590 likes | 785 Views
สังคมศึกษาฯ เสนอ อาจารย์ ฐิตาพร ดวงเกตุ จัดทำโดย เด็กหญิงณัฐธิมณฑ์ แพรเมือง เด็กหญิงธิติการย์ ภู่ศิลา. NEXT. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และ การ ดำเนินชีวิต. ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม. ภูมิศาสตร์. เศรษฐศาสตร์. แบบทดสอบ. BACK. NEXT. ประเภทของศาสนา
E N D
สังคมศึกษาฯ เสนอ อาจารย์ ฐิตาพร ดวงเกตุ จัดทำโดย เด็กหญิงณัฐธิมณฑ์ แพรเมือง เด็กหญิงธิติการย์ ภู่ศิลา NEXT
หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ แบบทดสอบ BACK NEXT
ประเภทของศาสนา การจัดกลุ่มศาสนาให้เป็นประเภทต่าง ๆ นั้น จะช่วยให้เข้าใจศาสนาได้ชัดเจนมากขึ้น วิธีจัดมีหลายรูปแบบสุดแล้วแต่จะถืออะไรเป็นเกณฑ์ในการจัด เพราะมีหลายเกณฑ์ด้วยกัน ๑. จัดประเภทตามการที่มีผู้นับถืออยู่หรือไม่ - ศาสนาที่ตายไปแล้ว (Dead Religion) หมายถึง ศาสนาที่เคยมีผู้นับถือในอดีต แต่ปัจจุบันไม่มีใครนับถือหรือดำรงไว้ คงมีชื่ออยู่แต่ในประวัติศาสตร์ เช่น ศาสนาของอียิปต์โบราณ ศาสนาของเปรูโบราณ ศาสนาของเม็กซิโกโบราณ ศาสนาของเผ่าบาบิโลเนีย ศาสนาของพวกกรีกโบราณ ศาสนาของพวกโรมันโบราณ และศาสนาของพวกติวตันโบราณ เป็นต้น - ศาสนาที่ยังมีชีวิตอยู่ (Lining Relgion) หมายถึง ศาสนาที่ยังมีผู้นับถืออยู่จนถึงปัจจุบันนี้ มี ๑๑ ศาสนา คือ ก. ศาสนาที่มีแหล่งกำเนิดในเอเชียตะวันออก คือ จีนและญี่ปุ่น ได้แก่ ศาสนาขงจื้อ ศาสนาเต๋า ศาสนาชินโต HOME BACK NEXT
ข. ศาสนาที่มีแหล่งกำเนิดในเอเชียใต้ คือ อินเดีย ปากีสถาน ได้แก่ ศาสนาพุทธ ศษสนาพราหมณ์หรือฮินดู ศาสนาเชนและศาสนาสิกข์ ค. ศาสนาที่มีแหล่งกำเนิดในเอเชียตะวันตก คือ ปาเลสไตน์ เปอร์เชีย และอาระเบีย ได้แก่ ศาสนายูดาหรือยิว ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ๒. จัดประเภทตามการที่มีความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าหรือไม่ - ประเภทเทวนิยม (Theism) นับถือพระเจ้า เชื่อว่าพระเจ้าเป็นองค์ศักดิ์สิทธิ์ สร้างสรรค์โลกและสรรพสิ่งต่าง ๆ (Creator) ก. เอกเทวนิยม (Monotheism) นับถือพระเจ้าองค์เดียว ได้แก่ ศาสนายูดาหรือยิว ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาสิกข์ ข. พหุเทวนิยม (Polytheism) นับถือพระเจ้าหลายองค์ บางครั้งยังผสมผสานกับการบูชาธรรมชาติ (Naturre-worship) ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ศาสนาชินโต และศาสนาขงจื้อ - ประเภทอเทวนิยม (Atheism) ศาสนาที่ไม่มีการนับถือพระเจ้า ได้แก่ ศาสนาพุทธ และศาสนาเชน HOME BACK NEXT
๓. จัดประเภทตามการที่มีผู้นับถือหลายชาติหรือเฉพาะชาติใดชาติหนึ่ง ศาสนาเหล่านี้มิได้เผยแพร่ออกไปเป็นที่นับถือของชนชาติอื่น - ศาสนาระดับชาติ (National Religions) หมายถึง ศาสนาที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศนั้น และก็มีผู้นับถือภายในประเทศนั้นหรือชนชาตินั้นเท่านั้น มี ๘ ศาสนา คือ ๑. ศาสนาชินโต มีผู้นับถือเฉพาะชนชาติญี่ปุ่น ๒. ศาสนาขงจื๊อ มีผู้นับถือเฉพาะชนชาติจีน ๓. ศาสนาเต๋า มีผู้นับถือเฉพาะชนชาติจีน ๔. ศาสนาเชน มีผู้นับถือเฉพาะชนชาติอินเดีย ๕. ศาสนาสิกข์ มีผู้นับถือเฉพาะชนชาติอินเดีย ๖. ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู มีผู้นับถือเฉพาะชนชาติอินเดีย ๗. ศาสนายูดาหรือยิว มีผู้นับถือเฉพาะชนชาติยิว ๘. ศาสนาโซโรอัสเตอร์ มีผู้นับถือเฉพาะชนชาติเปอร์เชีย HOME BACK NEXT
- ศาสนาระดับสากล (Universal Religions) หมายถึง ศาสนาที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศใดประเทศหนึ่ง มีผู้นับถือไม่เฉพาะในประเทศนั้น ๆ เท่านั้น แต่ได้เผยแพร่หลายออกไปจนเป็นที่นับถือของคนในประเทศต่าง ๆ ในส่วนต่าง ๆ ขอโลก เรียกได้ว่าเป็นศาสนาโลก มี ๓ ศาสนา ได้แก่ ๑. ศาสนาพุทธ มีผู้นับถือหลายประเทศ เช่น ไทย พม่า ลังกา ทิเบต เขมร ลาว เกาหลี ญี่ปุ่น จัน เวียดนาม อินเดีย และบางส่วนของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปและอเมริกา ๒. ศาสนาคริสต์ มีผู้นับถือทั่วโลก ส่วนใหญ่ในทวีปยุโรปและเมริการเหนือ อเมริกาใต้ ๓. ศาสนาอิสลาม มีผู้นับถือส่วนใหญ่ในประเทศอาหรับ ปากีสถาน ทวีปแอฟริกา บางส่วนของประเทศจีน อินเดีย รัสเซีย ไทย HOME BACK NEXT
หน้าที่พลเมือง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย คือ คนที่ยึดหลักประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมที่ดีงาม ประพฤติตนในกรอบของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดรวมทั้งช่วยส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี การมองเห็นคุณค่าของวิถีประชาธิปไตยจะช่วยให้สังคมมีความมั่นคง ปลอดภัยและสงบสุขมากขึ้นวิถีประชาธิปไตยของพลเมืองดี มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้ 1. การคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ได้แก่ การลดความเห็นแก่ตัว และเสียสละแรงกายและใจเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ช่วยกันดูแลรักษาทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติ เช่น ตู้โทศัพท์สาธารณะ ห้องสมุดประจำหมู่บ้าน เป็นต้น ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น ป่าไม้ แม่น้ำลำธาร เป็นต้น รวมทั้งช่วยกันตักเตือนหรือห้ามปรามบุคคลไม่ให้ทำลายสาธารณะสมบัติหรือสิ่งแวดล้อม2. วินัย ได้แก่ การฝึกกาย วาจา และใจให้สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม เพื่อให้การปฏิบัติงานและการอยู่ร่วมกันของกลุ่มในสังคมนั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย3. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ได้แก่ การเอาใจใส่ ตั้งใจ และมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตนอย่างเต็มความสามารถ ทั้งนี้เพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายตรงตามระยะเวลาที่กำหนด HOME BACK NEXT
4. ความอดทน ได้แก่ การมีจิตใจหนักแน่น เยือกเย็น ไม่หุนหันพลันแล่น สามารถคาบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมให้เป็นปกติ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาหรือสิ่งที่ไม่พึงพอใจ5. การประหยัดและอดออม ได้แก่ การรู้จักใช้จ่ายตามความจำเป็นอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย รู้จักเก็บออมเอาไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น ใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ของตน6. การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ได้แก่ การมีจิตใจเปิดเผย รู้จักรู้แพ้รู้ชนะ และให้อภัยกันและกัน ทำงานในลักษณะช่วยเหลือเกื้อกูลกันไม่แข่งขันหรือแก่งแย่งชิงดีกัน7. ความสื่อสัตย์สุจริต ได้แก่ มีความจริงใจ ไม่มีอคติ ปฏิบัติตนปฏิบัติงานตรงไปตรงมาตามระเบียบปฏิบัติ ไม่ใช้เล่ห์เหลี่ยมหรือกลโกง ไม่ทำแบบ “คดในข้อ งอในกระดูก” นอกจากนี้การทำงานต้องอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจและมีไมตรีจิตต่อกัน ไม่หวาดระแวงแครงใจกันหรือไม่เชื่อถือผู้อื่นนอกจากตนเอง HOME BACK NEXT
8. การอนุรักษ์ความเป็นไทย ได้แก่ มีจิตสำนึกในความเป็นไทย เช่น พูด เขียน และใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง อนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยและนำความเป็นไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งคิดค้น ปรับปรุงดัดแปลงความเป็นไทยให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ตลอดจนถ่ายทอดความเป็นไทยสืบต่อไปยังคนรุ่นหลังได้อย่างถูกต้องเหมาะสม พลเมืองของแต่ละประเทศย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศนั้น บุคคลต่างสัญชาติที่เข้าไปอยู่อาศัยซึ่งเรียกว่าคนต่างด้าว ไม่มีสิทธิเท่าเทียมกับพลเมืองและมีหน้าที่แตกต่างออกไป เช่น อาจมีหน้าที่เสียภาษี หรือค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศบัญญัติไว้ HOME BACK NEXT
สิทธิและหน้าที่เป็นสิ่งคู่กัน เมื่อ มีสิทธิก็ต้องมีหน้าที่ พลเมืองของทุกประเทศมีทั้งสิทธิและหน้าที่ แต่จะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้น ๆ และแน่นอนว่าประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิมากกว่าการปกครองในระบอบอื่น เพราะมีสิทธิที่สำคัญที่สุด คือ สิทธิในการปกครองตนเอง พลเมืองดี หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ต้องทำและกิจที่ควรทำ หน้าที่ หมายถึง กิจที่ต้องทำ หรือควรทำ เป็นสิ่งที่กำหนดให้ทำ หรือห้ามมิให้กระทำ ถ้าทำก็จะก่อให้เกิดผลดี เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือสังคมส่วนรวมแล้วแต่กรณี ถ้าไม่ทำหรือไม่ละเว้นการกระทำตามที่กำหนดจะได้รับผลเสียโดยตรง คือ ได้รับโทษ หรือถูกบังคับ เช่น ปรับ จำ คุก หรือประหารชีวิต เป็นต้น โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ต้องทำ ได้แก่ กฎหมาย เป็นต้น HOME BACK NEXT
กิจที่ควรทำ คือ สิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำ หรือละเว้นการกระทำ ถ้าไม่ทำหรือละเว้นการกระทำ จะได้รับผลเสียโดยทางอ้อม เช่น ได้รับการดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือไม่คบค้าสมาคมด้วย ผู้กระทำกิจที่ควรทำจะได้นับการยกย่องสรรเสริญจากคนในสังคม โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ควรทำ ได้แก่วัฒนธรรมประเพณี เป็นต้น พลเมืองดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาติคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครู อาจารย์ มีความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน รู้จักรับผิดชอบชั่วดีตามหลักจริยธรรม และหลักธรรมของสาสนา มีความรอบรู้ มีสติปัญญาขยันขันแข็ง สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ HOME BACK NEXT
ความสำคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมมีความสำคัญต่อประเทศ เช่น 1. ทำให้สังคมและประเทศชาติมีการพัฒนาไปได้อย่างมั่นคง 2. ทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย 3. ทำให้เกิดความรักแบะความสามัคคีในหมู่คณะ 4. สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข HOME BACK NEXT
แนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวโรงเรียนและชุมชนแนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นสมาขิกที่ดีมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ 1. การเป็นสมาชิกที่ดีขอบครอบครัว 2. การเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียน 3. การเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี 1. การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม 2. การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่ 3. รับฟังความคิดเป็นขอบกันและกันและเคารพในมติของเสียงส่วนมาก 4. ความซื่อสัตย์สุจริต 5. ความสามัคคี 6. ความละอายและเกรงกลัวในการกระทำชั่ว HOME BACK NEXT
จริยธรรมของการเป็นพลเมืองดีจริยธรรมของการเป็นพลเมืองดี คุณธรรม จริยธรรม หมายถึง ความดีที่ควรประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คุณธรรม จริยธรรมที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี ได้แก่ 1. ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง การตระหนักในความสำคัญของความเป็นชาติไทย การยึดมั่นในหลักศีลธรรมของศาสนา และการจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ 2. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การยึดมั่นในการอยู่ร่วมกันโดยยึดระเบียบวินัย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม 3. ความกล้าทางจริยธรรม หมายถึง ความกล้าหาญในทางที่ถูกที่ควร 4. ความรับผิดชอบ หมายถึง การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน 5. การเสียสละ หมายถึง การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน 6. การตรงต่อเวลา หมายถึง การทำงานตรงตามเวลาที่ได้รับมอบหมาย HOME BACK NEXT
การส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีการส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี การที่บุคคลปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตยแล้ว ควรสนับสนุนส่งเสริมให้บุคคลอื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตยด้วย โดยมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้ 1. การปฏิบัติตนให้เป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย โดยยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมมของศาสนา และหลักการของประชาธิปไตยมาใช้ในวิถีการดำรงชีวิตประจำวันเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนรอบข้าง 2. เผยแพร่ อบรม หรือสั่งสอนบุคคลในครอบครัว เพื่อนบ้านคนในสังคมให้ใช้หลักการทางประชาธิปไตยเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตประจำวัน 3. สนับสนุนชุมชนในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยการบอกเล่า เขียนบทความเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน 4. ชักชวน หรือสนับสนุนคนดีมีความสามารถในการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการเมืองหรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของชุมชน 5. เป็นหูเป็นตาให้กับรัฐหรือหน่วยงานของานรัฐในการสนับสนุนคนดี และกำจัดคนที่เป็นภัยกับสังคม การสนับสนุนให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย ควรเป็นจิตสำนึกที่บุคคลพึงปฏิบัติเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยอย่างแท้จริง HOME BACK NEXT
เศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาการผลิต การบริโภ๕การกระจายสินค้า การค้า และการบริโภคสินค้าและบริการ ตามคำจำกัดความของนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมือง เรย์มอนด์ บารร์ แล้ว "เศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เศรษฐศาสตร์พิจารณาถึงรูปแบบที่พฤติกรรมมนุษย์ได้เลือกในการบริหารทรัพยากรเหล่านี้ อีกทั้งวิเคราะห์และอธิบายวิถีที่บุคคลหรือบริษัททำการจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการมากมายและไม่จำกัด" คำว่า เศรษฐศาสตร์ มาจากคำภาษากรีก oikonomiaซึ่งแปลว่าการจัดการครัวเรือน (oikosแปลว่าบ้านและ nomos แปลว่า จารีตประเพณีหรือกฎหมาย ซึ่งรวมกันหมายความว่ากฎเกณฑ์ของครัวเรือน) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันแยกออกมาจากขอบเขตที่กว้างของวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 HOME BACK NEXT
การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ถูกประยุกต์ใช้ครอบคลุมทั้งสังคมในด้าน ธุรกิจ, การเงินและรัฐบาล แม้แต่ทั้งด้านอาชญากรรม, การศึกษา, ครอบครัว, สุขภาพ, กฎหมาย, การเมือง, ศาสนา, สถาบันสังคม, สงคราม และวิทยาศาสตร์ วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน (เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน HOME BACK NEXT
เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็นสองสาขาใหญ่ๆคือ 1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค ซึ่งสนใจพฤติกรรมขององค์ประกอบพื้นฐานในระบบเศรษฐกิจซึ่งรวมถึง ตลาดแต่ละตลาดและตัวแทนทางเศรษฐกิจ(เช่นครัวเรือน หน่วยธุรกิจ ผู้ซื้อ และผู้ขาย) 2. เศรษฐศาสตร์มหภาค จะสนใจเศรษฐกิจในภาพรวม ตัวอย่างเช่น อุปทานมวลรวมและอุปสงค์มวลรวม การว่างงาน เงินเฟ้อ การเติบโตของเศรษฐกิจ นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เป็นต้น HOME BACK NEXT
นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกออกตามการวิเคราะห์ปัญหาได้แก่นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกออกตามการวิเคราะห์ปัญหาได้แก่ 1. เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ หรือเศรษฐศาสตร์ตามความเป็นจริง (Positive economics) 2. เศรษฐศาสตร์นโยบาย หรือเศรษฐศาสตร์ตามที่ควรจะเป็น (Normative economics) สำหรับประเด็นหลักๆที่เศรษฐศาสตร์ให้ความสนใจจะอยู่ที่ การจัดสรร ทรัพยากร การผลิต การกระจายสินค้า การค้า และการแข่งขันโดยหลักการแล้วคำอธิบายทางเศรษฐศาสตร์จะถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่ออธิบายปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทางเลือกภายใต้ข้อจำกัดด้านความขาดแคลนมากขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจจะเรียกได้ว่ามีการกำหนดมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ให้กับทางเลือกนั้นๆ นั่นเอง HOME BACK NEXT
ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยธุรกิจของประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะนิยมสอนทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์แบบสำนักคลาสสิกใหม่ ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยธุรกิจของประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะนิยมสอนทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักที่เรียกว่า เศรษฐศาสตร์แบบสำนักคลาสสิกใหม่ (Neo - Classical Economics) ทั้งนี้ เศรษฐศาสตร์กระแสหลักจะวิเคราะห์ถึง "ความเป็นเหตุเป็นผล-ความเป็นปัจเจกชน-ดุลยภาพ" ตรงกันข้ามกับเศรษฐศาสตร์ทางเลือกที่เน้นวิเคราะห์ "สถาบัน-ประวัติศาสตร์-โครงสร้างสังคม" เป็นหลัก HOME BACK NEXT
ภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์ (geography) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ทำการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะ ของสถานที่ที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวโลก ภูมิศาสตร์จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดวางสิ่งต่างๆ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่แบ่งแยกสิ่งหนึ่งออกจากสิ่งอื่นๆ โดยภูมิศาสตร์พยายามค้นหาเพื่อที่จะตีความให้กระจ่างถึงความสำคัญ ของสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ในรูปของสาเหตุและความเกี่ยวเนื่อง HOME BACK NEXT
ปัจจุบันการศึกษาด้านภูมิศาสตร์ จะมุ่งเน้นความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดเบื้องต้นที่เกี่ยวกับพื้นที่มากกว่าที่จะศึกษาลักษณะเฉพาะและสถานที่ต่าง ๆ ของโลกอย่างคร่าว ๆ อย่างที่เคยปฏิบัติขึ้นมาในระยะแรก ๆ ภูมิศาสตร์ได้เปลี่ยนแนวทางมาสู่การศึกษารายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะ ซึ่งจะใช้การศึกษานี้พิจารณาว่า "มีสิ่งใดบ้างที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้น และแต่ละสิ่งมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไร" โดยถือรูปแบบและวิธีการดังกล่าวว่า เป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ภายใต้สภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะหรือเกิด HOME BACK NEXT
ปรากฏการณ์พิเศษในพื้นที่นั้น ๆ ขึ้น และถือว่าเป็น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะทางธรณีวิทยาของโลก ลักษณะทางสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น โดยจะมีความเกี่ยวเนื่องและมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในแต่ละลักษณะที่กล่าวถึง HOME BACK NEXT
แบบทดสอบ 1.ข้อใดเป็นหลักธรรมที่มีวิธีคิดแบบใช้เหตุและผล เบญจศีล เบญจธรรม อริยสัจ4 พรหมวิหาร4
ถูก NEXT
ผิด NEXT
2. การตักบาตรเทโวโรหณะ ทำกันในวันใด วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา
ถูก NEXT
ผิด NEXT
3. สมชาย พยามยามแก้ปัญหาจนสำเร็จ แสดงว่ามีหลักธรรมใด วิมังสา จิตตะ วิริยะ ฉันทะ
ถูก NEXT
ผิด NEXT
4.โทษสูงสุดในทางอาญาคือข้อใดจำคุก4.โทษสูงสุดในทางอาญาคือข้อใดจำคุก ปรับ ประหารชีวิต จองจำ
ถูก NEXT
ผิด NEXT
5.ข้อใดที่ไม่ได้จัดอยู่ในขั้นตอนที่เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของตำรวจในการดำเนินคดีอาญาสั่งสอบสวนเพิ่มเติม สอบสวนการจับกุมผู้กระทำผิดควบคุม
ถูก NEXT
ผิด NEXT
6. การกระทำผิดในคดีอาญาในข้อใดที่จะได้รับโทษขั้นสูงสุดการทำร้ายบุพการี การค้ายาเสพติด การวิ่งราวทรัพย์ การฆ่าคนโดยไม่เจตนา
ถูก NEXT
ผิด NEXT
7. เศรษฐศาสตร์ตรงกับภาษาอังกฤษว่าอะไร? EconomicLaborCapitalEntrepreneu
ถูก NEXT
ผิด NEXT
8. นักเศรษฐศาสตร์ได้แบ่งวิชาเศรษฐศาสตร์ออกเป็น 2 ภาค คืออะไรเศรษฐศาสตร์มหภาค เศรษฐศาสตร์จุลภาค ไม่มีข้อใดถูก ถูกทั้ง ก และ ข
ถูก NEXT
ผิด NEXT
9. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมมีกี่แบบ? 5 3 4 6
ถูก NEXT
ผิด NEXT