180 likes | 343 Views
กระทรวงอุตสาหกรรม. “นโยบายรัฐกับการผลักดัน อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยไปอาเซียน”. ASEAN กับ ยุคสมัยแห่งเอเชีย. 1. สัดส่วน GDP ของเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ปี 2541 9.7 % ต่อ GDP โลก ปี 2552 16.3% ต่อ GDP โลก
E N D
กระทรวงอุตสาหกรรม “นโยบายรัฐกับการผลักดันอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยไปอาเซียน”
ASEAN กับ ยุคสมัยแห่งเอเชีย 1. สัดส่วน GDP ของเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ปี 2541 9.7% ต่อ GDP โลก ปี 2552 16.3% ต่อ GDP โลก 2. มูลค่าการนำเข้า (การนำเข้า-ส่งออก) ของเอเชียปี 2552 คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของมูลค่าการนำเข้า - ส่งออก รวมทั้งโลก = การมั่งคั่งของเอเชีย 3. ทุนสำรองระหว่างประเทศในเอเชียรวมกันเพิ่มจาก 1.8 ล้านล้าน ดอลล่าห์สหรัฐ ในปี 2546 เป็นกว่า 4.9 ล้านล้านดอลล่าห์สหรัฐ ในปัจจุบัน (ปี 2553)
ประเทศไทย หนึ่งในสมาชิกก่อตั้งอาเซียน มีประชากร .............คน คิดเป็น 0.9% ของประชากรโลก GDP คิดเป็น 0.46% ของ GDP โลก ต้องรู้จักการใช้ประโยชน์จากขนาดตลาดที่ใหญ่ขึ้นบนฐานความเข้มแข็งจาก AEC
จุดมุ่งหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community : AEC) การนำอาเซียนไปสู่ การเงิน ตลาด และฐานการผลิตร่วมกัน หรือเรียกว่า “Single Market and Production Base”
ความเป็นเสรีของ ASEAN มี 5 สาขา ได้แก่ • สินค้า • บริการ • การลงทุน • แรงงานฝีมือ • เงินทุน โดยสมาชิกก่อตั้ง 6 ประเทศ ได้แก่ มาเลเชีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน และไทย จะลดอัตราภาษีเป็นศูนย์ในปี 2553 สมาชิกใหม่ คือ กัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV) จะมาสมทบ และรวมลดภาษีจนเหลือ 0% ภายในปี 2558
สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเป็น AEC 1. ภาษีเป็นศูนย์ อุปสรรคภาษีหมด ต้นทุน วัตถุดิบ กึ่งวัตถุดิบต่ำจะได้เปรียบด้านราคา/คุณภาพ 2. มีขนาดตลาดที่ใหญ่ขึ้น ตามหลัก Economy of Scale 3. การลงทุนทำได้โดยเสรี การย้ายฐานการผลิตที่เหมาะสม 4. เป็นฐานการผลิตร่วมกันจาก CLMV เป็นฐานส่งออกจากสถานะ Least Developed Countries
สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเป็น AEC (ต่อ) 5. ความร่วมมืออำนวยความสะดวกทางการค้า ระบบ Logistic ในภูมิภาคสะดวก ต้นทุนลดลง 6. ทำธุรกิจได้เสรี ฐานธุรกิจอยู่ที่ใดก็ได้ในอาเซีย แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานฝีมือ 7. FTA อาเซียนกับคู้ค้า ASEAN + 1, +3, +6ได้เปรียบภาษีนำเข้ามากกว่าคู่แข่งนอก ASEAN 8. มีคู่แข่งใหม่ใน ASEAN
สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเป็น AEC (ต่อ) 9. ตลาด 10 ประเทศรวมเป็น 1 ต้นทุนของคู่แข่งต่ำลงด้วยเช่นกัน 10. การเป็นฐานผลิตร่วม กรณีซื้อของจาก บริษัทแม่ อาจถูกคู่แข่งได้ เสนอราคาที่ต่ำกว่าจากการเป็นฐานการผลิตเดียวกัน 11. การลงทุนเสรีในอาเซียน ทำให้คู่แข่งเข้ามาถึงบ้านเรา 12. ธุรกิจบริการเสรี อาจถูกคู่แข่งแย่งฝีมือแรงงานได้
ภาคธุรกิจเตรียมรุกอย่างไรบ้าง?ภาคธุรกิจเตรียมรุกอย่างไรบ้าง? 1. เสาะหาแหล่งวัตถุดิบใน AEC 2. ศึกษารสนิยมความต้องการใน AEC 3. ดูความเป็นไปได้ในการย้ายฐานการผลิต 4. หันมามอง CLMV โดยวิสัยทัศน์ใหม่
ภาคธุรกิจเตรียมรุกอย่างไรบ้าง? (ต่อ) 5. พัฒนา/ปรับตัว ระบบต่างๆของบริษัทให้ใช้ประโยชน์จาก Logistic ให้เต็มที่ 6. ศึกษา/เสาะหา ความเป็นไปได้ ในการตั้งธุรกิจ/ใช้แรงงานจาก AEC 7. เจาะตลาดคู่ค้า ASEAN ให้มากเข้าไว้
ภาคธุรกิจตั้งรับอย่างไร?ภาคธุรกิจตั้งรับอย่างไร? 1. เรียนรู้คู่แข่ง (เนื่องจากการเปิดตลาดมีคู่แข่งใหม่จาก ASEAN) 2. มีการบริหารจัดการที่สม่ำเสมอกับต้นทุน คุณ และบริการส่งมอบ 3. วิเคราะห์ตนเอง หาจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง 4. ใกล้ชิดลูกค้าให้มาก (ทำทุกรูปแบบ) เพราะการค้าแบบ Holding Company อาจถูกแย่งลูกค้าได้ตลอด 5. ต้องคิดทำอย่างไร ให้เขา (แรงงาน) อยู่กับเราต่อไป 6. รู้คู่แข่งทั้งหมดใน ASEAN รวมทั้ง +3 , +6
นโยบายภาครัฐกับอุตสาหกรรมแม่พิมพ์นโยบายภาครัฐกับอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ สภาวะทั่วไป • อุตสาหกรรมแม่พิมพ์เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของอุตสาหกรรมหลักหลายประเภท • ภาพการส่งออกของไทย มีมูลค่าตลาดรวม 5.197 ล้านล้านบาท • อุตสาหกรรมส่งออก 10 อันดับแรก มีมูลค่ารวม 42% ของมูลค่าส่งออก ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน (11%) รถยนต์ (7%) แผงวงจรไฟฟ้า (3%) ผลิตภัณฑ์ยาง (3%) เหล็ก (3%) เม็ดพลาสติก (3%) เคมีภัณฑ์ (3%) ข้าว (3%) ยางพารา (3%) เครื่องจักรกล (2%)
นโยบายภาครัฐกับอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ (ต่อ) สภาวะทั่วไป • อุตสาหกรรมแม่พิมพ์มีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 10-15 % ต่อปี มีมูลค่าโดยรวม หายหมื่นล้านบาท • ภาคเอกชน + ภาครัฐ ตกลงร่วมกันเป็นหุ้นส่วนผลักดัน เป้าหมายให้ “ อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยเป็นผู้นำในตลาดอาเซียน ” จึงจัดทำ “ โครงการยกระดับขีดความสามารถแม่พิมพ์ ” ครม.อนุมัติเมื่อ 10 สิงหาคม 2547 แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ปี พ.ศ. 2548-2552 วงเงินงบประมาณ 1,040 ล้านบาท ระยะที่ 2 ปี พ.ศ. 2553-2557 วงเงินงบประมาณ 1,000 ล้านบาท
แผน/ผลการดำเนินโครงการยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ปี 2548 - 2552 • ยกระดับและสร้างบุคลากรแม่พิมพ์ 7,700 คน / ผลพัฒนาช่างเทคนิคตาม (T1-T5) ได้จำนวน 6,665 คน • พัฒนาสถานศึกษาสำหรับผลิตบุคลากรด้านแม่พิมพ์ต่อเนื่อง 20 แห่ง / ผลได้ 20 แห่ง • พัฒนาศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านแม่พิมพ์ 5 แห่ง / ผลได้ศูนย์เชี่ยวชาญ 7 แห่ง
แผน/ผลการดำเนินโครงการยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ปี 2548 – 2552 (ต่อ) 4. สถานประกอบการแม่พิมพ์ขยายการลงทุน 250 โรงงาน / ผลได้ จำนวนโรงงานขยายการลงทุน 250 แห่ง 5. มีระบบผลิตแม่พิมพ์เทียบเท่าประเทศชั้นนำ / ผลมีงานวิจัยประยุกต์ ในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ 116 เรื่อง 6. มีโครงสร้างระบบพัฒนาบุคลากรเป็นสากล / ผลมีระบบสร้าง / พัฒนาช่างแม่พิมพ์ T1-T7 มีคู่มือปฏิบัติการด้านแม่พิมพ์ 30 เรื่อง
ระยะที่ 2 “โครงการยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมแม่พิมพ์” (ปี 2553-2557) เป็นการพัฒนาต่อเนื่องจากระยะที่ 1 มียุทธศาสตร์ การพัฒนา 3 ด้าน • การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับเทคโนโลยีแม่พิมพ์ขั้นสูง • การยกระดับความสามรถเทคโนโลยีการผลิตแม่พิมพ์ ความเที่ยงตรงและความซับซ้อนสูง 3. การสร้างปัจจัยสนับสนุนที่เอื้อต่อ การขยายและพัฒนาอุตสาหกรรม แม่พิมพ์ให้เข้มแข็งและยั่งยืนงบประมาณ 1,000 ล้านบาท
ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ • พัฒนาช่างเทคนิคและวิศวกรทั้งโรงงาน 660 คน / ยกระดับความสามารถบุคลากรในโรงงาน 3,525 คน รวม 4,185 คน • พัฒนาการเรียนการสอนในวิทยาลัย 10 แห่ง • มีโครงการวิจัยร่วมระหว่างศูนย์เชี่ยวชาญและสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า 25 โครงการ/ปี • จำนวนโรงงานได้รับรองระบบ ISO ไม่น้อยกว่า 25 โรงงาน / ปี • สร้างครูฝึกให้ขยายผลต่อได้ 360 คน