1 / 39

การเงินสำหรับวิทยาลัย ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

การเงินสำหรับวิทยาลัย ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. โดย นางสุพรรณ กาญ จน เจตนี. ประเภทของเงิน. เงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ. 1. เงินงบประมาณ งบรายจ่าย 5 ประเภท 1.1 งานบุคลากร : เงินเดือนข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มพิเศษต่างๆ

phil
Download Presentation

การเงินสำหรับวิทยาลัย ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเงินสำหรับวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกการเงินสำหรับวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก โดย นางสุพรรณ กาญจนเจตนี

  2. ประเภทของเงิน เงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ • 1. เงินงบประมาณงบรายจ่าย 5 ประเภท • 1.1 งานบุคลากร: เงินเดือนข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ • เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มพิเศษต่างๆ • 1.2 งบดำเนินงาน:ค่าตอบแทน ใช้สอย วัสดุ สาธารณูปโภค • 1.3 งบลงทุน: ค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง • 1.4 งบเงินอุดหนุน: มี 2 ประเภท • เงินอุดหนุนทั่วไป • เงินที่กำหนดให้จ่ายตามวัตถุประสงค์ เช่น เงินอุดหนุนการศึกษา • เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ (ต่อ)

  3. ประเภทของเงิน (ต่อ) 1.5 งบรายจ่ายอื่นที่ไม่ใช่งบประมาณ 1, 2, 3 และ 4 เช่น เงินราชการลับ ค่าใช้จ่าย ไปต่างประเทศชั่วคราว ค่าปรับที่จ่ายคืนให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ค่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อ ศึกษาวิจัย หรือพัฒนาระบบต่างๆ รายจ่ายชำระหนี้เงินกู้ ฯลฯ

  4. การกำหนดวงเงินค่าวัสดุ และครุภัณฑ์ • ค่าวัสดุ • ของที่ใช้แล้วสิ้นเปลือง หมดไป เช่น กระดาษ ปากกา ดินสอ • ของที่คงทนถาวร มีราคาต่อหน่วย/ชุด ไม่เกิน 5,000 บาท • โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ราคาต่อหน่วย/ชุด ไม่เกิน 20,000 บาท • ครุภัณฑ์ วงเงินไม่กิน 5,000 บาท • ปรับปรุง ต่อเติม ซ่อมแซม ที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง วงเงินไม่เกิน 5,000 บาท • ไม่รวมค่าจัดหาเครื่องยนต์ใหม่ในการซ่อมแซมรถยนต์

  5. การกำหนดวงเงินค่าวัสดุ และครุภัณฑ์ (ต่อ) • งบลงทุน • ค่าครุภัณฑ์ เกินกว่า 5,000 บาทขึ้นไป • โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เกินกว่า 20,000 บาท • ค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้าง รายจ่ายต่างๆ ให้รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระพร้อมกัน เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี ค่าติดตั้ง ค่าประกันภัย ที่มา 1. หนังสือสำนักงบประมาณที่ นร.0704/ว32 ลงวันที่ 7 ม.ค. 2554 2. หนังสือสำนักงบประมาณที่ นร.0704/ว49 ลงวันที่ 23 เม.ย. 2555 ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายสำหรับรายการค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์ และค่าสิ่งก่อสร้าง

  6. ระเบียบเกี่ยวกับการเงินที่ใช้ประจำระเบียบเกี่ยวกับการเงินที่ใช้ประจำ ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551,2552, 2554 และ 2555 รายละเอียดเกี่ยวกับ 1.1 การจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ 1.2 การจัดสรรงบประมาณรายจ่าย 1.3 การใช้รายจ่ายจากงบประมาณรายจ่าย 1.4 การโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่าย 1.5 การบริหารงบประมาณรายจ่ายของจังหวัด และกลุ่มจังหวัด

  7. ระเบียบเกี่ยวกับการเงินที่ใช้ประจำ (ต่อ) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงาน นอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550 สถานที่อยู่ปฏิบัติงานที่เบิกจ่าย OT ได้ (ระเบียบฯ ข้อ 4) กำหนดไว้ว่า - ลักษณะงานส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานในที่ตั้งสำนักงานและได้ปฏิบัติงานนั้น นอกเวลาราชการในที่ตั้งสำนักงาน หรือ - ลักษณะงานส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติงานนอกที่ตั้งสำนักงาน และได้ปฏิบัติงานนั้น นอกเวลาราชการนอกที่ตั้งสำนักงาน หรือ - ลักษณะงานปกติต้องปฏิบัติงานในลักษณะเป็นผลัด หรือกะ และได้ปฏิบัติงานนั้น นอกผลัดหรือกะของตน (ต่อ)

  8. ระเบียบเกี่ยวกับการเงินที่ใช้ประจำ (ต่อ) อัตราการเบิกเงินค่า OT (ระเบียบฯ ข้อ 7) วันธรรมดา(วันทำการ): เบิกได้ไม่เกินวันละ 4 ชั่วโมงๆ ละ 50 บาท (200 บาท) วันหยุดราชการ: เบิกได้ไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมงๆ ละ 60 บาท (420 บาท) การดำเนินการ(ระเบียบฯ ข้อ 9) - ขออนุมัติอยู่ OT กำหนดช่วงวัน เวลาที่อยู่ OT - อยู่หลายคนต้องมีคนรับรองอย่างน้อย 1 คน - อยู่คนเดียวให้รับรองตนเอง - หลังจากครบกำหนดที่ได้รับอนุมัติให้อยู่ OT ต้องรายงานผู้มีอำนาจอนุมัติ ภายใน 15 วัน

  9. ระเบียบเกี่ยวกับการเงินที่ใช้ประจำ (ต่อ) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุมัติให้เดินทางไปราชการและ จัดประชุมของทางราชการ พ.ศ. 2524 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข มอบอำนาจให้ผอ. วิทยาลัยมีอำนาจอนุมัติ ตามคำสั่ง กระทรวงสาธารณสุขที่ 1932/2555 - อนุมัติจัดประชุม - อนุมัติการเข้าร่วมประชุมในประเทศ - อนุมัติเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม และเข้าร่วมประชุม - อนุมัติค่าอาหารและเครื่องดื่ม และค่าอาหารในการจัดประชุมสำหรับ ผู้เข้าร่วมประชุม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ** อัตราค่าใช้จ่ายตามที่กระทรวงการคลังกำหนด

  10. ระเบียบเกี่ยวกับการเงินที่ใช้ประจำ (ต่อ) ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการจัดประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2549 และแก้ไขเพิ่มเติม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข มอบอำนาจให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ตามคำสั่ง กระทรวงสาธารณสุขที่ 1932/2555 - อนุมัติโครงการ หรือหลักสูตรฝึกอบรม - อนุมัติให้จัดอบรม การจัดงาน - อนุมัติให้เข้าร่วมกิจกรรม - อนุมัติเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและการจัดงานที่เป็นอำนาจของ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ต่อ)

  11. ระเบียบเกี่ยวกับการเงินที่ใช้ประจำ (ต่อ) การเขียนโครงการฝึกอบรม (ตามระเบียบฯ) - ชื่อโครงการ ให้ระบุชื่อโครงการที่เน้นการจัดอบรม หรือจัดประชุมทางวิชาการ หรือเชิงปฏิบัติการ หรือจัดสัมมนาทางวิชาการ - หน่วยงานที่รับผิดชอบ - หลักการและเหตุผล ให้ระบุเหตุผล ทำไมต้องมีการจัดอบรม ประชุม สัมมนา - วัตถุประสงค์ ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากร หรือเพิ่มประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติการ ที่สามารถตอบสนองความต้องการขององค์กร - กลุ่มเป้าหมาย ให้ระบุจำนวนผู้เข้าอบรม ประชุม สัมมนาที่มีการแยกกลุ่มของ กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน (ต่อ)

  12. ระเบียบเกี่ยวกับการเงินที่ใช้ประจำ (ต่อ) การเขียนโครงการฝึกอบรม (ตามระเบียบฯ) (ต่อ) - วิธีดำเนินการ ให้ระบุว่ามีการดำเนินการอย่างไรในการจัดอบรม ประชุม สัมมนา เช่น การบรรยาย อภิปราย การประชุมกลุ่ม การนำเสนอผลงาน การจัดทำกลุ่มสัมพันธ์ - ระยะเวลาดำเนินการ และสถานที่ในการดำเนินการ ให้ระบุ วัน เวลา และสถานที่ในการดำเนินการที่ชัดเจน พร้อมทั้งแนบกำหนดการ เสนอในการขออนุมัติทุกครั้ง - งบประมาณที่ใช้ ให้ระบุแหล่งของเงิน จำนวนเงิน พร้อมทั้งแจกแจงรายละเอียด ค่าใช่จ่ายให้ชัดเจน ตามอัตราที่กำหนด และมาตรการประหยัดของหน่วยงาน ** ค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถนำมาถัวจ่ายได้ คือ ค่าอาหาร ค่าอาหารว่าง ค่าที่พัก เป็นค่าใช้จ่ายที่ระเบียบฯ หรือทางราชการกำหนดอัตราไว้ชัดเจนแล้ว (ต่อ)

  13. ระเบียบเกี่ยวกับการเงินที่ใช้ประจำ (ต่อ) การเขียนโครงการฝึกอบรม (ตามระเบียบฯ) (ต่อ) - ผลที่คาดว่าจะได้รับ ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เช่น วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะ เป็นต้น - ผู้เขียนโครงการ/ผู้เสนอโครงการ - ผู้เห็นชอบโครงการ - ผู้อนุมัติโครงการ - วันที่อนุมัติโครงการ

  14. การประเมินการฝึกอรม อาจมีการกำหนดตัวชี้วัดได้ตามความเหมาะสม ต้องประเมินผลการอบรม ตามระเบียบฯ ให้รายงานผลการประเมินต่อ ผู้มีอำนาจอนุมัติโครงการ ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่สิ้นสุดการอบรม

  15. เงินรายได้สถานศึกษา

  16. ระเบียบและประกาศที่ใช้ระเบียบและประกาศที่ใช้ • ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินรายได้สถานศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นนิติบุคคล • พ.ศ. 2546 • ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยหลักเกณฑ์ อัตรา และวิธีการนำเงินรายได้ • สถานศึกษาไปจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัด • กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2553 • ระเบียบสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการอนุมัติการจ่ายเงิน และ • การก่อหนี้ผูกพันเงินรายได้สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข • พ.ศ. 2553 • 4. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขค่าใช้จ่ายในการจัดการ • ศึกษาในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2554 • 5. ประกาศ (เรื่อง พก.ส.)

  17. ความเชื่อมโยงของระเบียบฯ และประกาศทั้ง 4 ฉบับ ระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ. 2546 ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข กำหนดหลักเกณฑ์ อัตราการเบิกจ่าย (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) ระเบียบสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข การก่อหนี้ผูกพัน (ปลัดกระทรวงสาธารณสุข) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดเงื่อนไขค่าใช้จ่าย (ปลัดกระทรวงสาธารณสุข)

  18. สาระสำคัญของระเบียบและประกาศเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาสาระสำคัญของระเบียบและประกาศเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษา ระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ. 2546 1.1 การรับเงินและการเก็บรักษาเงินรายได้สถานศึกษา - ออกใบเสร็จรับเงิน หรือใบสำคัญรับเงินตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด - ใบเสร็จรับเงินให้อยู่ในความควบคุมของส่วนราชการต้นสังกัด - เก็บรักษาเงินสดไว้ตามที่ส่วนราชการต้นสังกัดกำหนด โดยความเห็นชอบ ของกระทรวงการคลัง ที่เหลือนำฝากคลังจังหวัด หรือธนาคารตามวงเงินที่ กระทรวงการคลังเห็นชอบ 1.2 การก่อหนี้ผูกพันและการใช้จ่ายเงินรายได้สถานศึกษา เป็นไปตามระเบียบ และประกาศที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดใน 2, 3, 4 (ต่อ)

  19. สาระสำคัญของระเบียบและประกาศเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษา (ต่อ) ระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ. 2546 (ต่อ) 1.3 การพัสดุ การบัญชี เงินรายได้สถานศึกษา - การพัสดุ ให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุของทางราชการ - การบัญชี ให้เป็นไปตามระเบียบบัญชีของทางราชการ - ปิดบัญชีประจำปีแล้ว ให้ส่งงบการเงินไปให้ สตง. ตรวจสอบรับรอง ภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นปีงบประมาณ (30 ธ.ค. ของทุกปี) 1.4 การนำเงินรายได้สถานศึกษาส่งคลัง - กรณีมีเงินรายได้เหลือเกินความจำเป็น กระทรวงการคลังอาจให้สถานศึกษา นำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ตามจำนวนที่เห็นสมควรก็ได้

  20. สาระสำคัญของระเบียบและประกาศเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษา (ต่อ) 2. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยหลักเกณฑ์ อัตรา และวิธีการนำเงิน รายได้สถานศึกษาไปจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของ สถานศึกษา พ.ศ. 2553 มีการกำหนดค่าใช้จ่ายในการศึกษาที่สามารถเบิกจ่ายได้ (ข้อ 5) “ค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา หมายความว่า ค่าใช้จ่ายอันจำเป็น และเหมาะสม ในการจัดการศึกษา อาทิเช่น ค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ จัดจ้าง วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและ สิ่งก่อสร้าง ค่าตอบแทน การให้ทุนการศึกษา ค่าใช้จ่ายในการประชุม อบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน การศึกษาวิจัย การผลิตผลงานทางวิชาการ การจัดกิจกรรมนักศึกษา การจ้าง การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา การจัดการศึกษาของสถานศึกษาอื่น การยืมเงินรายได้ระหว่างสถานศึกษา ค่าใช้จ่ายในด้านการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ การศึกษา และอื่นๆ ”(ต่อ)

  21. สาระสำคัญของระเบียบและประกาศเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษา (ต่อ) 2. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยหลักเกณฑ์ อัตรา และวิธีการนำเงิน รายได้สถานศึกษาไปจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาของ สถานศึกษา พ.ศ. 2553(ต่อ) “และให้หมายความรวมถึงค่าใช้จ่ายที่คณะกรรมการบริหารสถานศึกษา ซึ่งเป็นเจ้าของเงินรายได้นั้นๆ ให้ความเห็นว่ามีความจำเป็นในการจัดการศึกษา โดย ขอความเห็นชอบจากปลัดกระทรวงสาธารณสุข”

  22. สาระสำคัญของระเบียบและประกาศเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษา (ต่อ) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขค่าใช้จ่าย ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2554 สาระสำคัญ การจ่ายเงินรายได้สถานศึกษาเพื่อสถานศึกษาอื่น และยืมเงินรายได้สถานศึกษา การจ่ายเงินรายได้สถานศึกษาในกิจกรรมนักศึกษา การจ่ายเงินรายได้สถานศึกษาในการประชุม อบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน และ การนำเสนอผลงานวิชาการในประเทศ และต่างประเทศ การจ่ายเงินรายได้สถานศึกษาในการปฏิบัติการวิจัยในต่างประเทศ การจ่ายเงินรายได้สถานศึกษาในการผลิตผลงานวิชาการ (ต่อ)

  23. สาระสำคัญของระเบียบและประกาศเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษา (ต่อ) สาระสำคัญ(ต่อ) 6. การจ่ายเงินรายได้สถานศึกษาเป็นค่าตอบแทน - การอยู่เวรดูแลนักศึกษา - พต.ส. ของผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในวิทยาลัย - สอนเกินภาระงาน/การสอนพิเศษ - ค่าตอบแทนการประชุมของคณะกรรมการของสถานศึกษาที่เป็นบุคคลภายนอก การจ่ายเงินรายได้สถานศึกษาเป็นค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราว การจ่ายเงินรายได้สถานศึกษาเป็นทุนการศึกษา - บุคลากรทางการศึกษา - นักศึกษาของวิทยาลัย และของสถานศึกษาอื่น - บุคคลภายนอก

  24. สาระสำคัญของระเบียบและประกาศเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษา (ต่อ) ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจาก 8 รายการ ที่ระบุได้ในประกาศฯ ค่าจ้างพนักงานกระทรวงสาธารณสุข จ่ายได้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ ค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้ระบุไว้ในประกาศฯ แต่วิทยาลัยมีความจำเป็นต้องจ่าย ให้ดำเนินการ ดังนี้ 2.1 นำเสนอคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย ประชุมพิจารณาตามระเบียบกระทรวง สาธารณสุข ว่าด้วยหลักเกณฑ์ อัตราและวิธีการนำเงินรายได้สถานศึกษาไปจัดสรร เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ของสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2553 ให้ความเห็นว่ามีความจำเป็นในการจัดการศึกษาอย่างไร? และจัดทำรายงาน การประชุมให้ชัดเจน 2.2 วิทยาลัยเสนอขออนุมัติพร้อมส่งรายงานการประชุมคณะกรรมการไปยัง สบช. เพื่อนำเสนอปลัดกระทรวงสาธารณสุขอนุมัติ

  25. การพัสดุ

  26. ระเบียบ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 ระเบียบกระทรวงการคลัง...... (ค่าเบี้ยประชุม)

  27. การดำเนินงานพัสดุ การซื้อ การจ้าง การเช่า การจ้างที่ปรึกษา การจัดทำทะเบียนทรัพย์สิน การควบคุม และการจำหน่ายพัสดุ - การเก็บรักษา - การตรวจสอบพัสดุประจำปี - การจำหน่าย - การเบิกจ่าย

  28. วิธีการซื้อ หรือการจ้าง 5 วิธี

  29. วิธีการซื้อ หรือการจ้าง 5 วิธี (ต่อ)

  30. การเช่า การเช่าอสังหาริมทรัพย์ - การเช่าที่ดิน - การเช่าอาคาร สถานที่ การเช่าสังหาริมทรัพย์ ให้นำข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการซื้อมาใช้ โดยอนุโลม (ระเบียบพัสดุฯ ข้อ 128)

  31. การจ้างที่ปรึกษา กระทำได้ 2 วิธี วิธีตกลง - จ้างไม่เกิน 100,000 บาท - จ้างหน่วยงานต่อเนื่องที่ทำอยู่แล้ว - มีผู้เชี่ยวชาญจำกัด ไม่เหมาะที่จะจ้างโดยวิธีคัดเลือก จ้างไม่เกิน 2,000,000 บาท - จ้างจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานที่มีกฎหมาย หรือมติ ครม. ให้จ้างได้

  32. การจ้างที่ปรึกษา กระทำได้ 2 วิธี (ต่อ) 2. วิธีคัดเลือก - คัดเลือกที่ปรึกษา เชิญชวนที่ปรึกษา ยื่นข้อเสนอเข้ารับงาน และพิจารณาคัดเลือกรายที่ดีที่สุด (โดยคณะกรรมการจ้างที่ปรึกษา) อำนาจในการสั่งจ้างที่ปรึกษา เหมือนกับการสั่งซื้อ สั่งจ้าง

  33. คณะกรรมการเกี่ยวกับการซื้อ จ้าง เช่า คณะกรรมการที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อ/จ้าง/เช่า คณะกรรมการตรวจรับ องค์ประกอบคณะกรรมการ ประธาน กรรมการ อย่างน้อย 2 คน กรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของราชการอาจแต่งตั้งเพิ่มได้ ไม่เกิน 2 คน (รวม 5 คน) และกรรมการควรจะมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในงานที่จะจ้าง หรือมีความรู้เรื่อง พัสดุที่ซื้อ ห้าม :แต่งตั้งผู้ที่เป็นกรรมการเกี่ยวกับการจัดซื้อ/จ้าง/เช่า เป็นกรรมการตรวจรับ (ตามระเบียบพัสดุฯ ข้อ 35)

  34. การควบคุมพัสดุ การเก็บรักษาพัสดุ ตามระเบียบพัสดุฯ ข้อ 151, 152 - จัดทำทะเบียนควบคุมพัสดุ การเบิก - จ่ายพัสดุ - แต่งตั้งหัวหน้าหน่วยพัสดุ ทำหน้าที่ควบคุมการเบิก - จ่ายพัสดุ ตามระเบียบ การตรวจสอบพัสดุประจำปี ตามระเบียบพัสดุฯ ข้อ 155, 156 - ก่อนสิ้นเดือน ก.ย. ทุกปี ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุ (ห้ามแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พัสดุเป็นกรรมการ) ตรวจสอบพัสดุประจำปี และจัดทำ รายงานเสนอหัวหน้าหน่วยงาน ตามลำดับ ภายใน 30 วันทำการ นับตั้งแต่ วันที่เริ่มตรวจสอบพัสดุ (ต่อ)

  35. การควบคุมพัสดุ (ต่อ) การตรวจสอบพัสดุประจำปี ตามระเบียบพัสดุฯ ข้อ 155, 156 (ต่อ) - หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคให้ส่งรายงานให้ต้นสังกัด และส่งสำเนารายงาน ให้ สตง. ภูมิภาค - หากมีพัสดุชำรุด สูญไปใช้งานไม่ได้ ให้เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการสอบหา ข้อเท็จจริง และเสนอขออนุมัติจำน่ายพัสดุ การจำน่ายพัสดุ โดยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ขายทอดตลาด โอน/บริจาค ทำลาย จำหน่ายเป็นศูนย์ สำหรับหน่วยงานส่วนภูมิภาคต้องได้รับความเห็นชอบจาก หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณ (ของวิทยาลัยต้องเสนอปลัดกระทรวงอนุมัติ)

  36. คำถามที่พบบ่อยด้านพัสดุคำถามที่พบบ่อยด้านพัสดุ การแบ่งซื้อแบ่งจ้าง ระเบียบพัสดุฯ ข้อ 22 วรรค 2 กำหนดว่า “การแบ่งซื้อแบ่งจ้างโดยลดวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างครั้งเดียวกัน เพื่อให้วงเงินต่ำกว่าที่กำหนดโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือเพื่อให้อำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง เปลี่ยนไป จะกระทำมิได้” สรุป คือ หลีกเลี่ยงวิธีการ หรือหลีกเลี่ยงอำนาจโดยเจตนาทำไม่ได้

  37. แนวทางการดำเนินการที่ไม่ถือว่าเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้างแนวทางการดำเนินการที่ไม่ถือว่าเป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง (ตามหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร. (กวพ.) 1407/6824 ลงวันที่ 12 ก.ย. 2545) ตอบข้อหารือเกี่ยวกับการจัดซื้อพัสดุของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีสาระสำคัญ คือ กรณีมีเหตุผล ความจำเป็นที่ไม่สามารถจัดหาครุภัณฑ์ในคราวเดียวกันได้ ก็ให้ อยู่ในอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการที่จะพิจารณาตามความเหมาะสมและจำเป็น กรณีที่หน่วยงานได้รับงบประมาณจัดซื้อครุภัณฑ์แต่ละประเภทแตกต่างกัน และต้องจัดซื้อโดยวิธีประกวดราคา ให้จัดซื้อโดยวิธีประกวดราคาในคราวเดียวกัน และกำหนดเงื่อนไข - แยกพิจารณาแต่ละรายการหรือแต่ละกลุ่ม - ผู้เสนอราคาเสนอราคาแยกรายการหรือแยกกลุ่ม ไม่ครบทุกรายการก็ได้ - ผู้เสนอราคาเสนอราคาครบทุกรายการก็ได้

  38. ปฏิทินการบริหารงานพัสดุตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมสำหรับหน่วยงานในสังกัด สบช.

  39. ปฏิทินการบริหารงานพัสดุตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมสำหรับหน่วยงานในสังกัด สบช. (ต่อ)

More Related