560 likes | 1.47k Views
วิชา SSC 281 : Economics ภาคการศึกษาที่ 1 /2552. เศรษฐศาสตร์มหภาค ( Macroeconomics ). ดร.ศศิธร สุวรรณเทพ. เศรษฐศาสตร์มหภาค ( Macroeconomics ). ขอบเขตของวิชา ศึกษาถึงภาพรวมของระบบเศรษฐกิจ ปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่ง กำหนดรายได้ การผลิต ระดับการบริโภค การออม และการลงทุน
E N D
วิชา SSC 281 : Economicsภาคการศึกษาที่ 1/2552 เศรษฐศาสตร์มหภาค ( Macroeconomics ) ดร.ศศิธร สุวรรณเทพ ศศิธร สุวรรณเทพ
เศรษฐศาสตร์มหภาค ( Macroeconomics ) • ขอบเขตของวิชา • ศึกษาถึงภาพรวมของระบบเศรษฐกิจ ปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่ง • กำหนดรายได้ การผลิต ระดับการบริโภค การออม และการลงทุน • ของประเทศ การจ้างงาน ระดับราคาสินค้าทั่วๆไป เป็นต้น • ศึกษานโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น นโยบายการเงิน • นโยบายการคลัง เป็นต้น • ศึกษาเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจในประเทศ • ทั้งทางด้านการค้า และการเงินระหว่างประเทศ ศศิธร สุวรรณเทพ
1.การเพิ่มขึ้นของรายได้ประชาชาติและผลิตภัณฑ์ประชาชาติ: อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับที่สูง 2. การเพิ่มขึ้นของการจ้างงาน (หรืออัตราการว่างในระดับต่ำ) 3. การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ภายใน: อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ดุลงบประมาณ อัตราการว่างงาน ภายนอก: ดุลการค้า ดุลการชำระเงิน อัตราแลกเปลี่ยน 4. ความเป็นธรรมและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ เป้าหมายของเศรษฐกิจมหภาค ศศิธร สุวรรณเทพ
เศรษฐกิจไทยปัจจุบัน ศศิธร สุวรรณเทพ
ม.หอการค้าฯเชื่อ 6 มาตรการรัฐกดเงินเฟ้อ 51 โตไม่เกิน 7%ดัน GDP โต 5-6% • นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า 6 มาตรการที่รัฐบาลประกาศออกมาในวันนี้ถือว่าดีทั้งหมด เพราะช่วยลดภาระค่าครองชีพประชาชนได้ทั้งการลดค่าไฟฟ้า, ค่าน้ำประปา และค่ารถเมล์ ส่วนการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลจะมีส่วนช่วยให้ต้นทุนการขนส่งลดลงได้และทำให้เงินเฟ้อลดลงได้ เช่นเดียวกับการชะลอปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือน .อย่างไรก็ตาม แม้จะประกาศใช้มาตรการดังกล่าวเพียง 6 เดือน แต่จะช่วยให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย(GDP)โตได้ตามกรอบที่รัฐบาลกำหนดไว้คือ 5-6% และเชื่อว่าจะทำให้เงินเฟ้อทั้งปีนี้ไม่สูงเกิน 7% โดย ไทยแลนด์อินดัสตรี้ดอทคอม วันที่ 2008-07-1609:05:44 ศศิธร สุวรรณเทพ
6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤต (ต่อ) • ."ทั้ง 6 มาตรการจะช่วยเพิ่มอำนาจการใช้จ่ายให้กับกลุ่มรากหญ้า และน่าจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวจากการใช้จ่ายได้ 0.3-0.5% ต่อเดือน เพราะรายจ่ายค่าครองชีพพื้นฐานลดลง ประชาชนมีเงินเหลือใช้จ่ายด้านอื่นมากขึ้น" นายธนวรรธน์ กล่าว .ทั้งนี้ต้องต้องยอมรับว่า 6 มาตรการนี้ทำให้เงินของรัฐหายไปส่วนหนึ่ง แต่ก็เชื่อว่ารัฐบาลจะได้ชดเชยกลับมาในรูปของภาษีเงินได้ และอยากให้รัฐบาลออกมาตรการระยะยาวเสริมต่อจากมาตรการระยะสั้น เร่งโครงการเมกะโปรเจกต์ กระตุ้นการลงทุนจากต่างประเทศ และเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ ศศิธร สุวรรณเทพ
6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤต (ต่อ) • แต่อย่างไรก็ดี การที่รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือความเดือดร้อนของประชาชนในครั้งนี้ อีกด้านหนึ่งย่อมหมายถึงภาระที่รัฐบาลจะต้องรับการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้การขาดดุลงบประมาณในปี 51 สูงขึ้นมาเป็นประมาณ 2.2 แสนล้านบาท จากเดิมที่ประมาณ 1.72 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนการขาดดุลงบประมาณ 2.3% ของจีดีพี จากเดิมที่ 1.7% ของจีดีพี ซึ่งจะมีผลต่อสถานะทางการคลังที่จะต้องจัดหาวงเงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น และอาจมีผลดึงสภาพคล่องจากระบบการเงินไปบางส่วน ศศิธร สุวรรณเทพ
Asian Development Outlook 2008 GDP Table • http://www.adb.org/Media/Articles/2008/12437-asian-gdp-comparisons/ ศศิธร สุวรรณเทพ
Asian Development Outlook 2008 GDP Table 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 ศศิธร สุวรรณเทพ
รายได้ประชาชาติและการคำนวณรายได้ประชาชาติและการคำนวณ ความหมาย: ผลรวมของรายได้ประเภทต่างๆที่บุคคลในระบบเศรษฐกิจได้รับในฐานะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ในรอบระยะเวลาหนึ่ง (1 มกราคม-31 ธันวาคม) • ระบบบัญชีประชาชาติมี 3 ระบบ 1. ระบบขององค์การสหประชาชาติ 2. ระบบของประเทศสหรัฐอเมริกา 3. ระบบของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ ศศิธร สุวรรณเทพ
บัญชีประชาชาติของไทย • มีพัฒนาการมาจากระบบบัญชีประชาชาติปีพ.ศ. 2496 ขององค์การสหประชาชาติ(UN SNA 1953) ต่อมาพัฒนาเป็นระบบบัญชีประชาชาติปีพ.ศ. 2529 ขององค์การสหประชาชาติ(UN SNA 1986) • ปัจจุบันองค์กรทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้แก่องค์การสหประชาชาติ(UN) ธนาคารโลก(World Bank) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) กลุ่มความร่วมมือทางสถิติภาคพื้นยุโรป(Eurostat) และองค์กรความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ(OECD) ร่วมกันพัฒนาเป็นระบบบัญชีประชาชาติปีพ.ศ. 2536 (SNA 1993) • ประเทศได้จัดทำข้อมูลตามระบบบัญชีประชาชาติระบบเก่าUN SNA 1953 แต่ได้พัฒนาแนวคิดและประยุกต์บางส่วนของSNA 1993 ศศิธร สุวรรณเทพ
การคำนวณหารายได้ประชาติ มี 3 แนวทางคือ • การคำนวณทางด้านผลผลิต (Product Approach) • การคำนวณทางด้านรายได้ (Income Approach) • การคำนวณทางด้านรายจ่าย (Expenditure Approach) ศศิธร สุวรรณเทพ
การคำนวณด้านการผลิต (Production Approach) การคำนวณด้านการผลิตเริ่มจาก • การคำนวณหามูลค่าผลผลิตภายในประเทศเบื้องต้น ณ ราคาตลาด (Gross Domestic Product at market price):เป็นการนำจากมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (Final Goods) ซึ่งหมายถึงสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นมาและมิได้ถูกนำไปใช้ในการผลิตอื่นๆนอกจากการบริโภค เมื่อนำมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายมารวมกันจะได้ผลิตภัณฑ์เบื้องต้นของประเทศ (GDP at mkp ) ศศิธร สุวรรณเทพ
ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น(Gross Domestic Product : GDP at market price): • มูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประเทศสามารถผลิต • ขึ้นได้ในระยะเวลาหนึ่งคิดที่ราคาตลาด • ปัญหาที่เกิดจากการใช้มูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายคือ • การนับซ้ำ(double counting) และการที่สินค้าไม่ผ่านตลาด • ดังนั้นจึงใช้วิธีการคำนวณจากมูลค่าเพิ่ม (value added) • ประเทศไทยใช้หลักการคำนวณหาจากผลรวมของมูลค่าเพิ่มของสาขาการผลิต 16 สาขา (TSIC 2001) • มูลค่าเพิ่ม = มูลค่าที่ขายไป - มูลค่าที่ซื้อมา ศศิธร สุวรรณเทพ
การคำนวณหามูลค่าเพิ่มการคำนวณหามูลค่าเพิ่ม ศศิธร สุวรรณเทพ
ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น ณ ราคาตลาด (Gross National Product at market price : GNP at mkp ): มูลค่าของสินค้าและบริการที่ประชาชาติหนึ่งผลิตขึ้นได้ในรอบ ระยะ เวลาหนึ่งโดยคิดที่ราคาตลาด GNP at mkp = GDP at mkp + รายได้สุทธิจากต่างประเทศ รายได้สุทธิจากต่างประเทศ (Net Income from Aboard)= รายได้ของไทยในตปท. – รายได้คนตปท.ในไทย ศศิธร สุวรรณเทพ
ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ ณ ราคาตลาด (Net National Product at market price : NNP at mkp): มูลค่าของสินค้าและบริการที่ประชาชาติหนึ่งผลิตขึ้นได้ในรอบ ระยะเวลาหนึ่งโดยคิดที่ราคาตลาด และหักค่าเสื่อมราคาสินค้าทุน (Depreciation) NNP at mkp = GNP at mkp - ค่าเสื่อมราคาสินค้าทุน ศศิธร สุวรรณเทพ
ผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ ณ ราคา (Net National Product at • factor cost: NNP at fc) • มูลค่าสินค่าและบริการขั้นสุดท้ายที่ประชาชาติหนึ่งผลิตได้ในรอบ • ระยะเวลาหนึ่ง โดยคิดที่ราคาทุน • ราคาทุน = ราคาตลาด - ภาษีทางอ้อม - เงินโอนธุรกิจ + เงินอุดหนุน • NNP at fc = NNP at mkp - ภาษีทางอ้อม - เงินโอนธุรกิจ + เงินอุดหนุน • NNP at fc = NI (National Income) ศศิธร สุวรรณเทพ
การคำนวณรายได้ประชาชาติด้านรายจ่ายการคำนวณรายได้ประชาชาติด้านรายจ่าย • เป็นการนำรายจ่ายที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาหนึ่งรวมเข้าด้วยกัน • รายการที่นำมารวมด้านรายจ่ายประกอบด้วย • รายจ่ายในการบริโภคของบุคคล ( C ) • รายจ่ายเพื่อการลงทุนภายในประเทศ ( I ) • รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาล ( G ) • รายได้จากการส่งออกสุทธิ ( X – M ) เมื่อนำรายการข้างต้นมารวมเข้าด้วยกันจะได้ GDP at mkp และสามารถนำไปคำนวณหารายได้ประชาชาติ GDP at mkp = C + I +G + (X-M) ศศิธร สุวรรณเทพ
สินค้าประเภทถาวร รถยนต์ ตู้เย็น พัดลม ยกเว้นรายจ่ายเพื่อใช้จ่ายเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย สินค้าประเภทไม่ถาวร อาหาร เสื้อผ้า บุหรี่ ยาสีฟัน (1) รายจ่ายเพื่อการบริการบริโภคภาคเอกชน(Personal consumption expenditure: C) ค่าใช้จ่ายของฝ่ายครัวเรือนในซื้อสินค้าและบริการ ประกอบด้วย รายจ่ายค่าบริการ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าดูภาพยนตร์ ค่าตัดผม ค่าเช่าบ้าน ฯลฯ ศศิธร สุวรรณเทพ
(2) รายจ่ายเพื่อการลงทุนภายในประเทศ(Gross domestic investment: I) • รายจ่ายเพื่อการลงทุน เป็นรายจ่ายของภาครัฐ/ธุรกิจที่ใช้จ่ายเพื่อทรัพย์สินถาวรเพื่อใช้ในการผลิต • รายจ่ายเพื่อการก่อสร้างใหม่ (New construction) เช่น • ค่าก่อสร้างโรงงาน • สถานที่เก็บสินค้า • การสร้างที่อยู่อาศัย • รายจ่ายเพื่อซื้อเครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อผลิตสินค้าและบริการ • ส่วนเปลี่ยนของสินค้าคงเหลือ( Change in business inventories) การ สะ สม ทุน ศศิธร สุวรรณเทพ
ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ อาจแสดงด้วยสมการดังนี้ ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ ปี 49 =(สินค้าคงเหลือปลายปี 50 – สินค้า คงเหลือต้นปี 50) คือสินค้าคงเหลือปลายปี 49 ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลืออาจเป็น บวก (+) หรือ ลบ (-) จำนวนผลิต = จำนวนขาย + ส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ หรือ จำนวนผลิต = จำนวนขาย + (สินค้าคงเหลือปลายปี – สินค้าคงเหลือต้นปี) ศศิธร สุวรรณเทพ
ยกเว้น การซื้อขายหลักทรัพย์ต่างๆ เช่น • พันธบัตรรัฐบาล • หุ้นธุรกิจ • การซื้อสินค้าทุนที่ใช้แล้ว (Second – hand goods) • ไม่ถือเป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุน เพราะการซื้อขายหลักทรัพย์เหล่านี้เป็นเพียงการเปลี่ยนมือผู้ถือหลักทรัพย์เท่านั้น ศศิธร สุวรรณเทพ
(3) รายจ่ายของรัฐบาลในการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ(Government purchase of goods and services: G) • รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายจากภาคธุรกิจ • ค่าจ้างและเงินเดือนข้าราชการ • แต่ทั้งนี้ไม่รวมรายจ่ายในรูปเงินโอน (เงินสงเคราะห์ เงินบำนาญ รายจ่ายเพื่อสวัสดิการสังคม เป็นต้น) ศศิธร สุวรรณเทพ
(4) การส่งออกสุทธิ (Net exports: X-M) • ผลิตผลที่ประเทศผลิตได้ส่วนหนึ่งจะถูกส่งไปขายยังต่างประเทศ (Exports) • ผลิตผลส่วนหนึ่งที่ซื้อขายภายในประเทศจะเป็นผลิตผลที่สั่งเข้าจากต่างประเทศ (Imports) ดังนั้น การส่งออกสุทธิ = มูลค่าการส่งออก – มูลค่าการนำเข้า Net export = Exports - Imports ศศิธร สุวรรณเทพ
การคำนวณหารายได้ประชาชาติด้านรายได้การคำนวณหารายได้ประชาชาติด้านรายได้ • เป็นการรวมผลตอบแทนที่ปัจจัยการผลิตได้รับจากการมีส่วนร่วมในการผลิตในรอบระยะเวลาหนึ่ง คือ ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย และกำไร • จะต้องรวมเฉพาะรายได้หรือผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิตที่มีส่วนช่วยให้การผลิตสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น โดยพิจารณาจากแผนภาพกระแสการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ศศิธร สุวรรณเทพ
กระแสการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ (Economic Circular Flows) ค่าตอบแทน (ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย กำไร) ปัจจัยการผลิต (ที่ดิน แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ) ธุรกิจ ครัวเรือน สินค้าและบริการ ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ ศศิธร สุวรรณเทพ
รายละเอียดของรายการต่างๆที่ใช้คำนวณหารายได้ประชาชาติด้านรายได้รายละเอียดของรายการต่างๆที่ใช้คำนวณหารายได้ประชาชาติด้านรายได้ (1) ค่าจ้างเงินเดือนและเงินทดแทนแก่ลูกจ้าง • ค่าตอบแทนลูกจ้างที่จ่ายให้โดยตรงคือเงินเดือนค่าจ้าง • ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จ่ายเพิ่มเติมทางอ้อม • ทั้งที่เป็นตัวเงิน • ที่เป็นสิ่งของซึ่งสามารถประเมินค่าออกมาเป็นตัวเงินตามราคาตลาดได้ ศศิธร สุวรรณเทพ
(2) รายได้จากการเกษตรกร การประกอบอาชีพอิสระที่มิใช่นิติบุคคล • รายได้เกษตรกร แพทย์ สถาปนิก แม่ค้าหาบเร่ ร้านค้าเบ็ดเตล็ด ฯลฯ • รายได้นี้ประกอบด้วย • กำไรจากการประกอบการ • ค่าแรงเจ้าของกิจการ รวมบุคคลในครอบครัวที่ทำงานโดยไม่ได้ค่าจ้าง ศศิธร สุวรรณเทพ
3. รายได้จากทรัพย์สินของครัวเรือน และสถาบันไม่แสวง กำไร • ค่าเช่าที่ดิน ดอกเบี้ย เงินปันผล และผลประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมที่ครัวเรือน สถาบันไม่แสวงกำไรได้รับ 4. เงินออมนิติบุคคล • เงินออมสุทธิ ซึ่งได้แก่กำไรของธุรกิจนิติบุคคล เอกชน สหกรณ์ รัฐวิสาหกิจ หลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคล เงินปันผล และเงินส่วนที่รัฐวิสาหกิจต้องนำส่งรัฐ ศศิธร สุวรรณเทพ
5. ภาษีทางตรงจากนิติบุคคล • ภาษีเงินได้จากการประกอบการของนิติบุคคลเอกชน และรัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด 6. รายได้ของรัฐบาลจากทรัพย์สินและการประกอบการ • รายได้ที่รัฐบาลได้รับจาก ค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินปันผล และเงินส่วนแบ่งกำไรที่รัฐวิสาหกิจนำส่ง ศศิธร สุวรรณเทพ
7. ดอกเบี้ยหนี้สาธารณะ • ดอกเบี้ยจากการกู้ยืมของรัฐบาล เพื่อใช้ในการซื้อสินค้าและบริการ รวมถึงดอกเบี้ยส่วนที่จ่ายในการกู้ยืมเพื่อการลงทุนของรัฐบาลด้วย รายการนี้ต้องนำไปหักการคำนวณทางรายได้จากรายการข้างต้น 8. ดอกเบี้ยหนี้บริโภค • ดอกเบี้ยที่ครัวเรือนกู้ยืมเพื่อการบริโภค ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลผลิต จึงนำไปหักจากการคำนวณข้างต้น ศศิธร สุวรรณเทพ
National Income Account • http://www.nesdb.go.th/econSocial/macro/gdp_data/mainaccount.htm ศศิธร สุวรรณเทพ
การคำนวณหารายได้ส่วนบุคคลและรายได้สุทธิส่วนบุคคลการคำนวณหารายได้ส่วนบุคคลและรายได้สุทธิส่วนบุคคล • รายได้ส่วนบุคคล (Personal Income : PI) คือ รายได้ที่ตกทอดถึงมือประชาชนไม่ว่าจะเกิด จากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการผลิตหรือจากการได้รับเงินโอนประเภทต่างๆ PI = NI – (รายได้ที่บุคคลไม่ได้รับแต่รวมอยู่ใน NI) + (รายได้ที่บุคคลได้รับที่ไม่อยู่ใน NI) ค่าประกันสังคม เงินโอนจากธุรกิจ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ดอกเบี้ยที่รัฐบาลจ่าย กำไรที่มิได้จัดสรร ดอกเบี้ยหนี้ผู้บริโภค ศศิธร สุวรรณเทพ
รายได้สุทธิส่วนบุคคล (Disposable Income : DI or Yd) • รายได้ที่บุคคลสามารถนำไปจับจ่ายใช้สอยได้จริง รายได้สุทธิส่วนบุคคล (Yd) =PI - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ศศิธร สุวรรณเทพ
รายได้ประชาชาติที่แท้จริง (Real National Income or Real GDP or GDP at constant price) • รายได้ประชาชาติที่คำนวณข้างต้นเป็นการคำนวณโดยคิดที่มูลค่าปัจจุบันหรือราคาประจำปี (Current price or Nominal price) • หากเราต้องการเปรียบเทียบอัตราการเพิ่มผลผลิตที่แท้จริงใน ปีปัจจุบันเทียบกับปีก่อน เราไม่สามารถทำได้ทันทีเพราะตัวเลขที่ได้มีผลของการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้ารวมอยู่ด้วยจำเป็นต้องขจัดผลดังกล่าวออกก่อนการกระทำดังกล่าวคือการคิดมูลค่าที่แท้จริงหรือราคาปีฐาน Real GDP = Current GDP X 100 GDP deflator ศศิธร สุวรรณเทพ
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) • อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สามารถคำนวณได้จาก อัตราการเปลี่ยนแปลงของ real GDP ของปีปัจจุบันกับปีก่อนหน้าดังนี้ • Growth rate ปี 2004 = (real GDP 2004 – real GDP 2003) * 100% real GDP 2003 • Growth rate ปีที่ n = (real GDP n – real GDPn-1)* 100 % real GDP n ศศิธร สุวรรณเทพ
รายได้ประชาชาติ เฉลี่ยต่อบุคคล (Per Capita Income) เป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนในประเทศมีรายได้เฉลี่ย คนละเท่าใด รายได้เฉลี่ยต่อบุคคล = รายได้ประชาชาติ จำนวนประชากร GDP per capita = GDP Population ศศิธร สุวรรณเทพ
The End ศศิธร สุวรรณเทพ