250 likes | 367 Views
พระวาจาทรงชีวิต. กรกฎาคม 2007. " ท่านได้รับเรียกให้เป็นอิสระ " (กาลาเทีย 5.13 ). ราวปีคริสตศักราช 50 นักบุญเปาโลได้มาเยี่ยมคริสตชนแคว้นกาลาเทีย ในอาเซียน้อยซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศตุรกี กลุ่มคริสตชนที่นั่นยินดีรับ ความเชื่อด้วยความกระตือรือร้นมาก.
E N D
พระวาจาทรงชีวิต กรกฎาคม 2007
ราวปีคริสตศักราช 50 นักบุญเปาโลได้มาเยี่ยมคริสตชนแคว้นกาลาเทีย ในอาเซียน้อยซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศตุรกี กลุ่มคริสตชนที่นั่นยินดีรับ ความเชื่อด้วยความกระตือรือร้นมาก
นักบุญเปาโลเทศน์สอนพวกเขาเกี่ยวกับองค์พระเยซูเจ้าผู้ถูกตรึงกางเขน พวกเขารับศีลล้างบาป สวมใส่พระคริสตเจ้า พวกเขาเป็นอิสระ เป็นบุตรของพระเจ้า นักบุญเปาโลเองบอกพวกเขาว่า “พวกท่านประพฤติปฏิบัติดีแล้ว” ในแนวทางใหม่นี้
แต่ไม่นานพวกเขากลับหาอิสระในแบบอื่น นักบุญเปาโลแปลกใจว่าทำไมพวกเขาหันเหไปจากพระคริสตเจ้าเร็วนัก และนี่จึงเป็นที่มาที่ท่านพยายามชี้แจงให้พวกเขาเข้าใจเกี่ยวกับอิสรภาพที่พระคริสตเจ้าทรงนำมาให้
"ท่านได้รับเรียกให้เป็นอิสระ""ท่านได้รับเรียกให้เป็นอิสระ"
เราได้รับเรียกให้เป็นเราได้รับเรียกให้เป็น อิสระแบบไหน
เราก็ทำอะไรได้ ตามใจชอบอยู่แล้วมิใช่หรือ
เวลาที่พระเยซูเจ้าบอกกับคนร่วมสมัยของพระองค์ว่า “ความจริงจะทำให้ท่านเป็นอิสระ” พวกเขาค้านพระองค์ว่า “พวกเราไม่เคยเป็นทาสใคร” พระเยซูเจ้าทรงตอบพวกเขาว่า “คนที่ทำบาป ก็เป็นทาสของบาป”
นี่เป็นทาสอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นผลของบาป มันทรมานเรามนุษย์มาก ทาสลักษณะนี้ เราเห็นได้ในหลายแบบ เช่น การพอใจในตนเอง การผูกพันกับข้าวของทรัพย์สมบัติ การมุ่งหาความสุขใส่ตัว ภูมิใจในตนเอง ความโกรธ
เราไม่อาจเป็นอิสระจากสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ด้วยลำพังตัวเราเอง ความเป็นอิสระนี้เป็นพระพรของพระเยซูเจ้า พระองค์ทรงทำให้เราเป็นอิสระด้วยการยอมตนรับใช้เรา และมอบชีวิตของพระองค์แก่เรา และนี่จึงเป็นการเชิญชวนเราให้ทำตัวเป็นอิสระตามแบบของพระองค์
อิสรภาพดังกล่าวนี้ มิได้หมายถึงว่า เราเลือกเอาได้เองว่าอะไรดีหรืออะไรเลว แต่หมายถึงว่า เรามีอิสระที่จะมุ่งสู่ความดีให้ยิ่งทียิ่งมากขึ้น
นี่คือสิ่งที่เคียร่าอธิบายให้กับกลุ่มเยาวชนที่ถามเธอเกี่ยวกับเรื่องนี้ เธอพูดต่อไปว่า “ดิฉันมีประสบการณ์ว่า ความดีทำให้เราเป็นอิสระ ความชั่วทำให้เราเป็นทาส เพื่อจะเป็นอิสระได้ เราต้องรัก ทั้งนี้เพราะว่า สิ่งที่ทำให้เราเป็นทาสมากที่สุดก็คือตัวตนของเรา
ตราบใดที่เรามุ่งความสนใจไปสู่ผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพราะพระประสงค์ของพระบอกให้เราทำ หรือเพราะเขาเป็นเพื่อนบ้านของเรา เราไม่มุ่งความสนใจมาที่ตนเอง เราก็จะเป็นอิสระจากตัวตนของเรา”
"ท่านได้รับเรียกให้เป็นอิสระ""ท่านได้รับเรียกให้เป็นอิสระ"
เราจะเจริญชีวิตตามพระวาจานี้ได้อย่างไรเราจะเจริญชีวิตตามพระวาจานี้ได้อย่างไร
นักบุญเปาโลเองแนะนำเราว่า “ในเมื่อท่านได้รับเรียกให้เป็นอิสระ จงรับใช้กันและกันด้วยความรัก” และท่านก็บอกเหตุผลด้วยว่า ทำไมเราต้องรับใช้กันและกันด้วยความรัก “เพราะว่าบทบัญญัติทั้งหมด ก็สรุปลงที่ประโยคเดียวว่า จงรักเพื่อนบ้าน เหมือนรักตัวท่านเอง”
ความรักเป็นอะไรที่แปลก เราจะรู้สึกเป็นอิสระ เมื่อเราขัดสู้กับความเห็นแก่ตัวของเรา เราพยายามลืมตัวเอง และมุ่งความสนใจไปที่ผู้อื่น
เราได้รับเรียกให้เป็นอิสระ เพื่อที่จะได้รัก เรารักได้อย่างอิสระ ใช่แล้ว “เพื่อที่จะเป็นอิสระ เราตัองรักผู้อื่น”
"ท่านได้รับเรียกให้เป็นอิสระ""ท่านได้รับเรียกให้เป็นอิสระ"
พระคาร์ดินัลฟรังซิส เหงียน วัน ตวน ถูกจำคุกอันเนื่องมาจากความเชื่อในพระเจ้า ท่านถูกจำคุกถึง 13 ปี ท่านเล่าว่า แม้ติดคุกท่านกลับรู้สึกอิสระ เพราะอย่างน้อย ท่านก็ให้ความรักกับผู้คุมคุกได้
ท่านเล่าว่า “ตอนผมถูกขังเดี่ยว มีผู้คุมคอยเฝ้าผมห้าคน พวกเขาผลัดเวรกัน เพื่อว่าจะได้มีคนสองคนคอยเฝ้าผมตลอดเวลา หัวหน้าบอกพวกเขาว่า “กลุ่มพวกเธอ จะผลัดกับกลุ่มอื่นทุกสองอาทิตย์ เพื่อพวกเธอจะได้ไม่ “ติดโรค” จากพระสังฆราชอันตรายคนนี้” แต่ต่อมาพวกเขาเปลี่ยนใจบอกกันว่า “จะไม่มีการสับเปลี่ยนอีก มิฉะนั้นสังฆราชคนนี้จะแพร่เชื้อไปถึงผู้คุมทุกคน”
“ในตอนแรก ผู้คุมไม่ยอมพูดกับผม พวกเขาจะตอบเพียง "ครับ" หรือ "ไม่ใช่ครับ" เพียงสองคำ ผมรู้สึกลำบากใจมาก พวกเขาไม่ยอมพูดคุยกับผม” “คืนหนึ่ง ผมมีความคิดหนึ่งแว็บขึ้นมาในสมอง ฟรังซิส คุณน่ะยังร่ำรวย คุณมีความรักของพระคริสตเจ้าเต็มหัวใจ จงรักพวกเขาซิ รักอย่างที่พระคริสตเจ้าทรงรักคุณ”
วันต่อมา ผมรักพวกเขาทันที รักให้มากขึ้นกว่าเดิมอีก รักพระเยซูเจ้าในตัวพวกเขา ยิ้มให้ พูดดีๆกับเขา เล่าเรื่องการเดินทางในต่างประเทศให้พวกเขาฟังที่สุดพวกเขารู้สึกอยากเรียนภาษาต่างประเทศ ภาษาฝรั่งเศส หรือภาษาอังกฤษ ผู้คุมของผมก็เลยกลายเป็นนักเรียนของผม”
"ท่านได้รับเรียกให้เป็นอิสระ""ท่านได้รับเรียกให้เป็นอิสระ" a แผ่นพับพระวาจาทรงชีวิตประจำเดือนจัดทำโดยคณะโฟโคลาเร คำอธิบายโดย คพ.ฟาบีโอ ชาร์ดิ และ กาเบรียลล่า ฟัลลาคารา กราฟฟิก โดยAnna Lolloด้วยความร่วมมือจาก Fr.Placido D’Omina (ซิซิลี - ประเทศอิตาลี)