึ้น การบริโภคจะเพิ่มสูงขึ้นด้วย C = Ca + bYd มีข้อสังเกตว่า แม้ว่าระดับรายได้จะมีค่าเท่ากับศูนย์ก็ยังคงมีการบริโภคอยู่ระดับหนึ่ง

  6. ทฤษฎีการบริโภคของเคนส์ทฤษฎีการบริโภคของเคนส์ ความโน้มเอียงถัวเฉลี่ยในการบริโภค (Average Propensity to Consume: APC)หมายถึง อัตราส่วนระหว่างรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่อรายได้ที่ใช้จ่ายได้ ซึ่งบอกให้ทราบถึงสัดส่วนของการบริโภค ณ แต่ละระดับรายได้ต่างๆ ความโน้มเอียงส่วนเพิ่มในการบริโภค (Marginal Propensity to Consume: MPC) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างการเปลี่ยนแปลงในรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่อการเปลี่ยนแปลงในรายได้ที่ใช้จ่ายได้ นั่นคือ เป็นการวัดค่าของการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของรายได้ 1 หน่วย

  7. ทฤษฎีการบริโภคของเคนส์ทฤษฎีการบริโภคของเคนส์ ความโน้มเอียงถัวเฉลี่ยในการออม (Average Propensity to Save: APS)หมายถึง อัตราส่วนระหว่างจำนวนเงินออมต่อรายได้ที่ใช้จ่ายได้ ซึ่งบอกให้ทราบถึงสัดส่วนของการออม ณ แต่ละระดับรายได้ต่างๆ ความโน้มเอียงส่วนเพิ่มในการออม (Marginal Propensity to Save: MPS) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างการเปลี่ยนแปลงในจำนวนเงินออมต่อการเปลี่ยนแปลงในรายได้ที่ใช้จ่ายได้ นั่นคือ เป็นการวัดค่าของการออมที่เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของรายได้ 1 หน่วย

  8. ลักษณะสำคัญของทฤษฎีการบริโภคของ Keynes ทฤษฎีการบริโภคของเคนส์ • แม้บุคคลไม่มีรายได้ก็ยังจำเป็นต้องบริโภคเพื่อยังชีพ นั่นคือ Ca  0 • ค่า b เท่ากับค่าความชันของเส้นการบริโภค ซึ่งจะบอกให้ทราบว่า ถ้ารายได้ที่ใช้จ่ายได้เปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วย การบริโภคจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าไร ในทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า Marginal Propensity to Consume: MPC นั่นคือ b = MPC และ 0  b 1

  9. ลักษณะสำคัญของทฤษฎีการบริโภคของ Keynes ทฤษฎีการบริโภคของเคนส์ • MPC ณ ระดับรายได้สูงจะมีค่าต่ำกว่า MPC ณ ระดับรายได้ต่ำ แสดงว่า MPC ของคนรวยจะต่ำกว่า MPC ของคนจน • MPC + MPS = 1 เสมอ เพราะรายได้ที่ใช้จ่ายได้ของบุคคลจะถูกแบ่งออกเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนหนึ่งและการออมอีกส่วนหนึ่ง ดังนั้น เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งจะถูกใช้จ่ายเพื่อบริโภค อีกส่วนหนึ่งจะเป็นเงินออม

  10. ลักษณะสำคัญของทฤษฎีการบริโภคของ Keynes ทฤษฎีการบริโภคของเคนส์ • APC + APS =1 ค่า APC คือ ค่าที่บอกให้ทราบว่า ณ ระดับรายได้ที่ใช้จ่ายได้ต่างๆกันนั้น ครัวเรือนจะบริโภคในสัดส่วนเท่าไร ซึ่งส่วนของรายได้ที่เหลือนั้น ครัวเรือนจะแบ่งไปเป็นส่วนของเงินออม • เมื่อ Yd เพิ่มขึ้น APS จะเพิ่มขึ้น ดังนั้น APC จะลดลงเรื่อยๆ เพราะตอนนั้นผู้บริโภคมีสิ่งของใช้เพียงพอแล้ว เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นจึงแบ่งออมเพิ่มขึ้น • เมื่อ Yd เพิ่มขึ้น MPC  APC

  11. C การหาค่า MPC การหาค่า APC C C C2 C B C1 C A C Y Ca Ca Yd 0 0 Yd Y2 Y1 APC1 = C1Y1/oY1- - - slope oC1 APC2= C2Y2/oY2- - - slope oC2 MPC = slope = C/Yd MPC เท่ากันทุกระดับรายได้ APC1  APC2 การหาค่า MPC และ APC จากกราฟ

  12. Aggregate Expenditure = Yd หรือ C = Yd Consumption Break-Even Point b C = Ca + bYd c a APC < 1 APC = 1 d APC  1 f Ca Yd Yd1 Yd3 Yd2 Saving S = - Ca + (1-b)Yd b’ APS  0 d’ a’ Yd c’ APS  0 Sa= -Ca APS = 0 f’ (dissaving)

  13. การลงทุนมวลรวม (Desired Investment Expenditure: I)

  14. การลงทุนมวลรวม หมายถึง รายจ่ายที่ธุรกิจตั้งใจหรือวางแผนไว้เพื่อซื้อสินค้าทุนรวมถึงการเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงคลังในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ในทางเศรษฐศาสตร์การลงทุนจะพิจารณาเฉพาะรายจ่ายที่ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของสินค้าทุน

  15. การลงทุนมวลรวม การลงทุนมวลรวม ประกอบด้วย • รายจ่ายในการซื้อเครื่องมือ เครื่องจักรใหม่ • รายจ่ายในการก่อสร้างอาคารต่างๆใหม่ • ส่วนเปลี่ยนแปลงในมูลค่าสินค้าคงเหลือ

  16. I Ia 0 Y ความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนมวลรวมกับรายได้ประชาชาติ • การลงทุนโดยอัตโนมัติ (Autonomous Investment: Ia) • เป็นการลงทุนที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าโดยไม่คำนึงว่า ระดับรายได้ประชาชาติจะเปลี่ยนแปลงไปเท่าไร

  17. I Ii = iY Y 0 I Ii = iY Y 0 ความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนมวลรวมกับรายได้ประชาชาติ (2)การลงทุนแบบชักจูง (Induced Investment: Ii) เป็นการลงทุนที่ถูกจูงใจโดยรายได้ประชาชาติ ถ้ารายได้เพิ่มขึ้น การลงทุนจะเพิ่มขึ้น

  18. รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาล(Government Expenditure)

  19. รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาลรายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาล • รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาล • รายจ่ายในการซื้อปัจจัยการผลิตต่างๆ • รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ • รายจ่ายเพื่อการลงทุนของภาครัฐบาล • (ก) การพัฒนาประเทศ และ (ข) การส่งเสริมการลงทุน • รายจ่ายเงินโอนของรัฐบาล

  20. รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาลรายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาล G G 1 G 0 G 2 0 Y • ปัจจัยกำหนดการใช้จ่ายของรัฐบาล • ความจำเป็นในการใช้จ่ายโดย พิจารณาจากรายรับของรัฐบาล • นโยบายการคลังของรัฐบาล

  21. การส่งออกและการนำเข้า(Export and Import)

  22. การส่งออก (Export) หมายถึง รายจ่ายที่ชาวต่างชาติต้องการจะซื้อสินค้าของประเทศ การส่งออกเป็นตัวแปรที่ไม่ขึ้นกับรายได้ประชาชาติของประเทศ ดังนั้น เส้นการส่งออกจะเป็นเส้นที่ขนานกับแกนนอน นั่นคือ ไม่ว่ารายได้จะเป็นเท่าใด การส่งออกจะมีมูลค่าคงที่เสมอ

  23. X X1 X0 X2 0 Y การส่งออก (Export)

  24. การนำเข้า (Import) หมายถึง รายจ่ายที่ภาคเศรษฐกิจต่างๆภายในประเทศต้องการซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศ ความต้องการนำเข้าจะขึ้นอยู่กับระดับรายได้ประชาชาติของประเทศ

  25. M M = Ma +mY M Y Ma 0 Y การนำเข้า (Import)

  26. M, X M = Ma +mY Xn< 0 Xn = 0 X = Xa Xn 0 Y 0 Y0 การส่งออกสุทธิ (Net Exports) คือ ผลต่างระหว่างมูลค่าการส่งออกและมูลค่าการนำเข้า (X-M): Xn

More Related