700 likes | 1.03k Views
นโยบายและแผนพัฒนาสาธารณสุข. สุวัสสา เพ็งสีแสง สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. นโยบายของการะทรวงสาธารณสุข 2552-2554. มี 8 นโยบาย ได้แก่ นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก นโยบายความมั่นคงของรัฐ
E N D
นโยบายและแผนพัฒนาสาธารณสุขนโยบายและแผนพัฒนาสาธารณสุข สุวัสสา เพ็งสีแสง สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
นโยบายของการะทรวงสาธารณสุข 2552-2554 มี 8 นโยบาย ได้แก่ • นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก • นโยบายความมั่นคงของรัฐ • นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต • นโยบายเศรษฐกิจ • นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม • นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ • นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
นโยบายที่ 1 นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก ประกอบด้วย • เป้าหมายการให้บริการที่ 2 ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีสุขภาพดี • ยุทธศาสตร์ 3. เสริมสร้างและพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ตอบสนองต่อปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้
นโยบายที่ 3 นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต ประกอบด้วย • เป้าหมายการให้บริการที่ 1 ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม • สามารถลดภาระโรค ภัยคุกคามและความรุนแรงด้านสุขภาพได้ • ยุทธศาสตร์ 1. เสริมสร้างปัจจัยพื้นฐานของการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และพัฒนาประสิทธิภาพเครือข่ายระบบเฝ้าระวัง การป้องกัน การควบคุมโรคและภัยสุขภาพ 2. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของอสม. ภาคีเครือข่ายและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
เป้าหมายการให้บริการที่ 3 ประชาชนมีหลักประกันสุขภาพได้รับบริการสุขภาพและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มี • คุณภาพมาตรฐานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม • ยุทธศาสตร์ 4. พัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพให้เกิดประสิทธิภาพและมีคุณภาพมาตรฐาน 5. พัฒนาระบบบริหารและระบบบริการทางการแพทย์สาธารณสุข และผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีคุณภาพมาตรฐาน 6. ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย พัฒนา ถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือกและสมุนไพร การคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร
เป้าหมายการให้บริการที่ 4 ประชาชนได้รับบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ยุทธศาสตร์ 7. การพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพ เป้าหมายการให้บริการที่ 5 ประชาชน ผู้เสพและผู้ติดยาเสพติดได้รับการบำบัดรักษา ฟื้นฟู เฝ้าระวัง • ควบคุมการใช้วัตถุเสพติด เพื่อสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติในสังคม ยุทธศาสตร์ 8. เสริมสร้างระบบเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพของประชาชน ผู้เสพ และผู้ติดยาเสพติด ให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
การจัดลำดับคะแนนการกำหนดยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุขการจัดลำดับคะแนนการกำหนดยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข
นโยบายรัฐบาลของกระทรวงสาธารณสุขนโยบายรัฐบาลของกระทรวงสาธารณสุข • ภายใต้รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี 1. เร่งลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ ( ด้านสุขภาพ ) คือการลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบ บริการสุขภาพ ที่มุ่งสู่การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ 1. ปรับปรุงและก่อสร้างสถานบริการใหม่ให้ครบทุกอำเภอและกิ่งอำเภอให้เป็น โรงพยาบาลระดับตำบล (ขนาด ๑๐ เตียง) 2. สนับสนุนการก่อสร้างอาคารเพื่อรองรับผู้ป่วยให้เพียงพอในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน 3. ก่อสร้างอาคารเพื่อรองรับการบริการเฉพาะทางด้านอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคติดต่อร้ายแรง การบำบัดยาเสพติด ฯลฯ ตามความต้องการของพื้นที่ต่าง ๆ 4. สนับสนุนการจัดหาเครื่องมือแพทย์ที่มีความทันสมัยและจำเป็นให้กับสถาน- บริการทุกระดับ และมีบุคลากรพร้อมที่จะรองรับการใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ส่งเสริมบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติงานเชิงรุก ในการส่งเสริมสุขภาพในท้องถิ่นและชุมชน การดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการการดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล และการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยจัดให้มีสวัสดิการค่าตอบแทนให้แก่ อสม. เพื่อสร้างแรงจูงใจหนุนเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
1. สนับสนุนค่าตอบแทนการปฏิบัติงานและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้แก่ อสม. 2. สร้างขวัญและกำลังใจแก่อสม. ที่สนับสนุนการดำเนินงานสาธารณสุขเชิงรุก 3. ให้มีการเพิ่มพูนองค์ความรู้อย่างบูรณาการในงานสุขภาพและการคุ้มครอง ผู้บริโภค การสนับสนุนการแพทย์แผนไทย สมุนไพร การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 4. สนับสนุนการศึกษาต่อเนื่องของอสม. ที่ต้องการเพิ่มคุณค่าทางวิชาการและวิทยฐานะทางการศึกษาเพิ่มขึ้น 5. ให้มีการประเมินผลการดำเนินงานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ 6. ผลักดันให้มีกฎหมาย อสม. เพื่อรับรองสิทธิและหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานในชุมชน
3. แก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบ มิให้มีผลกระทบต่อความมั่นคง โดยการปรับปรุงระบบการเข้าเมือง การจัดระเบียบชายแดน การจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว รวมทั้งการแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลที่ชัดเจน บนความสมดุลระหว่างการดูแลสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลกับการรักษาความมั่นคงของชาติ
4. สนับสนุนการดำเนินการตามแนวทางของกฎหมายสุขภาพแห่งชาติ โดยเร่ง • สร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพและการเจ็บป่วยเรื้อรัง • ประสานความร่วมมือและการมีส่วนร่วมจากภาคีพัฒนาในสาขาต่าง ๆ ตลอดจนภาคเอกชน • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และอสม. ร่วมสร้างความรู้ ความเข้าใจ • สร้างแรงจูงใจ รณรงค์ให้เกิดการพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอนามัย • ส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีส่วนร่วมในการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข • จัดสรรทุนให้เพื่อกลับมาทำงานในท้องถิ่น
5. สร้างขีดความสามารถในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค วินิจฉัย และดูแล • รักษาพยาบาลอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน ทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันปัญหาการป่วยและตายด้วยโรคอุบัติใหม่ ที่รวมถึงโรคที่มีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ และโรคระบาดซ้ำในคนอย่างทันต่อสถานการณ์
6. ปรับปรุงระบบบริการด้านสาธารณสุข • พัฒนาระบบบริการสุขภาพของภาครัฐในทุกระดับให้ได้มาตรฐาน • ยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล • พัฒนาระบบเครือข่ายการส่งต่อในทุกระดับให้มีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงกันทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพมีคุณภาพอย่างเพียงพอ ทั่วถึง • มีทางเลือกหลากหลายรูปแบบ • ครอบคลุมได้ถึงการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ
7. ลงทุนผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข • สร้างขวัญกำลังใจให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ • มีการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้มีรายได้ จากเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่เหมาะสม เป็นธรรม • ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพด้านการแพทย์ • กระจายบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข อย่างสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ • พัฒนาและเชื่อมโยงระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพให้ทันสมัย มีมาตรฐาน สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า
8. ผลักดันการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลในระดับนานาชาติ • โดยมียุทธศาสตร์การบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม มีการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง • ใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน • ปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
9. ให้ความสำคัญในการคุ้มครองผู้บริโภคในทุกมิติ • โดยการรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจ • จัดตั้งองค์กรอิสระผู้บริโภค • บังคับใช้มาตรการทางกฎหมายที่ให้การคุ้มครองดูแลผู้บริโภคโดยเคร่งครัด • ใช้กลไกทางกฎหมายในการป้องกันการเอาเปรียบ ผู้บริโภคในด้านอื่น ๆ เช่น การโฆษณาเกินเวลา การโฆษณาแฝงหรือการใช้สื่อเพื่อประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น
10. ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างชายหญิง ขจัดการกระทำความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติต่อเด็ก สตรี และผู้พิการ • ให้การคุ้มครองและส่งเสริมการจัดสวัสดิการทางสังคมที่เหมาะสมแก่ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ที่อยู่ในภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นพึ่งตนเองได้
11. เร่งรัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบครบวงจร • ด้านการป้องกันการปราบปราม การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด • ควบคู่กับการปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์และมีการบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด • ขยายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
12. ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี • เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาครัฐ • กำหนดมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นระบบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 1. ให้มีทีมงานดูแลเรื่องการเจรจาการค้าเสรีที่จะมีผลกระทบต่อระบบการให้บริการ สุขภาพ การค้าอาหารและยา รวมทั้งสินค้าอื่น ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งเชิงบวกและเชิงลบโดยเฉพาะเรื่องสิทธิบัตร 2. เร่งรัดการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ คำสั่ง ให้พร้อมเพื่อรองรับการเจรจา การค้าเสรีระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคีที่สำเร็จแล้ว ซึ่งจะเป็นเกราะป้องกันผลกระทบที่จะมีต่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
13. ปฏิรูประบบการวิจัยและพัฒนาของประเทศ • โดยให้มีกองทุนวิจัยร่วมภาครัฐและเอกชนที่รัฐลงทุน ร้อยละ ๕๐ และจัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับภาคเอกชนที่เข้าร่วมงานวิจัย • เพิ่มเติมงบประมาณด้านการวิจัยของประเทศ • ปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานของงานวิจัยพื้นฐาน • การวิจัยและพัฒนาแบบครบวงจร ที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ รายได้ และการจ้างงานและการเพิ่มมูลค่าสินค้า ทั้งนี้ให้มีโครงการวิจัยที่ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น ยา เคมีภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ และสินค้าเกษตร • โดยเชื่อมโยงระหว่างภาคเอกชน สถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัย ตลอดจนเครือข่ายวิสาหกิจ
ทิศทางการพัฒนาสุขภาพ ในยุคของการเปลี่ยนแปลง • การบริหารจัดการแนวใหม่ • แนวคิดและทิศทางการพัฒนาสุขภาพใหม่ • ระบบสาธารณสุขที่พึงประสงค์
การบริหารจัดการแนวใหม่การบริหารจัดการแนวใหม่ • การบริหารจัดการภาครัฐ • การพัฒนาระบบราชการ • การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
การวางแผนเพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศการวางแผนเพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ How คน สู่ความเป็นเลิศ ระบบ สู่ความเป็นเลิศ สั่งสมคนดี ส่งเสริมคนเก่ง ความเป็นมืออาชีพ รู้คน คือ มีคุณธรรม นำชีวิต รู้ถูกผิด รู้ชอบ รู้ศักดิ์ศรี รู้วินัย ใจสัตย์ซื่อ ถือความดี รู้วิถี มีจรรยา นำพาตน รู้งาน คือ มืออาชีพ ในทุกสิ่ง รู้ให้จริง รู้แก้กัน ทันเหตุผล รู้คุณภาพรู้มาตรฐานงานสากล รู้ผ่อนปรนรู้จังหวะกะแนววาง องค์กร สู่ความเป็นเลิศ การบริหารจัดการที่ดี
Beyond Bureaucracy • ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางและยึดประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก • คิดเชิงยุทธศาสตร์ มุ่งไปข้างหน้า และเปิดมุมมองให้กว้าง • บริหารงานบนฐานขององค์ความรู้และข้อมูลสารสนเทศ • ทำงานเชิงรุก กล้าคิด กล้าทำ ท้าทาย ไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น • ยึดหลักบูรณาการ ไร้พรมแดนของหน่วยงาน • มีเป้าหมายในการทำงาน สามารถวัดผลสำเร็จได้อย่างชัดเจน • เน้นความรวดเร็ว เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ • เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ปรับตัวให้ทันโลกทันสมัย • แสวงหาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่
แนวคิดและทิศทางการพัฒนาสุขภาพใหม่แนวคิดและทิศทางการพัฒนาสุขภาพใหม่ • สุขภาพสู่สุขภาวะองค์รวม • สร้างนำซ่อม - การส่งเสริมสุขภาพ จาก Ottawa สู่ Bangkok Charter – Health for All สู่ All for Health • การบริหารแบบบูรณาการ – การบริหารคุณภาพ • องค์กรแห่งการเรียนรู้ – การจัดการความรู้ • พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 (ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 124 ตอนที่ 16 ก วันที่ 19 มีนาคม 2550) • แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10 พ.ศ.2550-2554 • แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550-2559 • นโยบายด้านสุขภาพ • การกระจายอำนาจด้านสุขภาพ
กฎบัตรออตตาวาว่าด้วย การส่งเสริมสุขภาพ • เพิ่มความสามารถของชุมชน สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ • พัฒนา • ทักษะ • ส่วนบุคคล • กลยุทธ์การสร้างสุขภาพ • Enable • Mediate • Advocate ปรับระบบบริการสุขภาพ สร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
Build capacity Partner • Global • Government • Community • Corporate Advocateสนับสนุน Investลงทุน Regulate & Legislate กม. Bangkok Charter
การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ต่อการให้บริการด้านสุขภาพการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ต่อการให้บริการด้านสุขภาพ Rightsizing Good Governance Better Service Quality PeopleParticipation High Performance • Restructuring (Clustering & Matrix system • Agencification (APO & SDU) • Comprehensive review • Contestability (market testing) • ABC & capital charges • People’s audit • Paradigm shift • Networking • Service standard • Work process redesign • Deregulation • E-services • Call center 1111 • Service Link (Integrated Customer Solutions) • Managing for results (business-like approach) • Strategy driven • Performance Scorecard • Performance agreement & review • Incentive package • Change management • Change leaders & facilitators • E-learning for change • I AM READY • Strategic posts • Young executives • Remuneration • E-government • GFMIS
การบูรณาการนโยบายและแผนการบูรณาการนโยบายและแผน - การบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management) - การจัดสรรงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ ตามยุทธศาสตร์ (Result Based Budgeting) - การประเมินผลสัมฤทธิ์ (Result Based Measurement / Evaluation)
การบูรณาการใน 3 มิติ การวางแผน ยุทธศาสตร์ การจัดสรร งบประมาณ การนำ ยุทธศาสตร์ สู่การปฏิบัติ การติดตาม กำกับ ประเมินผล ยุทธศาสตร์เฉพาะ ของรัฐบาล (Agenda) ระดับชาติ ยุทธศาสตร์กระทรวง (Function) ระดับกระทรวง ยุทธศาสตร์พื้นที่ (Area) ระดับจังหวัด
Excellent Center Tertiary Medical Care Tertiary Care (3 Care) Secondary Care (2 Care) Primary Care (1 Care) Referral Center Secondary Medical Care Special Care Referral System Primary Medical Care General Practice Family Practice Primary Health Care Self-Care Holistic Care IntegratedCare Continuous Care คุณภาพบริการ เชื่อมโยง ไม่มีช่องว่าง ไม่ซ้ำซ้อน ระบบบริการสุขภาพแบบบูรณาการ (Integrated Health Care System)
การจัดเครือข่ายบริการสุขภาพและการประกันคุณภาพบริการการจัดเครือข่ายบริการสุขภาพและการประกันคุณภาพบริการ บริการเฉพาะ มาตรฐานบริการ เฉพาะทางพิเศษ บริการตติยภูมิ เฉพาะทาง มาตรฐานบริการเฉพาะทาง ทุติยภูมิ CUP หน่วยบริหารเครือข่าย มาตรฐานสถานพยาบาล (ต่ำสุด 10-30 เตียง) มาตรฐานคุณภาพ มาตรฐานคู่สัญญาปฐมภูมิ PCU PCU โครงสร้าง บุคลากร บริการ การจัดการ PCU
TQM Total Quality Management QA Quality Assurance ISO International Organizaton for Standard HA Hospital Accreditation PHSS Public Health Service Standard Thailand International Public Sector Standard Management System and Outcomes หรือ Thailand International P.S.O. LO Learning Organization
5 สิ่งใหม่ เมื่อมี พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ 1. ให้ความหมาย “สุขภาพ”อย่างกว้างและกำหนดสิทธิหน้าที่ด้านสุขภาพเพิ่มเติม 2. กำหนดให้มีกลไกระดับชาติ คือ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เป็นเครื่องมือให้ทุกฝ่ายในสังคมเข้ามาร่วมกันดูแลระบบสุขภาพโดยไม่มีอำนาจสั่งการ บังคับบัญชา 3. มีสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)ทำ หน้าที่องค์กรเลขานุการ ของ คสช. 4. กำหนดให้มีเครื่องมือสำคัญ คือ สมัชชาสุขภาพ 5. กำหนดให้ คสช. จัดทำ “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” เพื่อกำหนดทิศทางนโยบายยุทธศาสตร์และการดำเนินงานต่างๆ ในระบบสุขภาพแห่งชาติ
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 10ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10พ.ศ. 2550-2554 แผนสุขภาพประชาชาติเพื่อสุขภาพประชาชนไทย สู่ระบบสุขภาพพอเพียงตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ต่อ) ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วย ความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
แนวคิดหลัก • น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการพัฒนาสุขภาพ • สุขภาพดีมาจากสังคมดี คือ สังคมที่อยู่เย็นเป็นสุข • สุขภาวะหรือสุขภาพดีของทุกคนเป็นศีลธรรมของสังคมเพราะหัวใจของสุขภาวะคือการเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ • แผนนี้นำเสนอวิสัยทัศน์อันเป็นอุดมคติ ทุกคนที่เห็นด้วยกับแนวคิดสุขภาพในแผนนี้ที่จะต้องถือเป็นหน้าที่ที่จะช่วยผลักดันทุกวิถีทางให้วิสัยทัศน์เกิดเป็นจริง
วิสัยทัศน์ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) ภายใต้แนวปฏิบัติ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ระบบสุขภาพไทย มุ่งสู่ระบบสุขภาพพอเพียง เพื่อสร้างให้: สุขภาพดีบริการดีสังคมดี ชีวิตมีความสุขอย่างพอเพียง
พันธกิจหลัก • สร้างเอกภาพทางความคิด • สร้างจิตสำนึกสุขภาพใหม่ • สร้างระบบจัดการที่โปร่งใส • สร้างกลไกการมีส่วนร่วมในการพัฒนา
วัตถุประสงค์ • สร้างสุขภาพดีให้เป็นวิถีชีวิต ในทุกช่วงวัยตั้งแต่ครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน โดยเน้นความพอเพียงทางสุขภาพระดับครอบครัว และชุมชน • สร้างระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ เป็นมิตร ใส่ใจในความทุกข์ และมีความละเอียดอ่อนต่อความเป็นมนุษย์ • สร้างหลักประกันด้านสุขภาพที่ให้ความอุ่นใจและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต ทั้งยามปกติ ยามเจ็บป่วย และยามวิกฤต • เป็นสังคมเรียนรู้ อุดมด้วยภูมิปัญญาสุขภาพ มีวัฒนธรรมที่เกื้อกูลต่อสุขภาวะ