480 likes | 999 Views
ตลาดและการกำหนดราคา. Market and Price Determination. ตลาด ( Market ). ตลาด หมายถึง กิจกรรมการตกลงซื้อขายสินค้าและบริการรวมทั้งปัจจัยการผลิต ไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะสถานที่ แต่เน้นที่การซื้อขายเป็นหลัก เช่น การซื้อขายบนอินเตอร์เน็ต การซื้อโดยผ่านทางโทรศัพท์
E N D
ตลาดและการกำหนดราคา Market and Price Determination
ตลาด ( Market ) • ตลาด หมายถึง กิจกรรมการตกลงซื้อขายสินค้าและบริการรวมทั้งปัจจัยการผลิต ไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะสถานที่ แต่เน้นที่การซื้อขายเป็นหลัก เช่น การซื้อขายบนอินเตอร์เน็ต การซื้อโดยผ่านทางโทรศัพท์ • ตลาดจึงมีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้ทำการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ อาจเป็นทั้งระบบ Bater System หรือใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งมีระบบในการซื้อขายแลกเปลี่ยน
Delivery New Market Order
การจำแนกตลาด • จำแนกตามเขตภูมิศาสตร์ เช่น ตลาดท้องถิ่น ตลาดภายในประเทศ ตลาดต่างประเทศ ตลาดโลก • จำแนกตามชนิดของสิ่งของที่ซื้อขาย เช่น ตลาดผลผลิต ตลาดปัจจัยการผลิต • จำแนกตามชนิดสินค้าจำแนกตามสภาพและลักษณะการซื้อขาย เช่น ตลาดกลาง ตลาดขายส่งและขายปลีก • ตลาดอื่นๆ** เช่น ตลาดการเงิน ตลาดทุน ตลาดการเงินระหว่างประเทศ ตลาดซื้อขายล่วงหน้า ตลาดตราสารอนุพันธ์
โครงสร้างตลาด ( Market Structure ) • สามารถแบ่งลักษณะของตลาดตามความสามารถในการกำหนดราคาของผู้ผลิต จำนวนผู้ผลิต และลักษณะของสินค้าและบริการ ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ • ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ( Perfectly Competitive Market ) • ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ ( Imperfectly Competitive Market ) วึ่งอาจเป็นประเภทย่อยๆตามระดับของความไม่สมบูรณ์ เป็น • ตลาดผูกขาดแท้จริง ( Monopoly ) • ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ( Monopolistic )
Competition - Many Firms, Free Entry -One Product Number of Firms Monopolistic - Many Firms, Free Entry -Differentiated Product Oligopoly - FewFirms, Limited Entry -One Product Product Differentiation Monopoly - One Firm, No Entry -One Product
การตั้งราคาในทางทฤษฎีการตั้งราคาในทางทฤษฎี • เกณฑ์สำคัญในการตั้งราตาตามทฤษฎีนั้นต้องจำแนกเสียก่อนว่า โครงสร้างตลาดมีลักษณะเป็นอย่างไร เพราะย่อมส่งผลต่อ อุปสงค์ อุปทาน ความสามารถในการกำหนดราคาของผู้ผลิต ตลอดจนดุลยภาพของตลาด • นอกจากนี้ คุณลักษณะของเส้น ต้นทุนเฉลี่ย ต้นทุนส่วนเพิ่ม เป็นอีกปัจจัยที่กำหนดราคาและปริมาณการผลิต
ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ • ผู้ซื้อและผู้ขายมีจำนวนมากราย ผู้ซื้อและผู้ขายรายหนึ่งรายใดไม่ทำให้อุปสงค์ของตลาดเปลี่ยนแปลง ไม่ส่งผลกระทบต่อราคาตลาด ราคาตลาดไม่สามารถเปลี่ยนโดยคนใดคนหนึ่ง • สินค้ามีลักษณะใกล้เคียงกัน ผู้ซื้อไม่เห็นความแตกต่างของสินค้าจากผู้ผลิตแต่ละราย • ผู้ผลิตสามารถเข้าสู่ตลาดโดยง่าย ( อาจบ่งชี้ว่าต้นทุนคงที่ของสินค้ามีไม่สูงมาก ) • เคลื่อนย้ายสินค้าจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งโดยมีต้นทุนต่ำ • ผู้ซื้อและผู้ขายมีความรู้เกี่ยวกับสินค้า ในเชิงคุณภาพและราคาเป็นอย่างดี มีความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงข้อมูล
ราคา ราคา S D =AR =MR P P D ปริมาณ ปริมาณ • จากการที่ผู้ขายแต่ละรายต้องขายตามราคาตลาด ไม่สามารถตั้งราคาตามใจของตนเองได้ ( Price Taker ) • ราคานั้นเป็นราคาดุลยภาพของตลาด (ขายจะสามารถขายได้ราคาเดียว ดังนั้นอุปสงค์ที่ผู้ขายพบคือเป็นเส้นขนานแกนนอน ( ความยืดหุ่นมีค่าเป็นอสงไขย )
ราคา MC AC A P D = MR =AR C B O Q ปริมาณผลผลิต
ข้อสังเกต • ณ จุดที่กำไรสูงสุด MC = MR ให้ปริมาณที่ควรผลิตเท่ากับ Q • ดังนั้นรายได้รวมจึงมีค่าเท่ากับ OP.OQ = พื้นที่สี่เหลี่ยมใหญ่OPAQ • ต้นทุนต่อหน่วย ณ ปริมาณการผลิต Q พิจารณาจากเส้น AC คือ หน่วยละ OC บาท ดังนั้นต้นทุนรวมเท่ากับ OC.OQ = พื้นที่สี่เหลี่ยม OCBQ • กำไรเกินปกติที่ได้รับ คือ รายได้ - ต้นทุน = พื้นที่สี่เหลี่ยม CPAB • ทำไมถึงเป็นกำไรเกินปกติ ??? • และจะเกิดเหตุการณ์ใดต่อไป ???
โดยปกติหากเกิดกรณีที่มีผู้ผลิตได้กำไรเกินปกติ เนื่องจากผู้ผลิตรายใหม่เล็งเห็นกำไรส่วนนี้และด้วยความที่เป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ผู้ผลิตรายใหม่สามารถเข้ามาได้โดยง่าย จึงทำให้เกิดการแข่งขันและกำไรส่วนที่เกินปกตินี้ก็จะหายไป • และหากพิจารณาต่อถึง ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย เพื่อใช้ในการตัดสินใจ ก็จะได้ข้อสรุปในเรื่องว่าเมื่อใดควรผลิตและเมื่อใดควรเลิกกิจการ ( ราคาต้องสูงกว่าต้นทุนผันแปรต่อหน่วย )
กรณีที่ AVC < AC < P ราคา MC AC AVC A P D = MR =AR C B C1 D O Q ปริมาณผลผลิต
กรณีที่ AVC < AC = P ราคา Zero Profit MC AC AVC A C P D = MR =AR C1 D O Q ปริมาณผลผลิต
กรณีที่ AVC < P < AC ราคา TR = OPBQ TC = OCAQ TVC = OC1DQ Loss = PCAB MC AC AVC A C D = MR =AR P B C1 D O Q ปริมาณผลผลิต
กรณีที่ P < AVC < AC ราคา TR = OPDQ TC = OCAQ TVC = OC1BQ Loss = PCAD MC AC AVC A C B C1 D = MR =AR P D O Q ปริมาณผลผลิต
ตลาดผูกขาดแท้จริง ( Monopoly ) • มีผู้ผลิตเพียงรายเดียวเท่านั้น เรียกว่า ผู้ผูกขาด ( Monopolist ) • สินค้านั้นไม่สามารถหาสินค้าใดมาเทียบเคียงได้ ( ถ้าไม่มีสินค้าทดแทนแสดงว่าความยืดหยุ่นมีค่าเป็นศูนย์ หรือมีค่าความยืดหยุ่นที่น้อยมาก ) • ผู้ผลิตรายใหม่ๆไม่สามารถเข้าสู่ตลาดได้ อาจเป็นความสามารถกีดกันจากผู้ผลิตรายเดิม เช่น สัมปทาน ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ( ลิขสิทธิ์ และ สิทธิบัตรต่างกันอย่างไร ??? ) • ผู้ผูกขาดมีอำนาจในการกำหนดราคา ( Price Searcher ) หรือกำหนดปริมาณการผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง
เนื่องจากเป็นผู้ขายรายเดียว เส้นอุปสงค์ของสินค้าที่ผู้ผลิตเผชิญจึงเป็นเส้นเดียวกันกับเส้นอุปสงค์ตลาด ( ทอดจากซ้ายบนมาขวาล่าง ) • จุดที่ทำให้กำไรสูงสุดยังคงเป็นตามเงื่อนไข MC = MR
ราคา MC AC A P C B D = AR C MR O Q ปริมาณผลผลิต
ราคา AC B C P A MC D = AR C MR O Q ปริมาณผลผลิต
ข้อสังเกต • ณ จุดที่กำไรสูงสุด MC = MR ให้ปริมาณที่ควรผลิตเท่ากับ Q • ดังนั้นรายได้รวมจึงมีค่าเท่ากับ OP.OQ = พื้นที่สี่เหลี่ยมใหญ่OPAQ • ต้นทุนต่อหน่วย ณ ปริมาณการผลิต Q พิจารณาจากเส้น AC คือ หน่วยละ OC บาท ดังนั้นต้นทุนรวมเท่ากับ OC.OQ = พื้นที่สี่เหลี่ยม OCBQ • กำไรเกินปกติที่ได้รับ คือ รายได้ - ต้นทุน = พื้นที่สี่เหลี่ยม CPAB
ในกรณีของตลาดผูกขาดสมบูรณ์ ราคาสินค้าสูงกว่า MC เสมอ • ราคาในตลาดผูกขาด สูงกว่าราคาในตลาดสมบูรณ์เสมอ เพราะผู้ผลิตจะคุมราคาหรือปริมาณที่ทำให้ ระดับราคาสูงกว่า MC และ AC เสมอ เพื่อที่จะสามารถได้กำไรเกินปกติ • กำไรเกินปกติจะคงอยู่ เพราะไม่มีคู่แข่งรายใดสามารถเข้าสู่ตลาดได้จากอำนาจการกีดกันของผู้ผลิต • ผู้ผลิตอาจตั้งราคา โดยใช้ หลัก การแบ่งแยกทางราคา ( Price Discrimination ) เช่น การจัดชั้นของเครื่องบิน การตั้งราคาอาหารบุฟเฟ่ต์
ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด • หน่วยผลิตมีจำนวนมาก • ผู้ผลิตรายใหม่เข้าสู่ตลาดได้โดยง่าย • สินค้านั้นไม่ใช่มีลักษณะเดียวกัน ( Heterogeneous Product ) เหมือนกับกรณีแข่งขันแบบสมบูรณ์ ( ถ้าสินค้าเหมือนกัน เรียก Homogeneous Product ) • ความแตกต่าง เช่น รูปลักษณ์ของสินค้า ฟังก์ชันการใช้งาน • ถ้าสินค้ายิ่งแตกต่างมากเท่าไรก็สามารถเพิ่มอำนาจการผูกขาด • การตั้งราคาจะตั้งสูงมากในช่วงนำสินค้าใหม่สู่ตลาดและราคาจะลดเพราะมีคนเลียนแบบ
ตลาดผู้ขายน้อยราย ( กรณี 2 ราย : Oligopoly) • ผู้ขายมีน้อยราย โดยที่สินค้านั้นมีลักษณะที่เหมือนกัน ดังนั้นผู้ขายจึงทำการกำหนดปริมาณการผลิต ( ปริมาณสามารถบ่งชี้ว่าราคาควรเป็นเท่าไร P = f( Q1 + Q2 ) ) • ผู้ขายรายหนึ่งอาจดูว่าผู้ขายอีกรายจะมีกลยุทธ์อย่างไรแล้วจึงกำหนดกลยุทธ์ของตัวเอง ในขณะที่อีกฝ่ายก็จะทำในลักษณะเดียวกัน • ผลเสียจะเกิดกับผู้บริโภคหากผู้ผลิตทั้งสองมีการร่วมมือกัน ( ฮั้ว ) แต่อีกฝ่ายก็สามารถที่หักหลังได้
สมมตินักโทษ 2 คน วางแผนจะหนีจากคุก ซึ่งถ้าทั้งสองสามารถทำสำเร็จก็จะเป็นประโยชน์ทั้งคู่ แต่ถ้าไม่แหกคุก ต่างคนก็ต่างรับโทษ แต่หากมีใครหักหลังคนที่เอาไปฟ้องก็จะเป็นประโยชน์ ในขณะที่อีกฝ่ายก็จะได้รับโทษมากขึ้น นักโทษ B ร่วมมือ หักหลัง นักโทษ A ร่วมมือ ( 5 , 5 ) ( -5 , 2 ) หักหลัง ( 2 , -5 ) ( -2 , -2 ) • ในการพิจารณาอาจใช้ทฤษฎีเกม ( Game Theory ) เข้ามาประกอบการตัดสินใจ
กรณีที่ผู้ผลิตมีการพิจารณาถึงกลยุทธ์ของอีกฝ่ายหนึ่งกรณีที่ผู้ผลิตมีการพิจารณาถึงกลยุทธ์ของอีกฝ่ายหนึ่ง S* ราคา ปริมาณที่ B ผลิต S D ปริมาณ Q1+Q2 ปริมาณที่ A ผลิต
การกำหนดราคาในทางปฏิบัติการกำหนดราคาในทางปฏิบัติ • การตั้งราคาเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด ( Maximize Profit Pricing ) • การตั้งราคาตามต้นทุนส่วนเพิ่ม ( Marginal Cost Pricing ) • การตั้งราคาตามต้นทุนเฉลี่ย ( Average Pricing ) • การตั้งราคาตามราคาตลาด ( Market Pricing ) • การตั้งราคาตามต้นทุน ( Cost - Plus Pricing ) • การตั้งราคาสินค้าให้แตกต่างกัน ( Differencial Pricing or Price Discrimination )
การกำหนดราคาในทางปฏิบัติการกำหนดราคาในทางปฏิบัติ • การตั้งราคาตามรุ่นหรือรูปแบบสินค้า ( Multiple Model Pricing ) • การตั้งราคาเพื่อสร้างค่านิยม ( Pristige Pricing ) • การตั้งราคาตามประเพณีนิยม ( Customary Pricing ) • การตั้งราคาแบอื่นๆ เช่น การขายพ่วง การตั้งราคาลงเลข 9 การตั้งราคาแบบนั่งเทียน การตั้งราคาเพื่อให้ต่อ การตั้งราคาเพื่อประมูล
การตั้งราคาเพื่อให้ได้กำไรสูงสุดการตั้งราคาเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด • ในการพิจารณานั้นเป็นการคิดในเชิงทฤษฎี ต้องตั่งราคาตามเงื่อนไข MC = MR ซึ่งเป็นการยาก ( ยากที่สุด ) ในการวัดค่าต้นทุนเพิ่ม รายรับเพิ่ม ซึ่งจะง่ายหากมีข้อสมมติฐานว่าตลาดนั้นเป็นตลาดที่แข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งที่จริงอาจไม่ใช่ • บางหน่วยผลิตอาจไม่ได้มุ่งการสร้างกำไรสูงสุดเช่น กิจการที่ไม่หวังผลกำไร องค์กรการกุศล ก็ไม่สามารถใช้ตัวแบบเชิงทฤษฎีชนิดนี้ได้
การตั้งราคาตามต้นทุนส่วนเพิ่มการตั้งราคาตามต้นทุนส่วนเพิ่ม • ในการตั้งราคาจะให้ MC = AR แทนที่จะเป็นตามเงื่อนไข MC = MR • ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์แล้วกติกาไม่ได้แตกต่างจากเดิม เพราะ AR เป็นเส้นเดียวกับ MR แต่ในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์นั้นจะมีความแตกต่าง • ความแตกต่างนั้น คือ ราคาของสินค้าและบริการจะลดลง จะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคมากกว่า กรณีที่ MC = MR
ราคา MC AC A P D = MR =AR C B O Q ปริมาณผลผลิต ตลาดแข่งขันสมบูรณ์
ราคา ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ MC AC A P P* C B D = AR C MR O Q Q* ปริมาณผลผลิต
การตั้งราคาตามต้นทุนเฉลี่ยการตั้งราคาตามต้นทุนเฉลี่ย • ในกรณีนี้จะให้ต้นทุนเฉลี่ยมีค่าเท่ากับรายรับเฉลี่ย ( AC = AR ) โดยกำหนดจุดนั้นเป็นปริมาณการผลิตของหน่วยผลิต เพราะต้นทุนนั้นมีการรวมต้นทุนของผู้ประกอบการไว้แล้ว ดังนั้นก็เพียงพอสำหรับผู้ผลิตเพราะจะได้กำไรปกติอยู่แล้ว • ราคาที่ผู้บริโภคจ่ายในกรณีที่ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ก็จะลดลง เพราะผู้ผลิตไม่ได้รับกำไรส่วนเกิน
ราคา ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ กรณีผลิตที่ AC = AR MC AC A C P D = MR =AR O Q ปริมาณผลผลิต
ราคา ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ กรณีผลิตที่ AC = AR MC AC A P P* P** C B D = AR C MR O Q Q* Q** ปริมาณผลผลิต
การตั้งราคาตามราคาตลาดการตั้งราคาตามราคาตลาด • การตั้งราคาตามวิธีนี้ก็เป็นการสังเกตว่าดุลยภาพของตลาดอยู่ที่เท่าไร ผู้ผลิตก็จะตั้งราคาตามนั้น • เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้ผลิตก็ต้องพยายามลดต้นทุนการผลิตของตน หรือผลิตให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นเพื่อให้ได้กำไรที่สูงขึ้น • ถ้าราคาตลาดสูงกว่าต้นทุนการผลิต ผู้ผลิตก็ไม่สามารถอยู่ได้ อาจต้องออกจากระบบการผลิต และหากมีกำไร ผู้ผลิตรายใหม่ๆก็อยากเข้ามา • อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนราคาตามตลาด ซึ่งทำให้เสีย Menu Cost ในการปรับเปลี่ยนราคาของสินค้า
ตัวอย่างการตั้งราคาตามราคาตลาดกรณี การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ • เงินตราต่างประเทศ มีการเสนอราคาเทียบกับเงินบาท ดังนี้ คือ สกุล เสนอซื้อ ( Bid ) เสนอขาย ( Ask ) US Dollar 45.15 45.60 DM 19.40 20.10 JPY ( 100 เยน ) 30.30 30.70 GB 68.85 69.15 Singapore Dollar 20.00 20.50
ตัวอย่างการตั้งราคาตามราคาตลาดกรณี การเสนออัตราดอกเบี้ย • อัตราดอกเบี้ยขึ้นกับระยะเวลาเป็นสำคัญ ตามตัวอย่างคือ สกุล เสนอซื้อ ( Bid ) เสนอขาย ( Ask ) 7 Days 2.25 2.50 1 Mth 2.50 - 60 3 Mths 2.70 - 85 6 Mths 3.00 - 25 9 Mths 3.30 - 70 12 Mths 3.75 - 4.00
การตั้งราคาตามต้นทุน • เป็นวิธีการที่นิยม ผู้ผลิตจะคิดต้นทุนทั้งหมดและบวกกำไรที่ต้องการ เช่นหากต้นทุน 100 บาท ต้องการกำไร 20% ดังนั้นก็จะตั้งราคาขาย 120 บาท • ราคาขายที่ตั้งนั้นต้องไม่สูงกว่าราคาที่ซื้อขายอยู่ในตลาด ถ้าอยู่สูงกว่าราคาตลาด ผู้ผลิตต้องหาหนทางคือ • เพิ่มปริมาณผลผลิต เพื่อให้ต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อหน่วยถูกลง ( Why ? ) ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ลดอัตราผลกำไรที่ต้องการ สร้างความแตกต่างได้ไม่ต้องเทียบกับคนอื่น
การตั้งราคาสินค้าให้แตกต่างกันการตั้งราคาสินค้าให้แตกต่างกัน • สินค้าชนิดเดียวกันแต่อาจปรับปรุงคุณสมบัติ หรือข้อกำหนดบางประการ แล้วแยกตลาดในการกำหนดราคา เช่น สายการบินที่มีชั้น First Class, Business Class, Economy Class หรือ การตั้งราคาไฟฟ้าที่ต่างกันระหว่างครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม หรือ การกำหนดราคาตั๋วตามอายุ เช่นกรณีของบัตรรถไฟฟ้า หรือ การขายของที่มาจากกโรงงานเดียวกันในราคาที่ต่างๆกัน • เป็นการนำเรื่องความยืดหยุ่นมาใช้ ตั้งราคาสูงในตลาดที่มี Ed สูง เพื่อให้รายรับรวมมากขึ้น แต่ต้องแบ่งตลาดให้ดีเพรสะมีการขนสินค้าข้ามตลาด
ตลาด B ราคาต่ำ ตลาด A ราคาสูง ตลาด A ราคาสูง ตลาด B ราคาต่ำ ตลาด C ราคาสูงมาก กรณีนี้แบ่งตลาดได้อย่างไม่เด็ดขาด กรณีนี้แบ่งตลาดได้อย่างเด็ดขาด
ราคา ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ตั้งราคาหลายระดับ C P** ตลาด C B P* C* ตลาด B A P B* D ตลาด A C O Q** Q* Q ปริมาณผลผลิต
ข้อสังเกต • หากเขาตั้งราคาเดียวที่ P เขาจะมีรายได้ = สี่เหลี่ยม OPAQ • หากเขาตั้งราคาเดียวที่ P* เขาจะมีรายได้ = สี่เหลี่ยม OP*AQ* • หากเขาตั้งราคาเดียวที่ P** เขาจะมีรายได้ = สี่เหลี่ยม OP**AQ** • ซึ่งพื้นที่ OPAQ > OP*AQ* > OP**AQ** • ถ้าเขาตั้งราคาเป็น 3 ระดับ คือ P , P* , p** รายได้รวมจะเท่ากับ พื้นที่สี่เหลี่ยม OPAQ + PP*BB* + P*P**CC* • แต่การแบ่งตลาดต้องมีการทำให้ไม่ซ้อนทับกัน และยิ่งแบ่งตลาดได้มากเท่าไรรายรับก็เพิ่มมากขึ้น แต่อาจต้องเสียต้นทุนค่าจัดการ
การตั้งราคาตามรุ่นหรือรูปแบบสินค้าการตั้งราคาตามรุ่นหรือรูปแบบสินค้า • วิธีการนี้ใช้กับสินค้าที่มีความทันสมัย เพราะ จะมีรุ่นใหม่ๆออกมาประจำและอาจเกิดการตกรุ่นได้ และราคาของสินค้าที่ตกรุ่นก็จะมีราคาที่ค่ำกว่าสินค้าที่ไม่ตกรุ่น • ผู้ผลิตอาจตั้งราคาสินค้าโดยมีการปรับเปลี่ยนคุณภาพสินค้า เช่น โทรศัพท์มือถือ ที่มีตั้งแต่รุ่น 3210 3310 8210 8250 หรือการผลิตรถ เช่น S - Class , C - Class, V - Class • สินค้าเหล่านี้มีกระบวนการผลิตที่ร่วมกัน ใช้ทรัพยากรแบบเดียวกัน เพียงแต่ดัดแปลงบางอย่างเท่านั้น ซึ่งอาจทำให้ประหยัดต่อขนาดได้
การตั้งราคาเพื่อสร้างค่านิยมการตั้งราคาเพื่อสร้างค่านิยม • ในที่นี้ราคาอาจไม่สัมพันธ์กับต้นทุนการผลิต โดยอาศัยชื่อเสียงและเอกลักษณ์ของสินค้านั้นๆ • ราคาอาศัยการโฆษณาเป็นสำคัญ และอาจแสดงถึงรสนิยมของผู้ซื้อสินค้าและบริการนั้นๆ • สินค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ฟุ่มเฟือย มีลักษณะพิเศษคือ เมื่อราคาลดอาจไม่ซื้อแต่หากราคาเพิ่มก็ยินดีที่จะซื้อ เช่น เครื่องเพชร นาฬิกา รถ กระเป๋าถือ เครื่องสำอาง ปากกา เสื้อผ้า
การตั้งราคาตามประเพณีนิยมการตั้งราคาตามประเพณีนิยม • การตั้งราคาแบบนี้อาศัยความเคยชินของคนทั่วไป เช่น น้ำแข็งแห้ง น้ำอัดลม หนังสือพิมพ์ ค่าบริการรถโดยสารประจำทาง ซึ่งหากสินค้าพวกนี้ขึ้นราคาก็จะมีการโวยวาย • ตั้งราคาตามกลยุทธ์ทางการตลาดและทางจิตวิทยา เช่น ลงด้วยเลข 9 การให้ของแถม • การตั้งราคาเพื่อทุ่มตลาด ( Dumping Pricing ) • การตั้งราคาแบบเจาะตลาด ( Penetration Pricing ) • การขายสินค้าแบบพ่วง ( ???? กรณี เบียร์ช้าง กับเบียร์สิงห์ ) การตั้งราคาแบบอื่นๆ