320 likes | 512 Views
แผนงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานองค์กรภาครัฐ ( Quality of Work Life for Public Sector Program). ศิริเชษฐ์ สังขะมาน สถาบันวิจัย สังคม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. แนวคิด คุณภาพชีวิตการ ทำงาน กระบวนการพัฒนา ตามแนวคิดทฤษฎี. UNESCO (1981) ได้กำหนดองค์ประกอบคุณภาพชีวิตไว้ 7 ด้าน ได้แก่
E N D
แผนงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานองค์กรภาครัฐ (Quality of Work Life for Public Sector Program) ศิริเชษฐ์ สังขะมาน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แนวคิด คุณภาพชีวิตการทำงานกระบวนการพัฒนาตามแนวคิดทฤษฎี UNESCO (1981) ได้กำหนดองค์ประกอบคุณภาพชีวิตไว้ 7 ด้าน ได้แก่ 1) อาหาร 2) สุขภาพ3) การศึกษา4) สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร5) ที่อยู่อาศัยและการตั้งถิ่นฐาน6) การมีงานทำ และ7) ค่านิยม ศาสนา จริยธรรม กฎหมาย และปัจจัยด้านจิตวิทยา UNDP(1988) Human Achievement Index ซึ่งใช้ 8 องค์ประกอบได้แก่ 1) สุขภาพ 2) การศึกษา 3) การทำงาน 4) รายได้ 5) ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม 6) ชีวิตครอบครัวและชุมชน 7) การคมนาคมและการสื่อสารและ 8) การมีส่วนร่วม ESCAP (1990) กำหนดตัวแปรที่ใช้วัดคุณภาพชีวิตไว้ 7 ด้านเช่นกัน คือ 1) ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 2) สุขภาพ 3) ชีวิตการทำงาน 4)ชีวิตครอบครัว 5) ชีวิตการใช้สติปัญญา (Intellectual life) 6) ชีวิตชุมชน และ 7) สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
คุณภาพชีวิตการทำงานในแง่มุมที่หมายถึงการคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ในการทำงาน (Humanization of Work) ซึ่งประเทศฝรั่งเศสและประเทศที่พูดภาษาฝรั่งใช้ คำว่า การปรับปรุงสภาพการทำงาน (Improvement of Working Condition) ประเทศสังคม นิยมใช้คำว่า การคุ้มครองแรงงาน (Workers' Protection) กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย หรือใน ญี่ปุ่นใช้คำว่าสภาพแวดล้อมการทำงาน (Working Environment) และความเป็นประชาธิปไตยในสถานที่ทำงาน (Democratization of the Workplace) คุณภาพชีวิตการทำงานมีความหมายครอบคลุมถึงวิธีการ แนวปฏิบัติหรือเทคโนโลยีที่ส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจมากขึ้น ในการปรับปรุงผลลัพธ์ทั้งขององค์การและปัจเจกบุคคล ตามลำดับ
คำจำกัดความของ QWL นี้บ่งชี้ว่า QWL คือการสร้างมิติโครงสร้างที่หลากหลายขึ้น การสร้างขึ้นของจำนวนของปัจจัยที่สัมพันธ์กันจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบทั้งในกระบวนการคิดและมาตรการ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในการทำงาน เช่น การมีส่วนร่วมในงาน แรงจูงใจ ความสามารถในการผลิต สุขภาพ ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ในสภาวะที่ดีในชีวิตการทำงาน การพัฒนาขีดความสามารถ และความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (European Foundation for the Improvement of Living Conditions)
ผู้บริหาร องค์กร/สังคม วิชาการ แนวคิดการร่วมกันผลักดันจากทุกภาคส่วน ผนวกกับ อำนาจ ความรู้ ทรัพยากร ภาวะผู้นำ ต้องไหลสู่ระดับเดียวกัน
กระแสอำนาจ ผู้บริหาร กระแสความรู้ กระแสทรัพย์/ทุน องค์กร/สังคม วิชาการ กระแสภาวะผู้นำ
การสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานการสร้างคุณภาพชีวิตการทำงาน • การสร้างคุณภาพชีวิตการทำงาน มีแนวโน้มที่จะเป็นประเด็นสำคัญที่มีความท้าทายในอนาคต เนื่องจากการจ้างงานโดยเฉพาะแรงงานที่มีฝีมือ (Skill Worker) หรือแรงงานมีความรู้ (Knowledge Worker) ไม่สามารถกระทำได้จากการให้เงินเดือนและสวัสดิการที่สูงเพียงด้านเดียว
ในอนาคตกระแสแรงงานที่มีคุณภาพต้องการทำงานในองค์การที่มีบรรยากาศเกื้อหนุนต่อความสำเร็จและการสร้างนวัตกรรม ตลอดจนต้องการความเป็นตัวของตัวเอง และใช้ชีวิตในด้านอื่นให้สมบูรณ์ เช่น การมีครอบครัวที่เป็นสุข การพักผ่อนที่เต็มที่ และการทำความเข้าใจในตนเองและสังคม เป็นต้น
องค์การจึงต้องกำหนดนโยบายที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานตลอดจนต้องดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มิใช่โครงการที่ทำตามความนิยมแบบครั้งเดียวเสร็จ ซึ่งต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้และความเข้าใจมาดำเนินการ
สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา การศึกษาเรื่องภาพอนาคตของสถานที่ทำงานในประเทศไทย ปี 2575 พบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 7 ด้าน ได้แก่ 1.คุณสมบัติและลักษณะของคนทำงาน จะขาดแคลนแรงงานฝีมือเนื่องจากประชากรนิยมอยู่เป็นโสดหรือไม่มีบุตรมากขึ้น 2.ลักษณะงาน จะเกิดงานใหม่จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น การผลิตชิ้นส่วนร่างกายมนุษย์ ศัลยแพทย์เพิ่มหน่วยความจำ 3.ผลตอบแทน จะมาจากผลงานเป็นหลัก สวัสดิการแรงงานสูงอายุและหลังเกษียณจะเป็นแรงกดดันที่สำคัญ
4.โครงสร้างองค์กร จะปรับระบบบริหารและกฎระเบียบรองรับแรงงานที่หลากหลาย 5.ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคลากรจะกลายเป็นประเด็นสำคัญ 6.สภาพแวดล้อมทางกายภาพ สำนักงานแบบตายตัวจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร 7.วัฒนธรรมองค์กร จะเกิดการยอมรับความแตกต่าง เกิดค่านิยมการทำงานไปพร้อมกับการใช้ชีวิตประจำวันและทำงานตลอดเวลาผ่านเทคโนโลยีการสื่อสาร
การเปลี่ยนแปลงบริบทและสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการดังกล่าว จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมตั้งแต่วันนี้ โดยองค์กรต่างๆ ควรทำความเข้าใจ วิเคราะห์ และวางแผนรองรับทั้งโอกาสและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาองค์กรให้เข้มแข็งไม่ว่าสถานการณ์ใด คือการส่งเสริมให้บุคลากรทำงานอย่างมีความสุข
“ การปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ ” • แผนปรับบทบาทภารกิจ • แผนปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณ • แผนปรับระบบบริหารงานบุคคล • แผนปรับเปลี่ยนกฎหมาย • แผนปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยม
แกนหลักการบริหารทรัพยากรบุคคลแกนหลักการบริหารทรัพยากรบุคคล หลักสมรรถนะ (Competency) หลักคุณธรรม (Merit) หลักผลงาน (Performance ) คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of work Life ) กระจายความรับผิดชอบในการบริหารทรัพยากรบุคคล
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้มีการระบุเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการไว้โดยตรงในสามมาตราใน คือ • มาตรา 13 (8)ซึ่งกำหนดให้สำนักงาน ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริม ประสานงาน เผยแพร่ ให้คำปรึกษาแนะนำ และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสำหรับทรัพยากรบุคคลภาครัฐ • มาตรา 34การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี • มาตรา 72เรื่องการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่ดำเนินการให้มีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนสามัญมีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด
ปัญหาเชิงโครงสร้าง(ตัวระบบ)ปัญหาเชิงโครงสร้าง(ตัวระบบ) ที่มีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ของการบริหารราชการแผ่นดิน คือ • ลักษณะการรวมศูนย์อำนาจการตัดสินใจอยู่ที่ส่วนกลาง โดยมีนักการเมือง ในฐานะ รมต. เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจสูงมาก ในแทบทุกเรื่อง การกระจายอำนาจทางการปกครอง และการบริหาร จึงเป็นเพียงรูปแบบที่ไม่มีผลทางปฏิบัติจริง • ระบบราชการไทยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศ มีการพัฒนาอย่างมีรูปแบบ (2504 - 2525) เพิ่มส่วนราชการมากเกินไปทำให้เกิดปัญหา การเพิ่มบุคลากร ในภาครัฐตามมา • โครงสร้างของระบบราชการไม่คล่องตัว ไม่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อภาคเอกชน สังคม และประชาชนโดยรวม • ระบบธุรกิจการเมือง ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ส่งผลให้ระบบราชการไทย ถูกแทรกแซงจากนักการเมืองได้อย่างง่ายดาย เพราะข้าราชการมีเงินเดือนต่ำ ค่านิยม วัตถุนิยม • วัฒนธรรมของหน่วยงานราชการ และ รัฐวิสาหกิจ คือ ข้าราชการประจำ ต้องทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของนักการเมือง ไม่ใช่ประชาชน ลูกค้าคือเจ้านายไม่ใช่ประชาชน
ปัญหาเกี่ยวกับตัวบุคคล(ข้าราชการและประชาชน)ปัญหาเกี่ยวกับตัวบุคคล(ข้าราชการและประชาชน) • ข้าราชการที่มีความรู้ ความสามารถ ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มสมรรถภาพ เพราะอำนาจในการตัดสินใจไม่มี • ลักษณะของความเป็นไทย การนำเอาลักษณะของระบบราชการตามแนวคิดของ Max Weber ซึ่งเป็นหลักสากลมาใช้กับประเพณี ลักษณะนิสัย วิถีชีวิต และวัฒนธรรมการทำงานแบบไทยๆ เป็นปัจจัยเสริมให้เกิดความผิดพลาดและความด้อยประสิทธิภาพในการบริหาร และจัดการประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะระบบอุปถัมภ์ที่มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมไทย ทำได้ทุกอย่างเพื่อความก้าวหน้าและความอยู่รอด • ข้าราชการส่วนหนึ่งขาดจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณ ในการปฏิบัติหน้าที่ เพราะ- มีรายได้น้อยแต่มีอำนาจมากจึงมักใช้อำนาจที่มิชอบ- วัฒนธรรมองค์การที่ต้องทำคำสั่งนายแม้รู้ว่าเป็นสิ่งที่ผิด
ทางออก สุข HAPPY?ความสุข HAPPINESS? คืออะไร อยู่ที่ไหน เป็นอย่างไร ทำอย่างไร ปรับอะไร แต่ละองค์กร แต่ละคน แต่ละช่วงชีวิต
การมีความสุขนั้นไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะต้องมีพร้อมหรือสมบรูณ์ แต่คือการที่ตัวเราได้มองข้าม ความไม่สมบรูณ์เหล่านั้น
อยู่กับความจริงยอมรับความจริงเปลี่ยนแปลงให้อยู่กับความจริงได้อยู่กับความจริงยอมรับความจริงเปลี่ยนแปลงให้อยู่กับความจริงได้
งาน กับ ชีวิต สภาวะแวดล้อม/ สังคมย่อย เงือนไขเชิงระบบ/ โครงสร้าง (องค์กร) ส่วนราชการ (ปัจเจก) ข้าราชการ กระทรวง/กรม/จังหวัด ครอบครัว/พ่อแม่/ญาติพี่น้อง การเมือง โครงสร้างองค์กร อัตรากำลัง นโยบาย งบประมาณ โยกย้าย ฯลฯ ไม่พร้อมทำงาน วันจันทร์/วันศุกร์ วันหยุด/เที่ยว เรียนต่อ พ่อแม่ป่วย/ประกัน ปิด-เปิดเทอม ลูกเรียนพิเศษ ธุรกิจครอบครัว ฯลฯ QWL งาน ตน สุขภาพ/กาย-ใจ กายภาพ/แวดล้อม เวลาราชการ เวลาส่วนตัว ก้าวหน้า/เลือนขั้น พัฒนาตน ครอบครัว เพื่อน ทีม นาย/ลูกน้อง ขวัญกำลังใจ / แรงจูงใจ
Life Skill Happy Workplace Happy Family Happy Soul Happy Society Happy Money Happy Body Happy Relax Happy Heart Happy Brain 1 8 2 7 3 6 5 4
คุณภาพชีวิตการทำงานในระบบราชการ“องค์กรไม่สามารถจัดเต็มได้ แต่เติมเต็มได้ด้วยสมาชิกองค์กร” หลักการพัฒนา จะปลูกพืชต้อง เตรียมดิน จะกินต้อง เตรียมอาหาร จะพัฒนางาน ต้องพัฒนาคน จะพัฒนาคน ต้องพัฒนาที่ใจ จะพัฒนาใครต้อง พัฒนาที่ตนเอง (ก่อน)
คำถามที่อยากให้คิดบ่อยๆคำถามที่อยากให้คิดบ่อยๆ • คุณเชื่อไหมว่ามนุษย์ต้องการทำงานไม่ใช่อยู่อย่างเรื่อยเปื่อย • คุณเชื่อไหมว่ามนุษย์ต้องการหาความหมายในงานที่เขาทำ • คุณเชื่อไหมว่าคนเรานั้นต้องการมีความรับผิดชอบและความน่าเชื่อถือ • คุณเชื่อไหมว่าธรรมชาติของมนุษย์รักที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ • คุณเชื่อไหมว่าจริงๆ แล้วมนุษย์ไม่ต่อต้านต่อการเปลี่ยนแปลงแต่จะต่อต้านถ้าถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลง • คุณเชื่อไหมว่าคนเราน่าไว้ใจ
ทำงานดี ชีวีมีสุข Work wisely, Live well