1 / 43

สัมมนาพระพุทธศาสนา

สัมมนาพระพุทธศาสนา. เรื่อง....พระพุทธศาสนาตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง. ปัญหาของคนทั้งโลกกก กกก. ~ ปัญหาความต้องการมากมายของมนุษย์??? ~. 1 .อยากได้รถ 2 .อยากได้บ้าน 3. อยากมีเงิน 4.. อยากได้งานดีๆ 5. อยากได้ของมียี่ห้อ และปัญหาอีกมากมาย. สาเหตุและที่มาของปัญหา.

Download Presentation

สัมมนาพระพุทธศาสนา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สัมมนาพระพุทธศาสนา เรื่อง....พระพุทธศาสนาตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง

  2. ปัญหาของคนทั้งโลกกกกกก.......ปัญหาของคนทั้งโลกกกกกก.......

  3. ~ปัญหาความต้องการมากมายของมนุษย์???~~ปัญหาความต้องการมากมายของมนุษย์???~ 1.อยากได้รถ 2.อยากได้บ้าน 3.อยากมีเงิน 4..อยากได้งานดีๆ 5.อยากได้ของมียี่ห้อ และปัญหาอีกมากมาย

  4. สาเหตุและที่มาของปัญหา.......สาเหตุและที่มาของปัญหา.......

  5. -มนุษย์ผู้ซึ่งไม่เคยพอ--มนุษย์ผู้ซึ่งไม่เคยพอ- กิเลสมีในใจของทุกคน ความรัก โลภ โกธร และความหลง แล้วแต่ว่าใครจะมีมากน้อยเพียงใด ความโลภมีในมนุษย์ส่วนมาก มีส่วนน้อยมากที่จะพอใจในสิ่งที่ตนมี ใครๆก็อยากที่จะมีจะได้เหมือนคนอื่นๆ

  6. ผลที่เกิดขึ้น

  7. -ผลเสียที่ตามมาของความไม่พอเพียงของคนเรามีมากมาย--ผลเสียที่ตามมาของความไม่พอเพียงของคนเรามีมากมาย- 1.อาชญากร ปล้น ฆ่า ชิงทรัพย์มีมากขึ้น 2.มีคนเป็นโรคประสาทเพิ่มมากขึ้น 3.รายได้ไม่พอรายจ่าย 4.เป็นหนี้เป็นสิน 5.ครอบครัวเดือดร้อน และอีกมากมาย

  8. แนวทางการแก้ไขปัญหา

  9. ตลอดระยะเวลาทรงครองราชย์ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสร้างภูมิคุ้มกันให้พสกนิกรชาวไทย ด้วยการดำเนินชีวิตในแบบเรียบง่าย และก้าวเดินอย่างเป็นขั้นตอน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ มากมาย “เศรษฐกิจพอเพียง” ปรัชญาที่พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตตลอดนานกว่า 25 ปี ยังคงใช้ได้กับทุกยุคสมัย จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ปรัชญาดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่ UN หรือองค์การสหประชาชาติได้ย้ำกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกว่าเป็นตัวอย่างที่น่าจะทำตาม              ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของในหลวง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่างๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไป มีความว่า       

  10. “เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม และสิ่งแวดลอม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี”

  11. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๑๗ มีความว่า “ขอให้ทุกคน มีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทย พออยู่พอกิน มีความสงบ และทำงานตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งปณิธานในทางนี้ ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน มีความสงบ เปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้ เราก็จะยอดยิ่งยวดได้”              ด้วยทรงเป็นห่วงเป็นใยราษฎร ผนวกกับทรงพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นเหมือนพีระมิดที่มีรากฐานอันแข็งแกร่ง พระองค์ทรงทุ่มเทการพัฒนามนุษย์รอบด้าน และทรงช่วยแก้ปัญหาความยากจนอย่างเป็นระดับขั้นตอน ดังนั้น ในปีแห่งการเฉลิมฉลองการครองราชย์ครบ 60 ปี โคฟี่ อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้เดินทางมาเมืองไทยเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์แด่ในหลวงของปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา

  12. ทางองค์การสหประชาชาติ ได้เห็นพระราชกรณียกิจของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอด 60 ปี ของการครองสิริราชสมบัติ ที่เป็นความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์รอบด้าน โดยไม่ทรงเลือกเชื้อชาติ ศาสนา เป็นพระราชกรณียกิจที่สะท้อนถึงความตั้งใจที่จะพัฒนาประชาชนอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ทั้ง คุณภาพชีวิต การศึกษา การแก้ปัญหาต่างๆ เช่น ยาเสพติด โดยเฉพาะ โครงการพระราชดำริการปลูกพืชทดแทนการปลูกฝิ่น ซึ่งเป็นการช่วยเหลือทั้งประชาชนในประเทศไทย และประเทศอื่นๆ ซึ่งประเทศอัฟกานิสถานได้แสดงความสนใจจะนำแนวพระราชดำริไปปฏิบัติตาม       ทั้งนี้ เรื่องที่เลขาธิการ UN เน้นมากคือ เศรษฐกิจพอเพียง โดยเห็นว่าเป็นการดำเนินชีวิตสายกลาง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะคลี่คลายความขัดแย้งในโลกปัจจุบันที่มีปัญหา มีการใช้ความรุนแรง และเป็นสิ่งที่ UN ธนาคารโลก และทุกองค์กรระหว่างประเทศ ได้ย้ำกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ว่าเป็นตัวอย่างที่น่าจะทำตาม

  13. ความพอเพียงที่พระองค์ทรงปฏิบัติเพื่อเป็นตัวอย่างให้ชาวไทยนั้น อยู่ในทุกขั้นตอนของการดำเนินชีวิต ตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ ครั้นประทับอยู่ที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ สมเด็จพระบรมราชชนนีพระราชทานเงินให้ใช้แต่พอสมควร พระองค์ทรงรู้จักคุณค่าของเงิน และทรงรู้จักหาเงินอย่างสุจริต แม้พระพี่เลี้ยงอยากถวายเงินพิเศษให้ เพื่อจะได้ใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย แต่ก็ไม่ทราบจะถวายอย่างไรดี วันหนึ่งเมื่อจักรเย็บผ้าของพระพี่เลี้ยงชำรุด พระองค์ทรงอาสาซ่อมให้จนจักรเย็บผ้าใช้การได้ พระพี่เลี้ยงจึงได้โอกาสทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินค่าซ่อมจักรให้เพื่อเป็นการตอบแทน              นอกจากนั้นเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงของพระองค์ท่าน ก็ได้มีผู้สนองใต้เบื้องพระยุคลบาทนำมาถ่ายทอดให้ฟังอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ของใช้ส่วนพระองค์ล้วนเป็นของธรรมดา อาทิ แปรงสีฟันและยาสีฟันฟลูโอคารีล ที่พระองค์ทรงม้วนหลอดจนหมด สบู่เหลวยี่ห้อบาเดคาสก็ทรงใช้จนหยดสุดท้าย พระองค์ทรงใช้มีดโกนและใบมีดยี่ห้อยิลเลตต์เฉกเช่นผู้ชายทั่วไป และแชมพูสระพระเกศาของทอสก้า 8711       

  14. นาฬิกา “ยี่ห้อใส่แล้วโก้” ที่พระองค์ทรงเรียกของพระองค์เองราคาไม่กี่ร้อยบาท เป็นสิ่งเตือนใจคนไทยได้เป็นอย่างดีว่า คนที่ต้องพึ่งเฟอร์นิเจอร์แพงระยับมาประดับนั้น เพราะไส้ในไม่มีอะไร มีแต่เปลือก ในขณะที่ผู้ที่มีครบทุกอย่างแล้ว มีความพอแล้ว ไม่สนใจสิ่งของเหล่านี้              แม้กระทั่งฉลองพระบาทของพระองค์ก็เป็นผ้าใบยี่ห้อเดียว ราคาไม่กี่ร้อยบาท ที่ทรงก้าวพระบาทอย่างสม่ำเสมอมาตลอด 59 ปี ก็ไม่อาจทำให้ข้าราชบริพารที่ประดับเพชรแพรวพราว รองเท้าแพงลิบก้าวตามได้ทัน        ยามที่พระองค์ทรงเครื่องใหญ่ หรือตัดผม ก็ทรงอย่างคนธรรมดาสามัญทั่วไป เริ่มต้นตามแบบโบราณด้วยการใช้พระแสงกรรไกรขลิบกระเกศาพอเป็นพิธี ก่อนใช้ตะไกรบัตตะเลี่ยน ใช้เวลาในการทรงประมาณ 15-20 นาที ย้อนไปในปี ๒๕๐๑ ชุบ แย้มเพกา ผู้ถวายงานรับใช้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เนื่องจากความชราภาพ พระองค์ก็ไม่มีกระแสรับสั่งให้ใครถวายงานแทน ขณะนั้นหลายคนเข้าใจว่า อาจจะทรงเครื่องใหญ่ด้วยพระองค์เอง แบบใช้พระหัตถ์ถือกระจก เช่นเดียวกับการสระพระเกศา ที่ทรงเองมาโดยตลอด อีกทั้งยังโปรดจะไว้พระเกศาให้ยาวเผื่อตัด 5-6 สัปดาห์ต่อครั้ง

  15. นอกจากของใช้ส่วนพระองค์แล้ว กิจวัตรประจำวันที่พระองค์ทรงโปรดปรานแต่หากสร้างความเดือนร้อนให้กับผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อม พระองค์ก็ทรงเลิกทำ อย่างเช่น เมนูหูฉลาม ที่พระองค์ทรงโปรดเสวยเป็นอย่างมาก ทรงเสวยเป็นพระกระยาหารว่างตอนดึกทุกคืน แต่เมื่อได้ทอดพระเนตรรายการสารคดีที่ชาวประมงจับปลาฉลามมาตัดครีบ แล้วโยนลงทะเล นับแต่นั้นมาก็ไม่ทรงเสวยหูฉลามอีกเลย              การทำงานก็เช่นเดียวกัน พระองค์มีวิธีการทรงงานอย่างเรียบง่ายภายในห้องทำงาน สามคูณสี่เมตร ภายในห้องทรงงานที่มีวิทยุ โทรทัศน์ โทรสาร โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เทเล็กซ์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องพยากรณ์อากาศ แผนที่อื่นๆ แสดงถึงพื้นที่หมู่บ้าน แม่น้ำ ภูเขา และป่าอย่างละเอียด เวลาทรงงานจะประทับบนพื้น โดยไม่ทรงงานบนเก้าอี้เหมือนคนทำงานทั่วไป เพื่อวางสิ่งของต่างๆ ได้อย่างถนัด       พระองค์ทรงประทับพับเพียบกับพื้น ตามวิถีชีวิตไทยที่สอนเรื่องความเรียบง่าย ทรงประทับพับเพียบ 5-6 ชั่วโมง โดยไม่เปลี่ยนท่า ทรงกองเอกสารบนพื้น ที่มีข้าราชบริพารนั่งล้อมวงเฝ้ากัน โดยไม่ต้องเข้าห้องประชุม ไม่ต้องมีโต๊ะ เก้าอี้ เพื่อเป็นการประหยัด

  16.  นอกจากนั้น ยามที่ทรงเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรถึงบนบ้าน พระองค์ก็ทรงนั่งพับเพียบกับพื้นในระดับเดียวกับราษฎร และไม่ทรงรังเกียจของถวายของชาวบ้านแบบตามมีตามเกิดเลย อีกทั้ง ยังทรงโปรดอมมะขามป้อมแทนที่จะเป็นลูกอมที่นิยมทั่วไป       พระองค์ทรงมีความตั้งใจจริง และความขยันหมั่นเพียร ในการทรงงานต่อจนเสร็จแม้จะดึกดื่นเพียงไหน              ดั่งที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวไว้ในหนังสือหลักธรรม หลักทำตามรอยพระยุคลบาทว่า วันนั้นเสร็จงานห้าทุ่ม เสด็จฯ ไปแล้วเราก็เข้าค่าย ไปนอนอยู่ในค่ายมฤคทายวัน นอนอยู่ก็ปรากฏว่าตี 2 วิทยุเรียกมาให้ไปเข้าเฝ้า เราเหนื่อยมาตั้งแต่บ่าย 4 โมงเย็นจนกระทั่งถึง 5 ทุ่ม ตี 2 ทรงเรียกไปขอแผนที่ ขอข้อมูลเพิ่มเติม ในขณะที่เรากลับไปสลบไสล ทรงกลับไปทรงงานต่อ เราละอายไหมครับ แล้วเรื่องนี้ไม่ใช่ว่าปรากฏขึ้นหนสองหน แต่ปรากฏขึ้นอยู่ตลอดเวลา ตราบใดที่งานไม่เสร็จ “พระเจ้าอยู่หัวเวลาทำอะไร ทรงมุ่งมั่นมาก เรื่องความขยันไม่ต้องพูด ทรงงานไม่มีวันเสาร์ วันอาทิตย์ ไม่มีเวลากลางวัน กลางคืน”

  17. นอกจากนี้ ยังทรงให้ความสำคัญกับนักโทษ ด้วยทรงวินิจฉัยฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษด้วยพระองค์เองทุกเรื่องอย่างละเอียดถี่ถ้วน ในปีหนึ่งๆ มีฎีการ่วมพันราย และมีข้อเท็จจริงที่แตกต่างกันออกไป แต่พระองค์ก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยด้วยความยุติธรรม เที่ยงตรงเสมอมาโดยมิได้ขาด และทรงพระญาณวิเศษสอดส่องฎีกาเหล่านั้นด้วยความยุติธรรม และทรงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมมาประกอบพระบรมราชวินิจฉัยอยู่เสมอ อีกทั้งยังทรงสอนให้ประชาชนรู้จักประหยัด และบันทึกค่าใช้จ่าย พระองค์ทรงสอนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ทรงจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย และทำงบดุลของมหาดเล็กคนหนึ่ง ตั้งแต่พระองค์ยังทรงพระเยาว์ ดังนั้น มิควรหรือที่ครูในทุกโรงเรียนจะสอน และฝึกให้เด็กประถมรู้จักการทำงบดุล ฝึกสอนให้บันทึกค่าใข้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพราะตราบใดที่เรารู้ว่ารายรับมีเท่าไหร่ และใช้ไปในแต่ละวันเท่าใด การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิดจากพระปณิธานของพระองค์ในเรื่องของ “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่มิได้เป็นเพียงแค่ข้อคิด แต่ยังทรงปฏิบัติด้วยพระองค์เอง ดังนั้น คนไทยทุกคนที่ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “เรารักในหลวง” ก็สมควรที่จะนำไปปฏิบัติตาม ให้สมกับที่เกิดมาอยู่ใต้เบื้องพระบรมโพธิสมภารของพระองค์ท่าน

  18. เศรษฐกิจพอเพียง “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

  19. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

  20. ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาขนโดยทั่วไป

  21. หลักการนำคำสอนในพระพุทธศาสนามาแก้ไข....หลักการนำคำสอนในพระพุทธศาสนามาแก้ไข....

  22. หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทางสายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฏีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งอยู่ระหว่าง สังคมระดับท้องถิ่นและตลาดระดับสากล จุดเด่นของแนวปรัชญานี้คือ แนวทางที่สมดุล โดยชาติสามารถทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้ โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัฒน์

  23. หลักธรรมที่ 1 มัชฌิมาปทาธิปตา ( ทางสายกลาง ) คนเราการที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้นั้น เราจะต้องตั้งอยู่ในความพอดี พอใจในสิ่งที่เรามีอยู่ ไม่ละโมปโลภมาก อยากได้ของเขามาเป็นของเรา ความต้องการของมนุษย์นั้นมีมากมายมหาศาล แต่ถ้าเราสามารถตัดความอยากในจิตใจได้แล้วนั้น ก็จะสามารถมีความสุขได้โดยที่เราไม่ต้องแก่งแย่งชิงดี สู้รบปบมือกับใคร ไม่ต้องเดือดร้อน ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำริของในหลวงของเรา

  24. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้ กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สมารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อ ความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนาคุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนคำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้

  25. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

  26. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ •  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ •  เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต •  แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

  27. เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรมเฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม

  28. ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐานกับแบบก้าวหน้า ได้ดั้งนี้ ความพอเพียงในระดับบุคคลและครอบครัวโดยเฉพาะเกษตรกร เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝนและประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวจากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่งได้ และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสม ความพอเพียงในระดับชุมชนและระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ

  29. กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัวหรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่มและส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามกำลังและความสามารถของตนซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวมหรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริง ความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนหรือเครือข่ายวิสาหกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลัก ไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด

  30. การสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้ริเริ่มการสร้างขบวนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสานต่อความคิดและเชื่อมโยงการขยายผลที่เกิดจาการนำหลักปรัชญาฯ ไปใช้อย่างหลากหลาย รวมทั้งเพื่อจุดประกายให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับ และการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกภาคส่วนของสังคมอย่างจริงจัง

  31. จากพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระองค์ นับตั้งแต่ปี 2517 เป็นต้นมา จะพบว่าพระองค์ท่านได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง ความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ การรู้จักความพอประมาณ การคำนึงถึงความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว และทรงเตือนสติประชาชนคนไทยไม่ให้ประมาท ตระหนักถึงการพัฒนาตามลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ตลอดจนมีคุณธรรมเป็นกรอบในการดำรงชีวิตซึ่งทั้งหมดนี้เป็นที่รู้กันภายใต้ชื่อว่า เศรษฐกิจพอเพียง สศช. จึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่าง ๆ มาร่วมกันกลั่นกรองพระราชดำรัสฯ สรุปเป็นนิยาม ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้อัญเชิญมาเป็นปรัชญานำทางในการจัดทำ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีความเข้าใจและนำไปประกอบการดำเนินชีวิต การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างเครือข่ายเรียนรู้ ให้มีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เป็นกรอบความคิด เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนไทยในทุกภาคส่วน

  32. วัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้ประชาชนทึกคนสามารถนำหลักปรัชญาฯ ไปประยุกต์ให้ได้อย่างเหมาะสม และปลูกฝังปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำรงชีวิตให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนนำไปสู่การปรับแนวทางการพัฒนาให้อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการเสริมพลังให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างฐานรากทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็งรักษาความสมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติต่าง ๆ ตลอดจนสามารถปรับตัวพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างเท่าทัน และนำไปสู่ความเอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทย การขับเคลื่อนจะเป็นลักษณะเครือข่ายและระดมพลังจากทุกภาคส่วน แบ่งเป็น 2 เครือข่ายสนับสนุนตามกลุ่มเป้าหมายเบื้องต้น ได้แก่ •  เครือข่ายด้านประชาสังคมและชุมชน•  เครือข่ายธุรกิจเอกชน นอกจากนี้แล้วยังมีเครือข่ายสนับสนุนตามภารกิจ ได้แก่•  เครือข่ายวิชาการ•  เครือข่ายสร้างกระบวนการเรียนรู้•  เครือข่ายเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

  33. ทั้งนี้แกนกลางขับเคลื่อนมี 3 ระดับได้แก่ คณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และกลุ่มงานเศรษฐกิจพอเพียงใน สศช. ซึ่งจะเป็นหน่วยปฏิบัติงานในการขับเคลื่อนและจะทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายผลการดำเนินงานเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ครบรอบ 80 พรรษา ในเดือนธันวาคม 2550

  34. ภาคผนวก

  35. ชุดการสอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงสื่อประเภทโมเดลชุดการสอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงสื่อประเภทโมเดล ตัวอย่างชุดการสอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์ผู้บริโภค ซึ่งชุดการสอนชุดนี้มีจุดเด่นตรงที่นำของจำลองมาให้ผู้เรียนได้ดูของการแบ่งส่วนต่างๆของพื้นที่ในการทำเศรษฐกิจพอเพียง ตัวอย่างภาพโดยรวมของการจัดพื้นที่ในการทำเศรษฐกิจพอเพียง

  36. สื่อการเรียนการสอนแบบนี้สามารถจัดวางโชว์ เพื่อเสริมความรู้ในการเรื่องการเศรษฐกิจพอเพียงได้เป็นอย่างดี เพราะผู้เรียนจะสามารถเห็นของจำลองเหมือนจริง แล้วยังมีข้อมูลประกอบให้ความรู้ด้วย

  37. บรรณานุกรม http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.parliament.go.th/news/ http://images.google.co.th/imgres?imgurl=http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/educate/edu51/j08.jpg&imgrefurl=http:// http://202.29.129.3/cet_media/images_news/king.jpg

  38. จัดทำโดย ด.ช.ชนะภัย ชมเชย เลขที่ 3 ด.ช.ณัฐพล สุริราวงค์เลขที่ 7 ด.ช.ธนากฤตนันทาทองเลขที่ 11 ด.ช.ลักษ์ติพงษ์ คำเขียว เลขที่ 15 ด.ญ.นริศราประยูรหงส์เลขที่ 19 ด.ญ.ปาณิสรา ใจมุข เลขที่ 23 ด.ญ.พิชญา สัตยาวีวัฒนากุล เลขที่ 27 ด.ญ.วันวิสาข์กัสนุกาเลขที่ 31 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ปีการศึกษา 2552

  39. ขอบคุณค่ะ

More Related