90 likes | 246 Views
วิทยาลัยเทคโนโลยี จรัสพิ ชากร. JARUSPICHAKORN COLLEGE OF TECHNOLOGY. นางสาวนาตยา แดงเหมือน. ผู้วิจัย :.
E N D
วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากรวิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร JARUSPICHAKORN COLLEGE OF TECHNOLOGY นางสาวนาตยา แดงเหมือน ผู้วิจัย : การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีกับคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร จังหวัดนครศรีธรรมราชที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการวิเคราะห์รายการค้า งานวิจัยเรื่อง : สังกัด : วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร จังหวัดนครศรีธรรมราช 256/16 ต.ในเมืองอ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 โทร. 0 753 22666–7Fax. 0 753 20338 WWW.JPV.AC.TH E-Mail jpv@jpv.ac.th
:: ปัญหาการวิจัย จากผลของการจัดการเรียน การสอนวิชาการบัญชีกับคอมพิวเตอร์พบว่านักเรียนไม่สามารถจำแนกได้ว่าอะไรเป็นสินค้าประเภทซื้อมา ขายไป อะไรเป็นรายการขายสินค้า หรือรายการค่าใช้จ่าย ซึ่งผู้เรียนไม่สามารถวิเคราะห์รายการค้าได้ ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถบันทึกรายการค้าในใบเสร็จรับเงินและโปรแกรมได้ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำไม่สามารถพัฒนาการเรียนรู้ จึงต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่นำมาใช้ในการสอน โดยใช้แบบฝึกทักษะซึ่งมีลำดับขั้นตอนในการฝึกทักษะด้านการวิเคราะห์รายการค้า
:: ปัญหาการวิจัย(ต่อ) การนำแบบฝึกทักษะมาใช้ในการวิเคราะห์รายการค้าผู้วิจัยคาดว่าจะช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นเนื่องจากแบบฝึกทักษะเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ ฝึกความชำนาญ ความแม่นยำ ความชัดเจน และตลอดจนศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองมากขึ้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์รายการค้าได้ด้วยตัวเอง ดังนั้นเมื่อนำแบบฝึกทักษะการวิเคราะห์รายการค้ามาใช้จึงน่าจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
:: วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีกับคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร จังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อนและหลังได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการวิเคราะห์รายการค้า 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีกับคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีจรัสพิชากร จังหวัดนครศรีธรรมราช หลังได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการวิเคราะห์รายการค้า กับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60
:: ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นรายบุคคล การวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีกับคอมพิวเตอร์ของนักเรียนหลังได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการวิเคราะห์รายการค้ากับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60 ปรากฏผลดังตาราง
:: ตารางวิเคราะห์ข้อมูลเป็นรายบุคคล(ต่อ)
:: ตารางผลการวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีกับคอมพิวเตอร์ของนักเรียนหลังได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการวิเคราะห์รายการค้ากับคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60 *มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
:: ตารางผลการวิเคราะห์ข้อมูล(ต่อ) จากตาราง พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีกับคอมพิวเตอร์ของนักเรียนหลังได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการวิเคราะห์รายการค้าแตกต่างจากเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีกับคอมพิวเตอร์ของนักเรียนหลังได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการวิเคราะห์รายการค้าสูงกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60
:: สรุปผลการวิจัย 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีกับคอมพิวเตอร์ของนักเรียน หลังได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการวิเคราะห์รายการค้า สูงกว่าก่อนได้รับการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทาการเรียนวิชาการบัญชีกับคอมพิวเตอร์ของนักเรียน หลังได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการวิเคราะห์รายการค้าสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05