20 likes | 140 Views
ลักษณะทางธรณีวิทยา. อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย มีลักษณะพื้นที่แบบลูกคลื่นลอนชัน ซึ่งเกิดจากการศึกษาแผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน 1 : 500 ,000 ของกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม สามารถแบ่งหินออกได้ดังนี้
E N D
ลักษณะทางธรณีวิทยา • อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย มีลักษณะพื้นที่แบบลูกคลื่นลอนชัน ซึ่งเกิดจากการศึกษาแผนที่ธรณีวิทยามาตราส่วน 1: 500,000 ของกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม สามารถแบ่งหินออกได้ดังนี้ • 1. หินหน่วยภูพาน (Phu Phan formation) เป็นหินที่เกิดในยุค (Cretaceous) ประมาณ 63 – 135 ล้านปี ที่ผ่านมาเป็นหินทราย (sandstone) สีขาว สีส้มเรื่อ สีน้ำตาลปนเหลือง มีรอยชั้นขวางอยู่ (cross-bedding sedimentation) • 2. หินหน่วยเสาขรัว (Sao Khua formation) เป็นหินที่มีอายุเก่าแก่กว่าชั้นหินหน่วยภูพาน อยู่ในยุค Jurassic ประมาณ 135 – 180 ล้านปีที่ผ่านมา เป็นหินทรายสีน้ำตาลอมแดง สีเทา และหินทรายแป้ง (siltstone) ที่ส่วนใหญ่จะมีแร่ไมก้าปนอยู่ มีสีเทา สีน้ำตาลบางส่วนจะปนหินกรอดมน หินดินดำสีน้ำตาลอมม่วงและสีแดงอิฐ • ลักษณะดินในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอยส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายหรือดินทราย มีหินโผล่อยู่ทั่วไป ดินที่พบส่วนใหญ่เป็น ดินชุดโคราชและดินชุดบรบือ ซึ่งคุณสมบัติ ดังนี้ • 1. ดินชุดโคราช เป็นดินที่เกิดจากตะกอนของลำน้ำเก่าเช่นกัน ดินชั้นบนลึกระหว่าง 0-60 เซนติเมตร
เป็นทรายร่วนหรือดินร่วนปนทราย ส่วนที่ลึกเกิน 60 เซนติเมตรลงไป จะมีเนื้อดินละเอียดกว่าเป็นพวกดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน บางแห่งอาจเป็นดินร่วนปนเหนียว แต่โดยทั่วไปแล้วจะพบเนื้อดินพวกดินร่วนปนทรายตลอดทุกชั้นของดิน ดินชั้นบนจะมีสีน้ำตาลปนเทา เมื่อเปียกจะมีสีเข้มขึ้น เมื่อแห้งจะมีสีเทาอ่อน ดินชั้นล่างมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเหลือง ในดินชั้นบนไม่ค่อยมีจุดสี ปรากกฏให้เห็น ส่วนมากพบจุดสีในดินชั้นล่าง แต่จะมีบ้างในดินชั้นล่างที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย มีความเป็นกรดด่างประมาณ 4.5-5.5 การระบายน้ำอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงดี ไม่พบศิลาแลงในระดับความลึก 0-60 เซนติเมตร 2. ดินชุดบรบือ เป็นดินที่เกิดจากหินทราย ดินชั้นบนเป็นดินทรายหรือดินเหนียวปนทราย ส่วนใหญ่ของพื้นที่มีหินหรือก้อนหินเล็กๆ ซึ่งเป็นส่วนหักพังของหินทรายรวมทั้งหินลูกรังปรากฏให้เห็นอยู่ในชั้นของดิน สีของดินอาจมีสีน้ำตาลหรือ น้ำาตาลปนเหลือง มีจุดสีบ้างในดินชั้นล่าง การระบายน้ำดี